๑๔ ปี พฤษภา ๓๕
วันนี้ ๑๗ พฤษภาคม ครบรอบ ๑๔ ปี เหตุการณ์ พฤษภา ๓๕
ตอนนั้น ผมอยู่ชั้นมัธยมสอง จำได้ดีว่าต้องเลื่อนเปิดเทอมออกไปอีกสองอาทิตย์
อยากออกไปดูตามประสาเด็กๆบ้ากระแส อยากแจม อยากเท่ อยากมีส่วนร่วม แต่โดนแม่ห้ามปรามไว้
ผมมีประเด็นเกี่ยวกับพฤษภา ๓๕ ให้เก็บไปขบคิดกันต่อ หรือจะลองอามาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ ทักษิณ...ออกไปดูก็ได้
ข้อแรก เรียกร้องให้ "บิ๊กสุ... ออกไป" เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไฉนพออานันท์ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเหมือนกัน จึงมีเสียงไชโยโห่ร้อง
(ลองเทียบเคียงกับ ทักษิณ...ออกไป เอานายกฯพระราชทานเข้ามา)
ข้อสอง บทบาทของจำลองในเหตุการณ์พฤษภา จริงหรือไม่ที่ สนนท ตัดสินใจไม่เดินขบวน แต่จำลองจะเดิน? จริงหรือไม่ที่เขาว่าจำลองพาคนไปตาย? และจริงหรือไม่ที่เพื่อเป้าหมาย ไม่ว่าวิธีการใด จำลองทำได้หมด?
(ลองเทียบเคียงกับบทบาทของจำลองในครั้งนี้)
ข้อสาม ปฐมเหตุแท้จริง มาจากความขัดแย้งระหว่าง รุ่น ๕ กับรุ่น ๗ และรุ่น ๕ กับบิ๊กจิ๋ว หรือเปล่า?
(ลองเทียบเคียงกับเหตุการณ์ "ทักษิณ...ออกไป" ก็เริ่มจากความขัดแย้งระหว่างสนธิกับทักษิณ)
ข้อสี่ ประชาธิปัตย์ มีบทบาทน้อยมาก ไฉนกลับเก็บเอาผลพวงจากเหตุการณ์นี้จนชนะเลือกตั้ง กย ๓๕ ได้ ซึ่งนับเป็นครั้งสุดท้ายที่ ปชป ชนะเลือกตั้งสนามใหญ่?
(ลองเทียบเคียงกับบทบาทของ ปชป ในครั้งนี้ที่ทุ่มหมดหน้าตักด้วยการบอยคอตเลือกตั้ง)
ข้อห้า เช่นเคย ไม่มีผู้ใดรับโทษจากการฆ่าประชาชน
(โชคดี ครั้งนี้ ไม่มีใครตาย โอ๊ะๆๆ ลืมไป มีสิ กกต ไง โดนระบอบตุลาการธิปไตยฆ่าซะตายสนิทเลย)
14 ความคิดเห็น:
สมัยนั้นผมก็ยังเรียนม.สาม ไม่รู้เรื่องรู้ความใดๆ ด้วยเป็นเด็กต่างจังหวัด ติดตามจากหนังสือพิมม์ที่ภาพข่าวมาช้าไปอีกหนึ่งวัน กับทีวีที่มีแต่ไม่ได้มากอะไร
ขนาดพี่ชายนำวิดีโอภาพเหตุการณ์มาให้ดูที่บ้านก็ยังไม่ได้สนใจอะไร
ข้อแรก ผมแทบไม่มีความคิดเห็นเพราะในขณะนั้นไม่มีความเห็นในเรื่องนี้เป็นอื่นนอกจากดีจริงมีอานันท์เป็นนายกฯ โตมาถึง อ่อ อ้าวไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเหมือนกันนี่หว่า (ตอนนั้นแค่มีความรู้สึกว่าไม่ชอบทหารอยามาจากทหารเป็นพอ)เมื่อมองจากตอนนี้เงื่อนไขที่ยังครอบเราอยู่คือมองว่านายกฯที่มาจากอำนาจที่นอกเหนือไปจากในกระดานการเมืองที่เล่นกันอยู่คือ พลังบริสุทธิ์ ผู้คนจึงพร้อมใจยอมรับโดยไม่ได้มองที่เงื่อนไขอื่น
ข้อสอง รอฟังท่านอื่น
ข้อสาม ผมคิดเอาเองว่า ความขัดแย้งในสมัยพฤษภาอาจชัดเจนด้วยการก่อตัวและเกิดขึ้นทั้งหมดเป้นความขัดแย้งในส่วนของทหาร แต่ผมว่าในคราวนี้เริ่มจากความขัดแย้งที่ทำให้สาถนการ์เดินหน้า แต่ความไม่พอใจในตัวและวิธีการจัดการปัญหาของทักษิณเป็นที่ตั้งคำถามอยู่ก่อนหน้าที่ความเคลื่อนไหวจะปรากฏนะครับ (ซึ่งอาจมีปรากฏการณ์อื่นที่ไม่ใช่การเมืองบนท้องถนนมาเกิดเร็วขนาดนี้ แต่ผมว่าจะมีแน่ๆ แม้ไม่มีสนธิ) การเริ่มต้นจึงไม่อาจถือว่ามาจากความขัดแย้งของสนธิกับทักษิณล้วนๆ (แย่งน้อยก็ยังมีกลุ่มทุนอื่นที่ขัดแย้งกับรัฐด้วย) แต่ก็ต้องให้เครดิตเกือบทั้งหมดในการเคลื่อนไหวของสนธิ
ข้อสี่ เห็นด้วยที่ ปชป. เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ขนาดที่หาเสียงด้วยการโฆษณาว่าจำลองพาคนไปตาย ซึ่งกลายเป็นวาทกรรมที่ฝังในความคิดของคนส่วนใหญ่ด้วย ครั้งนี้ผมว่า ปชป.เดินเกมพลาดด้วย แต่ก็อาจเพราะจากครั้งที่ผ่านมาโดนต่อว่าเรื่องเก็บผลประโยชน์อย่างเดียวก็ได้
ข้อห้า ^^โชคดียิ่ง
ผมเองตอนเกิดเหตุการณ์นั้นยังเป็นเด็กอมมืออยู่เลย ปอไหนก็มิอาจทราบได้ ความจำแสนเลือนราง
แต่ประเด็นที่พี่นิติรัฐเสนอมาแสนน่าคิด
เอ้า!!
พูดได้คำเดียวว่า
ประเทศไทยมันฮาร์ดเกินจะกล่าว....
ช่างเป็นคนที่เก็บเรื่องราวรายละเอียดผ่านความทรงจำของช่วงเวลาได้ดีจริง ๆ ครับ (เชื่อว่าผู้เขียนคงเป็นผู้ชายที่โรแมนติกมาก ๆ คนหนึ่ง)
ประเด็นแรก : คนส่วนใหญ่สนใจผลไม่สนใจวิธีการ ดูผลเป็นที่ตั้ง วิธีการค่อยมาว่ากันทีหลังเพื่อให้ได้ผลดังกล่าว
ประเด็นที่สอง - สาม : เป็น Asymmetric information ข้อมูลที่มีอยู่น้อยเกินไป ต่างฝ่ายต่างพูดเพื่อเอาประโยชน์ให้กับตนเอง ให้ความเห็นไม่ได้ครับ
ประเด็นที่สี่ : แสดงให้เห็นว่าการเมืองเป็นตลาดและมีลักษณะเชิงสถาบัน และนักการเมืองเป็นอาชีพ ปชป ย่อมหวังผลในการเลือกตั้ง (Maximisation voting rights) และเป็นธรรมดาที่จะแสวงหาประโยชน์จากความเพียรของผู้อื่นเสมอ (free-raider) จึงไม่แปลกอะไร เป็นผมผมก็ทำ เป็นผู้เขียนจะจ่ายค่าตั๋ว metro หรือไม่ถ้าไม่มีนายตรวจ ประกอบกับผลจากการดำเนินการของหลาย ๆ ฝ่ายตอนนี้มีลักษณะเป็นสินค้าสาธารณะ (public goods) ที่ส่งผลกระทบในทางที่ดี (Positive externalities) แก่ ปชป ถ้า ปชปไม่ทำตัวเป็น free-raider วิชา Public law and economics ที่ผมอุตส่าห์ล่ำเรียนมา ต้องผิดพลาดหมดเลยแน่ ๆ
ประเด็นที่ห้า : Spill-over effect Versus Political Economy -- ตลาดการเมืองกำลังมีผู้เล่นรายใหม่และกำลังเล่นบนกระแส ความมีประสิทธิภาพของผู้เล่นรายนี้(market participant)ในตลาดการเมือง ในระยะยาว(long run performance) ค่อนข้างประเมินยาก แต่ในระยะสั้น (short run)เห็นชัดว่าประชาชน (consumer)พอใจ ประเด็นนี้ยังคงเป็นปัญาหาของระบบกลไกตลาดเสมอมา เพราะผู้บริโภคมักคิดถึงแต่ความพึงพอใจระยะสั้น โดยขาดข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะประเมินผลในระยะยาว (market/political failures)ซึ่งโทษผู้บริโภคไม่ได้ -- ในระบบกลไกตลาดเสรี ใครมีความสามรถในการผลิตอะไรด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดก็ควรให้ผู้นั้นเป็นผู้ผลิตสินค้า/บริการดังกล่าวป้อนเข้าสู่ตลาด (Cheapest cost producer)เป็นแนวทางที่จะลดต้นทุน (transaction costs)และความสิ้นเปลืองของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด (scare resources) ดังนั้น separation of function จึงรองรับกับระบบกลไกตลาดเพราะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่วันนี้เหมือนเรากำลังไม่เชื่อในระบบดังกล่าวและกำลังมีผู้เล่นบางส่วนกำหนดกติกาขึ้นใหม่ (ด้วยตนเอง)ปัญหาก็คือคนกำหนดกติกาหากลงมาเล่นด้วยตนเองย่อมมีความขัดแย้งในผลประโยชน์ (conflict of interest)และมีพฤติกรรมฉกฉวยโอกาสเสมอ (opportunistic behaviour)
อ่าน "นักกฏหมายพันทาง" แล้วเหมือนอ่านหนังสือเศรษฐศาสตร์ภาษาไทยเลยค่ะ ศัพท์ทุกคำต้องมีวงเล็บเป็นภาษาอังกฤษด้วย
จริงด้วยค่ะ คนเล่นเข้ามาออกกติกาเอง แล้วก็ลงเล่นเอง(อย่างเงียบบ้าง ไม่เงียบบ้าง) เล่นกับเพื่อนบ้าง ตอนแรกคนเล่นฝ่ายตรงข้ามก็ไม่พอใจ มาถึงตอนนี้คนดูและกรรมการ (ที่คนเล่นคนนั้น) เป็นคนตั้งขึ้นมาไม่พอใจ แล้วเกมส์จะจบอย่างไรเนี่ยยยยย
นักกฎหมายพันธุ์ทางดูลีลาการให้ความเห็นคงเป็นไอ้ช้าง ณ เยอรมัน
ที่อยากแบ่งปันและแลกเปลี่ยนคือความคิดเห็น
ด้วยข้อจำกัดด้านการแปลและความสามารถในการประยุกต์องค์ความรู้ ภาษาอังกฤษจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ลำบาก (dificult) เหมือนกัน กับการอาศัยอยู่ (Live)ในสังคมไทย (Thai social) ที่ลักลั่นย้อนแย้ง (Paradox) และเป็นสังคมผสาน (Mix)ระหว่างค่านิยม (value)ศักดินาสวามิภักดิ์ (Royalism)และกดุฎพีจีนใหม่ (new chinesse bourgeois)ทำให้สังคมไทยเราเป็นสังคมหัวมังกุท้ายมังกร (head likes Mango, tail likes dragon) จะยึดถือจิตวิญญาณ (Spirit) ประชาธิปไตย (Democracy) ก็ไม่ใช่ อำนาจนิยม (dictatorship)ก็ไม่เชิง เหมือนกับมันฝรั่งทอด (Potatoship)ที่กรอบนอก แต่นุ่มใน
สภาวะเช่นนี้ ประชากร (Population)กลุ่มปัญญา ชน(Intelectual)ก็จะต้องแสวงหาขอบฟ้าทางปัญญา (Intelectual horizon) กันต่อไป (forever) ซึ่งหนทางในการประนีประนอม (Compromise) ก็คือการยอมรับ (Accept) ในความแตกต่าง (Varity) ของกลุ่มพลัง (goups of power)ต่างๆ ประดุจดังการทำบะหมี่ต้มยำน้ำข้น (Tom yom kung noodle)ซึ่งเป็นวัฒนธรรม (Culture) แบบจีนผสมไทยที่ลงตัวและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก (world wide)
การผสมผสานเช่นนี้ ทำให้ภาพ (picture) ของพฤษภาทมิฬ (black may)นั้นเป็นภาพที่ไม่ชัดเจน (blur) ดังที่เจ้าของบล๊อก (Blog's owner) ได้ตั้งข้อสังเกต (observation)ไว้
การป้องกัน (protection) มิให้เกิดเหตุการณ์นี้ซ้ำสอง (double) จึงต้องติดอาวุธทางปัญญา (intelectual weapon)ให้แก่ชาวบ้านกลุ่มรากหญ้า (root of grass) และคนชายขอบ (fringer)ซึ่งคนกลุ่มปัญญาชนเอง จำเป็นต้องปรับตัว (adapting) โดยการพยายามสื่อสาร (comunicate) เช่นเขียนหนังสือ (wrtie a book) ให้กลุ่มดังกล่าวสามารถเข้าใจ (understand) ได้ หาไม่ก็จะเหมือนกับการดูภาพยนตร์ไทย (Thai movie)แต่ต้องให้คุณจิรนันท์ พิตรปรีชา ทำบทบรรยาย (subtitle) ให้
สุดท้าย (finaly)นี้ผม (hair) มีความเห็นว่า เหตุการณ์นี้ก็เป็นจุดเลี้ยว (Turning point) ที่สำคัญ (impotant) ในประวัติศาสตร์ (history) ของไทยมากทีเดียว
ขอปิดท้ายด้วยคำพูดของ อุดม แต้พาณิชย์ ว่า this is a book, I like pop music. ครับ
steir - foot
กวนตีน
กำลังเครียด ๆ
ฮาแตก
อันนี้ (this) ตลก (funny) ค่ะ
หัวเราแบบไม่ที่ไม่เคยหัวเรามานานมากกกก
ขำขำค่ะ
www0719
michael kors outlet
kobe bryant shoes
links of london
bvlgari jewelry
canada goose coats
cheap nhl jerseys
supreme uk
coach outlet
nike store
michael kors
www0815
fake rolex watches
nike hyperdunk
balenciaga shoes
longchamp bags
lebron 16
kobe 11
nike react
christian louboutin
nike huarache
cheap jordans
www1027
ultra boost 3.0
coach outlet
lacoste polo
christian louboutin shoes
ralph lauren polo
jordans
soccer shoes
jordan 8
moncler jackets
canada goose outlet
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก