ข้อคิดเห็นบางประการของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ไปอ่านกระดานข่าวของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน พบกระทู้ที่น่าสนใจมากๆ เป็นประเด็นที่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลยกขึ้นให้แลกเปลี่ยนกัน
แหะแหะ แต่ประทานโทษ ผมคิดว่าคงหาคนมาแลกเปลี่ยนด้วยยาก ตราบใดที่ “ฟ้า” ยังไม่เป็น “ฟ้าเดียวกัน”
ผมคิดว่าคนอย่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ใครจะคิดอย่างไรกับเขา จะว่าบ้าว่าเพี้ยน ว่าหมกมุ่นอยู่กับประเด็น ... ตลอดเวลา ทำให้อคติบังตา หรือไม่ อย่างไรก็ตามแต่
แต่ผมคิดว่าสังคมไทยปัจจุบันจำเป็นต้องเก็บรักษาคนแบบสมศักดิ์เอาไว้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราอยู่ในช่วงใกล้เปลี่ยนผ่านสถาบันสำคัญๆ คนแบบสมศักดิ์จำเป็นต้องมีอยู่
จะดีจะชั่ว ผมก็คิดว่าสมศักดิ์มั่นคงในจุดยืนของเขาเสมอมา
ผมขอนำกระทู้ของสมศักดิ์มาแปะลงในบล็อกของผม
ผมได้ขอนุญาตเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลมา ณ ที่นี้
.............
(๑)
การปฏิเสธไม่ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากถึง 16 ล้านเสียง เป็นนายกรัฐมนตรี-ตั้งรัฐบาล เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง
โพสเมื่อ ๕ เมษายน ๒๕๔๙
การบอยคอตเลือกตั้งของพรรคฝ่ายค้าน ครั้งนี้ ไม่ใช่ทำไปตาม "หลักการประชาธิปไตย" แต่ทำไปเพื่อเรียกร้องให้มีการใช้พระราชอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งขัดกับหลักการของ 2475 และระบอบการปกครองประชาธิปไตย
ผู้ที่ยืนกรานว่า "ทักษิณต้องออก" แต่ขณะเดียวกัน ก็ยืนกราน "ปฏิเสธ นายกฯแต่งตั้ง" มีจุดยืนที่ขัดแย้งกันเอง
ถ้ายืนยันว่า นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง ต้องยืนยันว่า ด้วย 16 ล้านกว่าเสียง ทักษิณ มีสิทธิที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี และต้อง ออกมายืนยันว่า การที่ทักษิณไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การเรียกร้องให้นายกฯที่มาจากการเลือกตั้งลาออก ทำได้หรือไม่?
แน่นอน ทำได้ แต่ในทางปฏิบัติ หากนายกฯนั้นเพิ่งได้รับเลือกตั้งมา การเรียกร้องให้ลาออก ถ้าเจ้าตัวไม่ออก (เพราะเป็นธรรมดาของคนที่เพิ่งเสนอตัวและได้รับเลือกตั้งมา) ก็สมควรยอมรับ และมีระดับของการเรียกร้องที่ให้ความเคารพต่อการตัดสินใจของเสียงส่วนใหญ่ที่ยืนยันเลือกตั้งนายกฯนั้นมา (ในกรณีนี้คือ 16 ล้านเสียง)
สิ่งที่น่าละอาย (distasteful) ที่สุดอย่างหนึ่งในตลอดการรณรงค์คัดค้านทักษิณครั้งนี้ คือท่าที "เหนือกว่าทางศีลธรรม" (moral superiority) ที่ปัญญาชนทั้งหลายใช้
การรณรงค์ ของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "พันธมิตรประชาธิปไตย" ครั้งนี้ ก็ไม่ใช่การรณรงค์ตาม "หลักการประชาธิปไตย" แต่ทำไปเพื่อเรียกร้องให้มีการใช้พระราชอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งขัดกับหลักการของ 2475 และระบอบการปกครองประชาธิปไตย
"ประชาชนมีสิทธิ์ไล่คนที่ผ่านการเลือกตั้งมาด้วยคะแนนมหาศาล ขณะเดียวกัน "ท่านผู้นำ" ก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ออก (ถ้าสามารถทนแรงเสียดทาน/ทนการกดดันได้)"
ผมยังเห็นว่า ถ้า ต้องการยืนยันว่า นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง ต้องยืนยันว่า (1) ทักษิณ มีสิทธิเป็นนายกฯ และการปฏิเสธไม่ให้เขาเป็น (ไม่ว่าจะมาจากใครหรืออะไร) อย่างที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง (2) การเสนอให้นายกฯที่มาจากการเลือกตั้งที่ได้เสียงท่วมท้นออก จะต้องทำโดยการให้ความเคารพในหลักการที่ว่า ประชาชนเลือกตั้งมา (ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม) อย่างแท้จริง
ซึ่งหมายความว่า (อันนี้เป็นรูปธรรมซึ่งต้องอภิปรายอีกที) อาจจะต้อง ยอม "รอ" เป็นต้น หรือ ต้องมุ่งเน้นที่รณรงค์ให้การศึกษาประชาชน ฯลฯ มากกว่าการรณรงค์ให้ออกโดยตรง
ประเด็นพวกนี้เป็นรูปธรรมซึ่งต้องอภิปราย แต่ผมเห็นว่า ในแง่การยืนยันในเชิงหลักการ ด้านที่ยืนยันแต่ว่า "ออกๆๆ" ที่คุณโชติศักดิ์ และเพื่อนจำนวนมากทำ เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันเองกับการืนยันเรื่องหลักการ นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง ในกรณีประเทศไทย ผมเห็นว่า การยืนยันหลักการหลังนี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก
ประเด็นรูปธรรมที่ผมเพิ่งนึกขึ้นมาคือ ในกรณีเช่นนี้ ในเมื่อพวกคุณยืนยันมาตลอดเรื่องนายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง และสมมุติ เป็นที่ยอมรับหรือพิสูจน์ได้ว่า ที่ทักษิณ "ไม่รับ" เป็นนายกฯอีกเมื่อวานนี้ เกิดจากการกดดันของผู้อื่น
เช่นนี้ ตามหลักการ พวกคุณ (แอ๊กติวิสต์, นักวิชาการ) ก็สมควร แสดงท่าที คัดค้านการกดดันนั้น ใช่หรือไม่? และยืนยันว่า "ทักษิณ มีสิทธิเป็นนายกฯ" ดังที่ผมเสนอนี้ใช่หรือไม่? ผมถามให้คิด ไม่ใช่เสนอให้ทำนะ (โปรดระวัง และพิจารณา กรณี ฟ้าเดียวกัน ขณะนี้ ประกอบ)
...........
ส่วนอื่นๆจะทยอยโพสลงครับ เดี๋ยวจะยาวเกินไป
แหะแหะ แต่ประทานโทษ ผมคิดว่าคงหาคนมาแลกเปลี่ยนด้วยยาก ตราบใดที่ “ฟ้า” ยังไม่เป็น “ฟ้าเดียวกัน”
ผมคิดว่าคนอย่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ใครจะคิดอย่างไรกับเขา จะว่าบ้าว่าเพี้ยน ว่าหมกมุ่นอยู่กับประเด็น ... ตลอดเวลา ทำให้อคติบังตา หรือไม่ อย่างไรก็ตามแต่
แต่ผมคิดว่าสังคมไทยปัจจุบันจำเป็นต้องเก็บรักษาคนแบบสมศักดิ์เอาไว้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราอยู่ในช่วงใกล้เปลี่ยนผ่านสถาบันสำคัญๆ คนแบบสมศักดิ์จำเป็นต้องมีอยู่
จะดีจะชั่ว ผมก็คิดว่าสมศักดิ์มั่นคงในจุดยืนของเขาเสมอมา
ผมขอนำกระทู้ของสมศักดิ์มาแปะลงในบล็อกของผม
ผมได้ขอนุญาตเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลมา ณ ที่นี้
.............
(๑)
การปฏิเสธไม่ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากถึง 16 ล้านเสียง เป็นนายกรัฐมนตรี-ตั้งรัฐบาล เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง
โพสเมื่อ ๕ เมษายน ๒๕๔๙
การบอยคอตเลือกตั้งของพรรคฝ่ายค้าน ครั้งนี้ ไม่ใช่ทำไปตาม "หลักการประชาธิปไตย" แต่ทำไปเพื่อเรียกร้องให้มีการใช้พระราชอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งขัดกับหลักการของ 2475 และระบอบการปกครองประชาธิปไตย
ผู้ที่ยืนกรานว่า "ทักษิณต้องออก" แต่ขณะเดียวกัน ก็ยืนกราน "ปฏิเสธ นายกฯแต่งตั้ง" มีจุดยืนที่ขัดแย้งกันเอง
ถ้ายืนยันว่า นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง ต้องยืนยันว่า ด้วย 16 ล้านกว่าเสียง ทักษิณ มีสิทธิที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี และต้อง ออกมายืนยันว่า การที่ทักษิณไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การเรียกร้องให้นายกฯที่มาจากการเลือกตั้งลาออก ทำได้หรือไม่?
แน่นอน ทำได้ แต่ในทางปฏิบัติ หากนายกฯนั้นเพิ่งได้รับเลือกตั้งมา การเรียกร้องให้ลาออก ถ้าเจ้าตัวไม่ออก (เพราะเป็นธรรมดาของคนที่เพิ่งเสนอตัวและได้รับเลือกตั้งมา) ก็สมควรยอมรับ และมีระดับของการเรียกร้องที่ให้ความเคารพต่อการตัดสินใจของเสียงส่วนใหญ่ที่ยืนยันเลือกตั้งนายกฯนั้นมา (ในกรณีนี้คือ 16 ล้านเสียง)
สิ่งที่น่าละอาย (distasteful) ที่สุดอย่างหนึ่งในตลอดการรณรงค์คัดค้านทักษิณครั้งนี้ คือท่าที "เหนือกว่าทางศีลธรรม" (moral superiority) ที่ปัญญาชนทั้งหลายใช้
การรณรงค์ ของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "พันธมิตรประชาธิปไตย" ครั้งนี้ ก็ไม่ใช่การรณรงค์ตาม "หลักการประชาธิปไตย" แต่ทำไปเพื่อเรียกร้องให้มีการใช้พระราชอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งขัดกับหลักการของ 2475 และระบอบการปกครองประชาธิปไตย
"ประชาชนมีสิทธิ์ไล่คนที่ผ่านการเลือกตั้งมาด้วยคะแนนมหาศาล ขณะเดียวกัน "ท่านผู้นำ" ก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ออก (ถ้าสามารถทนแรงเสียดทาน/ทนการกดดันได้)"
ผมยังเห็นว่า ถ้า ต้องการยืนยันว่า นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง ต้องยืนยันว่า (1) ทักษิณ มีสิทธิเป็นนายกฯ และการปฏิเสธไม่ให้เขาเป็น (ไม่ว่าจะมาจากใครหรืออะไร) อย่างที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง (2) การเสนอให้นายกฯที่มาจากการเลือกตั้งที่ได้เสียงท่วมท้นออก จะต้องทำโดยการให้ความเคารพในหลักการที่ว่า ประชาชนเลือกตั้งมา (ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม) อย่างแท้จริง
ซึ่งหมายความว่า (อันนี้เป็นรูปธรรมซึ่งต้องอภิปรายอีกที) อาจจะต้อง ยอม "รอ" เป็นต้น หรือ ต้องมุ่งเน้นที่รณรงค์ให้การศึกษาประชาชน ฯลฯ มากกว่าการรณรงค์ให้ออกโดยตรง
ประเด็นพวกนี้เป็นรูปธรรมซึ่งต้องอภิปราย แต่ผมเห็นว่า ในแง่การยืนยันในเชิงหลักการ ด้านที่ยืนยันแต่ว่า "ออกๆๆ" ที่คุณโชติศักดิ์ และเพื่อนจำนวนมากทำ เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันเองกับการืนยันเรื่องหลักการ นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง ในกรณีประเทศไทย ผมเห็นว่า การยืนยันหลักการหลังนี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก
ประเด็นรูปธรรมที่ผมเพิ่งนึกขึ้นมาคือ ในกรณีเช่นนี้ ในเมื่อพวกคุณยืนยันมาตลอดเรื่องนายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง และสมมุติ เป็นที่ยอมรับหรือพิสูจน์ได้ว่า ที่ทักษิณ "ไม่รับ" เป็นนายกฯอีกเมื่อวานนี้ เกิดจากการกดดันของผู้อื่น
เช่นนี้ ตามหลักการ พวกคุณ (แอ๊กติวิสต์, นักวิชาการ) ก็สมควร แสดงท่าที คัดค้านการกดดันนั้น ใช่หรือไม่? และยืนยันว่า "ทักษิณ มีสิทธิเป็นนายกฯ" ดังที่ผมเสนอนี้ใช่หรือไม่? ผมถามให้คิด ไม่ใช่เสนอให้ทำนะ (โปรดระวัง และพิจารณา กรณี ฟ้าเดียวกัน ขณะนี้ ประกอบ)
...........
ส่วนอื่นๆจะทยอยโพสลงครับ เดี๋ยวจะยาวเกินไป
14 ความคิดเห็น:
น่าสนใจมากบทความนี้ แต่จริงๆ คงต้องยอมรับว่า อาจดูเป็นนามธรรมไปเสียหน่อย อย่างกรณีที่บอกว่า ให้ทักษิณออกไม่ได้ ถ้าเขาจะยืนยันทนแรงกดดันต่อไป ตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง อาจจะต้อง ยอม "รอ" เป็นต้น หรือ ต้องมุ่งเน้นที่รณรงค์ให้การศึกษาประชาชน ฯลฯ มากกว่าการรณรงค์ให้ออกโดยตรง แต่อย่าลืมว่าการให้การศึกษาแก่ประชาชน คงต้องเริ่มมาจากการที่รัฐบาลสนับสนุนมีนโยบายมุ่งเน้นพัฒนาประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะทางด้านศึลธรรม จิตใจ ความเคารพในระบอบประชาธิปไตย ฯลฯ แต่ถ้ารัฐบาลที่เขาเหล่านั้นเลือกมานั้น มิได้มุ่งเน้นให้การศึกษาแก่ประชาชน เน้นแต่การแจกเงิน หรือ เสนอโครงการอะไรก็แล้วแต่ที่มุ่งเน้นแต่จะให้ตัวเองได้คะแนนเสียงมากเป็นหลัก ไม่สนใจผลกระทบระยะยาวที่มีต่อประชาชน หรือ ประเทศชาติ ปิดหูปิดตา ประชาชนที่จะได้รับข่าวสาร ความรู้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะจากสื่ออะไร แล้วเมื่อไรประชาชนจะได้รับการศึกษาอย่างแท้จริง แล้วเราจะต้องรอถึงเมื่อไร ที่จะให้เขาคนนั้นออกไปจากตำแหน่งได้เหล่า แล้ววิธีไหน ที่ถือว่าเป็นทางออกที่เป็นประชาธิปไตยที่สุดสำหรับประเทศไทยเรา
มันก็คงต้องเป็นวัฏจักรอย่างนี้ต่อไปหรือ มีนายกขึ้นมา ไม่พอใจประท้วง ถ้าเขาไม่ออกก็รองั้นหรือ ต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกเขาขึ้นมา ซึ่งคนกลุ่มนี้บางทีก็ไม่ได้เลือกเขาเพราะชอบเขา แต่ชอบผลประโยชน์ส่วนตัวที่เขาให้เสียมากกว่ากระมัง
แต่จะว่าพวกเขาเหล่านั้น ก็ใช่ว่า เพราะพวกเขาเหล่านั้นเอง ก็ไม่ผิดที่จะเลือกบุคคลที่จะหยิบยื่นผลประโยชน์ที่แท้จริงกับพวกเขามากกกลุ่มอื่นที่ไม่ได้ให้ผลประโยชน์มากมาย เป็นแค่โครงการลอยๆ แก่พวกเขา
ถ้าคนเหล่านั้นได้รับความรู้กระจ่างแจ้ง หรือ แจ้งชัดแล้ว เหมือนบัวที่พ้นน้ำ พวกเขาเหล่านั้นก็ย่อมจะต้องเห็นวิถีทางอันควรเป็นอย่างแน่นอน แต่ก่อนจะเป็นบัวพ้นน้ำขึ้นมาได้ ก็อีกนั่นแหละ ก็ต้องมีคนมาชี้ทาง แต่ถ้าคนที่ชี้ทางเป็นใครไม่รู้ ชี้ไปในทางมืดมิด พวกเขาเหล่านั้นก็ย่อมไปในทางมืดมิดนั้นต่อไปใช่ไหม และแล้วก็ต้องรอต่อไปหรืออย่างไร แล้วต้องรอถึงเมื่อไรเหล่า.... แค่อยากถามนะคะ....ไม่ได้เห็นด้วยกับการได้นายกที่มาจากการผิดระบอบประชาธิปไตยอยู่ดีค่ะ
อย่ามั่วแต่คิดเรื่องของ "ฟ้า" อยู่เลยครับ ผมเชื่อว่าที่ทักษิณไม่รับตำแหน่งนายก หรือที่ว่าเว้นวรรคเพื่อชักใยนั้น ไม่ได้เกิดจากความไม่เต็มใจ หรือการพระราชทานเชิงปฏิเสธแต่อย่างใด หากแต่เป็นการเตรียมการและดำเนินการไปตามแผนที่ได้เตรียมไว้แล้ว
ทักษิณไม่โง่หรอกครับ คิดว่าเค้างอมืองอตีน อยู่เป็นเดือนๆเพื่ออะไร ทำไมอยู่เฉย ทำไมรอการเลือกตั้ง เราๆก็รู้กันอยู่แล้วว่าหลังเลือกตั้งแล้ว ผลคะแนนะจะเป็นอย่างไร ดังนั้นเค้าก็แสดงสปิริตหลังจากการเลือกตั้งว่าขอไม่รับตำแหน่งนายก เท่านี้กระบวนการฟอกตัวก็เบ็ดเสร็จ
แม้ที่กล่าวมาจะเป็นการคาดเดา แต่อย่างน้อยผลลัพธ์ ที่ผมคาดเดานี้ก็เป็นจริง คือทักษิณแสดงสปิริตไม่รับตำแหน่ง - ทักษิณไม่ได้ลาออกนะครับ ทักษิณไม่เคยลาออก ซึ่งถ้าจะบอกว่าเป็นเรื่องของการพระราชทานให้ออกผมว่ามันก็แค่การคาดเดาเหมือนผม แต่ลองคิดใตร่ตรองเอาแล้วกันนะครับ ว่าอย่างไหนจะสมเหตุสมผลกว่ากัน
อีกอย่างที่ว่าอะไรก็อ้างสถาบัน แล้วอย่างนี้เรียกไม่อ้างสถาบันเหรอครับ แล้วเอาข้อมูลการสนทนาหรือการพระราชทานเชิงปฏิเสธมาจากไหน มีเทปมั้ย มีบันทึกการสทนามั้ยครับ มีวิดีโอคลิปหรือเปล่า
โคตรไม่เห็นด้วยเลย
ที่ว่าโคตรไม่เห็นด้วย อันนี้ก็หมายถึง จากการอ่านกระทู้และความเห็นต่างๆมานะครับ ผมรู้สึกว่ากรณ๊นี้ไม่ใช่ให้นายกลาออก หรือ ไม่เอานายกพระราชทาน แต่คงมีคนต้องการให้...ลาออกจริงๆ หรือเปล่า ซึ่งผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่จำเป็นหรอกครับที่ต้องเรียกร้องเรื่องนี้ ไม่จำเป็นหรอกครับที่ต้องแสดงความรู้ความเห็นในประเด็นนี้
ประชาธิปไตยที่แทบจะไม่มีอยู่เลย คงไม่ได้แก้ที่สถาบัน แต่มันควรแก้ที่การศึกษา แก้ที่การศึกษา แก้ที่การศึกษา แก้ที่การศึกษา
แก้ที่การศึกษา...แก้ที่การศึกษา...วันนี้เรายังคิดว่าประชาชนนั้นยังโง่เหมือนเมื่อหกสิบปีที่ผ่านมาอยู่เหรอครับ และที่บอกว่ารัฐบาลไม่ทำนั้นน่ะ หกสิบปีของปชป.ที่มาผ่านมาเป็นรัฐบาลมาก็หลายสมัย คุมกระทรวงศึกษาฯมาก็หลายยุค แล้วทำไมไม่สามารถทำให้ประชาชนฉลาดขึ้นได้ล่ะครับ ผมจบป.โทมหาลัยแถวสามย่าน... ขอโทษที่ต้องอ้างอิง คุณจะว่าผมโง่ไม๊ครับที่ผมเลือกเบอร์สอง
คล้ายๆ กับว่า "การเลือกตั้ง" คือทั้งหมดของ "ประชาธิปไตย" เลยครับ!
ผมอ่านที่ท่านเจ้าของบล็อกเอามาแล้ว แอบมีแวบหนึ่ง ที่คิดเหมือนคุณไร้นามข้างบนผมนี่เลยครับ คือ
ที่สุดกำลังกลายไปสู่วังวนเดิมหรือเปล่า คือ ประชาธิปไตย กำลังจะมีแค่วันเดียวอีกแล้ว คือ วันเลือกตั้ง แล้วที่ประชาชน (แม้จะเป็นเสียงข้างน้อย) ออกมากดดันกันในช่วงที่ผ่านมา มิได้มี ความหมายใด ๆ ที่ควรนำกลับไปตรึกตรอง หรือช่างน้ำหนักเลยหรือ ?
เรียนคุณนิรนาม
ที่กล่าวว่ามีหลักฐานอะไรมั้ยที่สันนิษฐานกันไปเช่นนี้
ในส่วนของอาจารย์สมศักดิ์ ผมไม่ทราบ
แต่ส่วนตัวผม ผมดีใจเป็นอย่างมากที่มันเป็นแค่การสันนิษฐาน โล่งอกเป็นอย่างยิ่งที่ไม่มีใครมีเทปหรือคลิปวิดีโอ
เพราะอะไร?
เพราะว่าถ้าเรามีหลักฐาน ๑๐๐ เปอร์เซนต์เมื่อไร เห็นทีคงน่าเศร้ากับประชาธิปไตยไทยไม่น้อย
กลับมาเรื่องการสันนิษฐาน
ผมคิดว่าการถามหาหลักฐานว่ามีจริงหรือเปล่า อย่าเดากันเป็นตุเป็นตะ คิดมากไปหรือไม่
เป็นการเล่นวงนอก ไม่ได้เข้ามาร่วมเถียงอยู่ในวง
อย่างไบโอลอว์นั้น ชัดเจนว่าเถียงกันอยู่ในวง
แต่การดิสเครดิตว่าซี้ซั้วพูดไม่มีหลักฐาน ไม่มีเทป ไม่มีคลิปวิดีโอ
ผมถามด้วยความสัตย์จริงว่าเรื่องแบบนี้กี่ปีมาแล้วครับที่เรา "ต้อง" ไม่มีหลักฐาน
มันเคยมีหลักฐานกันมั้ย
และถึงแม้จะมีก็ต้องทำให้ไม่มี
อย่าไร้เดียงสาไปหน่อยเลยครับ มองย้อนกลับไป การเมืองไทยมันก็มีเหตุการณ์ทำนองนี้อยู่
บางทีเราออกมายอมรับกันด้วยซ้ำว่าเป็นพระราชอำนาจตามประเพณีที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ (ตามทฤษฎ๊ของนัก กม รอแยลลิสม์ เช่น บวรศักดิ์ วิษณุ และธงทอง)
ที่ผมออกมายกประเด็น ประทานแบบปฏิเสธ ในครั้งนี้ ก็แค่อยากจะเตือนกันว่าที่เราค้านนายกฯพระราชทาน กรณีนี้ผมก็ว่ามันเข้าข่ายเหมือนกัน ก็เท่านั้น
ไม่ได้ลุกลามไปถึงเรื่องมีฟ้าหรือไม่มีฟ้า
ผมแค่อยากให้มีระบอบประชาธิปไตยแบบที่ควรจะมี
เท่านั้นเองครับ
ไม่ได้ว่าใครโง่นะ อย่าสบประมาทตัวเองดิครับ ว่าแต่ประชาธิปไตยในประเทศไทยคืออะไรเหรอ ปริญญาโทสามย่าน ตอบยากนะ
อีกเรื่องนะครับ การว่าใครว่าไร้เดียงสาใช้บรรทัดฐานอะไรวัดครับ หรือว่าใช้ความรู้สึกส่วนตัว ผมว่ามันเป็นคำไม่เหมาะสมนะ ในความเห็นผมก็เท่านั้น
ผมรู้สึกว่า (ความรู้สึกล้วนๆ) ข้อสันนิษฐานของอาจารย์ปึ๋งอาจจะดูร้ายแรงไปนิดนึงนะครับ
ไม่แน่ว่านี่อาจจะเป็นแผนของท่านนายกฯ มาแต่แรกแล้วก็ได้นะครับ
ประชาธิปไตยเมืองไทยหรือครับ นิยามง่ายๆก็คือเมื่อเลือกตั้งครั้งหน้าหากปชป.ได้เป็นรัฐบาล รอดูการประท้วงกลางถนนครั้งใหญ่จากเสียงข้างน้อยผู้ไม่ยอมรับเสียงมากครับ
ไหวมั้ยเนี่ย โทสามย่าน นิยามประสาอะไร อย่าเอามาโพสดีกว่า ประชาธิปไตยของคุณมีแค่ พรรคอะไร กับ เสียงข้างมาก ข้างน้อย แค่เนี่ย
อ้าว...ยังไม่รู้รึครับว่าผมประชด...ก๊ากกกกก
ไปๆมาๆ กลายเป็นรัฐประหารเฉยเลย...
www0719
columbia sportswear
longchamp outlet
world cup jerseys
oakley sunglasses
polo ralph lauren
keen shoes
fossil watches
ugg boots
balenciaga sneakers
longchamp bags
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก