แถลงการณ์-ปูลานซาส-นิติปรัชญาสายมาร์กซิสต์
ตอนนี้กำลังขมักเขม้นเขียนแถลงการณ์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญอยู่ บล็อกเลยร้างไปนาน
นอกจากเรื่องแถลงการณ์แล้ว ผมกำลังหมกมุ่นอยู่กับ กับงานของมาร์กซิสต์สายโครงสร้างนิยมอยู่
(จะปั่นวิทยานิพนธ์ไม่จบเอาก็เพราะเหตุนี้ ๕๕๕)
ผมเริ่มอ่านความคิดของอัลทูสแซร์แบบคร่าวๆ โดยปูพื้นแบบเด็กเรียน ก ไก่ (ผมไม่มีความรู้ทางปรัชญามากนัก และไม่ได้ถูกฝึกมาทางนี้โดยตรง อาศัยอ่านเอาเองแบบเก็บเล็กผสมน้อย)
ผมเริ่มจากหนังสือพวก ประวัติศาสตร์ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น ดิกชันนารีของปรัชญาการเมืองต่างๆ ตอนนี้เริ่มหาญกล้า ขยับไปอ่านตัว Texte ของจริง มึนไปเลย ตำราที่ผมใช้ เขาจัดกลุ่ม อัลทูสแซร์ - บาลิบาร์ - ปูลานซาส ไว้ด้วยกัน มีอัลทูสแซร์เป็นผู้กรุยทางแนวคิด กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ และ เอเตียง บาลิบาร์ ผู้เป็นลูกศิษย์ก็มาสานต่อ ส่วนปูลานซาส ผมไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน
จนวันหนึ่งไปค้นหนังสือที่ห้องสมุด นั่งขลุกอยู่หมวดนิติปรัชญา เจอวารสารนิติปรัชญา ชื่อ Archives de philosophie du droit ฉบับประจำปี 1967 ธีมหลักในหัวข้อ มาร์กซ์และกฎหมายสมัยใหม่ มีบทความของปูลานซาสอยู่ ก็เลยพึ่งรู้วันนั้นเองว่า นิคอส ปูลานซาส เป็นศาสตราจารย์นิติปรัชญา โดยสมาทานกับแนวคิดของอัลทูสแซร์อยู่มาก
เริ่มเกิดความสนใจในปูลานซาสมากขึ้น เพราะ เป็นนักกฎหมายโดยตรง แม้อัลทูสแซร์จะพูดถึงกฎหมายและศาลอยู่บ้าง แต่ก็พูดถึงเล็กน้อยในฐานะเป็นกลไกของรัฐอันหนึ่ง
มีข้อน่าสังเกตอยู่นิดนึง ทั้งปูลานซาสและอัลทูสแซร์ จบชีวิตไม่ค่อยสวยงามเท่าไร ปูลานซาสฆ่าตัวตาย ๓ ตค ๑๙๗๙ ขณะที่มีอายุเพียง ๔๓ ปี ส่วนอัลทูสแซร์ บีบคอเมียตัวเอง ตายหรือเปล่า และศาลตัดสินว่าไม่ผิด เพราะกระทำลงไปโดยไม่รู้สำนึก
มีของฝากสำหรับผู้อ่านฝรั่งเศสได้ http://ciepfc.rhapsodyk.net/นี่เป็นเว็บไซต์ของ ศูนย์นานาชาติว่าด้วยการศึกษาปรัชญาฝรั่งเศสร่วมสมัย ตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๐๐๒ โดย อแล็ง บาดิอู
http://ciepfc.rhapsodyk.net/article.php3?id_article=176
และอันนี้เป็นบทความที่เอเตียน บาลิบาร์ เขียนถึงนิคอส ปูลานซาส จากเว็บไซต์เดียวกัน
ผมไปเขียนกระทู้เกี่ยวกับปูลานซาสไว้ในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน มีคนเข้ามาแลกเปลี่ยนกันอย่างสนุก เชิญชมได้ที่
http://www.sameskybooks.org/webboard/show.php?Category=sameskybooks&No=17336&page=2
ผมจะพยายามสกัดแนวคิดของมาร์กซิสต์สายนี้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกฎหมาย มาให้ได้มากที่สุด และจะเอามาเล่าให้ฟังเรื่อยๆนะครับ เพราะเท่าที่อ่านๆแล้ว ใช้อธิบายปรากฏการณ์ของสังคมไทยและรัฐไทยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องการครอบงำของอุดมการณ์ประชาธิปไตย "อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแบบไทยๆ" และพฤติกรรมการรับใช้อำนาจรัฐและรับใช้อุดมการณ์ประชาธิปไตย "อันมีพระมหากษัตริยฺเป็นประมุขแบบไทยๆ" ของนักกฎหมายไทย
จะว่าไป หากเอาแนวคิดของอัลทูสแซร์ – ปูลานซาส มาจับดู ผมว่ามันเข้าเค้าอยู่ พอจะมาอธิบายได้เลยว่าทำไม กลไกต่างๆของรัฐไทย ถึงไปทางเดียวกันหมด (เช่น ทหาร ศาล นักกฎหมาย สื่อ ล้วนแล้วแต่เป็นกลไกรับใช้อุดมการณ์ ปชต “อันมีกษัตริย์เป็นประมุข”) โดยเฉพาะเหตุใด รัฐไทยถึงดึงเอา ชนชั้นแรงงาน เอ็นจีโอ เข้าไปเป็นพวกได้หมด
สำหรับผู้อยากเข้าใจความคิดโดยย่อของนิติปรัชญาสายมาร์กซิสต์ ผมเห็นว่าบทกลอนของ "นายภูติ" บทนี้ สรุปได้เป็นอย่างดี
ตราชูนี้ดูเที่ยง บ่มิเอียงจริงไหมหือ
ขวาซ้ายเท่ากันหรือ รึจะหย่อนอยู่ข้างไหน
เพ่งดูตราชูตั้ง ข้านี้ยังไม่แน่ใจ
ที่เที่ยงนั้นเพียงใด ที่ว่าไม่แค่ไหนกัน
ตราชูคู่กฎหมาย ตราชิ้นไว้เพื่อสุขสันต์
สังคมมิป่วนปั่น เพราะกฎข้อบังคับจุน
แต่นี้เพื่อใครหรือ มวลชนหรือเพื่อนายทุน
ยิ่งตรองยิ่งหัวหมุน จนสุดยากจะกล่าวขาน
ยุคทาสแม้นทาสสู้ กฎว่าสูต้องดับขันธ์
กฎนี้เพื่อใครกัน วานแถลงให้แจ้งใจ
ยุคเจ้าแม้หวังมี สิทธิเสรีธิปไตย
เจ็ดโคตรหัวขาดไป ดิ้นแด็กแด็กลงเป็นผี
ยุคนี้แม้นสหาย มุ่งทำลายกฎุมพี
เพื่อสิทธิเสรี ของมวลชนกรรมกร
ก็ถูกซัดเค้เก้ เอาซังเตเป็นที่นอน
หากตราชูมิคลอน เข้าข้างเขาก็แปลกใจ
เพ่งดูตราชูนี้ จนตาหยีทั่งบอดใส
ยิ่งเพ่งยิ่งมองไป ก็ยิ่งเอียงเข้านายทุน
นี่หรือคือตราชู ที่เชิดคูธรรมดุลย์
ที่แท้แส้นายทุน หวดกระหน่ำหลังมวลชน
นายทาสเขียนกฏหมาย คนคือควายไม่เป็นคน
จ้าวเขียนก็สัปดน เขียนจนคนเป็นเทวดา
เวลานายทุนเขียน คนก็เปลี่ยนไปเป็นหมา
โลกเอ๋ยอนิจจา นี่แหล่ะหวายุติธรรม์
ชั้นใดเขียนกฎหมาย ก็แน่ไซร้เพื่อชั้นนั้น
ยามใดเมื่อชนกรร มาชีพผองครองสังคม
กฎหมายก็จะหัน รับใช้ชั้นที่เคยตรม
ส่วนใหญ่ในสังคม พานพ้องธรรมเคียงตราชู
นอกจากเรื่องแถลงการณ์แล้ว ผมกำลังหมกมุ่นอยู่กับ กับงานของมาร์กซิสต์สายโครงสร้างนิยมอยู่
(จะปั่นวิทยานิพนธ์ไม่จบเอาก็เพราะเหตุนี้ ๕๕๕)
ผมเริ่มอ่านความคิดของอัลทูสแซร์แบบคร่าวๆ โดยปูพื้นแบบเด็กเรียน ก ไก่ (ผมไม่มีความรู้ทางปรัชญามากนัก และไม่ได้ถูกฝึกมาทางนี้โดยตรง อาศัยอ่านเอาเองแบบเก็บเล็กผสมน้อย)
ผมเริ่มจากหนังสือพวก ประวัติศาสตร์ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น ดิกชันนารีของปรัชญาการเมืองต่างๆ ตอนนี้เริ่มหาญกล้า ขยับไปอ่านตัว Texte ของจริง มึนไปเลย ตำราที่ผมใช้ เขาจัดกลุ่ม อัลทูสแซร์ - บาลิบาร์ - ปูลานซาส ไว้ด้วยกัน มีอัลทูสแซร์เป็นผู้กรุยทางแนวคิด กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ และ เอเตียง บาลิบาร์ ผู้เป็นลูกศิษย์ก็มาสานต่อ ส่วนปูลานซาส ผมไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน
จนวันหนึ่งไปค้นหนังสือที่ห้องสมุด นั่งขลุกอยู่หมวดนิติปรัชญา เจอวารสารนิติปรัชญา ชื่อ Archives de philosophie du droit ฉบับประจำปี 1967 ธีมหลักในหัวข้อ มาร์กซ์และกฎหมายสมัยใหม่ มีบทความของปูลานซาสอยู่ ก็เลยพึ่งรู้วันนั้นเองว่า นิคอส ปูลานซาส เป็นศาสตราจารย์นิติปรัชญา โดยสมาทานกับแนวคิดของอัลทูสแซร์อยู่มาก
เริ่มเกิดความสนใจในปูลานซาสมากขึ้น เพราะ เป็นนักกฎหมายโดยตรง แม้อัลทูสแซร์จะพูดถึงกฎหมายและศาลอยู่บ้าง แต่ก็พูดถึงเล็กน้อยในฐานะเป็นกลไกของรัฐอันหนึ่ง
มีข้อน่าสังเกตอยู่นิดนึง ทั้งปูลานซาสและอัลทูสแซร์ จบชีวิตไม่ค่อยสวยงามเท่าไร ปูลานซาสฆ่าตัวตาย ๓ ตค ๑๙๗๙ ขณะที่มีอายุเพียง ๔๓ ปี ส่วนอัลทูสแซร์ บีบคอเมียตัวเอง ตายหรือเปล่า และศาลตัดสินว่าไม่ผิด เพราะกระทำลงไปโดยไม่รู้สำนึก
มีของฝากสำหรับผู้อ่านฝรั่งเศสได้ http://ciepfc.rhapsodyk.net/นี่เป็นเว็บไซต์ของ ศูนย์นานาชาติว่าด้วยการศึกษาปรัชญาฝรั่งเศสร่วมสมัย ตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๐๐๒ โดย อแล็ง บาดิอู
http://ciepfc.rhapsodyk.net/article.php3?id_article=176
และอันนี้เป็นบทความที่เอเตียน บาลิบาร์ เขียนถึงนิคอส ปูลานซาส จากเว็บไซต์เดียวกัน
ผมไปเขียนกระทู้เกี่ยวกับปูลานซาสไว้ในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน มีคนเข้ามาแลกเปลี่ยนกันอย่างสนุก เชิญชมได้ที่
http://www.sameskybooks.org/webboard/show.php?Category=sameskybooks&No=17336&page=2
ผมจะพยายามสกัดแนวคิดของมาร์กซิสต์สายนี้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกฎหมาย มาให้ได้มากที่สุด และจะเอามาเล่าให้ฟังเรื่อยๆนะครับ เพราะเท่าที่อ่านๆแล้ว ใช้อธิบายปรากฏการณ์ของสังคมไทยและรัฐไทยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องการครอบงำของอุดมการณ์ประชาธิปไตย "อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแบบไทยๆ" และพฤติกรรมการรับใช้อำนาจรัฐและรับใช้อุดมการณ์ประชาธิปไตย "อันมีพระมหากษัตริยฺเป็นประมุขแบบไทยๆ" ของนักกฎหมายไทย
จะว่าไป หากเอาแนวคิดของอัลทูสแซร์ – ปูลานซาส มาจับดู ผมว่ามันเข้าเค้าอยู่ พอจะมาอธิบายได้เลยว่าทำไม กลไกต่างๆของรัฐไทย ถึงไปทางเดียวกันหมด (เช่น ทหาร ศาล นักกฎหมาย สื่อ ล้วนแล้วแต่เป็นกลไกรับใช้อุดมการณ์ ปชต “อันมีกษัตริย์เป็นประมุข”) โดยเฉพาะเหตุใด รัฐไทยถึงดึงเอา ชนชั้นแรงงาน เอ็นจีโอ เข้าไปเป็นพวกได้หมด
สำหรับผู้อยากเข้าใจความคิดโดยย่อของนิติปรัชญาสายมาร์กซิสต์ ผมเห็นว่าบทกลอนของ "นายภูติ" บทนี้ สรุปได้เป็นอย่างดี
ตราชูนี้ดูเที่ยง บ่มิเอียงจริงไหมหือ
ขวาซ้ายเท่ากันหรือ รึจะหย่อนอยู่ข้างไหน
เพ่งดูตราชูตั้ง ข้านี้ยังไม่แน่ใจ
ที่เที่ยงนั้นเพียงใด ที่ว่าไม่แค่ไหนกัน
ตราชูคู่กฎหมาย ตราชิ้นไว้เพื่อสุขสันต์
สังคมมิป่วนปั่น เพราะกฎข้อบังคับจุน
แต่นี้เพื่อใครหรือ มวลชนหรือเพื่อนายทุน
ยิ่งตรองยิ่งหัวหมุน จนสุดยากจะกล่าวขาน
ยุคทาสแม้นทาสสู้ กฎว่าสูต้องดับขันธ์
กฎนี้เพื่อใครกัน วานแถลงให้แจ้งใจ
ยุคเจ้าแม้หวังมี สิทธิเสรีธิปไตย
เจ็ดโคตรหัวขาดไป ดิ้นแด็กแด็กลงเป็นผี
ยุคนี้แม้นสหาย มุ่งทำลายกฎุมพี
เพื่อสิทธิเสรี ของมวลชนกรรมกร
ก็ถูกซัดเค้เก้ เอาซังเตเป็นที่นอน
หากตราชูมิคลอน เข้าข้างเขาก็แปลกใจ
เพ่งดูตราชูนี้ จนตาหยีทั่งบอดใส
ยิ่งเพ่งยิ่งมองไป ก็ยิ่งเอียงเข้านายทุน
นี่หรือคือตราชู ที่เชิดคูธรรมดุลย์
ที่แท้แส้นายทุน หวดกระหน่ำหลังมวลชน
นายทาสเขียนกฏหมาย คนคือควายไม่เป็นคน
จ้าวเขียนก็สัปดน เขียนจนคนเป็นเทวดา
เวลานายทุนเขียน คนก็เปลี่ยนไปเป็นหมา
โลกเอ๋ยอนิจจา นี่แหล่ะหวายุติธรรม์
ชั้นใดเขียนกฎหมาย ก็แน่ไซร้เพื่อชั้นนั้น
ยามใดเมื่อชนกรร มาชีพผองครองสังคม
กฎหมายก็จะหัน รับใช้ชั้นที่เคยตรม
ส่วนใหญ่ในสังคม พานพ้องธรรมเคียงตราชู