เนื่องมาจากทฤษฎีว่าด้วยการกระจายที่ยุติธรรมของ John Roemer
ผมพึ่งกลับเข้ามาถึงห้องหมาดๆ หลังจากเมื่อคืนไม่ได้นอนเลย เพราะง่วนอยู่กับเค้าโครงวิทยานิพนธ์พร้อมกับทำเปเปอร์ไปอีกเพื่ออธิบายเนื้อหาสั้นๆของวิทยานิพนธ์ที่ผมจะเดินต่อไปในอีกสองปีข้างหน้ารวมทั้งเป้าหมายที่ผมตั้งไว้จากวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ ไม่มีใครบังคับให้ทำหรอกครับไอ้เปเปอร์เนี่ย แต่ผมกระแดะทำเอง คิดว่าทำแล้วอาจารย์ที่ปรึกษาผมจะได้เห็นภาพมากขึ้น อีกอย่างภาษาผมก็ห่วยบรม เกิดแกสงสัยอะไรผมจะได้อธิบายตามเปเปอร์ที่ผมเตรียมมา
ผ่านไปได้ด้วยดีครับ แต่ก็ยังไม่ลงตัวเป๊ะๆซักทีเดียว คงต้องทำไปปรับเค้าโครงไปเรื่อยๆ ขืนมัวแต่รอจนเพียบพร้อมดังเบญจกัลยาณีสงสัยผ่านไปอีกปีคงยังไม่ได้ลงมือเขียนแน่ๆ
แต่โดยภาพรวมทิศทางที่ผมจะเดินต่อไปนี่ อาจารย์ผมเห็นด้วยแล้ว ก็มีพลังขึ้นมาอีกเยอะเลยครับ อย่างน้อยกลับเมืองไทยครั้งนี้นอกจากพักผ่อนและตระเวนราตรีจนสำราญแล้วก็ยังมีทิศทางในการรวบรวมข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น
ผมคุยกะอาจารย์ตั้งแต่บ่ายสองโมงจนถึงหกโมงเย็น
มาราธอนมั้ยครับ ?
แต่คุยด้วยความเบิกบานตลอดเลย เรียกได้ว่าถ้าไม่เหลือบดูนาฬิกานี่สงสัยคงยังไม่เลิก แกไล่ผมไปเรื่อยในเรื่องงานผม กว่าจะโอเคก็เกือบห้าโมงเย็น จากนั้นก็คุยกันต่อเรื่องอื่นๆอีก ได้ความรู้ใหม่ๆเยอะดี
..............
อย่างที่อออดอ้อนไว้ในบล็อกเมื่อวานด้วยสไตล์ผู้ชายซื่อๆ (ไม่ใช่เสือนะครับคุณปิ่น) ว่าจะวิพากษ์การสอบวิทยานิพนธ์เมืองไทย แต่สงสัยคงต้องเก็บเข้าลิ้นชักไปก่อน เพราะก่อนผมจะเข้ามาเขียนก็ลองไปดูบล็อกเพื่อนบ้าน ไปอ่านงานของคุณปิ่นเข้า เกิดไอเดียใหม่ขึ้น เลยขอลัดคิวก่อนละกัน
ผมอ่านเรื่องของ Roemer ที่คุณปิ่นเล่าให้ฟังในบล็อกแล้วน่าสนใจ http://pinporamet.blogspot.com/2005/05/roemer.html
โดยเฉพาะประเด็นข้อเสนอของ Roemer ในเรื่องทฤษฎีว่าด้วยการกระจายที่ยุติธรรม (Theory of distributive justice) ผมคิดว่าสัมพันธ์กับกฎหมายในประเด็นเรื่องความรับผิดของฝ่ายปกครอง
กฎหมายฝรั่งเศสในเรื่องความรับผิดของฝ่ายปกครองมีพัฒนาการที่น่าสนใจ หลายเรื่องราวกับว่าเอาเศรษฐศาสตร์หรือแนวคิดรัฐสวัสดิการมาแปรรูปเป็นหลักกฎหมาย มีบางจุดที่คล้ายกับทฤษฎีว่าด้วยการกระจายที่ยุติธรรม (Theory of distributive justice) ที่ Roemer เสนอด้วย
ความรับผิดของฝ่ายปกครองในกฎหมายฝรั่งเศสมีสองรูปแบบ
หนึ่ง ความรับผิดจากการกระทำละเมิด
สอง ความรับผิดทั้งๆที่ไม่ได้กระทำละเมิด
รูปแบบแรก เป็นเรื่องทั่วๆไปเหมือนกับกฎหมายแพ่ง เราไปตีกบาลคนอื่น เราจงใจ มีการกระทำคือตีกบาล คนโดนตีเสียหายเพราะเจ็บกบาล และความเจ็บกบาลเป็นผลโดยตรงจากการที่เราไปตีกบาล กฎหมายบอกว่าเราไปละเมิดเค้าแล้ว ผลคือต้องจ่ายค่าเสียหาย และอาจมีโทษอาญาตามแต่กรณี (อย่างกรณีนี้คงมีแน่เพราะไปทำร้ายร่างกายคนอื่น)
เช่นเดียวกัน ในทางปกครอง ผมเป็นเจ้าหน้าที่ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.อ. ส. ตัวสูง ให้เข้าไปตรวจอ่างของชูวิทย์โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายควบคุมสถานบริการ ปรากฏว่าในขณะที่ผมและลูกน้องบุกเข้าไปดันไปทำอ่างจากุชชี่ของชูวิทย์พัง ชูวิทย์ก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานต้นสังกัดผมได้ แล้วหน่วยงานต้นสังกัดก็มาดูว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นผมทำไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ ถ้าเป็น ต้นสังกัดก็มาไล่เอาเงินคืนจากผม ในทางกลับกัน ถ้าต้นสังกัดเห็นว่าผมและลูกน้องทำไปตามหน้าที่แต่การบุกเข้าไปก็อาจมีความเสียหายเกิดขึ้นตามมาได้ เป็นการผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ หน่วยงานก็รับภาระจ่ายไปเองเต็มๆ
ในบางกรณีการละเว้นไม่กระทำการจนทำให้ผู้อื่นเสียหายก็ถือเป็นการกระทำละเมิดได้เช่นกัน เช่น โรคหวัดนกแพร่ระบาด กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ต้องประกาศให้ประชาชนทราบถึงความเสี่ยงจากการติดโรคหวัดนกเนื่องจากกินไก่ แต่กระทรวงฯกลับนิ่งเงียบเพราะเกรงว่านายทุนของพรรคการเมืองรัฐบาลจะเสียรายได้จากการขายไก่ ประชาชนที่เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคหวัดนกเพราะไปกินไก่ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกระทรวงสาธารณสุขได้ฐานที่มีหน้าที่แล้วไม่ทำหน้าที่จนทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ความรับผิดจากการละเมิดทำให้เอกชนเสียหายเช่นนี้ เป็นของธรรมดาในวงการกฎหมาย กฎหมายมุ่งอำนวยความยุติธรรมให้ เมื่อผู้ใดเสียหายจากการใช้อำนาจกระทำการตามกฎหมายของฝ่ายปกครองหรือเสียหายจากการละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ของฝ่ายปกครอง กฎหมายก็จะไปลากคอเอาให้ฝ่ายปกครองนั้นมาชดใช้ค่าเสียหายให้ แม้ฝ่ายปกครองจะทำงานในนามของรัฐ ในนามของส่วนรวม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีเอกสิทธิ์ไม่ต้องรับผิดจากการกระทำของตน
ว่าให้ชัดเจน ฝ่ายปกครองไม่อาจไปตีกบาลใครได้ฟรีๆ
รูปแบบที่สอง ฝ่ายปกครองอาจต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายให้แก่เอกชนก็ได้ แม้ตนจะไม่ได้กระทำละเมิด ไม่ได้ไปตีกบาลใคร ไม่ได้ไปทำข้าวของใครเสียหายก็ตาม
กรณีนี้ ศาลบ้านเรายังไม่มีโอกาสเอามาใช้จริงๆแต่ในวงวิชาการพูดกันมานานพอควร คาดว่าอีกไม่นานถ้ามีรูปคดีมาทำนองนี้ ศาลปกครองคงเอาด้วยกับหลักการดังกล่าว
หลักพวกนี้ที่วงวิชาการพูดๆกันก็หยิบยืมมาจากฝรั่งเศส กฎหมายเค้าบอกว่ามีสองกรณีที่ฝ่ายปกครองต้องชดใช้ให้แก่ความเสียหายที่เกิดแก่เอกชน แม้ความเสียหายนั้นจะไม่ได้มาจากน้ำมือของฝ่ายปกครองก็ตาม
หนึ่ง ความเสี่ยง เอกชนคนใดที่อยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อความเสียหายมากกว่าคนอื่น ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมาจริงๆ ฝ่ายปกครองก็ต้องรับภาระชดใช้ค่าเสียหายให้
เอาให้เห็นภาพ ผมมีบ้านอยู่ใกล้กับโรงงานนิวเคลียร์ ผมย่อมมีความเสี่ยงต่อการได้รับความเสียหายหากโรงงานนิวเคลียร์ระเบิดมากกว่าคนอื่นๆที่อาศัยบริเวณไกลออกไปแน่ๆ ถ้าโรงงานเกิดระเบิดขึ้นจริง ผมแขนขาดไปข้างนึง ผมก็มีสิทธิไปเรียกค่าเสียหายจากกรมปรมาณูเพื่อสันติได้ แม้กรมฯจะไม่ได้ทำให้ระเบิด แม้การระเบิดจะเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุ แต่ในฐานะที่ผมเสี่ยงกว่าชาวบ้าน กรมฯก็ต้องเข้ามาจ่ายให้ผม
ศาลปกครองฝรั่งเศสยังขยายหลักเรื่องความเสี่ยงออกไปไกลมากขึ้น เช่น ตำรวจวิ่งไล่จับพ่อค้ายาบ้า เกิดการยิงต่อสู้กัน ผมซึ่งก่อนออกจากบ้านโดนจิ้งจกทักมาแล้วดันไม่ดูตาม้าตาเรือไปเพ่นพ่านแถวนั้น ปรากฏว่ากระสุนของตำรวจมาโดนขาผมทำเอาเดี้ยงไป ศาลปกครองฝรั่งเศสบอกให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจ่ายค่าเสียหายให้ผม จะเห็นได้ว่า “เสี่ยง” ได้ขยายกว้างออกไปอีกในกรณีนี้ แม้ผมจะไม่มีบ้านแถวนั้น ไม่ได้ไปรอรถเมล์แถวนั้นบ่อยๆ แค่ผมอกหักไปเดินทำมิวสิควิดีโอย่านนั้นพอดี ศาลก็บอกว่า สถานการณ์แค่นี้ก็ถือว่าผมมีความเสี่ยงกว่าคนอื่นแล้ว แม้ตำรวจไม่ได้ตั้งใจ แม้เป็นแค่ลูกหลง ก็ต้องจ่ายผมมา
สอง การรับภาระมากกว่าคนอื่น ฝ่ายปกครองอาจออกมาตรการมาชุดหนึ่งปรากฏว่าดันมีผมที่ซวยเสียหายอยู่คนเดียวทั้งๆที่ฝ่ายปกครองไม่ได้ตั้งใจจะออกมาตรการนั้นมาเล่นงานผม แต่ออกมาเพื่อประโยชน์ทั่วๆกัน เช่นนี้ ฝ่ายปกครองต้องเฉ่งให้ผมฐานที่ล้มเหลวต่อการทำให้ทุกคนรับภาระอย่างเสมอภาคกัน ถ้าจะซวยก็ต้องซวยพร้อมกัน ถ้าหากทำให้ซวยพร้อมกันไม่ได้แต่มีคนเดียวซวย ก็ต้องยื่นมือไปช่วยคนซวยคนนั้น
ยกตัวอย่างให้เป็นรูปธรรม ผมเปิดหอพักให้นักศึกษาย่าน มธ รังสิต เดิมรถเมล์สาย ปอ ๒๙ และ ปอ ๓๙ ผ่านหน้าหอพัก ต่อมามีการตัดทางใหม่ รถเมล์ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่วิ่งผ่านหอผม คนเช่าหอผมไม่สะดวกเหมือนก่อน ทยอยย้ายออก คนใหม่ก็ไม่เข้า คนเก่าก็มาออก ผมขาดทุนยับเยิน การเปลี่ยนเส้นทางอาจเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อเหตุผลทางการไหลเวียนของรถยนต์ เพื่อความคล่องตัวของจราจร แต่การเปลี่ยนเส้นทางทำให้ผมเสียหายอย่างร้ายแรงอยู่คนเดียว ฝ่ายปกครองก็ต้องเข้ามาช่วยเยียวยาให้ผม
ฝรั่งเศสใช้กฎหมายความรับผิดของฝ่ายปกครองเป็นเครื่องมือในการเยียวยาหรือผ่อนหนักเป็นเบาให้แก่เอกชนอยู่บ่อยครั้ง เป็นที่ทราบกันดีว่าฝรั่งเศสเป็นรัฐสวัสดิการชั้นดีหนึ่งในตองอูเหมือนกัน ตัวผู้พิพากษาเองก็ซึมซับแนวคิดนี้เข้าไปเรื่อยๆ จากเดิมบอกว่าการกระทำของฝ่ายปกครองมีเอกสิทธิ์ไม่ต้องรับผิดอะไรเลย ต่อมาบอกว่าฝ่ายปกครองก็อาจทำละเมิดต่อเอกชนได้เหมือนที่เอกชนทำละเมิดกันเอง อีกนัยหนึ่งคือเอาเรื่องละเมิดในกฎหมายแพ่งเข้ามาใช้กับฝ่ายปกครอง จนกระทั่งแนวคิดรัฐสวัสดิการเริ่มครอบคลุมไปทั่ว ผู้พิพากษาก็เริ่มปรับตัวด้วยการพัฒนาให้ฝ่ายปกครองต้องเข้าไปช่วยเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายด้วยแม้ตนจะไม่ได้เป็นคนทำเองก็ตาม
เอาเข้าจริง แนวคำพิพากษาที่ตัดสินให้ฝ่ายปกครองชดใช้ค่าเสียหายทั้งๆที่ไม่ทำผิด ก็คือ การเอาเงินกองกลางที่มาจากภาษีทุกคนมาแบ่งจ่ายให้คนที่เดือดร้อน กล่าวให้ถึงที่สุด ผู้พิพากษาได้แปร “การพึ่งพาอาศัยกันฉันมิตร” หรือ “Solidarity” เข้ามาเป็นหลักกฎหมาย
คดีแบบนี้ในฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมีแนวโน้มว่าศาลจะเห็นใจผู้เสียหายมากกว่าแต่ก่อน จนสงสัยกันว่าต่อไปความรับผิดของฝ่ายปกครองโดยที่ไม่ได้ทำละเมิดนั้นจะกลายเป็นหลักจากเดิมที่เป็นข้อยกเว้นที่ศาลจะพิจารณาอย่างเคร่งครัด
ถามว่าเป็นธรรมมั้ย เอาเงินกองกลางมาแบ่งจ่ายให้คนไม่กี่คนแบบนี้ แทนที่จะเอาไปจ่ายในเรื่องส่วนรวม ?
ถามว่าเป็นธรรมมั้ย การที่ผู้พิพากษาตัดสินคดีเพื่อรับใช้แนวคิดรัฐสวัสดิการ ?
หากเรามองในมุมของคนนอก ไม่ได้เป็นคนเจ็บเอง ไม่ได้เสียหายเอง ไม่ได้เป็นญาติกับผู้เสียหาย เราคงตอบว่าไม่เป็นธรรม แต่ถ้าเราเป็นผู้เสียหายหรือเกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย คำตอบที่ว่าไม่เป็นธรรมคงเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม
แต่เชื่อเถอะ... ถ้าให้เลือกได้ไม่มีใครอยากบาดเจ็บ ล้มหมอนนอนเสื่อ เสียชีวิต เสียหายทั้งกาย ใจ เงิน แล้วได้รับการเยียวยาด้วยค่าเสียหายจำนวนหนึ่งหรอกครับ
...............
ขอตัดตอนที่คุณปิ่นเขียนไว้ในบล็อกมาให้ดูเปรียบเทียบ
“หนึ่ง ทฤษฎีว่าด้วยการกระจายที่ยุติธรรม (Theory of distributive justice)Roemer เสนอข้อเสนอว่าด้วยการกระจายโอกาสให้เท่าเทียมกัน (Equality of Opportunity) ข้อเสนอเชิงนโยบายประการหนึ่งชี้ว่า สังคม(ในที่นี่ น่าจะเป็นรัฐ) ควรมีมาตรการชดเชยช่วยเหลือต่อความล้มเหลวของปัจเจกบุคคล ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเจ้าตัว แต่ไม่ควรให้ความช่วยเหลือต่อความล้มเหลวที่เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของตน และอยู่ในวิสัยขอบเขตที่ตนรับผิดชอบ”
ลองพิจารณาดู ผมว่าผู้พิพากษาฝรั่งเศสก็เอาแนวทางคล้ายๆกับที่ Roemer เสนอมาใช้ในการพิพากษาให้ฝ่ายปกครองชดใช้ค่าเสียหาย
ผมยังคิดต่อไปอีกว่าข้อเสนอของ Roemer คล้ายกับ “งาน” ชิ้นเอกของ John Rawls เรื่อง Theory of justice อีกด้วย กล่าวกันว่างานชิ้นนี้เป็นการบุกเบิกนิติปรัชญาสมัยใหม่ของปลายศตวรรษที่ ๒๐
กล่าวโดยย่อ Rawls เสนอหลักการสำคัญไว้สองข้อ
หนึ่ง มนุษย์เท่าเทียมกันในเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
สอง ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคมต้องได้รับการจัดสรรใหม่ให้เป็นธรรมโดยให้เป็นประโยชน์แก่คนที่เสียเปรียบและด้อยโอกาสในสังคมที่สุดและสร้างความเสมอภาคในโอกาส
Rawls บอกต่อไปว่า ถ้าให้เลือกได้ข้อเดียวจากสองข้อนี้ ข้อแรกต้องมาก่อน
ในเรื่อง distributive justice Rawls เห็นว่าสิ่งที่จะเอามาจัดสรรปันส่วนให้เป็นธรรมนี้ไม่ได้หมายความแต่ความมั่งคั่งหรือรายได้เท่านั้น หากรวมไปถึงความเป็นอิสระ การศึกษา หรือโอกาสในการรังสรรค์สิ่งต่างๆเพื่อให้เกิดการเคารพนับถือได้อย่างเต็มเปี่ยมในตัวตนของตนเอง เหล่านี้ต้องได้รับการจัดสรรปันส่วนอย่างเป็นธรรม เว้นแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การจัดสรรปันส่วนดังกล่าวก็อาจไม่เท่าเทียมได้
Rawls ยังเห็นอีกว่า การจัดสรรปันส่วนอย่างเป็นธรรม จะสำเร็จหรือไม่ยังขึ้นกับระบบเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย สถาบันทางการเมืองและเศรษฐกิจมีส่วนเข้ามาจัดให้มีการจัดสรรปันส่วนอย่างเป็นธรรม กล่าวเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ยอมรับบทบาทในการแทรกแซงเศรษฐกิจของรัฐ
ข้อเสนอของ Rawls มีกลิ่นซ้ายๆอย่างไม่ต้องสงสัย แต่กระนั้น Rawls ก็ยังโดนฝ่ายซ้ายบางคนโจมตีว่าซ้ายไม่จริงจากที่ Rawls ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานมากกว่าความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม
ไว้โอกาสอำนวย ผมจะเล่าประเด็นน่าสนใจในงานของ Rawls ให้ฟังอีก
...............
ผมลองยกตัวอย่างบทบาทของผู้พิพากษาฝรั่งเศสในคดีความรับผิดของฝ่ายปกครองและข้อเสนอของ Rawls มาเปรียบเทียบกับงานทางเศรษฐศาสตร์ของ Roemer เพื่อแสดงให้เห็นว่า วิชาการในหลายแขนงมีความเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก ยิ่งเรียนระดับสูงขึ้นแล้วคิดให้ลึกลงไปถึงเบื้องหลังของข้อความคิดต่างๆ ปรากฏการณ์ต่างๆ ไม่ใช่มองฉากหน้าแบบฉาบฉวยแล้ว จะยิ่งเห็นเครือข่ายราวใยแมงมุมโยงไปมาระหว่างศาสตร์ต่างๆ
ผมเชื่อของผมเองว่า...
นักกฎหมายแม่นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ อาจเป็นนักกฎหมายภาคปฏิบัติที่ดี
นักกฎหมายแม่นทฤษฎีและหลักการ อาจเป็นนักกฎหมายภาควิชาการที่เก่ง
นักกฎหมายแม่นในวิชาการแขนงอื่น อาจเป็นนักกฎหมายที่กว้างขวาง
นักกฎหมายที่แม่นทั้งตัวบทกฎหมาย ทฤษฎี และวิชาการแขนงอื่น ย่อมเป็นนักกฎหมายที่สมบูรณ์
ผ่านไปได้ด้วยดีครับ แต่ก็ยังไม่ลงตัวเป๊ะๆซักทีเดียว คงต้องทำไปปรับเค้าโครงไปเรื่อยๆ ขืนมัวแต่รอจนเพียบพร้อมดังเบญจกัลยาณีสงสัยผ่านไปอีกปีคงยังไม่ได้ลงมือเขียนแน่ๆ
แต่โดยภาพรวมทิศทางที่ผมจะเดินต่อไปนี่ อาจารย์ผมเห็นด้วยแล้ว ก็มีพลังขึ้นมาอีกเยอะเลยครับ อย่างน้อยกลับเมืองไทยครั้งนี้นอกจากพักผ่อนและตระเวนราตรีจนสำราญแล้วก็ยังมีทิศทางในการรวบรวมข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น
ผมคุยกะอาจารย์ตั้งแต่บ่ายสองโมงจนถึงหกโมงเย็น
มาราธอนมั้ยครับ ?
แต่คุยด้วยความเบิกบานตลอดเลย เรียกได้ว่าถ้าไม่เหลือบดูนาฬิกานี่สงสัยคงยังไม่เลิก แกไล่ผมไปเรื่อยในเรื่องงานผม กว่าจะโอเคก็เกือบห้าโมงเย็น จากนั้นก็คุยกันต่อเรื่องอื่นๆอีก ได้ความรู้ใหม่ๆเยอะดี
..............
อย่างที่อออดอ้อนไว้ในบล็อกเมื่อวานด้วยสไตล์ผู้ชายซื่อๆ (ไม่ใช่เสือนะครับคุณปิ่น) ว่าจะวิพากษ์การสอบวิทยานิพนธ์เมืองไทย แต่สงสัยคงต้องเก็บเข้าลิ้นชักไปก่อน เพราะก่อนผมจะเข้ามาเขียนก็ลองไปดูบล็อกเพื่อนบ้าน ไปอ่านงานของคุณปิ่นเข้า เกิดไอเดียใหม่ขึ้น เลยขอลัดคิวก่อนละกัน
ผมอ่านเรื่องของ Roemer ที่คุณปิ่นเล่าให้ฟังในบล็อกแล้วน่าสนใจ http://pinporamet.blogspot.com/2005/05/roemer.html
โดยเฉพาะประเด็นข้อเสนอของ Roemer ในเรื่องทฤษฎีว่าด้วยการกระจายที่ยุติธรรม (Theory of distributive justice) ผมคิดว่าสัมพันธ์กับกฎหมายในประเด็นเรื่องความรับผิดของฝ่ายปกครอง
กฎหมายฝรั่งเศสในเรื่องความรับผิดของฝ่ายปกครองมีพัฒนาการที่น่าสนใจ หลายเรื่องราวกับว่าเอาเศรษฐศาสตร์หรือแนวคิดรัฐสวัสดิการมาแปรรูปเป็นหลักกฎหมาย มีบางจุดที่คล้ายกับทฤษฎีว่าด้วยการกระจายที่ยุติธรรม (Theory of distributive justice) ที่ Roemer เสนอด้วย
ความรับผิดของฝ่ายปกครองในกฎหมายฝรั่งเศสมีสองรูปแบบ
หนึ่ง ความรับผิดจากการกระทำละเมิด
สอง ความรับผิดทั้งๆที่ไม่ได้กระทำละเมิด
รูปแบบแรก เป็นเรื่องทั่วๆไปเหมือนกับกฎหมายแพ่ง เราไปตีกบาลคนอื่น เราจงใจ มีการกระทำคือตีกบาล คนโดนตีเสียหายเพราะเจ็บกบาล และความเจ็บกบาลเป็นผลโดยตรงจากการที่เราไปตีกบาล กฎหมายบอกว่าเราไปละเมิดเค้าแล้ว ผลคือต้องจ่ายค่าเสียหาย และอาจมีโทษอาญาตามแต่กรณี (อย่างกรณีนี้คงมีแน่เพราะไปทำร้ายร่างกายคนอื่น)
เช่นเดียวกัน ในทางปกครอง ผมเป็นเจ้าหน้าที่ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.อ. ส. ตัวสูง ให้เข้าไปตรวจอ่างของชูวิทย์โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายควบคุมสถานบริการ ปรากฏว่าในขณะที่ผมและลูกน้องบุกเข้าไปดันไปทำอ่างจากุชชี่ของชูวิทย์พัง ชูวิทย์ก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานต้นสังกัดผมได้ แล้วหน่วยงานต้นสังกัดก็มาดูว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นผมทำไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ ถ้าเป็น ต้นสังกัดก็มาไล่เอาเงินคืนจากผม ในทางกลับกัน ถ้าต้นสังกัดเห็นว่าผมและลูกน้องทำไปตามหน้าที่แต่การบุกเข้าไปก็อาจมีความเสียหายเกิดขึ้นตามมาได้ เป็นการผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ หน่วยงานก็รับภาระจ่ายไปเองเต็มๆ
ในบางกรณีการละเว้นไม่กระทำการจนทำให้ผู้อื่นเสียหายก็ถือเป็นการกระทำละเมิดได้เช่นกัน เช่น โรคหวัดนกแพร่ระบาด กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ต้องประกาศให้ประชาชนทราบถึงความเสี่ยงจากการติดโรคหวัดนกเนื่องจากกินไก่ แต่กระทรวงฯกลับนิ่งเงียบเพราะเกรงว่านายทุนของพรรคการเมืองรัฐบาลจะเสียรายได้จากการขายไก่ ประชาชนที่เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคหวัดนกเพราะไปกินไก่ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกระทรวงสาธารณสุขได้ฐานที่มีหน้าที่แล้วไม่ทำหน้าที่จนทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ความรับผิดจากการละเมิดทำให้เอกชนเสียหายเช่นนี้ เป็นของธรรมดาในวงการกฎหมาย กฎหมายมุ่งอำนวยความยุติธรรมให้ เมื่อผู้ใดเสียหายจากการใช้อำนาจกระทำการตามกฎหมายของฝ่ายปกครองหรือเสียหายจากการละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ของฝ่ายปกครอง กฎหมายก็จะไปลากคอเอาให้ฝ่ายปกครองนั้นมาชดใช้ค่าเสียหายให้ แม้ฝ่ายปกครองจะทำงานในนามของรัฐ ในนามของส่วนรวม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีเอกสิทธิ์ไม่ต้องรับผิดจากการกระทำของตน
ว่าให้ชัดเจน ฝ่ายปกครองไม่อาจไปตีกบาลใครได้ฟรีๆ
รูปแบบที่สอง ฝ่ายปกครองอาจต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายให้แก่เอกชนก็ได้ แม้ตนจะไม่ได้กระทำละเมิด ไม่ได้ไปตีกบาลใคร ไม่ได้ไปทำข้าวของใครเสียหายก็ตาม
กรณีนี้ ศาลบ้านเรายังไม่มีโอกาสเอามาใช้จริงๆแต่ในวงวิชาการพูดกันมานานพอควร คาดว่าอีกไม่นานถ้ามีรูปคดีมาทำนองนี้ ศาลปกครองคงเอาด้วยกับหลักการดังกล่าว
หลักพวกนี้ที่วงวิชาการพูดๆกันก็หยิบยืมมาจากฝรั่งเศส กฎหมายเค้าบอกว่ามีสองกรณีที่ฝ่ายปกครองต้องชดใช้ให้แก่ความเสียหายที่เกิดแก่เอกชน แม้ความเสียหายนั้นจะไม่ได้มาจากน้ำมือของฝ่ายปกครองก็ตาม
หนึ่ง ความเสี่ยง เอกชนคนใดที่อยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อความเสียหายมากกว่าคนอื่น ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมาจริงๆ ฝ่ายปกครองก็ต้องรับภาระชดใช้ค่าเสียหายให้
เอาให้เห็นภาพ ผมมีบ้านอยู่ใกล้กับโรงงานนิวเคลียร์ ผมย่อมมีความเสี่ยงต่อการได้รับความเสียหายหากโรงงานนิวเคลียร์ระเบิดมากกว่าคนอื่นๆที่อาศัยบริเวณไกลออกไปแน่ๆ ถ้าโรงงานเกิดระเบิดขึ้นจริง ผมแขนขาดไปข้างนึง ผมก็มีสิทธิไปเรียกค่าเสียหายจากกรมปรมาณูเพื่อสันติได้ แม้กรมฯจะไม่ได้ทำให้ระเบิด แม้การระเบิดจะเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุ แต่ในฐานะที่ผมเสี่ยงกว่าชาวบ้าน กรมฯก็ต้องเข้ามาจ่ายให้ผม
ศาลปกครองฝรั่งเศสยังขยายหลักเรื่องความเสี่ยงออกไปไกลมากขึ้น เช่น ตำรวจวิ่งไล่จับพ่อค้ายาบ้า เกิดการยิงต่อสู้กัน ผมซึ่งก่อนออกจากบ้านโดนจิ้งจกทักมาแล้วดันไม่ดูตาม้าตาเรือไปเพ่นพ่านแถวนั้น ปรากฏว่ากระสุนของตำรวจมาโดนขาผมทำเอาเดี้ยงไป ศาลปกครองฝรั่งเศสบอกให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจ่ายค่าเสียหายให้ผม จะเห็นได้ว่า “เสี่ยง” ได้ขยายกว้างออกไปอีกในกรณีนี้ แม้ผมจะไม่มีบ้านแถวนั้น ไม่ได้ไปรอรถเมล์แถวนั้นบ่อยๆ แค่ผมอกหักไปเดินทำมิวสิควิดีโอย่านนั้นพอดี ศาลก็บอกว่า สถานการณ์แค่นี้ก็ถือว่าผมมีความเสี่ยงกว่าคนอื่นแล้ว แม้ตำรวจไม่ได้ตั้งใจ แม้เป็นแค่ลูกหลง ก็ต้องจ่ายผมมา
สอง การรับภาระมากกว่าคนอื่น ฝ่ายปกครองอาจออกมาตรการมาชุดหนึ่งปรากฏว่าดันมีผมที่ซวยเสียหายอยู่คนเดียวทั้งๆที่ฝ่ายปกครองไม่ได้ตั้งใจจะออกมาตรการนั้นมาเล่นงานผม แต่ออกมาเพื่อประโยชน์ทั่วๆกัน เช่นนี้ ฝ่ายปกครองต้องเฉ่งให้ผมฐานที่ล้มเหลวต่อการทำให้ทุกคนรับภาระอย่างเสมอภาคกัน ถ้าจะซวยก็ต้องซวยพร้อมกัน ถ้าหากทำให้ซวยพร้อมกันไม่ได้แต่มีคนเดียวซวย ก็ต้องยื่นมือไปช่วยคนซวยคนนั้น
ยกตัวอย่างให้เป็นรูปธรรม ผมเปิดหอพักให้นักศึกษาย่าน มธ รังสิต เดิมรถเมล์สาย ปอ ๒๙ และ ปอ ๓๙ ผ่านหน้าหอพัก ต่อมามีการตัดทางใหม่ รถเมล์ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่วิ่งผ่านหอผม คนเช่าหอผมไม่สะดวกเหมือนก่อน ทยอยย้ายออก คนใหม่ก็ไม่เข้า คนเก่าก็มาออก ผมขาดทุนยับเยิน การเปลี่ยนเส้นทางอาจเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อเหตุผลทางการไหลเวียนของรถยนต์ เพื่อความคล่องตัวของจราจร แต่การเปลี่ยนเส้นทางทำให้ผมเสียหายอย่างร้ายแรงอยู่คนเดียว ฝ่ายปกครองก็ต้องเข้ามาช่วยเยียวยาให้ผม
ฝรั่งเศสใช้กฎหมายความรับผิดของฝ่ายปกครองเป็นเครื่องมือในการเยียวยาหรือผ่อนหนักเป็นเบาให้แก่เอกชนอยู่บ่อยครั้ง เป็นที่ทราบกันดีว่าฝรั่งเศสเป็นรัฐสวัสดิการชั้นดีหนึ่งในตองอูเหมือนกัน ตัวผู้พิพากษาเองก็ซึมซับแนวคิดนี้เข้าไปเรื่อยๆ จากเดิมบอกว่าการกระทำของฝ่ายปกครองมีเอกสิทธิ์ไม่ต้องรับผิดอะไรเลย ต่อมาบอกว่าฝ่ายปกครองก็อาจทำละเมิดต่อเอกชนได้เหมือนที่เอกชนทำละเมิดกันเอง อีกนัยหนึ่งคือเอาเรื่องละเมิดในกฎหมายแพ่งเข้ามาใช้กับฝ่ายปกครอง จนกระทั่งแนวคิดรัฐสวัสดิการเริ่มครอบคลุมไปทั่ว ผู้พิพากษาก็เริ่มปรับตัวด้วยการพัฒนาให้ฝ่ายปกครองต้องเข้าไปช่วยเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายด้วยแม้ตนจะไม่ได้เป็นคนทำเองก็ตาม
เอาเข้าจริง แนวคำพิพากษาที่ตัดสินให้ฝ่ายปกครองชดใช้ค่าเสียหายทั้งๆที่ไม่ทำผิด ก็คือ การเอาเงินกองกลางที่มาจากภาษีทุกคนมาแบ่งจ่ายให้คนที่เดือดร้อน กล่าวให้ถึงที่สุด ผู้พิพากษาได้แปร “การพึ่งพาอาศัยกันฉันมิตร” หรือ “Solidarity” เข้ามาเป็นหลักกฎหมาย
คดีแบบนี้ในฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมีแนวโน้มว่าศาลจะเห็นใจผู้เสียหายมากกว่าแต่ก่อน จนสงสัยกันว่าต่อไปความรับผิดของฝ่ายปกครองโดยที่ไม่ได้ทำละเมิดนั้นจะกลายเป็นหลักจากเดิมที่เป็นข้อยกเว้นที่ศาลจะพิจารณาอย่างเคร่งครัด
ถามว่าเป็นธรรมมั้ย เอาเงินกองกลางมาแบ่งจ่ายให้คนไม่กี่คนแบบนี้ แทนที่จะเอาไปจ่ายในเรื่องส่วนรวม ?
ถามว่าเป็นธรรมมั้ย การที่ผู้พิพากษาตัดสินคดีเพื่อรับใช้แนวคิดรัฐสวัสดิการ ?
หากเรามองในมุมของคนนอก ไม่ได้เป็นคนเจ็บเอง ไม่ได้เสียหายเอง ไม่ได้เป็นญาติกับผู้เสียหาย เราคงตอบว่าไม่เป็นธรรม แต่ถ้าเราเป็นผู้เสียหายหรือเกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย คำตอบที่ว่าไม่เป็นธรรมคงเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม
แต่เชื่อเถอะ... ถ้าให้เลือกได้ไม่มีใครอยากบาดเจ็บ ล้มหมอนนอนเสื่อ เสียชีวิต เสียหายทั้งกาย ใจ เงิน แล้วได้รับการเยียวยาด้วยค่าเสียหายจำนวนหนึ่งหรอกครับ
...............
ขอตัดตอนที่คุณปิ่นเขียนไว้ในบล็อกมาให้ดูเปรียบเทียบ
“หนึ่ง ทฤษฎีว่าด้วยการกระจายที่ยุติธรรม (Theory of distributive justice)Roemer เสนอข้อเสนอว่าด้วยการกระจายโอกาสให้เท่าเทียมกัน (Equality of Opportunity) ข้อเสนอเชิงนโยบายประการหนึ่งชี้ว่า สังคม(ในที่นี่ น่าจะเป็นรัฐ) ควรมีมาตรการชดเชยช่วยเหลือต่อความล้มเหลวของปัจเจกบุคคล ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเจ้าตัว แต่ไม่ควรให้ความช่วยเหลือต่อความล้มเหลวที่เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของตน และอยู่ในวิสัยขอบเขตที่ตนรับผิดชอบ”
ลองพิจารณาดู ผมว่าผู้พิพากษาฝรั่งเศสก็เอาแนวทางคล้ายๆกับที่ Roemer เสนอมาใช้ในการพิพากษาให้ฝ่ายปกครองชดใช้ค่าเสียหาย
ผมยังคิดต่อไปอีกว่าข้อเสนอของ Roemer คล้ายกับ “งาน” ชิ้นเอกของ John Rawls เรื่อง Theory of justice อีกด้วย กล่าวกันว่างานชิ้นนี้เป็นการบุกเบิกนิติปรัชญาสมัยใหม่ของปลายศตวรรษที่ ๒๐
กล่าวโดยย่อ Rawls เสนอหลักการสำคัญไว้สองข้อ
หนึ่ง มนุษย์เท่าเทียมกันในเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
สอง ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคมต้องได้รับการจัดสรรใหม่ให้เป็นธรรมโดยให้เป็นประโยชน์แก่คนที่เสียเปรียบและด้อยโอกาสในสังคมที่สุดและสร้างความเสมอภาคในโอกาส
Rawls บอกต่อไปว่า ถ้าให้เลือกได้ข้อเดียวจากสองข้อนี้ ข้อแรกต้องมาก่อน
ในเรื่อง distributive justice Rawls เห็นว่าสิ่งที่จะเอามาจัดสรรปันส่วนให้เป็นธรรมนี้ไม่ได้หมายความแต่ความมั่งคั่งหรือรายได้เท่านั้น หากรวมไปถึงความเป็นอิสระ การศึกษา หรือโอกาสในการรังสรรค์สิ่งต่างๆเพื่อให้เกิดการเคารพนับถือได้อย่างเต็มเปี่ยมในตัวตนของตนเอง เหล่านี้ต้องได้รับการจัดสรรปันส่วนอย่างเป็นธรรม เว้นแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การจัดสรรปันส่วนดังกล่าวก็อาจไม่เท่าเทียมได้
Rawls ยังเห็นอีกว่า การจัดสรรปันส่วนอย่างเป็นธรรม จะสำเร็จหรือไม่ยังขึ้นกับระบบเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย สถาบันทางการเมืองและเศรษฐกิจมีส่วนเข้ามาจัดให้มีการจัดสรรปันส่วนอย่างเป็นธรรม กล่าวเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ยอมรับบทบาทในการแทรกแซงเศรษฐกิจของรัฐ
ข้อเสนอของ Rawls มีกลิ่นซ้ายๆอย่างไม่ต้องสงสัย แต่กระนั้น Rawls ก็ยังโดนฝ่ายซ้ายบางคนโจมตีว่าซ้ายไม่จริงจากที่ Rawls ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานมากกว่าความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม
ไว้โอกาสอำนวย ผมจะเล่าประเด็นน่าสนใจในงานของ Rawls ให้ฟังอีก
...............
ผมลองยกตัวอย่างบทบาทของผู้พิพากษาฝรั่งเศสในคดีความรับผิดของฝ่ายปกครองและข้อเสนอของ Rawls มาเปรียบเทียบกับงานทางเศรษฐศาสตร์ของ Roemer เพื่อแสดงให้เห็นว่า วิชาการในหลายแขนงมีความเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก ยิ่งเรียนระดับสูงขึ้นแล้วคิดให้ลึกลงไปถึงเบื้องหลังของข้อความคิดต่างๆ ปรากฏการณ์ต่างๆ ไม่ใช่มองฉากหน้าแบบฉาบฉวยแล้ว จะยิ่งเห็นเครือข่ายราวใยแมงมุมโยงไปมาระหว่างศาสตร์ต่างๆ
ผมเชื่อของผมเองว่า...
นักกฎหมายแม่นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ อาจเป็นนักกฎหมายภาคปฏิบัติที่ดี
นักกฎหมายแม่นทฤษฎีและหลักการ อาจเป็นนักกฎหมายภาควิชาการที่เก่ง
นักกฎหมายแม่นในวิชาการแขนงอื่น อาจเป็นนักกฎหมายที่กว้างขวาง
นักกฎหมายที่แม่นทั้งตัวบทกฎหมาย ทฤษฎี และวิชาการแขนงอื่น ย่อมเป็นนักกฎหมายที่สมบูรณ์
24 ความคิดเห็น:
ไม่รู้จะเหมือนกันไหม แต่แนวคิดแบบนี้ ในระบบกฎหมายเอกชน หรือกฎหมายแพ่งก็มีนะครับ พวกกฎหมายประกันภัย...(ด้วยความรู้อันน้อยนิด)
บางครั้ง แม้ภัยที่เกิดขึ้นกับผู้เอาประกันภัยจะไม่อยู่ในขอบเขตของกรมธรรม์ที่ผู้รับประกันภัยต้องชดใช้ แต่ด้วยมนุษยธรรม และด้วยเหตุผลอื่นๆ บางครั้ง ก็มีการชดใช้ให้โดยผู้รับประกันภัย อันนี้เค้าเรียกว่า ex gratia น่ะครับ
และคงคล้ายๆกับแนวคิดเรื่อง ความรับผิดที่ไม่มีความผิด หรือ no fault liability โดยเฉพาะกรณีประกันสังคม เป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแม้จะไม่มีใครต้องรับผิดหรือมีส่วนร่วมในความเสียหาย หรือภยันตรายนั้นๆ
แนวคิดนี้น่าจะใช้ได้ ในสาขากฎหมายสังคม ที่เป็นสาขาที่เกิดใหม่ไม่นาน เช่นพวกกฎหมายแรงงาน และน่าจะใช้ได้กับการบรรเทาสาธารณภัย เช่น สึนามิ เหล่านี้ด้วยน่ะครับ
มีเรื่องตลก (ไม่ออก) เรื่องหนึ่งมาเล่าให้ฟัง ... โปรดอ่านให้ขำนะครับ
ในประเทศหนึ่งแถบแอฟริกา ได้จัดให้มีเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ประชาชนผู้ยากไร้ ไม่มีอาชีพ เพียงแต่แสดงตนพร้อมกับบัตรประจำตัว เพื่อมารับเงินด้วยตนเองต่อสำนักงานประกันสังคม
สิทธินี้จะระงับไปหากผู้นั้นตายลง ไม่ตกทอดไปยังลูกหลานแต่อย่างใด
คุณลุงคนหนึ่ง เกิดเจ็บป่วยไม่สามารถไปรับเงินในเดือนที่ผ่านมาได้ จึงตัดสินใจไปขอรับเงินของเดือนก่อนและของเดือนนี้พร้อมกันที่สำนักงาน
เมื่อไปถึงสำนักงาน ก็แสดงตัวพร้อมบัตรประจำตัว เพื่อรับเงินสองเดือน
เจ้าหน้าที่พอตรวจสอบแล้ว ก็บอกกับลุงคนนั้นว่า
"เราคงจ่ายให้คุณได้แค่เดือนนี้เดือนเดียวแหล่ะ เพราะในเดือนที่แล้ว คุณไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าคุณยังมีชีวิตอยู่"
จะขำดีมั๊ยครับ
น่าสนใจนะ ..
ถ้าเอาแนวคิด กม. กะเศรษฐศาสตร์มาผนวกกันได้จริง..
ที่คิดก็ดูโอเคดี..
ตัวอย่างก็ยกมา เห็นชัดเชีย..แต่ถามหน่อย ว่าทำไมต้องเป็นกรณี ตรวจอ่างด้วยละ อยากไปท่องราตรีจะแย่แล้วซิ..น่า อีก เดือนเดียวเองน่า..
จริงๆเคยคิดจะทำ เมมัว เรื่อง การคิดค่าเสียหาย อะไรทำนองนี้อยู่เหมือนกันนะ ตั้งใจจะทำตั้งแต่ตอนทำ thesis ป.โท ที่เมืองไทยแล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำ ไปทำเรื่องผู้ถือหุ้น ซะ..
แต่ก็ยังสนใจอยู่..
แล้วจะบอก ถ้าคิดอะไร ตกผลึกมากกว่านี้
เราไปทำ mémoire และ thése กันเถอะ
กม. ปกครองจงเจริญ
วันนี้ทั้งคุณEtat de droit และคุณปิ่นล่อประเด็นหนักๆทั้งนั้นเลยนะ ผมพึ่งกลับมาจากทานข้าวและคาราโอเกะกับมิตรสหาย สมองยังไม่แล่นและบางประเด็นต้องกลับไปครุ่นคิดถึงแสดงความเห็นได้ ขอฝากความแค้นไว้ก่อน วันหลังจะมาเอาคืน
ถ้าอาจารย์Corgimanมาอ่าน รบกวนแสดงความเห็นด้วยครับ
"เอาให้เห็นภาพ ผมมีบ้านอยู่ใกล้กับโรงงานนิวเคลียร์ ผมย่อมมีความเสี่ยงต่อการได้รับความเสียหายหากโรงงานนิวเคลียร์ระเบิดมากกว่าคนอื่นๆที่อาศัยบริเวณไกลออกไปแน่ๆ ถ้าโรงงานเกิดระเบิดขึ้นจริง ผมแขนขาดไปข้างนึง ผมก็มีสิทธิไปเรียกค่าเสียหายจากกรมปรมาณูเพื่อสันติได้ แม้กรมฯจะไม่ได้ทำให้ระเบิด แม้การระเบิดจะเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุ แต่ในฐานะที่ผมเสี่ยงกว่าชาวบ้าน กรมฯก็ต้องเข้ามาจ่ายให้ผม"
ตรงนี้ผมอ่านแล้วไม่เคลียร์ครับและมีผลต่อจินตนาการ คือ โรงไฟฟ้าเนี่ย ของรัฐหรือเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจ และถ้าไม่ใช่โรงไฟฟ้าของรัฐ กรมปรมณูเพื่อสันติ มีตัวเชื่อมให้ต้องรับผิด ในฐานที่อนุญาตให้ตั้ง ณ ที่นั่น หรือในฐานที่ประกอบการครับ
อ่านหลักเรื่องความรับผิดโดยไม่ได้กระทำละเมิดแล้ว คิดว่าหลักการนี้... ศาลไทยคงยอมรับยากว่ะ... ผมไม่แน่ใจ Nature ของตุลาการศาลปกครอง (ต้องถามน้องเหลี่ยม) แต่ถ้าเป็นวิสัยทัศน์แบบข้าราชการ และตุลาการทั่วไป กระทั่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้ว อะไรก็ตามที่เป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนรัฐอาจเสียประโยชน์แล้ว น้อยนักที่จะตัดสินให้ชนะได้
อาจจะต้องรอนักกฎหมายมหาชนแท้ๆรุ่นใหม่ๆ ที่ไม่ถูกครอบงำด้วยระบบราชการเก่าๆ หรือไปเป็นศาลยุติธรรมนานๆ อาจจะมีหวัง
แต่ผมเข้าไปในเวบพวกนักกฎหมายสำนักติวสอบ... แล้วก็หมดหวังอยู่ดี...
อย่าว่างั้นงี้เลย...
ผมมักพูดอยู่เสมอ ว่าอนาคตของวงการกฎหมายมหาชนไทย อยู่ในมือพวกท่าน
เพราะผมสังหรณ์ใจบางอย่าง ว่าผมจะไม่ได้อยู่ในวงการนี้เสียทีเดียวนัก ... :S
เสืออีกตัวแล้ว กลับมาจากคาราโอเกะยังมีแก่ใจเปิดมาอ่าน marx อ่าน rawls อีก คิดนานๆ ไม่ต้องรีบ ผมกะคุณนิติรัฐจะเรียนหนังสือหนังหามั่ง เหอๆ
คุณนิติรัฐเข้าใจถูกว่า roemer ได้อิทธิพลจากความคิดเสรีนิยมประชาธิปไตยของ John Rawls อย่างสูง โดยเฉพาะงานชิ้นที่คุณนิติรัฐอ้าง
อีกหน่อยมาเขียนงานด้วยกันดีกว่า คุณนิติรัฐ
ตอบพี่บุญชิต...
พอดีเป็นการเขียนบล็อก ผมเลยยกตัวอย่างแบบสั้นๆ ง่ายๆ เห็นภาพ เลยไม่ได้มัดข้อเท็จจริงในตัวอย่างให้ครบ เกรงว่าจะละเอียดจนกินพื้นที่เกินไป
ตัวอย่างที่พี่สงสัยนั้น ผมตั้งใจหมายถึงฝ่ายปกครองครับ เป็นโรงงานของรัฐ โดยหลักแล้วรัฐน่าเป็นผู้เล่นหลักในเรื่องพลังงานนิวเคลียร์อยู่แล้ว ผมบอกว่ากรมปรมาณูฯอะไรนั่นต้องรับผิด เพราะ ผมไม่แน่ใจว่าองค์กรไหนมีหน้าที่เรื่องนี้ของบ้านเรา เลยยกมั่วๆมาดูให้เห็นภาพ เพียงต้องการสื่อว่า "เงินหลวง" น่ะ
เอาเข้าจริงถ้าเป็นฝรั่งเศส (และประเทศอื่นๆทั่วโลกนะ ผมว่า)มันไม่สนใจหรอกครับว่ากระทรวง ทบวง กรม ไหน จะโดนฟ้องให้รับผิด เวลาเค้าฟ้องกันจะฟ้อง รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ถ้าปีหน้าพี่มีโอกาสเรียน ลองสังเกตจะเห็นว่าคำพิพากษามันจะบอกเลยว่า รัฐต้องจ่ายเงินเท่าไร ไม่ใช่กระทรวงต้องจ่าย
มันถือว่ากระเป๋าเดียวกันหมดครับ ส่วนใครเป็นผู้ถูกฟ้องหรือมาเป็นคู่ความนั้น ก็เป็นแค่ประโยชน์ในทางพิจารณาคดีเท่านั้นเองว่าใครจะมาเป็นตัวแทนในการแก้ต่างให้รัฐ
ส่วนเรื่องทัศนคติของผู้พิพากษาบ้านเรานั้น ก็เป็นอย่างพี่บุญชิตว่า ที่โน้มเอียงไปทางรัฐมากกว่าประชาชน
โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญที่พี่ทำงานอยู่นั่นแหละตัวดีเลย
เกือบแปดปีนี้ ศาลทำหน้าที่พิทักษ์กลไกการทำงานของรัฐได้ดี แต่กลับสอบตกอย่างสิ้นเชิงในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน ทั้งๆที่ภารกิจหลักผมว่าน่าจะเป็นอย่างหลัง
แล้วนับวันจะยิ่งเป็นจุดด่างพร้อยของวงการกฎหมายบ้านเราไปเรื่อยๆ
ตัดสินคดีมาแต่ละที ไม่ได้แก้ปัญหาเลยครับ หลัก ต้องตัดสินแก้ไขข้อพิพาท นี่ดันตัดสินแล้วไม่แก้ไขข้อพิพาทแต่ยังมาปล่อยขี้ก้อนใหม่อีก
กรณีคดีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคงเห็นชัด
ไว้ว่างๆมาแกว่งปากหาเสี้ยนด้วยการอัดศาลรัฐธรรมนูญเล่นดีกว่า ๕๕๕
ส่วนศาลปกครอง ปีแรกๆก็มีลูกเพี้ยนอยู่บ้าง แต่หลังๆผมว่าเค้ามีผลงานดีขึ้นเรื่อยๆนะ เข้าใจว่าผู้พิพากษาเค้าไม่อีโก้สูงมั้ง เค้าจัดอบรมผู้พิพากษาใหม่ แล้วมีตัวหลักๆช่วยนำทาง แต่ศาลรัฐธรรมนูญนี่คงคิดว่าข้าแน่ทุกคน ก็จริงนะครับ ก็อาวุโสทั้งนั้นในเรื่องที่เค้าทำมาเกือบตลอดชีวิต แต่ "งาน" ใหม่ที่เค้าทำตอนนี้เรื่องคดีรัฐธรรมนูญนี่ เป็นเรื่องใหม่สำหรับเค้านี่นา
คิดว่าคงต้องใช้เวลา (เป็นคำตอบที่ดูเหมือนปลงและแก้ตัวแต่มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ)ทัศนคติของผู้พิพากษาบ้านเราคงปรับเปลี่ยนบ้าง
ฝรั่งเศสมันก็เป็นครับ เมื่อก่อนผู้พิพากษาก็ไม่ได้ปกป้องประชาชนมาก พึ่งมา ๑๐๐ ปีหลังนี้เองที่เริ่มปรับ
เพราะผู้พิพากษาก็เป็น "ผลิตผล" ของสังคมนี่ครับ
ผมสงสัยมากทำไมบ้านเราศาลยุติธรรมใช้ "ผู้พิพากษา" แล้วศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลทหาร ใช้ "ตุลาการ"
สถานะก็เหมือนกัน ทำไมต้องเรียกต่างกัน
มีเหตุผลอะไร
ไม่มีใครอธิบายด้วยเหตุผลที่มีตรรกะเลย มีคนเคยบอกผมว่าศาลยุติธรรมเค้าหวงคำว่า "ผู้พิพากษา" ไว้ใช้คนเดียว
บ้ามั้ยครับถ้าเป็นเพราะเหตุนี้?
เหตุผลที่คุณถามเรื่องผู้พิพากษา หรือตุลาการ บอกได้สั้นๆ ว่าจริง ผมได้ยินมาเช่นนั้น จากปากคำของผู้พิพากษาบึ้กบึ้มด้วย
ส่วนเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ กรณีคุณหญิง
ผมกำลังจะรื้อแฟ้มงาน เอามาเขียนอยู่ ถ้างานการทุอย่างเรียบร้อย สัปดาห์หน้าคงได้อ่านกัน เป็นงานฟื้นสมองชิ้นหนึ่งด้วย
เพราะอึดอัดกระแส "คนดีแตะไม่ได้" หรือ "คนดีของเบื้องสูง" เต็มทน ล่าสุดถึงขนาดโยงเข้าสถาบันจนเอียนไปเลย...
จะอย่างไรก็ตาม
"คนดี" ต้องมาใน "กระบวนการที่ชอบ" ด้วยครับ...
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
เรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ ที่บ่นๆกัน
ผมมองว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ช่วงหลังผู้เชียวชาญทางรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ มาจากข้าราชการประจำ ที่ไม่ได้เป็นนักวิชาการ... ต่างจากสมัย ดร. โกเมนทร์ ดร.อิสสระ อ.ประเสริฐ ดร.สุจิต หรือแม้แต่ลุงของใครแถวนี้ก็ด้วย
คำวินิจฉัยแม้แปลกๆ ไปบ้าง แต่ต้องยอมรับว่าหลักวิชาการค่อนข้างคม การอภิปรายเรียกว่า ถ้าได้ฟังแล้วมันส์หยก เสียงตัดสินออกมาก็มักก้ำกึ่งกัน
แต่ในยุคหลังๆ ส่วนใหญ่มาจากข้าราชการประจำ
คำวินิจฉัยก็...มักจะออกมาไม่ต่างกันมากนัก
จะเห็นได้ว่า เสียงการลงมติในช่วงหลังๆ เสียงออกมาเป็นเอกฉันท์ หรือชนะแบบไม่มีลุ้น (และโดยมากเป็นการคุ้มครองความมั่นคงและประโยชน์ของรัฐ) อยู่มาก
ถ้าแนวโน้มของตุลาการยังเป็นเช่นนี้ต่อไป...
ที่ทำงานของนายบุญชิตฯ เห็นจะโอ้ละเห่ โอ้ละหึก
ความเห็นก่อนหน้านี้สองอัน ผมลบเองครับตามความต้องการของเจ้าของความเห็น
ด้วยเหตุผลบางประการของเจ้าตัวเองครับ
อยากทราบว่าเพราะอะไรต้องหลังไมค์ไปถาม
๕๕๕
รออ่านครับพี่บุญชิตฯ
เนื่องจากผมเองก็อยู่ในหน่วยงานแห่งวงวนปัญหานี้อยู่เหมือนกัน และในหน่วยงานผมก็ถกเถียงเรื่องนี้มาตลอดจนกระทั่งตอนนี้
โดยเฉพาะปัญหาสถานะของคุณหญิงฯ และสถานะของผู้รักษาราชการแทนตอนนี้
เห็นด้วยกับพี่บุญชิตฯ ที่บอกว่า คนดี อย่างเดียวไม่พอ ต้องเข้ามาด้วยกระบวนการที่ถูกต้องด้วย
แต่ ผมก็ยังคงคิดต่อไปว่า การจะเอาคนออกจากระบบ ก็คงต้อง เป็นการเอาออกที่ถูกต้องด้วยเหมือนกัน
ส่วนขั้นตอนที่ผิดพลาด คงเป็นเรื่องที่ผมคงต้องขอความรู้จากนักกฎหมายมหาชน ปกครอง รุ่นใหม่อย่างพี่และเพื่อนๆคนอื่นๆ
เพราะยังคาใจอยู่ตลอดมาว่า ทุกขั้นตอนนี่มีผลเหมือน"เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" ทั้งหมดหรือไม่
กระบวนการพิจารณาของศาลที่ผิดพลาด ผิดหลง ผิดขั้นตอน ยังต้องมีการหยิบยกและเพิกถอนในเวลาที่กำหนด หรือต้องไม่มีการดำเนินการตามขั้นตอนที่ผิดพลาด ผิดหลงนั้น เสมือนกับการให้สัตยาบรรณ มันน่าจะเป็นหลักทั่วไปของกฎหมายวิธีพิจารณา และกรณีอื่นๆ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
ตรงนี้ผมยังไม่แน่ใจว่า กระบวนการนั้นมีสาระสำคัญถึงขนาดทำให้กระบวนการที่ชอบภายหลังจากนั้น ทลายลงหรือไม่
เหตุผลอีกอย่างคือ ผมมองว่า มันคือกระบวนการ หาใช่คุณสมบัติ
คงมีโอกาสได้อ่านงาน และได้แสดงความเห็นกันครับพี่
เออ ผมเกือบลืม
ประเด็นคำว่า "ผู้พิพากษา" กับ "ตุลาการ" ผมเคยไปวนเวียน (และขณะนี้ก็ยังวนอยู่) ในงานวิจัยกฎหมายตราสามดวงซึ่งเป็นกฎหมายโบราณที่ไม่มีสภาพบังคับแล้วในปัจจุบัน แต่นับได้ว่าเป็นวรรณกรรมทางกฎหมายชิ้นเอกในการแสวงหาภูมิปัญญา และสติปัญญา ดั้งเดิมของเรา
คำว่าผู้พิพากษา และตุลาการ ปรากฏอยู่ในกฎหมายตราสามดวงทั้งคู่ และบางครั้ง ดูเหมือนกับเป็นการจงใจใช้ให้ต่างกัน
สมัยก่อนองค์กรในกระบวนการตัดสินความ มีค่อนข้างเยอะและสับสน ทุกกระบวนการขั้นตอน ต่างมีองค์กรเข้ามาดูแลรับผิดชอบ แยกต่างหากกัน
ตุลาการ หรือ ตระลาการ ตามคำเก่า มีหน้าที่ในการไต่สวนทวนความ แบบหลักตรวจสอบเรานี่แหล่ะครับ คุมตัวคู่ความอยู่ในตระลาการ ซึ่งก็คือ บ้านของท่านตระลาการ หรือ ตุลาการนั่นเอง ฉะนั้นไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด ที่เมื่อก่อน มีความที่เรียกว่า “ความอุทธรณ์” ฟ้องร้องตุลาการว่า ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมิชอบ เข้ากับลูกความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือแม้กระทั่ง กระทำชู้ด้วยลูกความ!!!
อุทธรณ์แบบนี้ไม่ใช่เพียงแค่ต้องการผลการเปลี่ยนแปลงของคดี แต่ต้องการเอาผิดตุลาการด้วยน่ะครับ
ส่วนคำว่าผู้พิพากษานั้นปรากฏอยู่น้อยมากในกฎหมายตราสามดวงถ้าเทียบกับคำว่าตุลาการ แต่พบหน้าที่ที่น่าจะแยกจากกันได้บ้าง ก็คือ เมื่อตุลาการหรือตระลาการไต่สวนทวนความเรียบร้อย ผูกสำนวนเสร็จสิ้น ก็จะต้องส่ง “ลูกขุน ณ ศาลหลวง” พวกนี้ส่วนใหญ่เป็น พราหมณ์ เหตุเพราะกฎหมายเราได้รับอิทธิพล คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ของอินเดีย ผ่านทางมอญ หรือไม่ก็พม่า
ศาลหลวงจะทำหน้าที่ตรวจสำนวนความ และพลิกกฎหมาย ชี้ถูกและผิด คือ ขั้นตอนของการปรับบทกฎหมายนั่นเองครับ แต่พักหลังๆ พระมหากษัตริย์ ท่านวางพระราชกำหนด บทพระอัยการมากมาย จนทำให้ ลูกขุน ณ ศาลหลวงเอง ก็เริ่มเบลอ ประกอบกับการที่ต้องการลดอำนาจ บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ซึ่งคงสืบทอดมาจากต่างแดนมากกว่าจะเป็นไทยด้วยกัน ก็เลยโอนหน้าที่ปรับบทกฎหมาย และคำนวณ สินไหม พินัย และโทษ มาไว้ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ที่เรียกว่า “ผู้ปรับ” ตรงนี้เองน่าจะเป็นหน้าที่ที่อาจแยกออกมาจากตุลาการ จนเราเรียกว่า ผู้พิพากษาก็ได้
ผู้พิพากษา ตัดสินผิด หมายถึง ชี้ถูกผิด ผิด ไม่เป็นไปตามพระธรรมศาสตร์ และบทพระอัยการ แล้ว ก็อาจถูกอุทธรณ์ ได้เช่นกัน แต่เท่าที่สืบดู โทษจะเบากว่า พวกตุลาการ เหตุเพราะ ต้นสายแห่งความผิดพลาด หรือการจงใจทำผิดกฎหมาย ตุลาการ มีช่องทางมากกว่ากระมังครับ
เป็นอันว่า พราหมณ์ก็จะมีหน้าที่ในการชี้ถูกผิด ตามท้องสำนวน ที่ตุลาการท่านสืบสวนทวนความกันมาแล้วเรียบร้อย
อาจจะได้รับอิทธิพลจากเรื่องนี้ด้วยไม่มากก็น้อยกระมังครับ เพราะสังเกตได้ว่า องค์กรที่เรียกว่าตุลาการทั้งหลาย ในปัจจุบัน โดยเฉพาะศาลปกครอง ท่านใช้ระบบ “ตรวจสอบ” มากกว่าที่จะให้คู่ความเอาพยานหลักฐานเข้ามาสู้กันเอง แล้วฟังเฉพาะพยานหลักฐานที่ยื่นมาได้เท่านั้น แต่ท่านมีบทบาทในการแสวงข้อเท็จจริงเองได้พอสมควร
ไว้หากมีโอกาสจะลองเขียนเกร็ดเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมในสมัยโบราณ มาเล่าสู่กันฟังครับ โดยเฉพาะ พวก จารีตนครบาล และ การพิสูจน์ความจริงแบบ “ดำน้ำ ลุยเพลิง” สนุกดีครับ
ได้อ่านแน่ๆ แล้วครับ คุณ ratioscripta ผมลงมือร่างปลองอยู่ (ติดนิสัยคนฝรั่งเศส) เพื่อให้บทความแน่นขึ้นเหมือนต้นไม้
และดีไม่ดี อาจจะส่งไปลงผู้จัดการ ประเดิมนามปากกาใหม่ด้วย
คุณทำงานที่ไหนครับ ถ้าทำงานสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน จะถามหน่อย ว่า ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่อย่างไรบ้างครับ จุดนี้ผมเองก็งงนะ เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า
"คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน่วยธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ที่เป็นอิสระ โดยมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน"
อ่านจากรัฐธรรมนูญ หมายความว่า ตัวคุณหญิงนั้น คือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของส่วนสำนักงาน มิใช่คณะกรรมการ คือพูดง่ายๆ ว่า ท่านก็เป็นเหมือนเลขาฯศาลรัฐธรรมนูญ (ท่านไพบูลย์) นั่นเอง ท่านไพบูลย์ไม่ได้เขียนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉันใด คุณหญิงท่านก็ไม่น่าจะเป็นคน "ตรวจเงินแผ่นดิน" ฉันนั้น แต่อาจจะเป็นคนยึดทรัพย์ สั่งฟ้อง หรืออะไรๆ เช่นนี้ แต่กระนั้นก็น่าจะเป็นการใชอำนาจที่เป็นผลมาจากการพิจารณาวินิจฉัยของกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือพูดง่ายๆ ว่าตัวองค์อำนาจของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คือตัวกรรมการ
แต่ทำไม หนังสือพิมพ์ (ฉบับที่ผมคุ้นเคยนั่นแหละ ตัวดีเลย) ถึงพยายาม "สร้าง" ภาพให้ท่าน เป็นเสมือนผู้ผดุงความยุติธรรมของบ้านเมืองไปเสียขนาดนั้น... ??? ราวกับว่า ท่านนั่นแหละ เป็นผู้จับทุจริตต่างๆ นาๆ หรือเป็นผู้ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเสียเอง
ราวกับว่า หากไม่มีท่านเสียแล้ว คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินล่มสลายแน่ๆ
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นล่ะครับ
ใครทราบ ตอบผมหน่อยครับ
ผมทำงานในสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินครับพี่
ปัญหาที่พี่ถามนั้น เป็นเรื่องใหญ่ในโครงสร้างของการตรวจเงินแผ่นดินปัญหาหนึ่งเลยครับ เพราะว่าการออกแบบโครงสร้างองค์กรในการตรวจเงินแผ่นดินมันค่อนข้างจะแปลกประหลาดมาก
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือ สตง. จะว่าไปก็คือหน่วยธุรการของ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ คตง. เหมือนกับสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ หรือ สำนักงานศาลปกครองนั่นเอง
แต่ความซับซ้อนมันอยู่ที่ (อันนี้ผมไม่ทราบว่าหน่วยงานอื่นๆข้างต้นเป็นไงนะครับ) ตัวผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีความแปลกประหลาดจาก เลขาธิการสำนักงานทั้งหลาย เพราะว่า ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรที่ต้องมีการสรรหา และได้รับการแต่งตั้ง เห็นชอบจากวุฒิฯ เช่นเดียวกับ ตัว คตง. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ศักดิ์และสิทธิ์ เท่ากัน ตั้งแต่เงินเดือน และค่าตอบแทนอื่นๆ (จะน้อยกว่า ก็แต่เฉพะประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน)
การเข้าสู่ตำแหน่ง และการออกจากตำแหน่งก็มีการกำหนดไว้ค่อนข้างชัด โดยให้โยงกับวุฒิฯ คือ ถ้าคตง จะให้ออก ต้องมติเอกฉันท์ ว่าประพฤติเสื่อมเสีย และนอกจากนั้นต้องส่งไปให้วุฒิให้ความเห็นชอบให้ออก โดยต้องใช้มติเสียงสามในสี่ของวุฒิด้วย
การปฏิบัติงานผู้ว่าฯขึ้นตรงต่อ ประธานคตง.
ความสัมพันธ์ระหว่าง คตง กับ ผู้ว่าการฯ ไม่ใช่ในฐานะ ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาแต่อย่างใด แต่มีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่กันได้อย่างชัดเจน นั่นคือ คตง.เป็นผู้วางนโยบาย และคุมนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน และพิจารณาผลการตรวจสอบ ท่านไม่ได้ลงมาตรวจเอง แต่ จะพิจารณาผลการตรวจสอบ ของเจ้าหน้าที่ในสตง ตรวจเสร็จสิ้นมาแล้ว
การตรวจสอบทั้งหลาย เป็นเรื่องของ สตง.ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของ ผู้ว่าการฯ เท่านั้น คตง.จะลงมาสั่งในทางปฏิบัติ ให้ตรวจเรื่องนี้เรื่องนั้น ไม่ได้ หรือแทรกแซงการปฏิบัติในการตรวจสอบไม่ได้ครับ
วางได้แค่นโยบายการตรวจสอบ
หรืออาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็น "กันชัน" ระหว่าง คตง.กับ สตง.ด้วย ไม่ใช่แค่รับผิดชอบงานธุรการ
แต่มีหน้าที่ถ่วงดุลและคานอำนาจการตรวจเงินแผ่นดินของ คตง.ด้วย
ฉะนี้กระมังครับ ที่ตำแหน่งผู้ว่าการฯ จึงมีความพิเศษและมีประเด็นเรื่องราวมากมาย ให้ถกเถียงกัน
นอกจากโครงสร้างดังกล่าวแล้ว ปัญหาภายในองค์กร ที่เป็นเรื่องระหว่างตัวบุคคลก็เป็นประเด็นมิใช่น้อย
การคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระของบ้านเรา ต้องยอมรับว่า จะให้ปลอดจากการเมืองเป็นเรื่องยากเหลือเกิน การที่อาจารย์อมร เคยวางโครงสร้างให้ผู้ว่าการฯเป็นอิสระ จากฝ่ายการเมือง และในขณะเดียวกันก็อิสระ (พอควร) จาก คตง.เองด้วย อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่ง ในการสร้าง "กันชน" ระหว่าง คตง.กับข้าราชการในสตง.
ข้าราชการอย่างผม มีหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดิน ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าการฯ ผลการตรวจสอบ เราส่งไปให้ คตง.ท่านพิจารณา เรียกว่า เป็นการแบ่งแยกองค์กรในการ "ตรวจสอบ" และ "พิจารณาผล" ออกจากกัน
และในชีวิตการทำงานที่นี่ของผม ปีกว่าๆ ผมก็เห็นบทบาทการเป็น "กันชน" ระหว่าง สตง.กับ คตง.ของคุณหญิงฯ มามากพอสมควร
โดยเฉพาะกันชน ให้กับสตง. กับ คตง.บางคน ที่มีผลประโยชน์ขัดกัน ในการก่อสร้าง "หนองงูเห่า"
รออ่านงานพี่บุญชิตฯครับ
ต่ออีกนิดครับผม
หากเปรียบเทียบกับ โครงสร้างขององค์กรอย่าง คณะกรรมการป้องกันและปรามปราบการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. จะต่างกันมาก เพราะตัว ป.ป.ช.เอง มีอำนาจในการลงมาไต่สวน รวมทั้งสืบสวนสอบสวน (แสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ) เอง คือ "ลงมาเล่นเอง" นั่นแหล่ะครับ ไม่ได้ถูกแยกเช่นกับ โครงสร้างของ คตง และ สตง
โดยเฉพาะอำนาจของผู้ว่าการฯ ตาม มาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ฯ ตรวจเงินแผ่นดิน 2542 และอำนาจในการ "ตรวจสอบ" ที่เป็นของ "สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน" ตาม มาตรา 39 ซึ่งการตรวจสอบ นั้นกระทำโดยเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ โดยผู้ที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้นั้น ไม่ใช่ทุกคน แต่ต้องมีคุณสมบัติ และได้รับการแต่งตั้งจาก "ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน" อันนี้ต่างจากสำนักงานปปช ที่ไม่ได้มีอำนาจในการลงไปไต่สวนตรวจสอบเอง เป็นแค่ธุรการล้วนๆ
เมื่อตรวจเสร็จแล้ว ผู้ว่าการฯ จึงรายงานผลการตรวจสอบ (สำนวนในการตรวจสอบ) เสนอต่อ คตง.เพื่อพิจารณาลงมติ ซึ่งบางเรื่องคตง ก็จะมอบหมายมอบอำนาจให้ ผู้ว่าการฯ พิจารณาลงความเห็นเองได้ (มีเกณฑ์พิจารณาจาก จำนวนเงินเสียหาย และระดับของผู้กระทำผิด)
สำหรับการพิจารณาลงมติและแจ้งมติ เป็นอำนาจของ คตง.ซึ่งเป็นองค์กรกลุ่ม เพื่อให้ไปชนกับฝ่ายการเมือง หรือบรรดาหน่วยรับตรวจเอง ไม่ใช่ให้ผู้ว่าการฯ หรือ สตง ชน
พี่บุญชิตฯ ต้องการรายละเอียดอะไรเกี่ยวกับสตง ผมยินดีหามาให้ เท่าที่ความสามารถจะเอื้ออำนวยครับผม ผมเองก็อยากเห็นหน่วยงานแห่งนี้เจริญก้าวหน้าและสามารถปฏิบัติภาระกิจลุล่วงดังที่รัฐธรรมนูญตั้งใจหวังไว้ ผมเชื่อว่า หากการตรวจเงินแผ่นดินมีประสิทธิภาพ ปปช จะมีงานทำน้อยลงมาก และโดยอำนาจหน้าที่ของ สตง เอง สามารถลงไปตรวจ หรือวางแผนก่อนที่จะเกิดความเสียหายได้ และไม่ได้ตรวจแค่การทุจริต แต่รวมไปถึงประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินด้วย เรามีการตรวจสอบ หลายประเภทครับ เช่น ตรวจงบการเงิน อันนี้เป็นเรื่องทางบัญชี ตรวจจัดซื้อจัดจ้าง อันนี้พวกพัสดุ ตรวจสอบดำเนินงาน อันนี้ตรวจทางความคุ้มค่าคุ้มทุนในการดำเนินการของรัฐที่ต้องอาศัยเงินแผ่นดิน ตรวจสอบสืบสวน อันนี้เป็นการตรวจทุจริต โดยอาจจะเป็นการตรวจสอบต่อเนื่องจากการตรวจประเภทอื่นๆแล้วพบความไม่ชอบมาพากล
แต่อำนาจของ คตง และสตง ก็มีจำกัด คตง ไม่ได้มีอำนาจในการลงโทษ ให้คุณให้โทษด้วยตัวมันเอง (ยกเว้นเรื่องวินัยงบประมาณและการคลัง ที่ปัจจุบันก็ยังใช้ได้ไม่เต็มร้อยนัก) มีแต่เพียงแจ้งผลการตรวจสอบไปยังองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น วินัย ก็ต้องแจ้งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด แพ่ง พวกเรียกเงินคืน ก็ต้องแจ้งไปยังเจ้าของเงิน เช่น หน่วยงานต้นสังกัดนั่นแหล่ะ หรือกระทรวงการคลัง และอาญา ก็แจ้งไปยัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ ปปช (ซึ่งเป็นง่อยอยู่) แล้วแต่กรณี
แต่โชคดีที่ยังมีอำนาจในการติดตามผลปฏิบัติตามการแจ้งผลด้วย โดยหากไม่คืบหน้า หรือมีการดำเนินการที่ไม่สมเหตุสมผลตามที่ตรวจไป ก็มีอำนาจแจ้งไปยังหน่วยงานกำกับที่สูงขึ้น จนกระทั่งถึง คณะรัฐมนตรี และสภา โดยเฉพาะกรรมาธิการทุจริต และ กรรมาธิการงบประมาณ เพื่อพิจารณาตัดงบของหน่วยงานนั้นๆ ในปีต่อไป
จะว่าเป็นเสือกระดาษ ก็กระดาษครับ แต่ตามกฎหมายปัจจับัน ก็น่าจะเป็น กระดาษแข็ง ตีแล้วมันก็รู้สึกบ้าง ไม่ใช่กระดาษสา หรือ ทิชชู่ ที่โดนน้ำก็ยุ่ย ตีไงก็ไม่เจ็บ ยกเว้นว่า กระดาษสา หรือ ทิชชู่นั้น มันจะ
ห่อค้อน
ข้อมูลจากคุณ ทำให้ผมคงต้องรื้อโครงใหม่
และต้องศึกษาเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ...
ดีจริงๆ...
จริงๆ ผมรู้สึกเกรงใจแฮะ ที่มาป่วนบล๊อกเจ้านิติรัฐ
เพราะแทนที่จะได้ถกกันเรื่องของบล๊อกมันล้วนๆ
ดันถูกลากไปนอกเรื่องซะเละเทะเลย...
รู้สึกเหมือนพี่บุญชิตฯครับ เกรงใจเจ้าของบล็อก เพราะเหมือนใช้เนื้อที่บล็อกท่าน ระบายในเรื่องผมสนใจส่วนตัว
เอาเป็นผมจะรวบรวมความเห็นของผมที่ลงไว้ในนี้ มาเรียบเรียงนิดหน่อยแล้วเอาไปแปะในบล็อกของผมแล้วกันนะครับ
Just come to visit your website as Khun Pariyed's suggestion krab. Yours is very knowledgeable krab.
POL_US.
เฮ้..นิติรัฐ..
วันก่อนไปอ่านหนังสือมาเล่มนึง มีพูดถึง คอนเซปท์ของ raws ด้วยไม่รู้เคยอ่านรึยัง อยู่ประมาณหน้า ร้อยห้าสิบเก้า เขียนเกี่ยวกับเรื่องระบบกระบวนวิธีพิจารณา
แต่ anyway ขอทิ้งชื่อหนังสือไว้เผื่อชาว francophone จะสนใจนะคะ
ชื่อ Le relatif et l'universel ของ Mireille Delmas-Marty สำนักพิมพ์ Sueil ราคาแบบ fanc คือ 25.65 ยูโร
เป้นหนังสือที่สนุกดี อ่านแล้ว เออ..ก็จริง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกะว่า กม. ที่เราๆท่านๆใช้ในโลกนี้ มันทำให้เป็นเอกภาพ เช่น การรวมกลุ่มของยุโรป หรือ ทำให้มีความเกียวข้องกันอย่างไร (ตามชื่อมันน่ะแหละ)
อ่านแล้วชอบมากเลย เขียนเรื่องการพัฒนาของ กม.ในยุคสมัยใหม่นี้ด้วย เช่น เรื่อง cloning หรือการแปลงเพศ อะไรแบบนั้น
เป็นมุมมองกว้างๆ น่ะ
ถ้ายังไม่อ่าน..แนะนำ นะคะ..
ถ้าอ่านแล้ว..มาคุยกันนะ ..ว่าคิดเหมือนกันปะ..
ไปล่ะ..ไปอ่านต่อ ใกล้จบล่ะ..
www0719
coach handbags
nba jerseys
guess factory
canada goose outlet
ugg outlet
kate spade outlet
canada goose jackets
canada goose outlet
ray ban sunglasses
oakley sunglasses
www0815
moncler outlet
ray ban eyeglasses
louboutin shoes
issey miyake perfume
red bottom
ralph lauren outlet
coach outlet online
christian louboutin shoes
vibram fivefingers shoes
ray ban eyeglasses
มันบังเอิญมากที่ฉันชอบคาสิโนและมีเพื่อนคนหนึ่งแนะนำเว็บไซต์ที่ยอดเยี่ยมที่ฉันสามารถสนุกได้ ภายในระยะเวลาอันสั้นคุณสามารถตรวจสอบให้แน่ใจว่าทรัพยากรนี้ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายและตรงไปตรงมา https://www.inwasiacasino.com/gclub888-casino/ เมื่อตัดสินใจว่าจะเล่นในคาสิโนนี้คุณควรจำสิ่งสำคัญ - คุณต้องรับผิดชอบทั้งต่อตัวเองและต่อครอบครัวและเพื่อนของคุณ คุ้มไหมที่จะใช้ชีวิตโดยไม่มีเงิน?
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก