วันนี้ชี้ชะตาธรรมนูญยุโรป
อีกไม่ถึงสองชั่วโมง เราก็ได้รู้กันแล้วว่าธรรมนูญยุโรปจะมีชีวิตต่อหรือมีอันเป็นไป รัฐบาลฝรั่งเศสโดยประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัคตัดสินใจจัดให้มีการลงประชามติให้สัตยาบันธรรมนูญยุโรปในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม การลงประชามติในครั้งนี้ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อชาวฝรั่งเศสเอง หากแต่ยังส่งผลถึงชาวยุโรปด้วย ถ้าผลออกมาไม่รับรอง นั่นก็หมายความว่า ธรรมนูญยุโรปฉบับนี้เป็นอันไม่มีผลใช้บังคับ
ความเดิมเริ่มจากสนธิสัญญามาสทริชที่เป็นกลไกหลักในการดำเนินงานของสหภาพยุโรปได้ผ่านการใช้งานมา ๑๐ ปีเศษ พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคบางประการทำให้การดำเนินงานของสหภาพยุโรปเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประกอบกับมีการขยายตัวของรัฐสมาชิกออกไปจากเดิม ๑๕ ประเทศเป็น ๒๕ ประเทศ จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขปรับปรุงกลไกต่างๆ ด้วยการจัดทำร่างธรรมนูญยุโรป
ผ่านไปสองปีเศษ ในที่สุดสนธิสัญญาก่อตั้งธรรมนูญยุโรป (Le traité établissant une Constitution pour l'Europe) ก็ได้รับการลงนามเห็นชอบ ณ กรุงโรมโดยประมุขของรัฐสมาชิกเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๐๐๔
สนธิสัญญาก่อตั้งธรรมนูญยุโรปกำหนดว่า สนธิสัญญาก่อตั้งธรรมนูญยุโรปจะมีผลใช้บังคับก็ต่อเมื่อ ๒๕ รัฐสมาชิกให้สัตยาบัน หากมีเพียงรัฐสมาชิกเพียงรัฐเดียวที่ไม่ให้สัตยาบัน ธรรมนูญยุโรปก็เป็นอันสิ้นผลไป เท่ากับว่าธรรมนูญยุโรปนี้จะอยู่หรือจะไปต้องมีมติเอกฉันท์จากรัฐสมาชิกทั้งหมด ส่วนแต่ละรัฐสมาชิกจะให้สัตยาบัน ด้วยวิธีการใดให้เป็นไปตามกฎหมายภายในของแต่ละรัฐสมาชิก
ประเทศที่จัดให้มีการให้สัตยาบันด้วยช่องทางรัฐสภา คือให้รัฐสภาเป็นผู้ลงมติ มี ๑๕ ประเทศ ได้แก่ เยอรมัน เบลเยียม สวีเดน ฟินแลนด์ เอสโตเนีย แลตเวีย ลิธัวเนีย ไซปรัส สโลเวเนีย สโลวะเกีย กรีซ ฮังการี ออสเตรีย อิตาลี มอลตา
ประเทศที่จัดให้มีการให้สัตยาบันด้วยช่องทางประชามติ คือให้ประชาชนเป็นผู้ลงมติโดยตรง มี ๑๐ ประเทศ ได้แก่ ไอร์แลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก สเปน โปแลนด์ ฮอลแลนด์ เดนมาร์ก โปรตุเกส สาธารณรัฐเชค
ขณะนี้ประเทศที่ให้สัตยาบันไปแล้วมี ๙ ประเทศ คือ
ลิธัวเนีย (ผ่านโดยรัฐสภา, ๑๑ พ.ย.๒๐๐๔)
ฮังการี (ผ่านโดยรัฐสภา, ๒๐ ธ.ค.๒๐๐๔)
อิตาลี (ผ่านโดยรัฐสภา, ๒๕ มกราคม ๒๐๐๕)
สโลเวเนีย (ผ่านโดยรัฐสภา, ๑ ก.พ.๒๐๐๕)
สเปน (ผ่านโดยประชามติเมื่อ ๒๐ ก.พ. ๒๐๐๕)
กรีซ (ผ่านโดยรัฐสภา, ๑๙ เม.ย.๒๐๐๕)
สโลวะเกีย (ผ่านโดยรัฐสภา, ๑๑ พ.ค. ๒๐๐๕)
ออสเตรีย (ผ่านโดยรัฐสภา, ๑๒ พ.ค. ๒๐๐๕)
เยอรมัน (ผ่านโดยรัฐสภา, ๒๗ พ.ค. ๒๐๐๕)
เหลืออีก ๑๖ ประเทศที่ยังไม่ให้สัตยาบันแบ่งเป็น ๗ ประเทศที่ใช้ช่องรัฐสภา ได้แก่
เบลเยียม (อยู่ในระหว่างพิจารณา)
ไซปรัส (อยู่ในระหว่างพิจารณา)
แลตเวีย (อยู่ในระหว่างพิจารณา)
มอลตา (ก.ค.๒๐๐๕)
เอสโตเนีย (ปลายปี ๒๐๐๕)
สวีเดน (ธันวาคม ๒๐๐๕)
ฟินแลนด์ (ธันวาคม ๒๐๐๕)
และ ๙ ประเทศที่ใช้ช่องประชามติ ได้แก่
ฝรั่งเศส (๒๙ พ.ค. ๒๐๐๕)
ฮอลแลนด์ (๑ มิ.ย. ๒๐๐๕)
ลักเซมเบิร์ก (๑๐ ก.ค. ๒๐๐๕)
โปแลนด์ (๒๕ ก.ย. ๒๐๐๕)
เดนมาร์ก (๒๗ ก.ย. ๒๐๐๕)
โปรตุเกส (ต.ค.๒๐๐๕)
ไอร์แลนด์ (ต้นปี ๒๐๐๖)
อังกฤษ (ฤดูใบไม้ผลิ ๒๐๐๖)
สาธารณรัฐเชค (ยังไม่กำหนด)
กล่าวสำหรับฝรั่งเศส ประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัคได้แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า เพื่อประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางเช่นกรณีรัฐธรรมนูญยุโรปนี้ ตนจะไม่ถือสิทธิให้สัตยาบันสนธิสัญญาแต่เพียงลำพัง แต่จะอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนลงประชามติว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการให้สัตยาบันสนธิสัญญาก่อตั้งรัฐธรรมนูญยุโรป
รัฐบาลได้ทำร่างกฎหมายมาฉบับหนึ่ง ชื่อว่า “ร่างรัฐบัญญัติอนุญาตให้มีการให้สัตยาบันสนธิสัญญาก่อตั้งรัฐธรรมนูญยุโรป” จากนั้นก็ให้ประชาชนมาลงประชามติต่อร่างรัฐบัญญัตินี้ในปัญหาที่ว่า “ท่านเห็นชอบกับร่างรัฐบัญญัติซึ่งอนุญาตให้มีการให้สัตยาบันสนธิสัญญาก่อตั้งรัฐธรรมนูญยุโรปหรือไม่”
ว่าให้ชัดคือ ประชาชนไปลงประชามติให้ความเห็นชอบในร่างรัฐบัญญัติ เมื่อร่างรัฐบัญญัติได้รับความเห็นชอบก็เท่ากับว่าอนุญาตให้ประธานาธิบดีไปให้สัตยาบันสนธิสัญญาก่อตั้งรัฐธรรมนูญยุโรปได้นั่นเอง
กล่าวสำหรับการลงประชามติในฝรั่งเศสนั้น นับแต่เริ่มนำระบบการลงประชามติมาใช้ในสาธารณรัฐที่ ๕ ตั้งแต่ปี ๑๙๕๘ ฝรั่งเศสมีการลงประชามติรวม ๙ ครั้ง
ครั้งแรก วันที่ ๒๘ กันยายน ๑๙๕๘
การลงประชามติในเรื่องให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญ ๑๙๕๘ ร้อยละ ๘๒.๖๐ เห็นด้วย
ครั้งที่สอง วันที่ ๘ มกราคม ๑๙๖๑
การลงประชามติในเรื่องการปกครองตนเองของชาวแอลจีเรีย ร้อยละ ๗๔.๙๙ เห็นด้วย
ครั้งที่สาม วันที่ ๘ เมษายน ๑๙๖๒
การลงประชามติในเรื่องข้อตกลงเมืองเอเวียงว่าด้วยการหยุดยิงที่แอลจีเรีย ร้อยละ ๙๐.๘๑ เห็นด้วย
ครั้งที่สี่ วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๑๙๖๒
การลงประชามติในเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ร้อยละ ๖๒.๒๕ เห็นด้วย
ครั้งที่ห้า วันที่ ๒๗ เมษายน ๑๙๖๙
การลงประชามติในเรื่องการกระจายอำนาจให้แคว้นและการเปลี่ยนแปลงบทบาทของวุฒิสภา ร้อยละ ๕๒.๔๑ ไม่เห็นด้วย โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนมากถึงร้อยละ ๘๐
ครั้งที่หก วันที่ ๒๓ เมษายน ๑๙๗๒
การลงประชามติในเรื่องการรับสหราชอาณาจักร เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ และนอร์เวย์เข้าเป็นสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ร้อยละ ๖๘.๓๒ เห็นด้วย มีผู้ไม่ออกมาใช้สิทธิร้อยละ ๓๙.๗๖
ครั้งที่เจ็ด วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๑๙๘๘
การลงประชามติในเรื่องสถานะใหม่ของนิว คาลีโดเน ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส ร้อยละ ๘๐ เห็นด้วยแต่มีผู้ไม่ออกมาใช้สิทธิสูงถึงร้อยละ ๖๓.๑๑
ครั้งที่แปด วันที่ ๒๐ กันยายน ๑๙๙๒
การลงประชามติในเรื่องรับรองสนธิสัญญามาสทริชซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่วางรากฐานสหภาพยุโรปในปัจจุบันนี้ ร้อยละ ๕๑.๐๕ เห็นด้วย ผู้ไม่ออกมาใช้สิทธิร้อยละ ๓๐.๓๑
ครั้งที่เก้า วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๐๐๐
การลงประชามติในเรื่องลดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีจากเดิม ๗ ปีให้เหลือ ๕ ปี ร้อยละ ๗๓.๒๑ เห็นด้วย ผู้ไม่ออกมาใช้สิทธิสูงเป็นประวัติการณ์เกือบร้อยละ ๗๐
การลงประชามติครั้งที่สิบในวันนี้ เดิมคิดกันว่าไม่น่ามีปัญหาสำหรับฝรั่งเศส เพราะเป็นพี่เบิ้มของยุโรปแถมยังเป็นตัวตั้งตัวตีในการทำธรรมนูญยุโรปนี้อีกด้วย แต่เอาเข้าจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น ทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายต่างเสียงแตก
พรรคการเมืองขวาจัด ร้อยละ ๙๐ ไม่เอา
พรรคการเมืองขวากลาง ร้อยละ ๘๐ เอา
พรรคการเมืองซ้ายกลาง ร้อยละ ๔๕ เอา
พรรคการเมืองซ้ายจัด ร้อยละ ๘๙ ไม่เอา
การสำรวจโพลล์ตลอดสองเดือนที่ผ่านมา ฝ่ายไม่เห็นด้วยมีคะแนนนำฝ่ายเห็นด้วยตลอด การสำรวจครั้งสุดท้ายก่อนลงประชามติ พบว่าร้อยละ ๕๓ ไม่เห็นด้วยและร้อยละ ๔๗ เห็นด้วย
น่าคิดนะครับว่าถ้าให้ชีรัคย้อนเวลากลับไปได้ เค้าจะเปลี่ยนใจให้รัฐสภาเป็นผู้ให้สัตยาบันธรรมนูญยุโรปนี้หรือไม่ ชีรัคคงคาดไม่ถึงว่า ผลการลงประชามติจะส่อแววออกมาว่าไม่ผ่าน จึงตัดสินใจใช้ช่องทางประชามติเพื่อสร้างความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย
ในขณะที่ประเทศอื่นๆเช่นเยอรมันเกรงว่าจะไม่ผ่านหากใช้ช่องทางประชามติ จึงเลี่ยงไปให้ใช้ช่องรัฐสภาแทนหรืออังกฤษก็เป็นอีกประเทศที่ฉลาดมาก เพราะขอเป็นประเทศสุดท้ายที่จะให้สัตยาบัน
หากมีประเทศอื่นๆที่ไม่ให้สัตยาบัน ก็เท่ากับว่าธรรมนูญยุโรปนี้ล่มไปโดยไม่ใช่ความผิดของอังกฤษ ทั้งที่เราทราบกันดีว่า ประเทศที่เสี่ยงที่สุดที่จะไม่ให้สัตยาบันธรรมนูญยุโรปคืออังกฤษนั่นเอง
งานนี้โทนี่ แบลร์อาจไม่ต้องออกแรงมาก หากผลการลงประชามติที่ฝรั่งเศสไม่ผ่าน
.......................
ไม่น่าแปลกใจที่ค่ำคืนนี้สายตาหลายคู่ของชาวยุโรปจะจับจ้องไปที่ผลการลงประชามติของฝรั่งเศส
เพราะการลงประชามติครั้งนี้ไม่ได้มีผลต่อชาวฝรั่งเศสเท่านั้นแต่มีผลต่อโครงสร้างใหม่ของสหภาพยุโรปด้วย หากชาวฝรั่งเศสไม่เห็นด้วย ประเทศที่ให้สัตยาบันไปแล้วก็ไม่เกิดผล ในขณะที่การให้สัตยาบันของประเทศอื่นๆที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าก็ไม่มีความจำเป็น
กล่าวให้ถึงที่สุด งานนี้ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ชี้ชะตาให้สหภาพยุโรป
เป็นที่น่าสงสัยว่าฝรั่งเศสจะสูญเสียบทนำในสหภาพยุโรปหรือไม่ ถ้าการลงประชามติครั้งนี้ของฝรั่งเศสไม่ผ่าน
อีกไม่กี่ชั่วโมงรู้กันครับ
......................
ป.ล. บล็อกวันนี้ผมเขียนสั้นๆ จริงๆยังมีรายละเอียดเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอีกมาก แต่เนื่องจากผมพึ่งฟื้นตัวหลังจากเมื่อวานไปฉลองอย่างเต็มคราบที่น็องตส์รอดตกชั้น วันนี้เลยมีเวลาเขียนบล็อกนิดเดียว งานจึงออกมาหยาบๆ ประกอบกับตอนนี้ผมต้องไปตามข่าวผลการลงประชามติด้วย ถ้าผลออกมาว่าผ่าน พรุ่งนี้ผมจะมาว่าถึงเนื้อหาคร่าวๆของธรรมนูญยุโรปนี้พร้อมกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเพิ่มเติม รอติดตามชมครับ
ป.ล. ล่าสุดปิดหีบไปแล้วเว้นที่ปารีสที่เหลือเวลาอีก ๒ ชั่วโมง ปรากฏว่ามีผู้ออกมาใช้สิทธิมากถึงร้อยละ ๖๗ คาดการณ์กันว่าน่าจะถึง ๗๐ – ๗๕ ถ้าออกมาใช้สิทธิเยอะๆแบบนี้ ผมมีลางสังหรณ์ว่าน่าจะผ่านไปได้
ความเดิมเริ่มจากสนธิสัญญามาสทริชที่เป็นกลไกหลักในการดำเนินงานของสหภาพยุโรปได้ผ่านการใช้งานมา ๑๐ ปีเศษ พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคบางประการทำให้การดำเนินงานของสหภาพยุโรปเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประกอบกับมีการขยายตัวของรัฐสมาชิกออกไปจากเดิม ๑๕ ประเทศเป็น ๒๕ ประเทศ จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขปรับปรุงกลไกต่างๆ ด้วยการจัดทำร่างธรรมนูญยุโรป
ผ่านไปสองปีเศษ ในที่สุดสนธิสัญญาก่อตั้งธรรมนูญยุโรป (Le traité établissant une Constitution pour l'Europe) ก็ได้รับการลงนามเห็นชอบ ณ กรุงโรมโดยประมุขของรัฐสมาชิกเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๐๐๔
สนธิสัญญาก่อตั้งธรรมนูญยุโรปกำหนดว่า สนธิสัญญาก่อตั้งธรรมนูญยุโรปจะมีผลใช้บังคับก็ต่อเมื่อ ๒๕ รัฐสมาชิกให้สัตยาบัน หากมีเพียงรัฐสมาชิกเพียงรัฐเดียวที่ไม่ให้สัตยาบัน ธรรมนูญยุโรปก็เป็นอันสิ้นผลไป เท่ากับว่าธรรมนูญยุโรปนี้จะอยู่หรือจะไปต้องมีมติเอกฉันท์จากรัฐสมาชิกทั้งหมด ส่วนแต่ละรัฐสมาชิกจะให้สัตยาบัน ด้วยวิธีการใดให้เป็นไปตามกฎหมายภายในของแต่ละรัฐสมาชิก
ประเทศที่จัดให้มีการให้สัตยาบันด้วยช่องทางรัฐสภา คือให้รัฐสภาเป็นผู้ลงมติ มี ๑๕ ประเทศ ได้แก่ เยอรมัน เบลเยียม สวีเดน ฟินแลนด์ เอสโตเนีย แลตเวีย ลิธัวเนีย ไซปรัส สโลเวเนีย สโลวะเกีย กรีซ ฮังการี ออสเตรีย อิตาลี มอลตา
ประเทศที่จัดให้มีการให้สัตยาบันด้วยช่องทางประชามติ คือให้ประชาชนเป็นผู้ลงมติโดยตรง มี ๑๐ ประเทศ ได้แก่ ไอร์แลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก สเปน โปแลนด์ ฮอลแลนด์ เดนมาร์ก โปรตุเกส สาธารณรัฐเชค
ขณะนี้ประเทศที่ให้สัตยาบันไปแล้วมี ๙ ประเทศ คือ
ลิธัวเนีย (ผ่านโดยรัฐสภา, ๑๑ พ.ย.๒๐๐๔)
ฮังการี (ผ่านโดยรัฐสภา, ๒๐ ธ.ค.๒๐๐๔)
อิตาลี (ผ่านโดยรัฐสภา, ๒๕ มกราคม ๒๐๐๕)
สโลเวเนีย (ผ่านโดยรัฐสภา, ๑ ก.พ.๒๐๐๕)
สเปน (ผ่านโดยประชามติเมื่อ ๒๐ ก.พ. ๒๐๐๕)
กรีซ (ผ่านโดยรัฐสภา, ๑๙ เม.ย.๒๐๐๕)
สโลวะเกีย (ผ่านโดยรัฐสภา, ๑๑ พ.ค. ๒๐๐๕)
ออสเตรีย (ผ่านโดยรัฐสภา, ๑๒ พ.ค. ๒๐๐๕)
เยอรมัน (ผ่านโดยรัฐสภา, ๒๗ พ.ค. ๒๐๐๕)
เหลืออีก ๑๖ ประเทศที่ยังไม่ให้สัตยาบันแบ่งเป็น ๗ ประเทศที่ใช้ช่องรัฐสภา ได้แก่
เบลเยียม (อยู่ในระหว่างพิจารณา)
ไซปรัส (อยู่ในระหว่างพิจารณา)
แลตเวีย (อยู่ในระหว่างพิจารณา)
มอลตา (ก.ค.๒๐๐๕)
เอสโตเนีย (ปลายปี ๒๐๐๕)
สวีเดน (ธันวาคม ๒๐๐๕)
ฟินแลนด์ (ธันวาคม ๒๐๐๕)
และ ๙ ประเทศที่ใช้ช่องประชามติ ได้แก่
ฝรั่งเศส (๒๙ พ.ค. ๒๐๐๕)
ฮอลแลนด์ (๑ มิ.ย. ๒๐๐๕)
ลักเซมเบิร์ก (๑๐ ก.ค. ๒๐๐๕)
โปแลนด์ (๒๕ ก.ย. ๒๐๐๕)
เดนมาร์ก (๒๗ ก.ย. ๒๐๐๕)
โปรตุเกส (ต.ค.๒๐๐๕)
ไอร์แลนด์ (ต้นปี ๒๐๐๖)
อังกฤษ (ฤดูใบไม้ผลิ ๒๐๐๖)
สาธารณรัฐเชค (ยังไม่กำหนด)
กล่าวสำหรับฝรั่งเศส ประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัคได้แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า เพื่อประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางเช่นกรณีรัฐธรรมนูญยุโรปนี้ ตนจะไม่ถือสิทธิให้สัตยาบันสนธิสัญญาแต่เพียงลำพัง แต่จะอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนลงประชามติว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการให้สัตยาบันสนธิสัญญาก่อตั้งรัฐธรรมนูญยุโรป
รัฐบาลได้ทำร่างกฎหมายมาฉบับหนึ่ง ชื่อว่า “ร่างรัฐบัญญัติอนุญาตให้มีการให้สัตยาบันสนธิสัญญาก่อตั้งรัฐธรรมนูญยุโรป” จากนั้นก็ให้ประชาชนมาลงประชามติต่อร่างรัฐบัญญัตินี้ในปัญหาที่ว่า “ท่านเห็นชอบกับร่างรัฐบัญญัติซึ่งอนุญาตให้มีการให้สัตยาบันสนธิสัญญาก่อตั้งรัฐธรรมนูญยุโรปหรือไม่”
ว่าให้ชัดคือ ประชาชนไปลงประชามติให้ความเห็นชอบในร่างรัฐบัญญัติ เมื่อร่างรัฐบัญญัติได้รับความเห็นชอบก็เท่ากับว่าอนุญาตให้ประธานาธิบดีไปให้สัตยาบันสนธิสัญญาก่อตั้งรัฐธรรมนูญยุโรปได้นั่นเอง
กล่าวสำหรับการลงประชามติในฝรั่งเศสนั้น นับแต่เริ่มนำระบบการลงประชามติมาใช้ในสาธารณรัฐที่ ๕ ตั้งแต่ปี ๑๙๕๘ ฝรั่งเศสมีการลงประชามติรวม ๙ ครั้ง
ครั้งแรก วันที่ ๒๘ กันยายน ๑๙๕๘
การลงประชามติในเรื่องให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญ ๑๙๕๘ ร้อยละ ๘๒.๖๐ เห็นด้วย
ครั้งที่สอง วันที่ ๘ มกราคม ๑๙๖๑
การลงประชามติในเรื่องการปกครองตนเองของชาวแอลจีเรีย ร้อยละ ๗๔.๙๙ เห็นด้วย
ครั้งที่สาม วันที่ ๘ เมษายน ๑๙๖๒
การลงประชามติในเรื่องข้อตกลงเมืองเอเวียงว่าด้วยการหยุดยิงที่แอลจีเรีย ร้อยละ ๙๐.๘๑ เห็นด้วย
ครั้งที่สี่ วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๑๙๖๒
การลงประชามติในเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ร้อยละ ๖๒.๒๕ เห็นด้วย
ครั้งที่ห้า วันที่ ๒๗ เมษายน ๑๙๖๙
การลงประชามติในเรื่องการกระจายอำนาจให้แคว้นและการเปลี่ยนแปลงบทบาทของวุฒิสภา ร้อยละ ๕๒.๔๑ ไม่เห็นด้วย โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนมากถึงร้อยละ ๘๐
ครั้งที่หก วันที่ ๒๓ เมษายน ๑๙๗๒
การลงประชามติในเรื่องการรับสหราชอาณาจักร เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ และนอร์เวย์เข้าเป็นสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ร้อยละ ๖๘.๓๒ เห็นด้วย มีผู้ไม่ออกมาใช้สิทธิร้อยละ ๓๙.๗๖
ครั้งที่เจ็ด วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๑๙๘๘
การลงประชามติในเรื่องสถานะใหม่ของนิว คาลีโดเน ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส ร้อยละ ๘๐ เห็นด้วยแต่มีผู้ไม่ออกมาใช้สิทธิสูงถึงร้อยละ ๖๓.๑๑
ครั้งที่แปด วันที่ ๒๐ กันยายน ๑๙๙๒
การลงประชามติในเรื่องรับรองสนธิสัญญามาสทริชซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่วางรากฐานสหภาพยุโรปในปัจจุบันนี้ ร้อยละ ๕๑.๐๕ เห็นด้วย ผู้ไม่ออกมาใช้สิทธิร้อยละ ๓๐.๓๑
ครั้งที่เก้า วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๐๐๐
การลงประชามติในเรื่องลดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีจากเดิม ๗ ปีให้เหลือ ๕ ปี ร้อยละ ๗๓.๒๑ เห็นด้วย ผู้ไม่ออกมาใช้สิทธิสูงเป็นประวัติการณ์เกือบร้อยละ ๗๐
การลงประชามติครั้งที่สิบในวันนี้ เดิมคิดกันว่าไม่น่ามีปัญหาสำหรับฝรั่งเศส เพราะเป็นพี่เบิ้มของยุโรปแถมยังเป็นตัวตั้งตัวตีในการทำธรรมนูญยุโรปนี้อีกด้วย แต่เอาเข้าจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น ทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายต่างเสียงแตก
พรรคการเมืองขวาจัด ร้อยละ ๙๐ ไม่เอา
พรรคการเมืองขวากลาง ร้อยละ ๘๐ เอา
พรรคการเมืองซ้ายกลาง ร้อยละ ๔๕ เอา
พรรคการเมืองซ้ายจัด ร้อยละ ๘๙ ไม่เอา
การสำรวจโพลล์ตลอดสองเดือนที่ผ่านมา ฝ่ายไม่เห็นด้วยมีคะแนนนำฝ่ายเห็นด้วยตลอด การสำรวจครั้งสุดท้ายก่อนลงประชามติ พบว่าร้อยละ ๕๓ ไม่เห็นด้วยและร้อยละ ๔๗ เห็นด้วย
น่าคิดนะครับว่าถ้าให้ชีรัคย้อนเวลากลับไปได้ เค้าจะเปลี่ยนใจให้รัฐสภาเป็นผู้ให้สัตยาบันธรรมนูญยุโรปนี้หรือไม่ ชีรัคคงคาดไม่ถึงว่า ผลการลงประชามติจะส่อแววออกมาว่าไม่ผ่าน จึงตัดสินใจใช้ช่องทางประชามติเพื่อสร้างความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย
ในขณะที่ประเทศอื่นๆเช่นเยอรมันเกรงว่าจะไม่ผ่านหากใช้ช่องทางประชามติ จึงเลี่ยงไปให้ใช้ช่องรัฐสภาแทนหรืออังกฤษก็เป็นอีกประเทศที่ฉลาดมาก เพราะขอเป็นประเทศสุดท้ายที่จะให้สัตยาบัน
หากมีประเทศอื่นๆที่ไม่ให้สัตยาบัน ก็เท่ากับว่าธรรมนูญยุโรปนี้ล่มไปโดยไม่ใช่ความผิดของอังกฤษ ทั้งที่เราทราบกันดีว่า ประเทศที่เสี่ยงที่สุดที่จะไม่ให้สัตยาบันธรรมนูญยุโรปคืออังกฤษนั่นเอง
งานนี้โทนี่ แบลร์อาจไม่ต้องออกแรงมาก หากผลการลงประชามติที่ฝรั่งเศสไม่ผ่าน
.......................
ไม่น่าแปลกใจที่ค่ำคืนนี้สายตาหลายคู่ของชาวยุโรปจะจับจ้องไปที่ผลการลงประชามติของฝรั่งเศส
เพราะการลงประชามติครั้งนี้ไม่ได้มีผลต่อชาวฝรั่งเศสเท่านั้นแต่มีผลต่อโครงสร้างใหม่ของสหภาพยุโรปด้วย หากชาวฝรั่งเศสไม่เห็นด้วย ประเทศที่ให้สัตยาบันไปแล้วก็ไม่เกิดผล ในขณะที่การให้สัตยาบันของประเทศอื่นๆที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าก็ไม่มีความจำเป็น
กล่าวให้ถึงที่สุด งานนี้ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ชี้ชะตาให้สหภาพยุโรป
เป็นที่น่าสงสัยว่าฝรั่งเศสจะสูญเสียบทนำในสหภาพยุโรปหรือไม่ ถ้าการลงประชามติครั้งนี้ของฝรั่งเศสไม่ผ่าน
อีกไม่กี่ชั่วโมงรู้กันครับ
......................
ป.ล. บล็อกวันนี้ผมเขียนสั้นๆ จริงๆยังมีรายละเอียดเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอีกมาก แต่เนื่องจากผมพึ่งฟื้นตัวหลังจากเมื่อวานไปฉลองอย่างเต็มคราบที่น็องตส์รอดตกชั้น วันนี้เลยมีเวลาเขียนบล็อกนิดเดียว งานจึงออกมาหยาบๆ ประกอบกับตอนนี้ผมต้องไปตามข่าวผลการลงประชามติด้วย ถ้าผลออกมาว่าผ่าน พรุ่งนี้ผมจะมาว่าถึงเนื้อหาคร่าวๆของธรรมนูญยุโรปนี้พร้อมกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเพิ่มเติม รอติดตามชมครับ
ป.ล. ล่าสุดปิดหีบไปแล้วเว้นที่ปารีสที่เหลือเวลาอีก ๒ ชั่วโมง ปรากฏว่ามีผู้ออกมาใช้สิทธิมากถึงร้อยละ ๖๗ คาดการณ์กันว่าน่าจะถึง ๗๐ – ๗๕ ถ้าออกมาใช้สิทธิเยอะๆแบบนี้ ผมมีลางสังหรณ์ว่าน่าจะผ่านไปได้
6 ความคิดเห็น:
ปิดหีบเรียบร้อย
ผลการประเมินออกมาว่า ผู้ไม่เห็นด้วยกับธรรมนูญยุโรปมีร้อยละ ๕๕ ผู้เห็นด้วยมีร้อยละ ๔๕
ผู้ใช้สิทธิสูงถึงร้อยละ ๗๐
ประเด็นที่ต้องตามต่อไปเท่าที่ผมคิดออกตอนนี้มี ๓ ประเด็น
หนึ่ง บทบาทของฝรั่งเศสต่อสหภาพยุโรปจะลดลงหรือไม่ ฝรั่งเศสจะมีเสียงดังเหมือนเดิมหรือไม่ในการต่อรองต่างๆ
สอง การเมืองภายในฝรั่งเศส ชีรัคจะลาออกจากประธานาธิบดีหรือไม่ ชีรัคจะยุบสภาหรือไม่
สาม สหภาพยุโรปจะเดินต่อไปในทิศทางใด
ครูอานน์เจ้าเก่า บอกว่า เป็นเรื่องซวย ที่มาทำประชามติเรื่องนี้
คือคนฝรั่งเศสส่วนหนึ่งเท่านั้น และต้องเป็นพวกมีการศึกษาดีพอสมควร สนใจการบ้านการเมือง ถึงจะแยกแยะได้ว่า นี่คือประชามติชี้ชะตายุโรป ไม่ใช่ประท้วงชีรัค
บางคนแค่จะไม่เอาด้วยกะชีรัค ก็กา Non ด้วยความสะใจ แม้ว่าจะไม่ได้รู้เรื่องรัถถะทมะนูนเลยก็ตาม
คนไม่อยากได้ตุรกีมาอยู่ในยุโร ก็กา Non
เด็กมัธยมที่ไม่อยากสอบบัคระบบใหม่ ก็ Non
เผลอๆ คนที่ไม่ชอบเงินยูโร ก็คงมีมา Non กะเค้าด้วย
คือไอ้เสียง Non น่ะ มันมีหลายที่มา
แกบอกว่า คนฝรั่งเศส ถ้าดินสอมันตั้ง ก็ห้ามล้ม
ห้ามเบ้ซ้าย ห้ามเบ้ขวา ห้ามเลื่อน ห้ามปรับ
ก็เป็นเช่นนี้แล
ขอบคุณ พี่ตามข่าวอยู่พอดี
เคยอ่านจาก http://www.pub-law.net/ มาบ้าง
แต่งดออกความเห็นค่ะ ... ไม่มีความรู้เรื่องนี้น่ะค่ะ
^-^
KoPoK
qzz0614
michael kors outlet
air huarache
kobe bryant shoes
cleveland cavaliers jersey
coach outlet
stuart weitzman shoes
true religion jeans
reebok trainers
coach outlet online
coach outlet
www0815
adidas superstars
dsquared2
nike chaussure femme
dsquared
hermes belts
soccer boots
nike huarache femme
oakley sunglasses wholesale
nike air max 90
ugg boots clearance
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก