นี่คือนิธิ ใน พ.ศ.นี้
มติชนฉบับวันจันทร์ที่ ๒๖ พ.ย. ลงคอลัมน์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ดังเช่นเคย
หากเปิดหน้า ๖ แล้วปิดชื่อผู้เขียนของคอลัมน์นี้ไว้ ถ้าเป็นเมื่อก่อน ผมคงไม่มีทางเดาได้ว่านิธิเป็นผู้เขียน
นับแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ผมอ่านบทความของนิธิ ที่เกี่ยวกับการเมืองทีไร แล้วรู้สึกทะแม่งๆทุกที แต่จากผลงานที่ผ่านมาของเขา (ยอมรับเลยว่าผมโตมากับมติชน ศิลปวัฒนธรรม และบทความของนิธิ) ผมก็พยายามคิดเข้าข้างเขาอยู่ว่า คนระดับนิธิ คงไม่มีทางเอนเอียงไปทาง “ฝ่ายนั้น” แน่ๆ
แต่กับบทความตอนนี้ เป็นสิ่งที่ผมรับไม่ได้อีกครั้งหนึ่ง (หลังจากที่นิธิไม่เคยประณาม ๑๙ กันยา แบบชัดเจนเลยสักครั้ง)
ในความเห็นผม นิธิ ณ พ.ศ.นี้ ไม่ใช่นิธิ คนเดียวกันกับที่เขียนงานและผมติดตามงานมาตลอดในสมัยก่อน
เชิญอ่านและพิจารณาตาม (ตัวแดง ผมเน้นเอง)
.............
นายกฯ ของวิกฤตการเมือง
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ภายใต้สภาวการณ์ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ คือภายใต้ระบบราชการซึ่งมีกองทัพเป็นผู้นำ) มาอย่างน้อยสามเรื่องแล้ว คุณอภิสิทธิ์เสนอให้ยกเลิกกฎอัยการศึกเสีย เมื่อจะจัดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม,คุณอภิสิทธิ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงและสัญญาว่าจะแก้ไขเมื่อได้เป็นรัฐบาล และไม่กี่วันมานี้ คุณอภิสิทธิ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับ กกต.ที่แนะนำมิให้นักการเมืองใช้ 111 อดีตผู้บริหาร ทรท.เป็นสื่อในการหาเสียง
เฉพาะประเด็นสุดท้ายนี้ พรรคการเมืองส่วนใหญ่กลับพร้อมจะปฏิบัติตาม แม้แต่พรรคพปช.ซึ่งแสดงให้ประจักษ์ว่าสืบทอดมาจากพรรค ทรท.ก็เพียงแต่มีผู้ใหญ่บางคนของพรรคแถลงว่าจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ
อันที่จริง ทุกพรรคการเมืองควรจับมือกันสู้ในประเด็นนี้ คือพร้อมใจกันที่จะไม่ฟังคำแนะนำนี้ของ กกต. แม้อาจมีโทษถึงยุบพรรค ก็เป็นการยุบพรรคทั้งหมด เพราะพรรคการเมืองจะมีประโยชน์อันใด หากไม่สามารถปกป้องสิทธิเสรีภาพขึ้นพื้นฐานซึ่งให้หลักประกันไว้แล้วในรัฐธรรมนูญ
แม้ว่าคำแนะนำนี้อาจสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบแก่พรรคการเมืองต่างๆ ก็ตาม แต่ความได้เปรียบจนทำให้ได้ร่วมรัฐบาลจะมีประโยชน์อันใด หากต้องเป็นรัฐบาลภายใต้อำนาจมืดบางอย่างที่ทำให้รัฐบาลไม่มีอำนาจในการดำเนินการใดๆ จริง... อำนาจมืดนี้มีอยู่แล้ว หรือกำลังก่อตัวขึ้นก็ตาม ล้วนเป็นอำนาจที่ไม่ต้องรับผิด (accountable) กับใครทั้งสิ้น ขืนปล่อยไว้ การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงก็เป็นแค่จำอวด
และนี่แหละที่ทำให้คุณอภิสิทธิ์เหมาะจะเป็นนายกรัฐมนตรีในยามนี้ที่สุดอะไรคือปัญหาใหญ่สุดซึ่งรัฐบาลใหม่อันใครๆ ก็รู้ว่าอ่อนแอต้องเผชิญ เวลานี้นักธุรกิจด้านอุตสาหกรรม,การเงิน,และการค้าพากันพร่ำบอกรัฐบาลใหม่ให้ทำโน่นทำนี่ หรือไม่ทำโน่นไม่ทำนี่ ในท่ามกลางวิกฤตราคาน้ำมัน,การแข่งขัน,และภาวะซบเซาของเศรษฐกิจโลก จนกำลังจะกลายเป็นคำตอบเดียวของสังคมไทยไปแล้ว ทั้งๆ ที่วิกฤตนี้มีคนไทยอีกมากต้องเผชิญร่วมกัน คำตอบของคนกลุ่มเดียวจะเป็นคำตอบของคนทั้งหมดได้อย่างไร
แต่ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาใหญ่สุดที่สังคมไทยต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้แน่หรือ แม้ไม่ปฏิเสธว่าปัญหานี้มีความสำคัญที่จะต้องจัดการอย่างรอบคอบและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย แต่เพราะปัญหาเศรษฐกิจกระทบต่อผู้คนโดยตรง และทันตาเห็น จึงเป็นปัญหาที่ผู้ถูกกระทบมักมีปากเสียง (บ้างมีมาก บ้างมีน้อยเป็นธรรมดา) รู้จักแม้แต่การรวมตัวจัดองค์กรข้ามกลุ่มผลประโยชน์ เพื่อกดดันเชิงนโยบายอย่างได้ผล
ไม่ว่านักธุรกิจอุตสาหกรรม,การเงิน และการค้า หรือชาวประมงที่ต้องทนแบกรับราคาน้ำมัน หรือนักเรียนในกรุงเทพฯ ที่ไม่อาจแบกรับราคารถเมล์ได้ เอสเอมอีที่พากันหยุดกิจการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ แรงงานบางกลุ่ม ฯลฯ ล้วนสามารถเคลื่อนไหวในเชิงนโยบายได้ทั้งสิ้น
ฉะนั้น ไม่ว่าเศรษฐกิจจะมีปัญหาใหญ่สักเพียงใด สังคมไทยดูเหมือนจะมีพลังในการจัดการได้ดีกว่าด้านอื่นๆ เสียอีก (แม้จัดการแล้วไม่ดีนักก็ตาม) เพราะอำนาจต่อรองกระจายไปยังคนหลากหลายกลุ่มกว่าเรื่องอื่นๆ
ความหลากหลายของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทำให้นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลเลือกตั้ง มีแนวโน้มว่าจะมีความเป็นธรรมอยู่บ้าง
ปัญหาที่ใหญ่กว่าเศรษฐกิจคือปัญหาการเมืองต่างหาก เพราะภายใต้ภาวการณ์ที่รัฐธรรมนูญ 2550 สร้างขึ้น ระบบราชการซึ่งมีกองทัพนำ จะควบคุมความเคลื่อนไหวของนักการเมือง รวมทั้งในซีกรัฐบาลมิให้ทำได้ในทางหนึ่งทางใด แม้แต่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจก็ไม่อาจกระทบต่อผลประโยชน์ของบริษัทบริวารและพันธมิตรของระบบราชการและกองทัพได้ หากนักการเมืองโดยเฉพาะที่เป็นนายกรัฐมนตรี จำนนต่อแรงกดดันเหล่านี้ การเมืองไทยจะถึงจุดอับจนยิ่งไปกว่าปัจจุบัน
วิกฤตที่ใหญ่ที่สุดของไทยเวลานี้ ไม่ใช่วิกฤตเศรษฐกิจ แต่เป็นวิกฤตการเมืองเพียงเพราะเรามีนายกรัฐมนตรีที่แหยต่ออำนาจของกองทัพเพียงอย่างเดียว แม้แต่พลังของกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่จะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต่อรองเชิงนโยบายก็ไม่อาจทำได้อีกต่อไป เพราะอำนาจล้นฟ้าของ พ.ร.บ.ความมั่นคงจะขวางกั้นการเคลื่อนไหวทุกอย่างที่ขัดผลประโยชน์ของระบบราชการและกองทัพ ด้วยข้อหาทำลายความมั่นคง
ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาอะไรๆ ก็แก้ไม่ได้ทั้งนั้น ซ้ำร้ายระบบราชการและกองทัพเองก็ล้าหลังเกินกว่าจะแก้ปัญหาอะไรที่สังคมไทยต้องเผชิญได้อีกแล้ว อย่างเก่งก็ทำซ้ำรอยเดิม ซึ่งนอกจากไม่แก้ปัญหาแล้ว ยิ่งทำให้ปัญหายุ่งยากมากขึ้นไปอีก
ฉะนั้น หากไม่หลุดออกไปจากวิกฤตการเมืองในครั้งนี้ ไทยจะต้องเผชิญกับวิกฤตด้านอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องกล้าเผชิญกับแรงกดดันจากกองทัพ รวมทั้งแรงกดดันจากองค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรีด้วย ดังที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แสดงให้เห็นอย่างนุ่มนวล แต่สง่างามในครั้งนี้
ความนุ่มนวลก็มีความสำคัญ แม้ว่าการปลดปล่อยการเมืองไทยออกจากระบบราชการและกองทัพเป็นภารกิจเร่งด่วนและสำคัญสุดยอด แต่เราควรหลีกเลี่ยงการปะทะนองเลือดกับกองทัพอย่างที่เคยเกิดมาแล้วในเหตุการณ์ 14 ตุลาและพฤษภาทมิฬ ทั้งสองครั้งที่ผ่านมาล้วนอยู่ภายใต้นายกรัฐมนตรีที่เป็นคนของกองทัพเอง ซึ่งทำให้หลีกเลี่ยงการปะทะได้ยากขึ้น ความนุ่มนวลแต่แกร่งกล้าของคุณอภิสิทธิ์อาจช่วยให้คุณอภิสิทธิ์สามารถนำทหารกลับกรมกองโดยสงบ และสร้างระบบราชการให้เป็นเครื่องมือที่ซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพ เพื่อสนองนโยบายที่ประชาชนสร้างขึ้นผ่านกระบวนการทางการเมืองได้
และนี่เป็นข้อได้เปรียบของคุณอภิสิทธิ์เหนือคู่แข่งที่แสดงอาการแข็งกร้าวหยาบคาย เพราะโอกาสที่เราจะดันทหารกลับกรมกองโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อนั้นมีอยู่
แน่นอนคุณอภิสิทธิ์ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าพรรคการเมืองซึ่งทหารกลุ่มหนึ่งในคณะรัฐประหารหนุนหลัง เพราะภารกิจของพรรคนั้นย่อมไม่มีอะไรมากไปกว่าคอยรับใช้ระบบราชการซึ่งมีกองทัพเป็นผู้นำ อันเป็นเหตุให้เมืองไทยมืดมนลงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง
สิ่งเดียวที่ขาดไปสำหรับคุณอภิสิทธิ์ก็คือ คุณอภิสิทธิ์ต้องแสดงความนุ่มนวลและแกร่งกล้าในความถูกต้องกับพรรคประชาธิปัตย์ของคุณอภิสิทธิ์เองด้วย เพราะคนจำนวนมากยังจำได้ว่า พรรคนี้เคยมีคนดีเป็นผู้นำ แต่ความดีและความนิยมที่เขาได้รับไม่อาจทำให้เขาแกร่งกล้าพอจะจัดการปัญหาทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นจากสมาชิกของพรรคเอง คุณอภิสิทธิ์ควรแสดงให้เห็นแต่แรกว่า ใบหน้าคุณอภิสิทธิ์นั้น เมื่อลูบไปแล้ว จะไม่ปะจมูกอันเป็นสมาชิกชั้นนำของพรรคเอง
เพราะนายกรัฐมนตรีที่จะนำประเทศไทยให้พ้นจากวิกฤตทางการเมืองไปได้ในครั้งนี้ ต้องแกร่งทั้งภายนอกและภายใน
...................
นิธิเชื่อว่า อภิสิทธิ์เป็นนายกฯที่กล้าชนกับทหาร?
นิธิเชื่อว่า อภิสิทธิ์เหมาะเป็นนายกฯเพราะกล้าค้านเรื่องกฎอัยการศึก กฎหมายความมั่นคง และกฎ กกต เรื่อง ๑๑๑ คน?
แล้วพรรคใด โดยการนำของใคร คิดสูตร ม.๗
แล้วพรรคใด โดยการนำของใคร มีส่วนนำพาสถานการณ์เข้ามุมอับ จนทหารหาเหตุออกมารัฐประหาร
แล้วพรรคใด โดยการนำของใคร ที่ไม่เคยแตะต้อง คมช ตลอดปีเศษที่ผ่านมา
หากเปิดหน้า ๖ แล้วปิดชื่อผู้เขียนของคอลัมน์นี้ไว้ ถ้าเป็นเมื่อก่อน ผมคงไม่มีทางเดาได้ว่านิธิเป็นผู้เขียน
นับแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ผมอ่านบทความของนิธิ ที่เกี่ยวกับการเมืองทีไร แล้วรู้สึกทะแม่งๆทุกที แต่จากผลงานที่ผ่านมาของเขา (ยอมรับเลยว่าผมโตมากับมติชน ศิลปวัฒนธรรม และบทความของนิธิ) ผมก็พยายามคิดเข้าข้างเขาอยู่ว่า คนระดับนิธิ คงไม่มีทางเอนเอียงไปทาง “ฝ่ายนั้น” แน่ๆ
แต่กับบทความตอนนี้ เป็นสิ่งที่ผมรับไม่ได้อีกครั้งหนึ่ง (หลังจากที่นิธิไม่เคยประณาม ๑๙ กันยา แบบชัดเจนเลยสักครั้ง)
ในความเห็นผม นิธิ ณ พ.ศ.นี้ ไม่ใช่นิธิ คนเดียวกันกับที่เขียนงานและผมติดตามงานมาตลอดในสมัยก่อน
เชิญอ่านและพิจารณาตาม (ตัวแดง ผมเน้นเอง)
.............
นายกฯ ของวิกฤตการเมือง
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ภายใต้สภาวการณ์ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ คือภายใต้ระบบราชการซึ่งมีกองทัพเป็นผู้นำ) มาอย่างน้อยสามเรื่องแล้ว คุณอภิสิทธิ์เสนอให้ยกเลิกกฎอัยการศึกเสีย เมื่อจะจัดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม,คุณอภิสิทธิ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงและสัญญาว่าจะแก้ไขเมื่อได้เป็นรัฐบาล และไม่กี่วันมานี้ คุณอภิสิทธิ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับ กกต.ที่แนะนำมิให้นักการเมืองใช้ 111 อดีตผู้บริหาร ทรท.เป็นสื่อในการหาเสียง
เฉพาะประเด็นสุดท้ายนี้ พรรคการเมืองส่วนใหญ่กลับพร้อมจะปฏิบัติตาม แม้แต่พรรคพปช.ซึ่งแสดงให้ประจักษ์ว่าสืบทอดมาจากพรรค ทรท.ก็เพียงแต่มีผู้ใหญ่บางคนของพรรคแถลงว่าจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ
อันที่จริง ทุกพรรคการเมืองควรจับมือกันสู้ในประเด็นนี้ คือพร้อมใจกันที่จะไม่ฟังคำแนะนำนี้ของ กกต. แม้อาจมีโทษถึงยุบพรรค ก็เป็นการยุบพรรคทั้งหมด เพราะพรรคการเมืองจะมีประโยชน์อันใด หากไม่สามารถปกป้องสิทธิเสรีภาพขึ้นพื้นฐานซึ่งให้หลักประกันไว้แล้วในรัฐธรรมนูญ
แม้ว่าคำแนะนำนี้อาจสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบแก่พรรคการเมืองต่างๆ ก็ตาม แต่ความได้เปรียบจนทำให้ได้ร่วมรัฐบาลจะมีประโยชน์อันใด หากต้องเป็นรัฐบาลภายใต้อำนาจมืดบางอย่างที่ทำให้รัฐบาลไม่มีอำนาจในการดำเนินการใดๆ จริง... อำนาจมืดนี้มีอยู่แล้ว หรือกำลังก่อตัวขึ้นก็ตาม ล้วนเป็นอำนาจที่ไม่ต้องรับผิด (accountable) กับใครทั้งสิ้น ขืนปล่อยไว้ การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงก็เป็นแค่จำอวด
และนี่แหละที่ทำให้คุณอภิสิทธิ์เหมาะจะเป็นนายกรัฐมนตรีในยามนี้ที่สุดอะไรคือปัญหาใหญ่สุดซึ่งรัฐบาลใหม่อันใครๆ ก็รู้ว่าอ่อนแอต้องเผชิญ เวลานี้นักธุรกิจด้านอุตสาหกรรม,การเงิน,และการค้าพากันพร่ำบอกรัฐบาลใหม่ให้ทำโน่นทำนี่ หรือไม่ทำโน่นไม่ทำนี่ ในท่ามกลางวิกฤตราคาน้ำมัน,การแข่งขัน,และภาวะซบเซาของเศรษฐกิจโลก จนกำลังจะกลายเป็นคำตอบเดียวของสังคมไทยไปแล้ว ทั้งๆ ที่วิกฤตนี้มีคนไทยอีกมากต้องเผชิญร่วมกัน คำตอบของคนกลุ่มเดียวจะเป็นคำตอบของคนทั้งหมดได้อย่างไร
แต่ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาใหญ่สุดที่สังคมไทยต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้แน่หรือ แม้ไม่ปฏิเสธว่าปัญหานี้มีความสำคัญที่จะต้องจัดการอย่างรอบคอบและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย แต่เพราะปัญหาเศรษฐกิจกระทบต่อผู้คนโดยตรง และทันตาเห็น จึงเป็นปัญหาที่ผู้ถูกกระทบมักมีปากเสียง (บ้างมีมาก บ้างมีน้อยเป็นธรรมดา) รู้จักแม้แต่การรวมตัวจัดองค์กรข้ามกลุ่มผลประโยชน์ เพื่อกดดันเชิงนโยบายอย่างได้ผล
ไม่ว่านักธุรกิจอุตสาหกรรม,การเงิน และการค้า หรือชาวประมงที่ต้องทนแบกรับราคาน้ำมัน หรือนักเรียนในกรุงเทพฯ ที่ไม่อาจแบกรับราคารถเมล์ได้ เอสเอมอีที่พากันหยุดกิจการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ แรงงานบางกลุ่ม ฯลฯ ล้วนสามารถเคลื่อนไหวในเชิงนโยบายได้ทั้งสิ้น
ฉะนั้น ไม่ว่าเศรษฐกิจจะมีปัญหาใหญ่สักเพียงใด สังคมไทยดูเหมือนจะมีพลังในการจัดการได้ดีกว่าด้านอื่นๆ เสียอีก (แม้จัดการแล้วไม่ดีนักก็ตาม) เพราะอำนาจต่อรองกระจายไปยังคนหลากหลายกลุ่มกว่าเรื่องอื่นๆ
ความหลากหลายของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทำให้นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลเลือกตั้ง มีแนวโน้มว่าจะมีความเป็นธรรมอยู่บ้าง
ปัญหาที่ใหญ่กว่าเศรษฐกิจคือปัญหาการเมืองต่างหาก เพราะภายใต้ภาวการณ์ที่รัฐธรรมนูญ 2550 สร้างขึ้น ระบบราชการซึ่งมีกองทัพนำ จะควบคุมความเคลื่อนไหวของนักการเมือง รวมทั้งในซีกรัฐบาลมิให้ทำได้ในทางหนึ่งทางใด แม้แต่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจก็ไม่อาจกระทบต่อผลประโยชน์ของบริษัทบริวารและพันธมิตรของระบบราชการและกองทัพได้ หากนักการเมืองโดยเฉพาะที่เป็นนายกรัฐมนตรี จำนนต่อแรงกดดันเหล่านี้ การเมืองไทยจะถึงจุดอับจนยิ่งไปกว่าปัจจุบัน
วิกฤตที่ใหญ่ที่สุดของไทยเวลานี้ ไม่ใช่วิกฤตเศรษฐกิจ แต่เป็นวิกฤตการเมืองเพียงเพราะเรามีนายกรัฐมนตรีที่แหยต่ออำนาจของกองทัพเพียงอย่างเดียว แม้แต่พลังของกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่จะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต่อรองเชิงนโยบายก็ไม่อาจทำได้อีกต่อไป เพราะอำนาจล้นฟ้าของ พ.ร.บ.ความมั่นคงจะขวางกั้นการเคลื่อนไหวทุกอย่างที่ขัดผลประโยชน์ของระบบราชการและกองทัพ ด้วยข้อหาทำลายความมั่นคง
ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาอะไรๆ ก็แก้ไม่ได้ทั้งนั้น ซ้ำร้ายระบบราชการและกองทัพเองก็ล้าหลังเกินกว่าจะแก้ปัญหาอะไรที่สังคมไทยต้องเผชิญได้อีกแล้ว อย่างเก่งก็ทำซ้ำรอยเดิม ซึ่งนอกจากไม่แก้ปัญหาแล้ว ยิ่งทำให้ปัญหายุ่งยากมากขึ้นไปอีก
ฉะนั้น หากไม่หลุดออกไปจากวิกฤตการเมืองในครั้งนี้ ไทยจะต้องเผชิญกับวิกฤตด้านอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องกล้าเผชิญกับแรงกดดันจากกองทัพ รวมทั้งแรงกดดันจากองค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรีด้วย ดังที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แสดงให้เห็นอย่างนุ่มนวล แต่สง่างามในครั้งนี้
ความนุ่มนวลก็มีความสำคัญ แม้ว่าการปลดปล่อยการเมืองไทยออกจากระบบราชการและกองทัพเป็นภารกิจเร่งด่วนและสำคัญสุดยอด แต่เราควรหลีกเลี่ยงการปะทะนองเลือดกับกองทัพอย่างที่เคยเกิดมาแล้วในเหตุการณ์ 14 ตุลาและพฤษภาทมิฬ ทั้งสองครั้งที่ผ่านมาล้วนอยู่ภายใต้นายกรัฐมนตรีที่เป็นคนของกองทัพเอง ซึ่งทำให้หลีกเลี่ยงการปะทะได้ยากขึ้น ความนุ่มนวลแต่แกร่งกล้าของคุณอภิสิทธิ์อาจช่วยให้คุณอภิสิทธิ์สามารถนำทหารกลับกรมกองโดยสงบ และสร้างระบบราชการให้เป็นเครื่องมือที่ซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพ เพื่อสนองนโยบายที่ประชาชนสร้างขึ้นผ่านกระบวนการทางการเมืองได้
และนี่เป็นข้อได้เปรียบของคุณอภิสิทธิ์เหนือคู่แข่งที่แสดงอาการแข็งกร้าวหยาบคาย เพราะโอกาสที่เราจะดันทหารกลับกรมกองโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อนั้นมีอยู่
แน่นอนคุณอภิสิทธิ์ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าพรรคการเมืองซึ่งทหารกลุ่มหนึ่งในคณะรัฐประหารหนุนหลัง เพราะภารกิจของพรรคนั้นย่อมไม่มีอะไรมากไปกว่าคอยรับใช้ระบบราชการซึ่งมีกองทัพเป็นผู้นำ อันเป็นเหตุให้เมืองไทยมืดมนลงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง
สิ่งเดียวที่ขาดไปสำหรับคุณอภิสิทธิ์ก็คือ คุณอภิสิทธิ์ต้องแสดงความนุ่มนวลและแกร่งกล้าในความถูกต้องกับพรรคประชาธิปัตย์ของคุณอภิสิทธิ์เองด้วย เพราะคนจำนวนมากยังจำได้ว่า พรรคนี้เคยมีคนดีเป็นผู้นำ แต่ความดีและความนิยมที่เขาได้รับไม่อาจทำให้เขาแกร่งกล้าพอจะจัดการปัญหาทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นจากสมาชิกของพรรคเอง คุณอภิสิทธิ์ควรแสดงให้เห็นแต่แรกว่า ใบหน้าคุณอภิสิทธิ์นั้น เมื่อลูบไปแล้ว จะไม่ปะจมูกอันเป็นสมาชิกชั้นนำของพรรคเอง
เพราะนายกรัฐมนตรีที่จะนำประเทศไทยให้พ้นจากวิกฤตทางการเมืองไปได้ในครั้งนี้ ต้องแกร่งทั้งภายนอกและภายใน
...................
นิธิเชื่อว่า อภิสิทธิ์เป็นนายกฯที่กล้าชนกับทหาร?
นิธิเชื่อว่า อภิสิทธิ์เหมาะเป็นนายกฯเพราะกล้าค้านเรื่องกฎอัยการศึก กฎหมายความมั่นคง และกฎ กกต เรื่อง ๑๑๑ คน?
แล้วพรรคใด โดยการนำของใคร คิดสูตร ม.๗
แล้วพรรคใด โดยการนำของใคร มีส่วนนำพาสถานการณ์เข้ามุมอับ จนทหารหาเหตุออกมารัฐประหาร
แล้วพรรคใด โดยการนำของใคร ที่ไม่เคยแตะต้อง คมช ตลอดปีเศษที่ผ่านมา