กรณีนัดหยุดงานของ รฟท. และกรณีการเลือกตั้ง ๒๓ ธค
เรื่องแรก
อ่านข่าว สหภาพแรงงานของการรถไฟแฟ่งประเทศไทย (รฟท.) ประท้วงด้วยการหยุดเดินรถไฟในหลายสาย
การนัดหยุดงาน ไม่ใช่เรื่องแปลก ส่วนตัวผมเห็นว่า จำเป็นต้องมีและต้องใช้ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้ต่อสู้กับนายจ้างหรือรัฐบาลได้อย่างเหมาะสม ผมยังเห็นอีกว่าการจัดตั้งสหภาพแรงงานและการนัดหยุดงานควรขยายไปถึงข้าราชการด้วย
อย่างไรก็ตาม การนัดหยุดงานต้องมีขอบเขต มีเงื่อนไขกติกา
โดยทั่วไป การนัดหยุดงานจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ สหภาพแรงงานนัดประชุมกัน แล้วมีมติออกมา อาจเป็นนัดหยุดงานเฉพาะบางพื้นที่ หรือหนักสุดถึงขั้นนัดหยุดงานทั่วประเทศ ที่สำคัญที่สุด เมื่อมีมติแล้ว ก็ต้องแจ้งต่อนายจ้าง รัฐบาล สาธารณชน เป็นการล่วงหน้า อย่างน้อยประมาณ ๑๕ – ๒๐ วัน เพื่อให้รับทราบและเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆว่าในวันนั้นการบริการสาธารณะจะไม่สะดวกเหมือนปกติ
นอกจากนี้ หน่วยงานที่สหภาพแรงงานสั่งนัดหยุดงาน ต้องมีการบริการสาธารณะขั้นต่ำในวันนัดหยุดงานด้วย เพราะเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า บริการสาธารณะต้องมีความต่อเนื่อง จะสะดุดหยุดลงไม่ได้ เช่น จากเดิม รถไฟวิ่งวันละ ๖ รอบ ก็อาจเหลือ ๒ รอบ เป็นต้น
กรณี รฟท ผมเห็นว่า สิทธินัดหยุดงานเป็นสิทธิอันชอบธรรมของ รฟท. แต่การใช้สิทธิเช่นว่า น่าจะไม่สอดคล้องกับกติกา เพราะ ไม่มีการประกาศล่วงหน้า ไม่มีมติของสหภาพแรงงานออกมาล่วงหน้าว่านัดหยุดงานเพราะต้องการประท้วงในประเด็นใด จะนัดหยุดงานวันไหน พื้นที่ใด ระยะยเวลานานเท่าใด และเตรียมบริการพื้นฐานขั้นต่ำไว้รองรับแล้วหรือยัง
ตรงกันข้าม อ่านจากข่าว พบว่า รถไฟวิ่งๆมาอยู่แถวนครศรีฯ คนขับหยุดรถดื้อๆ บอกว่ามีการนัดหยุดงานประท้วงเรื่องแปรรูป รฟท.
แบบนี้ ไม่น่าใช่การใช้สิทธินัดหยุดงาน แต่น่าจะเป็นการทำตามอำเภอใจมากกว่า
เห็นแล้วก็น่าเสียดาย เพราะปกติ คนไทยส่วนใหญ่มักรังเกียจ การประท้วง การเดินขบวน การปิดถนน การนัดหยุดงาน อยู่แล้ว แทนที่สหภาพแรงงาน รฟท. จะใช้สิทธิดังกล่าวให้ถูกต้องตามกติกา เพื่อให้สังคมได้เข้าใจว่า สิทธิเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติสำหรับประชาธิปไตย แต่กลับใช้แบบตามอำเภอใจ ยิ่งทำให้คนต่อต้านการนัดหยุดงานมากขึ้น (ผมอ่านจากข่าว บอร์ดต่างๆ มีแต่คนด่า)
เรื่องที่สอง
จากกรณีที่พรรคอื่นๆ ยังไม่นิ่ง ผู้สมัครย้ายไปย้ายมารายวัน แต่พรรคพลังประชาชนกลับสงบและผนึกกำลังค่อนข้างแน่นแฟ้น แถมฐานเสียงเดิมก็ยังอยู่ ทำให้วิเคราะห์กันว่า พปช คงได้เสียงมาที่หนึ่งแน่ แต่คงไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล ผมมีข้อสังเกตดังนี้
๑. หาก พปช มาที่หนึ่ง และได้เสียงท่วมท้นเกินครึ่ง จนตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ อาจเกิดกรณี “แดงเถือก” จาก กกต. จน พปช เหลือเสียงไม่ถึงครึ่ง
๒. หากเป็นเช่นนั้นจริง เป็นไปได้ว่า เราอาจเห็น วิกฤตกันอีกรอบ เพราะกองเชียร์ พปช และคนรักทักษิณ คงไม่ยอมอีกแล้ว มันดูเป็นการรังแกกันมากเกินไป และสิ่งที่ไม่อยากเห็นอีก คือ ทหารพากันออกมาปัดกวาดอีกรอบ (สพรั่ง? สนธิ ลิ้ม?)
๓. ในกรณีที่ พปช ได้เสียงที่หนึ่ง แต่ไม่ถึงครึ่ง พรรคอื่นๆคงรวมตัวกันตั้งรัฐบาล ภายใต้การอำนวยการของ คมช. โดยมีอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ ซึ่งคงเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอมาก อภิสิทธิ์คงไม่มีโอกาสได้ทำตามที่ใจคิด แต่มี “สุเทพ บรรหาร สนั่น ประชัย สมศักดิ์ เสนาะ สุวัจน์” เป็นผู้ดูแล และเมื่อผ่านไปปีเศษ รัฐบาลคงล่ม เพราะขัดแย้งผลประโยชน์
๔. กรณี พปช ได้ที่หนึ่ง ปชป ได้ที่สอง ผมอยากให้อภิสิทธิ์ลบตราบาปจากกรณี ม ๗ ด้วยการประกาศเหมือนลูกพี่ชวนในครั้งก่อนว่า หาก ปชป ไม่ได้ที่ ๑ จะไม่จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งคงเป็นไปได้ยากมาก เพราะ สุเทพคงไม่มีวันยอม
๕. รัฐบาล คมช เปรม และเหล่าผู้มีคุณธรรมทั้งหลายเริ่มหันมาชูประเด็น การเลือกตั้งใสสะอาด ต่อต้านการซื้อเสียง ผมเดาว่า งานนี้ เหลือง แดง ปลิวกระจายแน่ และไอ้ข้อหาซื้อเสียงนี่แหละ จะกลายเป็นเหตุผลให้พวกนี้ใช้อ้างในการอยู่ในอำนาจไปเรื่อยๆ
๖. ผมเห็นว่า ผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะทำให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่บรรยากาศปกติ หลังเลือกตั้ง ๒๓ ธค คือ กกต. นักการเมืองจะทะเลาะกันไปมา พรรคนี้ด่าพรรคนั้นว่าโกง ร้องเรียนให้แจกใบแดง-เหลือง เป็นเรื่องปกติ คมช จะกดดันไม่ให้ พปช ได้เสียงข้างมาก ก็เป็นเรื่องของ คมช แต่ กกต. เอง ต้องเป็นกลาง อย่าโดน คมช ชี้นำ อย่าบ้าจี้ จนพาเข้าสู่มุมอับ ขืนแจกใบเหลือง-แดง แหลก เลือกใหม่เป็นสิบรอบ สงสัยมวลชนคงได้ปะทะกันอีกแน่
แต่ไม่รู้เราจะคาดหวัง กกต ได้มากแค่ไหน เห็น “กฎเหล็ก” ผลงานชิ้นแรกออกมา ประกอบกับบทบาทของสดศรีแล้ว ก็คงต้องทำใจล่วงหน้าว่าหลัง ๒๓ ธค เกมนี้คงยังไม่จบ
อ่านข่าว สหภาพแรงงานของการรถไฟแฟ่งประเทศไทย (รฟท.) ประท้วงด้วยการหยุดเดินรถไฟในหลายสาย
การนัดหยุดงาน ไม่ใช่เรื่องแปลก ส่วนตัวผมเห็นว่า จำเป็นต้องมีและต้องใช้ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้ต่อสู้กับนายจ้างหรือรัฐบาลได้อย่างเหมาะสม ผมยังเห็นอีกว่าการจัดตั้งสหภาพแรงงานและการนัดหยุดงานควรขยายไปถึงข้าราชการด้วย
อย่างไรก็ตาม การนัดหยุดงานต้องมีขอบเขต มีเงื่อนไขกติกา
โดยทั่วไป การนัดหยุดงานจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ สหภาพแรงงานนัดประชุมกัน แล้วมีมติออกมา อาจเป็นนัดหยุดงานเฉพาะบางพื้นที่ หรือหนักสุดถึงขั้นนัดหยุดงานทั่วประเทศ ที่สำคัญที่สุด เมื่อมีมติแล้ว ก็ต้องแจ้งต่อนายจ้าง รัฐบาล สาธารณชน เป็นการล่วงหน้า อย่างน้อยประมาณ ๑๕ – ๒๐ วัน เพื่อให้รับทราบและเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆว่าในวันนั้นการบริการสาธารณะจะไม่สะดวกเหมือนปกติ
นอกจากนี้ หน่วยงานที่สหภาพแรงงานสั่งนัดหยุดงาน ต้องมีการบริการสาธารณะขั้นต่ำในวันนัดหยุดงานด้วย เพราะเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า บริการสาธารณะต้องมีความต่อเนื่อง จะสะดุดหยุดลงไม่ได้ เช่น จากเดิม รถไฟวิ่งวันละ ๖ รอบ ก็อาจเหลือ ๒ รอบ เป็นต้น
กรณี รฟท ผมเห็นว่า สิทธินัดหยุดงานเป็นสิทธิอันชอบธรรมของ รฟท. แต่การใช้สิทธิเช่นว่า น่าจะไม่สอดคล้องกับกติกา เพราะ ไม่มีการประกาศล่วงหน้า ไม่มีมติของสหภาพแรงงานออกมาล่วงหน้าว่านัดหยุดงานเพราะต้องการประท้วงในประเด็นใด จะนัดหยุดงานวันไหน พื้นที่ใด ระยะยเวลานานเท่าใด และเตรียมบริการพื้นฐานขั้นต่ำไว้รองรับแล้วหรือยัง
ตรงกันข้าม อ่านจากข่าว พบว่า รถไฟวิ่งๆมาอยู่แถวนครศรีฯ คนขับหยุดรถดื้อๆ บอกว่ามีการนัดหยุดงานประท้วงเรื่องแปรรูป รฟท.
แบบนี้ ไม่น่าใช่การใช้สิทธินัดหยุดงาน แต่น่าจะเป็นการทำตามอำเภอใจมากกว่า
เห็นแล้วก็น่าเสียดาย เพราะปกติ คนไทยส่วนใหญ่มักรังเกียจ การประท้วง การเดินขบวน การปิดถนน การนัดหยุดงาน อยู่แล้ว แทนที่สหภาพแรงงาน รฟท. จะใช้สิทธิดังกล่าวให้ถูกต้องตามกติกา เพื่อให้สังคมได้เข้าใจว่า สิทธิเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติสำหรับประชาธิปไตย แต่กลับใช้แบบตามอำเภอใจ ยิ่งทำให้คนต่อต้านการนัดหยุดงานมากขึ้น (ผมอ่านจากข่าว บอร์ดต่างๆ มีแต่คนด่า)
เรื่องที่สอง
จากกรณีที่พรรคอื่นๆ ยังไม่นิ่ง ผู้สมัครย้ายไปย้ายมารายวัน แต่พรรคพลังประชาชนกลับสงบและผนึกกำลังค่อนข้างแน่นแฟ้น แถมฐานเสียงเดิมก็ยังอยู่ ทำให้วิเคราะห์กันว่า พปช คงได้เสียงมาที่หนึ่งแน่ แต่คงไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล ผมมีข้อสังเกตดังนี้
๑. หาก พปช มาที่หนึ่ง และได้เสียงท่วมท้นเกินครึ่ง จนตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ อาจเกิดกรณี “แดงเถือก” จาก กกต. จน พปช เหลือเสียงไม่ถึงครึ่ง
๒. หากเป็นเช่นนั้นจริง เป็นไปได้ว่า เราอาจเห็น วิกฤตกันอีกรอบ เพราะกองเชียร์ พปช และคนรักทักษิณ คงไม่ยอมอีกแล้ว มันดูเป็นการรังแกกันมากเกินไป และสิ่งที่ไม่อยากเห็นอีก คือ ทหารพากันออกมาปัดกวาดอีกรอบ (สพรั่ง? สนธิ ลิ้ม?)
๓. ในกรณีที่ พปช ได้เสียงที่หนึ่ง แต่ไม่ถึงครึ่ง พรรคอื่นๆคงรวมตัวกันตั้งรัฐบาล ภายใต้การอำนวยการของ คมช. โดยมีอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ ซึ่งคงเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอมาก อภิสิทธิ์คงไม่มีโอกาสได้ทำตามที่ใจคิด แต่มี “สุเทพ บรรหาร สนั่น ประชัย สมศักดิ์ เสนาะ สุวัจน์” เป็นผู้ดูแล และเมื่อผ่านไปปีเศษ รัฐบาลคงล่ม เพราะขัดแย้งผลประโยชน์
๔. กรณี พปช ได้ที่หนึ่ง ปชป ได้ที่สอง ผมอยากให้อภิสิทธิ์ลบตราบาปจากกรณี ม ๗ ด้วยการประกาศเหมือนลูกพี่ชวนในครั้งก่อนว่า หาก ปชป ไม่ได้ที่ ๑ จะไม่จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งคงเป็นไปได้ยากมาก เพราะ สุเทพคงไม่มีวันยอม
๕. รัฐบาล คมช เปรม และเหล่าผู้มีคุณธรรมทั้งหลายเริ่มหันมาชูประเด็น การเลือกตั้งใสสะอาด ต่อต้านการซื้อเสียง ผมเดาว่า งานนี้ เหลือง แดง ปลิวกระจายแน่ และไอ้ข้อหาซื้อเสียงนี่แหละ จะกลายเป็นเหตุผลให้พวกนี้ใช้อ้างในการอยู่ในอำนาจไปเรื่อยๆ
๖. ผมเห็นว่า ผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะทำให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่บรรยากาศปกติ หลังเลือกตั้ง ๒๓ ธค คือ กกต. นักการเมืองจะทะเลาะกันไปมา พรรคนี้ด่าพรรคนั้นว่าโกง ร้องเรียนให้แจกใบแดง-เหลือง เป็นเรื่องปกติ คมช จะกดดันไม่ให้ พปช ได้เสียงข้างมาก ก็เป็นเรื่องของ คมช แต่ กกต. เอง ต้องเป็นกลาง อย่าโดน คมช ชี้นำ อย่าบ้าจี้ จนพาเข้าสู่มุมอับ ขืนแจกใบเหลือง-แดง แหลก เลือกใหม่เป็นสิบรอบ สงสัยมวลชนคงได้ปะทะกันอีกแน่
แต่ไม่รู้เราจะคาดหวัง กกต ได้มากแค่ไหน เห็น “กฎเหล็ก” ผลงานชิ้นแรกออกมา ประกอบกับบทบาทของสดศรีแล้ว ก็คงต้องทำใจล่วงหน้าว่าหลัง ๒๓ ธค เกมนี้คงยังไม่จบ