อาลัยอาจารย์สุธีร์
รศ.สุธีร์ ศุภนิตย์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์สอนวิชาเอกเทสสัญญา ๒ วิชากฎหมายล้มละลาย และวิชากฎหมายการแข่งขันทางการค้า
ได้จากเราไปเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน หลังจากต่อสู้กับโรคมะเร็งมานาน
อาจารย์สุธีร์นับเป็นอาจารย์ที่สอนผมคนที่สองที่เสียชีวิตไป ก่อนหน้านั้น อาจารย์พนม เอี่ยมประยูร อดีตคณบดีอีกคนก็เสียชีวิตไปเมื่อปลายปี ๒๕๔๔
ผมเข้ามาเรียนปี ๑ ในช่วงที่ อาจารย์สุธีร์ เป็นคณบดี ยังจำได้แม่นยำว่าวันปฐมนิเทศ ท่านเป็นผู้กล่าวต้อนรับพวกเราและแนะแนวทางการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
ตอนนั้น คิดว่าอาจารย์ท่านนี้คงเป็นคณบดีอย่างน้อยก็จนผมขึ้นปี ๓
แต่แล้วก็เกิดอุบัติเหตุ
หลังจากดำรงตำแหน่งเพียงหนึ่งปี อาจารย์ก็ลาออกจากตำแหน่ง
เหตุการณ์นั้น ผมนับถือ "ใจ" ของอาจารย์สุธีร์ ที่ท่านตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งคณบดีก็เพื่อคณะของพวกเรา (ด้วยสาเหตุใดนั้น ไม่อาจเปิดเผยได้ แต่พวกเรารู้กันดีว่าเป็นความจำเป็นทาง "การเมือง" ตามคุณขอมา)
แม้อาจารย์สุธีร์จะมีโอกาสสั้นๆในการบริหารคณะ แต่ท่านก็ทำได้ดี ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่
อาจารย์สุธีร์ยังสอนให้ผมสนุกกับวิชากฎหมายล้มละลาย
วิชานี้อยู่ในชั้นปีที่ ๔ ช่วงนั้น ผมรู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนกฎหมายอยู่ จนกระทั่งมาเจอวิชานี้ ที่ทำให้ผมกลับมาสนุกอีกได้
แม้ผมจะเป็นพวกไม่เข้าเรียน แต่ผมกับสนุกกับการอ่านวิชาล้มละลายมาก จากข้อสอบเก่าที่ผมค้นมาทำเพื่อเตรียมสอบ ผมพบว่าอาจารย์ออกข้อสอบได้ "แนว" กว่าวิชาอื่นๆจริงๆ คือ ข้อสอบห้าข้อ ไม่ได้เป็นปัญหาตุ๊กตาล้วนๆ หากเป็นข้อสอบบรรยายความสองข้อ วิจารณ์คำพิพากษาฎีกา หนึ่งข้อ และที่เหลืออีกสองข้อ เป็นปัญหาตุ๊กตา
นี่เป็นวิชาแรกที่ทำให้ผมได้ฝึกฝนการเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ฎีกา ซึ่งเป็นประโยชน์กับผมจนถึงทุกวันนี้
จำได้ว่า ตอนนั้นผมอ่านตำรากฎหมายล้มละลายเป็นบ้าเป็นหลัง นอกจากตำราของอาจารย์สุธีร์เองแล้ว ผมยังไปดั้นด้นค้นเอาตำรากฎหมายล้มละลายของอาจารย์ปรีชา สุมาวงศ์ และอาจารย์วิชา มหาคุณ มาอ่านเพิ่มอีก เพราะ อยากเอามาไขปริศนาในข้อสอบของอาจารย์สุธีร์
ratio scripta เป็นพยานได้ว่า เราสนุกสนานเพียงไรกับการติววิชากฎหมายล้มละลายให้กับเพื่อนๆ
อาจารย์สุธีร์นับเป็นอาจารย์ที่มีบรรยากาศ "กันเอง" กับนักศึกษามาก ท่านยินดีทุกครั้งที่นักศึกษาเข้าไปพูดคุยด้วย จริงอยู่ ใครบางคนอาจว่าท่านเป็นคนปากร้ายเอาการ แต่ภายใต้ภาพเช่นนั้น มีความใจดีซ่อนอยู่เสมอ บางครั้งท่านก็เรียกนักศึกษาว่า "ลูก" ก็มี
เมื่อผมเข้ามาเป็นอาจารย์ใหม่ๆ บ่อยครั้งที่ผมมีโอกาสได้กินข้าวกลางวันกับอาจารย์สุธีร์ที่ข้างสนามมวย อาจารย์สอนอะไรผมหลายอย่าง ครั้งหนึ่ง ด้วยความไม่เคยชินกับการตรวจข้อสอบจำนวนมาก ผมบ่นเรื่องตรวจข้อสอบเยอะ ตรวจไม่ทัน อาจารย์เตือนสติผมว่า เราบ่นไม่ได้ มันเป็นหน้าที่
ตั้งแต่สมัยเรียน ผมเห็นภาพอาจารย์ควักบุหรี่ขึ้นสูบจนชินตา พรรคพวกของผมมักเข้าไปทักทาย บ้างก็ลามปามถึงขั้นไถบุหรี่อาจารย์เอาเสียเลย
จนกระทั่งผมเข้ามาเป็นอาจารย์ ก็ยังคงเห็นภาพชินตานี้อยู่
แน่นอน บุหรี่ ที่อาจารย์พิสมัยนั้น สักวันจะต้องกลับมาทำร้ายอาจารย์
แต่ไม่นึกว่าจะเร็วถึงเพียงนี้
ผมกลับไปเมืองไทยครั้งล่าสุด ไม่ได้มีโอกาสเจออาจารย์ แต่ได้ข่าวมาว่าอาจารย์พักการสอนไปหนึ่งปี เพื่อรักษาตัว
จนกระทั่งวันหนึ่ง ผมเดินสวนกับชายคนหนึ่ง ร่างกายซูบผอมมาก โดยไม่คิดเลยว่าชายคนนั้น คือ อาจารย์สุธีร์
เช้านี้ ตื่นมานั่งอ่านอะไรในอินเตอร์เนทไปเรื่อย
จนกระทั่งเจอข่าวอาจารย์เสียชีวิต
ผมยังคิดเสมอว่า หลังการรักษาตัว อาจารย์น่าจะกลับมาสอนหนังสือซึ่งเป็นงานที่อาจารย์รักได้อีก
แต่แล้ว ความจริงก็สร้างความเจ็บปวดให้เราได้เสมอ
ผมเดาว่าอาจารย์สุธีร์คงยิ้มสู้กับชะตากรรมของอาจารย์อย่างไม่หวาดหวั่นเป็นแน่ เพราะอาจารย์รู้เสมอว่า "มะเร็งห่อมวน" ที่อาจารย์ใช้มันทุกวัน วันละหลายครั้งนั้น สักวันมันจะต้องส่งผลร้ายกับอาจารย์
อาจารย์จากพวกเราไปแล้ว
ขอดวงวิญญาณของอาจารย์สุธีร์ไปสู่สุคติ
ขอบคุณอาจารย์
ได้จากเราไปเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน หลังจากต่อสู้กับโรคมะเร็งมานาน
อาจารย์สุธีร์นับเป็นอาจารย์ที่สอนผมคนที่สองที่เสียชีวิตไป ก่อนหน้านั้น อาจารย์พนม เอี่ยมประยูร อดีตคณบดีอีกคนก็เสียชีวิตไปเมื่อปลายปี ๒๕๔๔
ผมเข้ามาเรียนปี ๑ ในช่วงที่ อาจารย์สุธีร์ เป็นคณบดี ยังจำได้แม่นยำว่าวันปฐมนิเทศ ท่านเป็นผู้กล่าวต้อนรับพวกเราและแนะแนวทางการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
ตอนนั้น คิดว่าอาจารย์ท่านนี้คงเป็นคณบดีอย่างน้อยก็จนผมขึ้นปี ๓
แต่แล้วก็เกิดอุบัติเหตุ
หลังจากดำรงตำแหน่งเพียงหนึ่งปี อาจารย์ก็ลาออกจากตำแหน่ง
เหตุการณ์นั้น ผมนับถือ "ใจ" ของอาจารย์สุธีร์ ที่ท่านตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งคณบดีก็เพื่อคณะของพวกเรา (ด้วยสาเหตุใดนั้น ไม่อาจเปิดเผยได้ แต่พวกเรารู้กันดีว่าเป็นความจำเป็นทาง "การเมือง" ตามคุณขอมา)
แม้อาจารย์สุธีร์จะมีโอกาสสั้นๆในการบริหารคณะ แต่ท่านก็ทำได้ดี ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่
อาจารย์สุธีร์ยังสอนให้ผมสนุกกับวิชากฎหมายล้มละลาย
วิชานี้อยู่ในชั้นปีที่ ๔ ช่วงนั้น ผมรู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนกฎหมายอยู่ จนกระทั่งมาเจอวิชานี้ ที่ทำให้ผมกลับมาสนุกอีกได้
แม้ผมจะเป็นพวกไม่เข้าเรียน แต่ผมกับสนุกกับการอ่านวิชาล้มละลายมาก จากข้อสอบเก่าที่ผมค้นมาทำเพื่อเตรียมสอบ ผมพบว่าอาจารย์ออกข้อสอบได้ "แนว" กว่าวิชาอื่นๆจริงๆ คือ ข้อสอบห้าข้อ ไม่ได้เป็นปัญหาตุ๊กตาล้วนๆ หากเป็นข้อสอบบรรยายความสองข้อ วิจารณ์คำพิพากษาฎีกา หนึ่งข้อ และที่เหลืออีกสองข้อ เป็นปัญหาตุ๊กตา
นี่เป็นวิชาแรกที่ทำให้ผมได้ฝึกฝนการเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ฎีกา ซึ่งเป็นประโยชน์กับผมจนถึงทุกวันนี้
จำได้ว่า ตอนนั้นผมอ่านตำรากฎหมายล้มละลายเป็นบ้าเป็นหลัง นอกจากตำราของอาจารย์สุธีร์เองแล้ว ผมยังไปดั้นด้นค้นเอาตำรากฎหมายล้มละลายของอาจารย์ปรีชา สุมาวงศ์ และอาจารย์วิชา มหาคุณ มาอ่านเพิ่มอีก เพราะ อยากเอามาไขปริศนาในข้อสอบของอาจารย์สุธีร์
ratio scripta เป็นพยานได้ว่า เราสนุกสนานเพียงไรกับการติววิชากฎหมายล้มละลายให้กับเพื่อนๆ
อาจารย์สุธีร์นับเป็นอาจารย์ที่มีบรรยากาศ "กันเอง" กับนักศึกษามาก ท่านยินดีทุกครั้งที่นักศึกษาเข้าไปพูดคุยด้วย จริงอยู่ ใครบางคนอาจว่าท่านเป็นคนปากร้ายเอาการ แต่ภายใต้ภาพเช่นนั้น มีความใจดีซ่อนอยู่เสมอ บางครั้งท่านก็เรียกนักศึกษาว่า "ลูก" ก็มี
เมื่อผมเข้ามาเป็นอาจารย์ใหม่ๆ บ่อยครั้งที่ผมมีโอกาสได้กินข้าวกลางวันกับอาจารย์สุธีร์ที่ข้างสนามมวย อาจารย์สอนอะไรผมหลายอย่าง ครั้งหนึ่ง ด้วยความไม่เคยชินกับการตรวจข้อสอบจำนวนมาก ผมบ่นเรื่องตรวจข้อสอบเยอะ ตรวจไม่ทัน อาจารย์เตือนสติผมว่า เราบ่นไม่ได้ มันเป็นหน้าที่
ตั้งแต่สมัยเรียน ผมเห็นภาพอาจารย์ควักบุหรี่ขึ้นสูบจนชินตา พรรคพวกของผมมักเข้าไปทักทาย บ้างก็ลามปามถึงขั้นไถบุหรี่อาจารย์เอาเสียเลย
จนกระทั่งผมเข้ามาเป็นอาจารย์ ก็ยังคงเห็นภาพชินตานี้อยู่
แน่นอน บุหรี่ ที่อาจารย์พิสมัยนั้น สักวันจะต้องกลับมาทำร้ายอาจารย์
แต่ไม่นึกว่าจะเร็วถึงเพียงนี้
ผมกลับไปเมืองไทยครั้งล่าสุด ไม่ได้มีโอกาสเจออาจารย์ แต่ได้ข่าวมาว่าอาจารย์พักการสอนไปหนึ่งปี เพื่อรักษาตัว
จนกระทั่งวันหนึ่ง ผมเดินสวนกับชายคนหนึ่ง ร่างกายซูบผอมมาก โดยไม่คิดเลยว่าชายคนนั้น คือ อาจารย์สุธีร์
เช้านี้ ตื่นมานั่งอ่านอะไรในอินเตอร์เนทไปเรื่อย
จนกระทั่งเจอข่าวอาจารย์เสียชีวิต
ผมยังคิดเสมอว่า หลังการรักษาตัว อาจารย์น่าจะกลับมาสอนหนังสือซึ่งเป็นงานที่อาจารย์รักได้อีก
แต่แล้ว ความจริงก็สร้างความเจ็บปวดให้เราได้เสมอ
ผมเดาว่าอาจารย์สุธีร์คงยิ้มสู้กับชะตากรรมของอาจารย์อย่างไม่หวาดหวั่นเป็นแน่ เพราะอาจารย์รู้เสมอว่า "มะเร็งห่อมวน" ที่อาจารย์ใช้มันทุกวัน วันละหลายครั้งนั้น สักวันมันจะต้องส่งผลร้ายกับอาจารย์
อาจารย์จากพวกเราไปแล้ว
ขอดวงวิญญาณของอาจารย์สุธีร์ไปสู่สุคติ
ขอบคุณอาจารย์
11 ความคิดเห็น:
อาจารย์สุธีร์ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายล้มละลายและกฎหมายแข่งขันทางการค้า แม้ผมเองไม่เคยเรียนกับท่าน แต่ชื่อเสียงและลีลาการสอนของท่านเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว
ท่านไม่เพียงเป็นอาจารย์ที่สอนเนื้อหากฎหมายได้ดี ในด้านการใช้ชีวิตท่านเองก็เป็นผู้แนะนำที่ดี ผมเองได้มีโอกาสพบปะกับท่านเพียงไม่กี่ครั้ง แต่ทุกครั้งที่ผมมีโอกาส ท่านก็ให้ความเอ็นดูและพูดคุยกับผมอย่างเป็นกันเองทุกครั้ง และทุกครั้งที่ได้พูดคุยกันผมก็ได้ข้อคิดดี ๆ จากท่านอยู่เสมอ
ขอให้ท่านอาจารย์ไปสู่สุคติครับ
เป็นข่าวร้ายมากครับ ... อาจารย์ สุธีร์ เป็นคณบดี ตอนพี่เข้าเป็น นศ. ภาคบัณฑิต ปี ๒๕๔๐ และสอนวิชาล้มละลายให้พี่เช่นกัน ..... นับถือท่านในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการลาออกจากตำแหน่งคณบดี
ขอดวงวิญญาณท่านไปสู่สุขคติเถิด (RIP.)
โดยส่วนตัวผมก็เคารพท่านอาจารย์สุธีร์มากอยู่แล้วหละครับ เพราะผมเองก็เคยได้รับความกรุณาจากท่านด้านการศึกษาอยู่หลายครั้ง
ได้อ่านบทความของ อ. ปึ๋ง แล้วก็ไม่แปลกใจเลย ที่ท่านอาจารย์จะเป็นที่รักของลูกศิษย์ลูกหาและบุคคลรอบข้าง
ขอบคุณ บทความนี้ ของ อ. ปึ๋ง มากๆ ครับ
ท่านยิ้มสู้อย่างที่พี่คิดจริงๆครับ
ผมมีโอกาสคุยกับท่านสองครั้ง ครั้งแรกก่อนท่านลาพักเมื่อประมาณหนึ่งปีที่แล้ว ในฐานะที่ท่านเป็นอาจารย์ที่ผมนับถือมากที่สุดคนหนึ่ง ผมเข้าไปขอคำแนะนำท่านในฐานะลูกจ้างคนใหม่ของคณะ ซึ่งท่านให้คำแนะนำเป็นอย่างดี ดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่ผมได้ประสบเมื่อเวลาผ่านมาปีกว่า ในวันนั้น ได้ทราบสาเหตุการลาของท่านว่า นอกจากเพื่อพักผ่อนแล้ว ท่านจะใช้เวลาเพื่อการเขียนตำรา กฎหมายเศรษฐกิจด้วย
ครั้งที่สอง เมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม ท่านมาค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการเขียนหนังสือ ผมไปคุยกับท่าน ท่านบอกว่าอาการทรงตัว ในวันนั้นผมได้รับหนังสือยืม ฝากทรัพย์จากท่าน โดยอาจารย์เซ็นชื่อไว้ให้ด้วย
ทั้งสองครั้งผมไม่เคยเห็นท่านแสดงความท้อถอยแต่อย่างใด
วันนี้ผมได้แต่เสียดายครับ
เสียดายอาจารย์สอนกฎหมายในอุดมคติของผม
เสียดายที่เด็กรุ่นหลังไม่มีโอกาสได้เรียนกับท่าน
เสียดายที่ท่านจากไปทั้งที่งานยังไม่เสร็จสิ้น
ขอบคุณอาจารย์สำหรับทุกสิ่ง และขอให้อาจารย์ไปสู่สุคติครับ
ในฐานะที่เคยเรียนวิชา เอกเทศสัญญา 2 และ
กม.ล้มละลาย ขอให้ดวงวิญญาณของอาจารย์ไปสู่สุคติครับ
อาลัยคณบดีคนแรกของผม
เนื่องในโอกาสที่ Blog ของผมประท้วงขอหยุดงาน ทั้งนี้เนื่องจากความซุกซนของผมเอง ผมจึงขอแสดงความอาลัยต่อคณบดีคนแรกของผม ผ่านทาง blog ของนิติรัฐ ในฐานะที่เป็นศิษย์ร่วมรุ่น ร่วมวิชา และได้เริ่มต้นสถานภาพนักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การบริหารของ รศ.สุธีร์ ศุภนิตย์ ด้วยกัน
ปีการศึกษา ๒๕๔๐ เป็นปีแรกของผม และเพื่อนๆร่วมรุ่น ที่ได้เริ่มต้นสถานภาพนักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในขณะเดียวกัน นี่ก็เป็นปีแรกของการก้าวมาเป็นผู้บริหารสูงสุดของคณะของอาจารย์สุธีร์ ในฐานะ “คณบดี” เช่นกัน
ในขณะที่สถานภาพนักศึกษาของผมยังดำเนินต่อไปอีกสี่ปี แต่สถานภาพคณบดีของอาจารย์กลับสิ้นสุดลงอย่างรวดเร็ว เพียงปีการศึกษาเดียว ด้วยเหตุผลที่ไม่ควรกล่าวถึง (ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากคำว่า “ได้ยินเขาว่ากันว่า”)
รุ่นผมจึงเป็นรุ่นเดียวที่เริ่มต้นสถานภาพนักศึกษาภายใต้คณบดีที่ชื่อ “สุธีร์”
อย่างไรก็ตามกว่าวงจรชีวิตการศึกษาของผมจะเวียนมาพบกับอาจารย์ก็ต้องรอจนผมอยู่ปีสุดท้าย ในวิชากฎหมายล้มละลาย
ต้องยอมรับว่า ผมค่อนข้างปวดหัวกับวิชานี้มาก (แม้ว่าเจ้าของบล็อกจะยืนยันว่า “เรา” (อันหมายถึงผม มัน และฝูงเพื่อน) สนุกสุดแสนในวิชานี้ เมื่อครั้งที่เราจับกลุ่มติวกันก่อนสอบอันเป็นกิจกรรมที่พวกผมทำกันเป็นประจำปี ตั้งแต่ปีแรกกระทั่งปีสุดท้าย) เนื่องจากเนื้อหาและหลักการของวิชานี้เองที่ค่อนข้างจะสลับซับซ้อนเพราะถือได้ว่าเป็น “กฎหมายเศรษฐกิจ” ฉบับสำคัญ
อาจารย์สอนวิชานี้ได้ “แนว” มาก ในขณะที่อาจารย์ท่านอื่น (และที่อื่น) สอนวิชานี้ไม่ต่างจาก “กฎหมายวิธีพิจารณาความ” ซึ่งว่าเป็นขั้นตอนวิธีปฏิบัติทางกระบวนการยุติธรรม แต่อาจารย์กลับพยายามวางหลักการ และทฤษฎี ให้นักศึกษามากกว่า ซึ่งก็เหมือนกับหนังสือคำอธิบายกฎหมายล้มละลายที่ท่านแต่งขึ้นเช่นกัน
ผมจำได้ว่า วิชานี้เป็นวิชาแรกที่ผมรวบรวมความกล้า (ที่ปกติมักไม่มี) ยกมือขึ้นถามอาจารย์เกี่ยวกับ “การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว” ในห้องบรรยาย ขนาด ๒๐๐ ที่นั่ง และอาจารย์กรุณาตอบด้วย “คำถาม” กลับมา
หน้าที่ของอาจารย์ไม่เคยจบสิ้นเมื่อสิ้นสุดการบรรยายในห้องตามตารางเวลา ภาพของอาจารย์ที่มักจะถูกรุมล้อมด้วยนักศึกษานับสิบชีวิต พร้อมยิงคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา ราวกับกองทัพนักข่าวสายการเมืองแย่งจ่อไมค์ทิ่มปากบรรดารัฐมนตรีหน้าทำเนียบ แต่ที่แตกต่างคือ อาจารย์ไม่เคยหลบนักศึกษา ไม่เคยปฏิเสธที่จะตอบคำถาม อาจารย์พร้อมและเต็มใจที่จะยืนตอบคำถามคลายข้อสงสัย (เพราะอาจารย์รู้ว่าเด็กมักไม่จบ หรือไม่ก็อดเกียรตินิยม เพราะตกวิชานี้กันมาก) เรียกได้ว่าไม่เลิกถามอาจารย์ก็ไม่เลิกตอบ บางรายก็ตามไปถามต่อในห้องพัก รวมไปถึงที่ลานจอดรถด้วย
ผมขอสารภาพว่าเคยเรียกอาจารย์ว่า “อาจารย์พ่อ” ทั้งนี้เพื่อเลียนแบบ อาจารย์คนดัง นักพูด จากรั้วจามจุรี ที่ตอนนี้ไปได้ดีกับ “อาร์แบค” ท่านหนึ่ง เหตุเพราะอาจารย์สุธีร์ ของผมท่านมีเอกลักษณ์ในการบรรยาย ด้วยลีลาสำนวนเฉพาะตัวอันคล้ายคลึง พร้อมๆกับเคยล้อเลียนลีลาการบรรยายของท่านในหลายกาละและเทศะในหมู่เพื่อน
“เข้าใจ เมาะ ค๊อบ”
ประโยคปิดท้ายการบรรยายประจำตัวของอาจารย์ ที่ผมมักจะหยิบมาล้อเลียนอย่างไม่เกรงกลัวบาปกรรมอยู่เสมอ
แต่ผมขอแก้ตัวไว้ตรงนี้เลยว่า อาจารย์แต่ละท่านที่ผมก่อวีรกรรมล้อเลียนลับหลัง (ยังไม่เคยปรากฏว่าพฤติกรรมของผมไปปรากฏต่อหน้าท่านทั้งหลายแต่อย่างใดนะครับ) ผมนั้นรักและนับถือท่านทุกคน เรียกได้ว่า “หากไม่รัก ไม่ล้อเลียน” ครับ
นอกจากภาพอาจารย์พ่อใจดี ยืนหยัดตอบคำถามนักศึกษาขี้สงสัยอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยแล้ว ภาพของอาจารย์สุธีร์ยืนเท้าแขน ณ ระเบียงทางเดิน ทอดสายตาไปเบื้องหน้า พร้อมระบายควันสีเทาที่ผ่านจากปอดและหลอดลมออกทางนาสิกทวารและโอษฐ์ทวาร ก็เป็นอีกภาพที่แสดงความเป็น “อาจารย์สุธีร์” ในความทรงจำของเหล่าศิษย์เช่นกัน
ผมไม่ทราบว่าท่านสูบหนักขนาดไหน แต่แทบทุกครั้งที่ผมพบท่าน (เว้นแต่เป็นการสวนกันระหว่างทางเดิน) ถ้าไม่ใช่ภาพแรก ก็มักจะเป็นภาพสองนี่แหล่ะ
เมื่อผมก้าวพ้นรั้วเหลืองแดงในฐานะนักศึกษาปริญญาตรีแล้ว ผมก็รับรู้ข่าวสารของท่านน้อยลง แม้จะยังอยู่ในฐานะนักศึกษาปริญญาโทก็ตาม
กระทั่งสายของวันนี้ (๑๗ เมษายน ๒๕๔๙) ผมไม่คิดว่าข่าวแรกในรอบหลายปีของท่านที่ผมรับรู้จะเป็นการจากไปของท่านอย่างไม่มีวันกลับ ยิ่งได้ทราบว่าช่วงปีหลังมานี้ท่านได้ต่อสู้กับโรคร้ายที่คอยกัดกินชีวิต ถึงขนาดต้องพักการสอน งานที่ท่านรัก ก็ยิ่งสะท้อนใจ
เย็นพรุ่งนี้ (๑๘ เมษายน ๒๕๔๙) ผมจะไปกราบท่านเป็นครั้งสุดท้ายที่วัดโสมนัสวรมหาวิหาร
ไปให้ท่านรับรู้ว่าศิษย์คนนี้จะไม่มีวันลืมอาจารย์
รองศาสตราจารย์ สุธีร์ ศุภนิตย์
คณบดีคนแรกของผม
ผมเองก็เป็นคนหนึ่ง ตอนที่กลับมาจากอังกฤษใหม่ๆ ผมไปหาเืพื่อนๆรุ่น 39 ที่คณะ...ปกติผมเป็นคนไม่ค่อยสนิทกับ อาจารย์เท่าไหร่ แต่วันนั้น ในระหว่างที่ผมรอเพื่อนที่ยังไปยืนอ่านการ์ตูนที่ท่าพระจันทร์ ผมก็ได้เจอกับ อ.สุธีร์ ผมไม่รู้หรอกว่า อ.จะจำผมได้รึเปล่า เพราะผมเป็นแค่ นศ ธรรมดาไม่โดดเด่นอะไร
แต่ อ.สุธีร์ กลับทักผมด้วยน้ำเสียงเป็นมิตร "ว่ายังไง...เป็นยังไงบ้าง" แต่แน่นอน ... อ.ทักผมพร้อมกับกำลังสูบบุหรี่...มันทำให้ผมปลาบปลื้มมาก (ไม่ต้องสนใจหรอกว่า..งแกจะจำได้รึเปล่า)
ผมยิ้มตอบ อ. "ว่าสบายดีครับ..."
ในระหว่างที่ผมทำงานเป็น lecturer ระยะสั้นๆที่ มหาวิทยาลัย ต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเพื่อนรุ่นพี่จากจุฬาคนหนึ่งก็ทำงานด้วยกันกับผม บอกว่า ตอนนั้นพี่แกเจอ อ.สุธีร ที่จุฬา (คงไปรอภรรยา) ์รุ่นพี่ก็บอกว่า ตอนนั้น แกไม่มีเสียงจะพูดแล้ว...
นั่นคงเป็นสัญญา๊ณบอกเหตุว่า...ร่างกายแก คงไม่ไหวแล้ว
ในฐานะศิษย์(ที่ห่างไกล)คนหนึ่ง ของ อ. ...ขอให้ดวงวิญญาณของท่านอ.สุธีร์ ได้สูกลับไปสู่่อ้อมอกอันเป็นนิรันดร์ ของพระผู้อยู่เบื้องบน...
อยากให้ อ.ได้ไปสอนหนังสือที่แกรัก ต่อ ณ ดินแดนแห่ง นิรันดร์กาล
ขอบคุณ อ.ที่ทำให้ผมมีวันนี้ครับ...ขอบคุณครับ
จำท่านได้ติดตาตอนที่เข้าพิธีปฐมนิเทศคณะพร้อมเพื่อนๆ ตกกลางคืนมีการผูกสายสิญจน์ โดยท่านคณะบดี ซึ่งก็ต้องเป็นท่านอ.สุธีร์ (เพราะท่านก็เป็นอยู่ปีนั้นปีเดียว)
ด้วยอะไรไม่ทราบ (แล้วก็จำไม่ได้จนถึงบัดนี้) ผมอยากให้ท่านผูกเป็นคนสุดท้าย (สงสัยอยากได้พรพิเศษ)ก็เลยรอจนถึงตีสอง! ปรากฎพอมาถึงผมท่านก็พูดว่า
อ.สุธีร์ :"เดี๊ยว!ขอพักดูดบุหรี่ก่อน"
แล้วท่านก็มองหน้าผม
อ.สุธีร์ :"จะดูดด้วยกันไหมเรานะ"(รู้ได้งัยเนี้ย)
ไอ้ผมก็
จ่าจู๊ด:"ครับ(-_-')"
อ.สุธีร์:"ที่สอบ(เอ็นฯ)มานี้ยังมีอะไรจำได้บ้างไหมเรา"
จ่าจู๊ด: "คืนครูที่โรงเรียนไปหมดแล้วละครับ"
อ.สุธีร์:ดูดยาแล้วมองหน้าผม "คืนไปเร็วจัง"
จ่าจู๊ด: "ก็ โรงเรียนสอนแต่วิชาที่ไม่ได้ใช้นิครับ ผมไปซื้อของในตลาดไม่เห็นต้องถอดรูทเลยครับ ของมันเกินใช้ทั้งนั้น เอ็นฯติดแล้วก็แทบจะลืมทันทีเลยครับ"
อ.สุธีร์:พยักหน้าเห็นด้วย"แย่จังนะ ลำบากละสิท่า"
.........
ผมช่วยลดบุหรี่ในซองของท่านได้แค่ตัวเดียวเอง....
กลับบ้านไปโม้กับพ่อว่าได้ดูดบุหรี่กับกับ(ไม่สิของเลยละ)คณะบดีด้วย พ่อก็เอ็ดว่าเด็กทะลึ่งกล้าไปขอคณะบดีดูดตั้งแต่ยังไม่เข้าเรียนเลยนะ..........
ยังคิดถึงคืนนั้นเสมอครับ อาจารย์.....
กราบลาอาจารย์สุธีร์ที่เคารพ
- อาจารย์สุธีร์ สุภนิตย์ เป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์
ตอนที่เราสอบเข้าเป็นนักศึกษาภาคบัณฑิตคณะนิติ มธ.
นอกจากนั้น เรายังได้เรียนวิชาเอกเทศสัญญา 2 กับท่านอาจารย์ในบางครั้ง (สัปดาห์แรกๆ) หลังจากนั้นเราก็โดดวิชานี้บ่อยๆ แต่ก็ยังอ่านตำรายืมฝากทรัพย์ ที่ท่านอาจารย์เขียน จนกระทั่งสอบผ่านวิชานี้ได้แบบพอเข้าใจหลักการ จากนั้นมาในปีท้ายๆ เราก็ได้เข้าเรียนวิชากฎหมายล้มละลายกับท่านอาจารย์สุธีร์ฯ อย่างจริงจัง (เพราะกลัวไม่จบ) ไม่เคยโดดเรียนเลยสักครั้ง และก็สอบผ่านวิชานี้แบบฉลุย
- เราไม่เคยสัมผัสแบบใกล้ชิดกับท่านอาจารย์ฯเลย
นอกจากวันสอบสัมภาษณ์ครั้งนั้น แต่ได้เดินผ่านบ้าง สวนทางกันบ้างบ่อยๆ ในคณะนิติ เราเคยสังเกตสีหน้า
ของท่านอาจารย์ฯ ด้วยความสงสัยว่าทำไมจึงหมองคล้ำนัก ไม่นึกว่ามะเร็งร้ายจะรุมเล้าอาจารย์อยู่ แต่ทุกครั้งที่พบท่านอาจารย์ฯก็มักจะเห็นใบหน้าเปื้อนลอยยิ้มอยู่เสมอ
- ขอให้บุหรี่ มวนมะเร็ง เป็นอุทาหรณ์สอนใจสิงห์อมควันทั้งหลาย ให้ระลึกถึงมรณานุสติให้ดีเถิด อย่าเอาควันบุหรี่มาทำลายตัวเอง และคนรอบข้างเอย ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มันบาปทั้งนั้น
- ขอให้ดวงวิญญาณท่านอาจารย์สุธีร์ ศุภนิตย์ ไปสู่สุคติในสัมปรายภพ เทอญ
-
อาจารย์ครับ ผมไม่มีโอกาสกราบเท้าอาจารย์เป็นครั้งสุดท้าย แต่ก้อได้ไปกราบเท้าในวันรดน้ำศพ ผมเชื่อว่าวิญญาณท่าอาจารย์จะสู่สรวงสวรรค์แน่ และคงอีกหลายชาติที่จะมีโอกาสได้พบอาจารย์ที่แท้จริงและมีเมตตาอย่างอาจารย์อีก
อาจารย์ทั้งเก่งและถ่ายทอดและมีเมตตา ผมเป็นคนทุกวันนี้ก้อเพราะความเมตตาของอาจารย์
กราบขอบพระคุณครับ
www1027
clarks shoes
mbt shoes
kate spade outlet
ugg boots
nike shoes
kate spade outlet
red bottom shoes
moncler outlet
christian louboutin
clarks outlet
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก