ความเห็นต่าง (๒)
มติชน วันที่ ๑๘ มิถุนายน ลงบทความของทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ซึ่งไม่เห็นด้วยกับ บทวิเคราะห์ต่อคำวินิจฉัยคดียุบพรรคของคณาจารย์นิติ มธฒ ๕ คน ดังนี้
หลักนิติรัฐกับคนเนรคุณ
โดย ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยชี้ขาด พร้อมแสดงเหตุผลทั้งฝ่ายข้างมากและข้างน้อยอย่างละเอียดครบถ้วนแล้ว ประชาชนและนักวิชาการในมหาวิทยาลัยก็ได้แสดงความคิดเห็นกันพอหอมปากหอมคอแล้ว เรื่องเหล่านี้น่าจะยุติและดำเนินชีวิตตามหน้าที่ของเราต่อไปด้วยความสงบ ปล่อยให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามคำวินิจฉัยนั้นต่อไปจะดีกว่า
แต่ปรากฏว่าเพื่อนอาจารย์ มธ.ของผู้เขียน 4-5 คน ยังคงแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลต่อสาธารณะค่อนข้างรุนแรง จนทำให้หลายคนรู้สึกสับสนว่า ผลคำตัดสินจะใช้ได้หรือไม่ต่อไป
เหมือนกับจะดื้อไม่ยอมรับกติกาที่ศาลวินิจฉัยไปแล้วนั่นเอง หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ผู้เขียนจะสอนลูกศิษย์ได้อย่างไร เมื่ออาจารย์กฎหมายเองยังไม่ยอมรับกติกาเสียงข้างมากของตุลาการรัฐธรรมนูญ?
อันที่จริงอาจารย์ มธ.ทั้ง 5 ท่าน น่าจะพอใจกับคำพิพากษาแล้ว เพราะมีตุลากรฝ่ายข้างน้อยได้รับความคิดของท่านไปถกเถียงในคณะตุลาการด้วยกันแล้วพร้อมเหตุผล แต่ก็สู้เสียงข้างมากเขาไม่ได้ ตุลาการทุกท่านก็ยอมรับกันแล้ว
อย่าลืมว่าตุลาการแต่ละท่านนอกจากจะมีความรู้มากกว่าพวกเราแล้ว ท่านยังมีประสบการณ์ ความคิดที่เป็นอิสระ ความกล้าหาญสู้กับแรงกดดัน การข่มขู่และความรับผิดชอบในคำตัดสินของท่านเหล่านั้น มากกว่าอาจารย์ทั้ง 5 รวมทั้งตัวผมด้วยหลายเท่าตัวนัก
ผมจึงเห็นว่า อาจารย์เราทั้งหลายได้ทำหน้าที่ชี้นำสังคมมาตามควรแล้วปล่อยให้กระบวนการเป็นไปตามทางของมันเถิด
การที่หนังสือพิมพ์พาดหัวตัวโตว่า "5 อาจารย์ นิติ มธ.แย้ง..." ทำให้ดูเหมือนมีตั้ง 5 คน แต่แท้จริงแล้ว 2 ใน 5 คน ยังศึกษาไม่จบอยู่ต่างประเทศ อีกท่านหนึ่งก็เป็นเพียงผู้รับรองให้เท่านั้น
อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นั้น ขอชื่นชมว่าเป็น "กาลิเลโอหลงยุค"
ส่วน อาจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพาณิชย์ นั้น ชื่นชมว่าเป็น "ลกเจ๊ก" ในเรื่องสามก๊ก ที่กล่าวในไทยโพสต์ เมื่อวันที่ 9 เดือนนี้ ทำนองว่า หากให้กฎหมายย้อนหลังเป็นโทษได้ ต่อไปหากไทยรักไทยได้คืนอำนาจก็ออกอาจกฎหมายย้อนหลัง เอากับ คมช. คตส.ด้วย
การกล่าวเช่นนั้นนอกจากจะเทียบเคียงกรณีที่เกิดขึ้น อย่างผิดฝาผิดตัว (false analogy) แล้ว ยังเป็นการยืนยันในทางให้ร้ายกับไทยรักไทยด้วยว่า ที่ผ่านมาก็ทำลายหลักนิติรัฐอยู่แล้ว (ดูคำวินิจฉัยส่วนที่ว่าด้วยการแทรกแซงสื่อและใช้อำนาจนอกเหนือกฎหมายหาประโยชน์ใส่ตนและกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้าม) หากมีอำนาจอีกก็จะทำลายหลักนิติรัฐอีก แสดงว่าการถูกตัดสิทธินั้นถูกต้องแล้วเพราะว่าหากปล่อยไว้ก็คงต้องกลับมาทำผิดอีก
ผู้เขียนเคารพความเห็นของเพื่อนอาจารย์เหล่านั้น โดยขออธิบายเพิ่มเติมก่อนกลับไปสอนหนังสือโดยสงบ ดังนี้
1.หลักนิติรัฐ ที่อ้างกันอยู่นั้นเป็นหลักทางมหาชน มีใช้เพื่อคุ้มครองรัฐและประชาชน เป็นหลักประกันว่าทุกคนจะต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนั้น หากเอกชนคนใดมุ่งทำลาย หลักนิติรัฐย่อมจะถูกหลักมหาชนนำมาใช้เพื่อป้องกันมหาชนคนส่วนใหญ่นั้นได้
หากให้นำเอาความเสียหายของเอกชนมาไว้อยู่เหนือความเสียหายของมหาชน การท่องบ่นเรื่องหลักนิติรัฐก็จะไม่มีความหมาย เพราะหากหลักนี้ยังป้องกันตนเองไม่ได้ จะนำมาอ้างเพื่อคุ้มครองประชาชนและประเทศชาติได้อย่างไร ตัวเองยังเอาตัวไม่รอด!!!
นิติรัฐก็คงเป็นเพียงแบบพิธีให้ใครต่อใครมาหาประโยชน์ เพื่อความโก้เก๋ หรือเป็นเพียงเครื่องประดับห่วยๆ อย่างหนึ่งที่คนบางกลุ่มเห็นว่ามีค่า พร่ำพรรณนาเป็นคาถากันผีเท่านั้น
อยากจะถามว่า ถ้าผู้กุมอำนาจของรัฐ กระทำการขัดต่อหลักนิติรัฐ มุ่งทำลายความเป็นนิติรัฐ ใครจะยุติการทำลายนี้ได้
ดูตามสำนวนของตุลาการรัฐธรรมนูญ จะเห็นพฤติการณ์ว่า (ข้อ 9, 10 และข้อ 11) การกระทำของพรรคไทยรักไทยและกรรมการบางคน
- ทำให้การเลือกตั้งกลายเป็นเพียง แบบพิธี ที่จะนำไปสู่การผูกขาดทางการเมืองเท่านั้น
- มิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของ สิทธิเลือกตั้ง ของประชาชน อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
- ไม่เคารพยำเกรง ต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่ ได้รับความไว้วางใจ จากประชาชนสูงสุด ในการเลือกตั้ง 2 ครั้งสุดท้าย
- ไม่มีอุดมการณ์ทางการเมือง ที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติ ตามที่สัญญาไว้กับประชาชน มุ่งเพียงให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ
- เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ก็ไม่ได้บริหารโดยสุจริต แต่แอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
- ไม่สร้างสรรค์จรรโลงความชอบธรรมทางการเมืองแก่ระบอบการปกครอง ของประเทศ
โดยรวมการกระทำของบุคคลเหล่านี้ เป็นการบริหารอำนาจรัฐโดยการทุจริตทำลายหลักนิติรัฐ เมื่อเป็นดังนี้แล้ว หลักนิติรัฐจะอยู่ได้อย่างไร
2.ประเด็นเรื่องกฎหมายย้อนหลัง ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันไม่ยุตินั้น ในฐานะนักกฎหมายอาญาขออธิบายว่า กฎหมายทั้งหลายมีขึ้นก็เพื่อใช้แก้ปัญหาไม่ใช่สร้างหรือสะสมปัญหา จึงต้องใช้ให้ทันทีเพื่อให้เหมาะสมทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายวิ.แพ่งหรือวิ.อาญา แม้สิทธิของโจทก์ จำเลยอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็นำไปใช้ย้อนหลังขณะที่ศาลพิจารณาพิพากษาได้
อย่างไรก็ตาม เฉพาะความผิดอาญา หากย้อนหลังไปเป็นโทษแล้ว ต้องห้าม เหตุผลก็เพราะไม่กำหนดความผิดและโทษไว้ก่อนการกำหนดความผิด
กฎหมายต้องประกาศให้ทราบก่อนว่าการกระทำใดเป็นความผิด จะได้ไม่ทำผิดนั้น หมายถึงการกำหนดความผิดใหม่ๆ ขึ้น จะนำไปกล่าวหาผู้กระทำย้อนหลังไม่ได้เพราะ เขาไม่รู้มาก่อนว่าการกระทำของเขาจะเป็นความผิด
แต่ตามข้อเท็จจริงในคดี ที่ปรากฏตามสำนวนของตุลาการรัฐธรรมนูญ การกระทำของนักการเมืองและพรรคการเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความไม่ซื่อสัตย์สุจริต เลือกตั้งแบบคดโกง ทุจริตผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามที่มีอยู่เดิมแล้ว จึงไม่ใช่การกำหนดความผิดขึ้นใหม่
กลุ่มผู้กระทำจะว่าไม่รู้ว่าเขาห้ามโกง ห้ามทุจริต คงผิดวิสัยเพราะก่อนการเข้ารับตำแหน่งก็สาบานกันแล้วว่าจะไม่โกง ไม่ทุจริตบางคนสาบานตั้งหลายรอบ ดังนั้น การวินิจฉัย ความผิดนี้จึงไม่ใช่การย้อนหลังการกำหนดโทษ
การตัดสิทธิไม่ใช่โทษ แต่เป็นมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม กฎหมายอาญาก็ไม่ห้าม การใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยย้อนหลัง โดยกำหนดให้ใช้ได้ในขณะศาลพิพากษา แม้ว่าขณะกระทำความผิดจะไม่มีมาตรการเหล่านี้ก็ตาม เพราะมาตรการใหม่ๆ ย่อมจะนำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดในอนาคตได้ดีกว่าเป็นประโยชน์ทั้งผู้กระทำผิดเพราะไม่ใช่โทษอาญา และเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เพราะมีมาตรการใหม่กับการกระทำ เพื่อป้องกันการเกิดความผิดได้ดีกว่าเดิม
การใช้มาตรการดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องกฎหมายย้อนหลังอันเป็นผลร้ายหรือเป็นโทษแก่บุคคล เทียบได้กับกรณีคนที่มาเช่าบ้าน ทำบ้านสกปรกเลอะเทอะเสียหาย ถึงขนาดลงมือรื้อฝาบ้านไปขาย, ให้คนนอกมาเช่าพื้นที่อยู่อาศัยโดยเอารายได้ใส่ตน, ค่อยๆ ทยอยขายทรัพย์สินในบ้านที่เจ้าของบ้านสะสมไว้ จนบ้านทรุดโทรม ทรัพย์สินร่อยหรอลงไปทุกทีเมื่อความจริงเปิดเผยเข้า จึงมีการบอกเลิกสัญญาเช่า โดยเพียงขอให้ผู้เช่าออกจากบ้านไปชั่วคราวก่อน จะได้เข้าไปซ่อมแซมบ้าน ไม่ได้เอาไปลงโทษ ทำร้ายที่ไหน การให้ผู้เช่าที่กำลังทำลายบ้านเช่าออกไปจากบ้าน เพื่อป้องกันความเสียหายของบ้าน จึงไม่ใช่โทษ แต่เป็นมาตรการเพื่อยุติความเสียหายแก่บ้านเช่าที่เขากำลังทำลายอยู่
ผู้เช่าที่กำลังทำลายบ้านนั้นกลับโวยวายว่าตนถูกตัดสิทธิ แถมยังมีคนบางคนเข้าใจผิดเห็นอกเห็นใจผู้เช่า ทั้งๆ ที่เจ้าของบ้านน่าจะจับผู้เช่าที่ทำลายข้าวของนี้ ติดคุกด้วยซ้ำ แต่เขาก็ไม่ทำ
จึงเห็นตรงข้ามกับ อาจารย์วรเจตน์ โดยสิ้นเชิงว่าหากไม่นำมาตรการตัดสิทธิเลือกตั้งอันไม่ใช่โทษนี้ ไปใช้กับกลุ่มผู้ทุจริตในการเลือกตั้งกลับจะทำให้ประชาชนภายใต้หลักนิติรัฐจะคลางแคลงและไม่ไว้วางใจให้ความเชื่อถือต่อหลักนิติรัฐ เพราะความผิดปรากฏชัด แต่ผู้ทำผิดกลับลอยนวลไปได้
เขาจะตั้งคำถามว่าทำไมประชาชนทำบัตรเลือกตั้งฉีกขาดนิดเดียวก็อาจถูกตัดสิทธิถึง 10 ปี แต่คนโกงเลือกตั้งทั้งโขยงไม่โดนอะไรเลย? หากจะอ้างว่าการตัดสิทธิเป็นโทษหรือเป็นคุณก็ต้องถามว่าเป็นโทษกับใคร หรือจะให้เป็นคุณกับใคร
เป็นหน้าที่ของนักกฎมหายมหาชนที่ดูแลนิติรัฐด้วยที่จะต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง (การตัดสิทธิ) เป็นโทษกับเอกชน กับ (การไม่ตัดสิทธิ) เป็นโทษกับมหาชน ท่านจะเลือกอย่างไร
ที่ดินเอกชนขวางถนนอยู่แปลงเดียว กฎหมายมหาชนจะยึดกรรมสิทธิ์ย้อนหลังโดยเวนคืนตัดถนนผ่านเพื่อมหาชนหรือไม่? หากเอามหาชนเป็นหลัก การใช้มาตรการดังกล่าวจึงไม่ใช่การย้อนหลังไปเป็นโทษแต่กลับเป็นคุณแก่มหาชนทั้งสิ้น
- เป็นคุณแก่ประชาชนผู้มีอำนาจสูงสุด จะไม่ถูกลบหลู่ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
- เป็นคุณแก่รากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
- เป็นคุณแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองที่จะได้รับการคุ้มครอง
- เป็นคุณแก่หลักนิติรัฐที่จะไม่ถูกคนกลุ่มนี้มาทำลายในอนาคต
- เป็นคุณแก่ความมั่นคงทางการเมืองของชาติ
- เป็นคุณแก่สมาชิกพรรคไทยรักไทย กว่า 14 ล้านคน จะได้ตาสว่างเห็นพฤติการณ์ทุจริตในการเลือกตั้งที่พรรคและบุคคลที่ตนมอบศรัทธาและความไว้วางใจ กระทำเอาลับหลังตน
- เป็นคุณแก่สมาชิก กว่า 14 ล้านคนเหล่านี้จะได้ไม่ถูกบังคับให้หลับตาเลือกคนที่มาทำลายความไว้วางใจของเขาเหล่านั้นอีก
- เป็นคุณแก่คนไทยที่ไม่ใช่สมาชิกเป็นคุณแก่อีกกว่า 45 ล้านคน ที่จะได้เลือกตั้งอย่างสบายใจขึ้น
- เป็นการจรรโลงความชอบธรรมทางการเมืองเพราะเป็นพรรคที่มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติ หากแต่มุ่งประสงค์ที่จะดำเนินการทุกวิธีทางเพื่อให้ได้มายังอำนาจในการปกครองประเทศเพื่อหาประโยชน์เข้าพวกพ้องของตนเท่านั้น
- เป็นคุณต่อผู้ถูกตัดสิทธิทั้งหมดทุกคนนั้นด้วย เพราะจะไม่มีโอกาสได้ไปกระทำความผิดที่เคยทำนั้นอีกอย่างน้อย เป็นเวลา 5 ปี หากปล่อยไว้เขาก็จะไปกระทำความผิดจนเขาอาจถึงขั้นติดคุกได้การใช้มาตรการดังกล่าวจึงกลับเป็นคุณแก่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้อยู่ในกรอบของกฎหมายและความสุจริตหากไม่ตัดสิทธิ การทุจริตก็จะกลับเกิดซ้ำซากอีก
3.การตัดสิทธิดังกล่าว เป็นการตัดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานหรือไม่?
การใช้สิทธิและการใช้เสรีภาพของบุคคลตามกฎหมายวางอยู่บนรากฐานแห่งหลัก "สุจริต" สิทธิและเสรีภาพจึงมีไว้ให้ผู้ที่สุจริตใช้อย่างเต็มที่ หลักนี้ยืนยันไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายเอกชนมานานเนกาเลแล้วว่าการใช้สิทธิต้องใช้โดยสุจริต การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น เป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมาย ก็ต้องให้หยุดทำได้ เพื่อระงับความเสียหายที่จะเกิดต่อไปภายหน้า จึงเห็นได้ว่า แม้ในทางกฎหมายเอกชนก็ยังให้ระงับการใช้สิทธิที่ไม่สุจริตได้ในทางมหาชน ยิ่งต้องเป็นเช่นนั้น เพราะหากมีการใช้สิทธิไม่สุจริต แม้ทางเอกชนความเสียหายเฉพาะเอกชนเท่านั้นกฎหมายยังให้ใช้บังคับยับยั้งการกระทำได้ ในทางมหาชนใช้สิทธิไม่สุจริตต่อมหาชนยิ่งจะส่งผลกระทบและก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่คนจำนวนมาก
หากยังคงตัดสิทธิการใช้นั้นไม่ได้ หลักสุจริตและนิติรัฐก็ถูกทำลายไม่มีใครได้ยกขึ้นอ้างอีกตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้ลงโทษเพียงแต่ "ชี้กรรม" ที่เขากระทำแก่การเลือกตั้ง และระบอบการปกครองของบ้านเมืองเท่านั้น การตัดสิทธิดังกล่าวจึงไม่ใช่ผลร้าย หรือการลงโทษผู้กระทำ
หลักนี้ชาวบ้านธรรมดาทั่วไปที่เป็นธรรมก็กล่าวอ้างได้ว่า"เมื่อเล่นโกง ก็ไม่ให้เล่น"
สรุป การที่ยึดถือหลักนิติรัฐต้องทำโดยมีจิตวิญญาณที่จะปกป้องนิติรัฐด้วย โดยต้องมองให้รอบรู้ให้ทั่ว หากเห็นไม่รอบ กอดแต่หลักไว้อย่างเดียวไม่ดูว่ามดแทะ ปลวกทะลวงหลักจนปรุพรุนเป็นโพรงอยู่ข้างในไปหมดแล้วยังพร่ำเพ้อว่าหลักยังดีอยู่ ทั้งๆ ที่รู้และโวยวายให้ใครก็ได้เข้ามาแก้ไข
แต่พอมีคนจะไปช่วยพยุงซ่อมแซม โดยเอามด ปลวกออกจากหลัก โดยที่เขาก็เมตตาไม่ฆ่ามด ปลวกเท่านั้น เพียงแต่ขอกวาดออกจากหลักไม้ไปชั่วคราว เพื่อซ่อมแซมหลักให้มั่นคงแล้วจะเชิญให้มด ปลวกเหล่านี้มากัดกินกันใหม่เท่านั้น
คนที่อ้างว่าตนพิทักษ์หลักนิติรัฐเหล่านี้ก็ยังคงกอดหลัก ขวางกั้น ออกหน้าปกป้องมด ปลวก ไม่ให้ใครไปแตะต้องมด ปลวกเหล่านั้น โดยคิดว่าเป็นการปกป้องสิทธิของมดและปลวกเหล่านั้นตามหลักนิติรัฐอยู่
แทนที่จะเป็นการบำรุงรักษา กลับเป็นการช่วยทำลายหลักนิติรัฐทางอ้อมไม่เห็นแม้กระทั่งพวกปลวกๆ ทั้งหลายกำลังนั่งหัวเราะเยาะพวกกำจัดปลวกที่ทะเลาะกันเอง
เท่ากับเนรคุณหลักนิติรัฐเสียเอง
ความเห็นของพวกเขาเหล่านี้ จึงเป็นการ "เห็นต้นไม้แต่ไม่เห็นป่า"
ป่าไม้ถูกทำลายลงทุกวัน ท่านเหล่านี้กู้รู้อยู่ เรียกร้องให้ช่วยกันปราบพวกตัดไม้ทำลายป่าแต่พอเขาจะไปจับคนตัดต้นไม้ ท่านเหล่านี้ก็ออกขวางกั้น โดยอ้างว่า ชาวบ้านตัดต้นไม้ต้นสอง ต้น ไม่เสียหาย ต้องคุ้มครองให้เขาอยู่กินได้ท่านเหล่านี้จึงเห็นแต่คนตัดไม้ทีละต้น แต่ไม่เคยเห็นคนทำลายป่าหารู้ไม่ว่าคนเหล่านั้นตัดทีละต้น เป็นร้อย เป็นล้านต้นแล้ว
ฉันใดก็ฉันนั้น เราจึงไม่สามารถดำเนินการกับคนทำลายหลักนิติรัฐได้เสียที ด้วยฝีมือของคนที่คิดว่าตนเป็นคนพิทักษ์อนุรักษืหลักนิติรัฐ แต่มองไม่เห็นปลวกที่กำลังกัดกิน และทำลายหลักนิติรัฐที่เขาบูชาอยู่ตำหูตำตา
ดังนี้ แทนที่จะเป็นองครักษ์พิทักษ์หลักนิติรัฐกลับกลายเป็นองครักษ์พิทักษ์ปลวกไปเสียนี่!!!
หลักนิติรัฐจึงถูกเนรคุณด้วยสายตาที่คับแคบเช่นนี้เอง
(ขอกลับไปสอนนักศึกษาตามหน้าที่ให้ดีที่สุดละนะเจอกันใหม่เมื่อมีวิกฤตหมายภายหน้า... กาลิเลโอ...)
หลักนิติรัฐกับคนเนรคุณ
โดย ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยชี้ขาด พร้อมแสดงเหตุผลทั้งฝ่ายข้างมากและข้างน้อยอย่างละเอียดครบถ้วนแล้ว ประชาชนและนักวิชาการในมหาวิทยาลัยก็ได้แสดงความคิดเห็นกันพอหอมปากหอมคอแล้ว เรื่องเหล่านี้น่าจะยุติและดำเนินชีวิตตามหน้าที่ของเราต่อไปด้วยความสงบ ปล่อยให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามคำวินิจฉัยนั้นต่อไปจะดีกว่า
แต่ปรากฏว่าเพื่อนอาจารย์ มธ.ของผู้เขียน 4-5 คน ยังคงแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลต่อสาธารณะค่อนข้างรุนแรง จนทำให้หลายคนรู้สึกสับสนว่า ผลคำตัดสินจะใช้ได้หรือไม่ต่อไป
เหมือนกับจะดื้อไม่ยอมรับกติกาที่ศาลวินิจฉัยไปแล้วนั่นเอง หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ผู้เขียนจะสอนลูกศิษย์ได้อย่างไร เมื่ออาจารย์กฎหมายเองยังไม่ยอมรับกติกาเสียงข้างมากของตุลาการรัฐธรรมนูญ?
อันที่จริงอาจารย์ มธ.ทั้ง 5 ท่าน น่าจะพอใจกับคำพิพากษาแล้ว เพราะมีตุลากรฝ่ายข้างน้อยได้รับความคิดของท่านไปถกเถียงในคณะตุลาการด้วยกันแล้วพร้อมเหตุผล แต่ก็สู้เสียงข้างมากเขาไม่ได้ ตุลาการทุกท่านก็ยอมรับกันแล้ว
อย่าลืมว่าตุลาการแต่ละท่านนอกจากจะมีความรู้มากกว่าพวกเราแล้ว ท่านยังมีประสบการณ์ ความคิดที่เป็นอิสระ ความกล้าหาญสู้กับแรงกดดัน การข่มขู่และความรับผิดชอบในคำตัดสินของท่านเหล่านั้น มากกว่าอาจารย์ทั้ง 5 รวมทั้งตัวผมด้วยหลายเท่าตัวนัก
ผมจึงเห็นว่า อาจารย์เราทั้งหลายได้ทำหน้าที่ชี้นำสังคมมาตามควรแล้วปล่อยให้กระบวนการเป็นไปตามทางของมันเถิด
การที่หนังสือพิมพ์พาดหัวตัวโตว่า "5 อาจารย์ นิติ มธ.แย้ง..." ทำให้ดูเหมือนมีตั้ง 5 คน แต่แท้จริงแล้ว 2 ใน 5 คน ยังศึกษาไม่จบอยู่ต่างประเทศ อีกท่านหนึ่งก็เป็นเพียงผู้รับรองให้เท่านั้น
อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นั้น ขอชื่นชมว่าเป็น "กาลิเลโอหลงยุค"
ส่วน อาจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพาณิชย์ นั้น ชื่นชมว่าเป็น "ลกเจ๊ก" ในเรื่องสามก๊ก ที่กล่าวในไทยโพสต์ เมื่อวันที่ 9 เดือนนี้ ทำนองว่า หากให้กฎหมายย้อนหลังเป็นโทษได้ ต่อไปหากไทยรักไทยได้คืนอำนาจก็ออกอาจกฎหมายย้อนหลัง เอากับ คมช. คตส.ด้วย
การกล่าวเช่นนั้นนอกจากจะเทียบเคียงกรณีที่เกิดขึ้น อย่างผิดฝาผิดตัว (false analogy) แล้ว ยังเป็นการยืนยันในทางให้ร้ายกับไทยรักไทยด้วยว่า ที่ผ่านมาก็ทำลายหลักนิติรัฐอยู่แล้ว (ดูคำวินิจฉัยส่วนที่ว่าด้วยการแทรกแซงสื่อและใช้อำนาจนอกเหนือกฎหมายหาประโยชน์ใส่ตนและกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้าม) หากมีอำนาจอีกก็จะทำลายหลักนิติรัฐอีก แสดงว่าการถูกตัดสิทธินั้นถูกต้องแล้วเพราะว่าหากปล่อยไว้ก็คงต้องกลับมาทำผิดอีก
ผู้เขียนเคารพความเห็นของเพื่อนอาจารย์เหล่านั้น โดยขออธิบายเพิ่มเติมก่อนกลับไปสอนหนังสือโดยสงบ ดังนี้
1.หลักนิติรัฐ ที่อ้างกันอยู่นั้นเป็นหลักทางมหาชน มีใช้เพื่อคุ้มครองรัฐและประชาชน เป็นหลักประกันว่าทุกคนจะต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนั้น หากเอกชนคนใดมุ่งทำลาย หลักนิติรัฐย่อมจะถูกหลักมหาชนนำมาใช้เพื่อป้องกันมหาชนคนส่วนใหญ่นั้นได้
หากให้นำเอาความเสียหายของเอกชนมาไว้อยู่เหนือความเสียหายของมหาชน การท่องบ่นเรื่องหลักนิติรัฐก็จะไม่มีความหมาย เพราะหากหลักนี้ยังป้องกันตนเองไม่ได้ จะนำมาอ้างเพื่อคุ้มครองประชาชนและประเทศชาติได้อย่างไร ตัวเองยังเอาตัวไม่รอด!!!
นิติรัฐก็คงเป็นเพียงแบบพิธีให้ใครต่อใครมาหาประโยชน์ เพื่อความโก้เก๋ หรือเป็นเพียงเครื่องประดับห่วยๆ อย่างหนึ่งที่คนบางกลุ่มเห็นว่ามีค่า พร่ำพรรณนาเป็นคาถากันผีเท่านั้น
อยากจะถามว่า ถ้าผู้กุมอำนาจของรัฐ กระทำการขัดต่อหลักนิติรัฐ มุ่งทำลายความเป็นนิติรัฐ ใครจะยุติการทำลายนี้ได้
ดูตามสำนวนของตุลาการรัฐธรรมนูญ จะเห็นพฤติการณ์ว่า (ข้อ 9, 10 และข้อ 11) การกระทำของพรรคไทยรักไทยและกรรมการบางคน
- ทำให้การเลือกตั้งกลายเป็นเพียง แบบพิธี ที่จะนำไปสู่การผูกขาดทางการเมืองเท่านั้น
- มิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของ สิทธิเลือกตั้ง ของประชาชน อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
- ไม่เคารพยำเกรง ต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่ ได้รับความไว้วางใจ จากประชาชนสูงสุด ในการเลือกตั้ง 2 ครั้งสุดท้าย
- ไม่มีอุดมการณ์ทางการเมือง ที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติ ตามที่สัญญาไว้กับประชาชน มุ่งเพียงให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ
- เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ก็ไม่ได้บริหารโดยสุจริต แต่แอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
- ไม่สร้างสรรค์จรรโลงความชอบธรรมทางการเมืองแก่ระบอบการปกครอง ของประเทศ
โดยรวมการกระทำของบุคคลเหล่านี้ เป็นการบริหารอำนาจรัฐโดยการทุจริตทำลายหลักนิติรัฐ เมื่อเป็นดังนี้แล้ว หลักนิติรัฐจะอยู่ได้อย่างไร
2.ประเด็นเรื่องกฎหมายย้อนหลัง ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันไม่ยุตินั้น ในฐานะนักกฎหมายอาญาขออธิบายว่า กฎหมายทั้งหลายมีขึ้นก็เพื่อใช้แก้ปัญหาไม่ใช่สร้างหรือสะสมปัญหา จึงต้องใช้ให้ทันทีเพื่อให้เหมาะสมทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายวิ.แพ่งหรือวิ.อาญา แม้สิทธิของโจทก์ จำเลยอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็นำไปใช้ย้อนหลังขณะที่ศาลพิจารณาพิพากษาได้
อย่างไรก็ตาม เฉพาะความผิดอาญา หากย้อนหลังไปเป็นโทษแล้ว ต้องห้าม เหตุผลก็เพราะไม่กำหนดความผิดและโทษไว้ก่อนการกำหนดความผิด
กฎหมายต้องประกาศให้ทราบก่อนว่าการกระทำใดเป็นความผิด จะได้ไม่ทำผิดนั้น หมายถึงการกำหนดความผิดใหม่ๆ ขึ้น จะนำไปกล่าวหาผู้กระทำย้อนหลังไม่ได้เพราะ เขาไม่รู้มาก่อนว่าการกระทำของเขาจะเป็นความผิด
แต่ตามข้อเท็จจริงในคดี ที่ปรากฏตามสำนวนของตุลาการรัฐธรรมนูญ การกระทำของนักการเมืองและพรรคการเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความไม่ซื่อสัตย์สุจริต เลือกตั้งแบบคดโกง ทุจริตผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามที่มีอยู่เดิมแล้ว จึงไม่ใช่การกำหนดความผิดขึ้นใหม่
กลุ่มผู้กระทำจะว่าไม่รู้ว่าเขาห้ามโกง ห้ามทุจริต คงผิดวิสัยเพราะก่อนการเข้ารับตำแหน่งก็สาบานกันแล้วว่าจะไม่โกง ไม่ทุจริตบางคนสาบานตั้งหลายรอบ ดังนั้น การวินิจฉัย ความผิดนี้จึงไม่ใช่การย้อนหลังการกำหนดโทษ
การตัดสิทธิไม่ใช่โทษ แต่เป็นมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม กฎหมายอาญาก็ไม่ห้าม การใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยย้อนหลัง โดยกำหนดให้ใช้ได้ในขณะศาลพิพากษา แม้ว่าขณะกระทำความผิดจะไม่มีมาตรการเหล่านี้ก็ตาม เพราะมาตรการใหม่ๆ ย่อมจะนำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดในอนาคตได้ดีกว่าเป็นประโยชน์ทั้งผู้กระทำผิดเพราะไม่ใช่โทษอาญา และเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เพราะมีมาตรการใหม่กับการกระทำ เพื่อป้องกันการเกิดความผิดได้ดีกว่าเดิม
การใช้มาตรการดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องกฎหมายย้อนหลังอันเป็นผลร้ายหรือเป็นโทษแก่บุคคล เทียบได้กับกรณีคนที่มาเช่าบ้าน ทำบ้านสกปรกเลอะเทอะเสียหาย ถึงขนาดลงมือรื้อฝาบ้านไปขาย, ให้คนนอกมาเช่าพื้นที่อยู่อาศัยโดยเอารายได้ใส่ตน, ค่อยๆ ทยอยขายทรัพย์สินในบ้านที่เจ้าของบ้านสะสมไว้ จนบ้านทรุดโทรม ทรัพย์สินร่อยหรอลงไปทุกทีเมื่อความจริงเปิดเผยเข้า จึงมีการบอกเลิกสัญญาเช่า โดยเพียงขอให้ผู้เช่าออกจากบ้านไปชั่วคราวก่อน จะได้เข้าไปซ่อมแซมบ้าน ไม่ได้เอาไปลงโทษ ทำร้ายที่ไหน การให้ผู้เช่าที่กำลังทำลายบ้านเช่าออกไปจากบ้าน เพื่อป้องกันความเสียหายของบ้าน จึงไม่ใช่โทษ แต่เป็นมาตรการเพื่อยุติความเสียหายแก่บ้านเช่าที่เขากำลังทำลายอยู่
ผู้เช่าที่กำลังทำลายบ้านนั้นกลับโวยวายว่าตนถูกตัดสิทธิ แถมยังมีคนบางคนเข้าใจผิดเห็นอกเห็นใจผู้เช่า ทั้งๆ ที่เจ้าของบ้านน่าจะจับผู้เช่าที่ทำลายข้าวของนี้ ติดคุกด้วยซ้ำ แต่เขาก็ไม่ทำ
จึงเห็นตรงข้ามกับ อาจารย์วรเจตน์ โดยสิ้นเชิงว่าหากไม่นำมาตรการตัดสิทธิเลือกตั้งอันไม่ใช่โทษนี้ ไปใช้กับกลุ่มผู้ทุจริตในการเลือกตั้งกลับจะทำให้ประชาชนภายใต้หลักนิติรัฐจะคลางแคลงและไม่ไว้วางใจให้ความเชื่อถือต่อหลักนิติรัฐ เพราะความผิดปรากฏชัด แต่ผู้ทำผิดกลับลอยนวลไปได้
เขาจะตั้งคำถามว่าทำไมประชาชนทำบัตรเลือกตั้งฉีกขาดนิดเดียวก็อาจถูกตัดสิทธิถึง 10 ปี แต่คนโกงเลือกตั้งทั้งโขยงไม่โดนอะไรเลย? หากจะอ้างว่าการตัดสิทธิเป็นโทษหรือเป็นคุณก็ต้องถามว่าเป็นโทษกับใคร หรือจะให้เป็นคุณกับใคร
เป็นหน้าที่ของนักกฎมหายมหาชนที่ดูแลนิติรัฐด้วยที่จะต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง (การตัดสิทธิ) เป็นโทษกับเอกชน กับ (การไม่ตัดสิทธิ) เป็นโทษกับมหาชน ท่านจะเลือกอย่างไร
ที่ดินเอกชนขวางถนนอยู่แปลงเดียว กฎหมายมหาชนจะยึดกรรมสิทธิ์ย้อนหลังโดยเวนคืนตัดถนนผ่านเพื่อมหาชนหรือไม่? หากเอามหาชนเป็นหลัก การใช้มาตรการดังกล่าวจึงไม่ใช่การย้อนหลังไปเป็นโทษแต่กลับเป็นคุณแก่มหาชนทั้งสิ้น
- เป็นคุณแก่ประชาชนผู้มีอำนาจสูงสุด จะไม่ถูกลบหลู่ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
- เป็นคุณแก่รากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
- เป็นคุณแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองที่จะได้รับการคุ้มครอง
- เป็นคุณแก่หลักนิติรัฐที่จะไม่ถูกคนกลุ่มนี้มาทำลายในอนาคต
- เป็นคุณแก่ความมั่นคงทางการเมืองของชาติ
- เป็นคุณแก่สมาชิกพรรคไทยรักไทย กว่า 14 ล้านคน จะได้ตาสว่างเห็นพฤติการณ์ทุจริตในการเลือกตั้งที่พรรคและบุคคลที่ตนมอบศรัทธาและความไว้วางใจ กระทำเอาลับหลังตน
- เป็นคุณแก่สมาชิก กว่า 14 ล้านคนเหล่านี้จะได้ไม่ถูกบังคับให้หลับตาเลือกคนที่มาทำลายความไว้วางใจของเขาเหล่านั้นอีก
- เป็นคุณแก่คนไทยที่ไม่ใช่สมาชิกเป็นคุณแก่อีกกว่า 45 ล้านคน ที่จะได้เลือกตั้งอย่างสบายใจขึ้น
- เป็นการจรรโลงความชอบธรรมทางการเมืองเพราะเป็นพรรคที่มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติ หากแต่มุ่งประสงค์ที่จะดำเนินการทุกวิธีทางเพื่อให้ได้มายังอำนาจในการปกครองประเทศเพื่อหาประโยชน์เข้าพวกพ้องของตนเท่านั้น
- เป็นคุณต่อผู้ถูกตัดสิทธิทั้งหมดทุกคนนั้นด้วย เพราะจะไม่มีโอกาสได้ไปกระทำความผิดที่เคยทำนั้นอีกอย่างน้อย เป็นเวลา 5 ปี หากปล่อยไว้เขาก็จะไปกระทำความผิดจนเขาอาจถึงขั้นติดคุกได้การใช้มาตรการดังกล่าวจึงกลับเป็นคุณแก่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้อยู่ในกรอบของกฎหมายและความสุจริตหากไม่ตัดสิทธิ การทุจริตก็จะกลับเกิดซ้ำซากอีก
3.การตัดสิทธิดังกล่าว เป็นการตัดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานหรือไม่?
การใช้สิทธิและการใช้เสรีภาพของบุคคลตามกฎหมายวางอยู่บนรากฐานแห่งหลัก "สุจริต" สิทธิและเสรีภาพจึงมีไว้ให้ผู้ที่สุจริตใช้อย่างเต็มที่ หลักนี้ยืนยันไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายเอกชนมานานเนกาเลแล้วว่าการใช้สิทธิต้องใช้โดยสุจริต การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น เป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมาย ก็ต้องให้หยุดทำได้ เพื่อระงับความเสียหายที่จะเกิดต่อไปภายหน้า จึงเห็นได้ว่า แม้ในทางกฎหมายเอกชนก็ยังให้ระงับการใช้สิทธิที่ไม่สุจริตได้ในทางมหาชน ยิ่งต้องเป็นเช่นนั้น เพราะหากมีการใช้สิทธิไม่สุจริต แม้ทางเอกชนความเสียหายเฉพาะเอกชนเท่านั้นกฎหมายยังให้ใช้บังคับยับยั้งการกระทำได้ ในทางมหาชนใช้สิทธิไม่สุจริตต่อมหาชนยิ่งจะส่งผลกระทบและก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่คนจำนวนมาก
หากยังคงตัดสิทธิการใช้นั้นไม่ได้ หลักสุจริตและนิติรัฐก็ถูกทำลายไม่มีใครได้ยกขึ้นอ้างอีกตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้ลงโทษเพียงแต่ "ชี้กรรม" ที่เขากระทำแก่การเลือกตั้ง และระบอบการปกครองของบ้านเมืองเท่านั้น การตัดสิทธิดังกล่าวจึงไม่ใช่ผลร้าย หรือการลงโทษผู้กระทำ
หลักนี้ชาวบ้านธรรมดาทั่วไปที่เป็นธรรมก็กล่าวอ้างได้ว่า"เมื่อเล่นโกง ก็ไม่ให้เล่น"
สรุป การที่ยึดถือหลักนิติรัฐต้องทำโดยมีจิตวิญญาณที่จะปกป้องนิติรัฐด้วย โดยต้องมองให้รอบรู้ให้ทั่ว หากเห็นไม่รอบ กอดแต่หลักไว้อย่างเดียวไม่ดูว่ามดแทะ ปลวกทะลวงหลักจนปรุพรุนเป็นโพรงอยู่ข้างในไปหมดแล้วยังพร่ำเพ้อว่าหลักยังดีอยู่ ทั้งๆ ที่รู้และโวยวายให้ใครก็ได้เข้ามาแก้ไข
แต่พอมีคนจะไปช่วยพยุงซ่อมแซม โดยเอามด ปลวกออกจากหลัก โดยที่เขาก็เมตตาไม่ฆ่ามด ปลวกเท่านั้น เพียงแต่ขอกวาดออกจากหลักไม้ไปชั่วคราว เพื่อซ่อมแซมหลักให้มั่นคงแล้วจะเชิญให้มด ปลวกเหล่านี้มากัดกินกันใหม่เท่านั้น
คนที่อ้างว่าตนพิทักษ์หลักนิติรัฐเหล่านี้ก็ยังคงกอดหลัก ขวางกั้น ออกหน้าปกป้องมด ปลวก ไม่ให้ใครไปแตะต้องมด ปลวกเหล่านั้น โดยคิดว่าเป็นการปกป้องสิทธิของมดและปลวกเหล่านั้นตามหลักนิติรัฐอยู่
แทนที่จะเป็นการบำรุงรักษา กลับเป็นการช่วยทำลายหลักนิติรัฐทางอ้อมไม่เห็นแม้กระทั่งพวกปลวกๆ ทั้งหลายกำลังนั่งหัวเราะเยาะพวกกำจัดปลวกที่ทะเลาะกันเอง
เท่ากับเนรคุณหลักนิติรัฐเสียเอง
ความเห็นของพวกเขาเหล่านี้ จึงเป็นการ "เห็นต้นไม้แต่ไม่เห็นป่า"
ป่าไม้ถูกทำลายลงทุกวัน ท่านเหล่านี้กู้รู้อยู่ เรียกร้องให้ช่วยกันปราบพวกตัดไม้ทำลายป่าแต่พอเขาจะไปจับคนตัดต้นไม้ ท่านเหล่านี้ก็ออกขวางกั้น โดยอ้างว่า ชาวบ้านตัดต้นไม้ต้นสอง ต้น ไม่เสียหาย ต้องคุ้มครองให้เขาอยู่กินได้ท่านเหล่านี้จึงเห็นแต่คนตัดไม้ทีละต้น แต่ไม่เคยเห็นคนทำลายป่าหารู้ไม่ว่าคนเหล่านั้นตัดทีละต้น เป็นร้อย เป็นล้านต้นแล้ว
ฉันใดก็ฉันนั้น เราจึงไม่สามารถดำเนินการกับคนทำลายหลักนิติรัฐได้เสียที ด้วยฝีมือของคนที่คิดว่าตนเป็นคนพิทักษ์อนุรักษืหลักนิติรัฐ แต่มองไม่เห็นปลวกที่กำลังกัดกิน และทำลายหลักนิติรัฐที่เขาบูชาอยู่ตำหูตำตา
ดังนี้ แทนที่จะเป็นองครักษ์พิทักษ์หลักนิติรัฐกลับกลายเป็นองครักษ์พิทักษ์ปลวกไปเสียนี่!!!
หลักนิติรัฐจึงถูกเนรคุณด้วยสายตาที่คับแคบเช่นนี้เอง
(ขอกลับไปสอนนักศึกษาตามหน้าที่ให้ดีที่สุดละนะเจอกันใหม่เมื่อมีวิกฤตหมายภายหน้า... กาลิเลโอ...)
32 ความคิดเห็น:
อจ.ทวีเกียรติ(บกพร่องโดยสุจริตหรือตั้งใจ)ลืมอธิบายการทำลายระบอบประชาธิปไตยโดยการรัฐประหาร ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้ยกเป็นข้อต่อสู้ในคดีไป...
การวิพากษ์ของท่านจึงเป็นการหรี่ตาข้างหนึ่งแล้วสะบัดปลายปากกาออกไป
อ่านงานท่านแล้ว รู้สึกว่าถ้าอยากเป็นนักกม.ที่เก่งอย่างท่านนั้นหลักกม.และความยุติธรรมอย่างเดียวไม่พอ
ต้องสำบัดสำนวนเก่ง !!! มากๆๆ
แน่นอนผู้ตีสำนวน หาคำอธิบายได้ดีกว่าย่อมเป็นผู้ชนะได้การโต้เถียง
หลักกม. หลักยุติธรรม เหรอ มาทีหลังก็ได้
ผมเชื่ออย่างนั้น
เจริญเถอะ พ่อ ยังภูมิใจในหลักกูอีก
แถมยังไปสอนคนอีกด้วย
เฮ้ยย นี่เมืองไทยมันไม่ได้ป่วยธรรมดาแล้วนา
แต่มันเป็นศพเน่า ที่แร้งรุมทึ้งกะไม่ให้เหลือซาก
ผมชักเขวแล้วดิ ว่า เส้นความถูกต้อง กับ ผิด มันจะอยู่ตรงไหน
ถ้าที่พึ่้งสุดท้าย คือ กระบวนการยุติธรรม ยังหา กันไม่เจอ
แม้แต่ นักฏกหมาย ก็ยังโดนแบ่งทางความคิดแบบนี้
ทักษิณ นี่เลวจริงๆ ฮ่าาาาๆ
ประชาชนอย่างผม หากขึ้นศาล แล้วเจอคนนี้ตัดสินอย่าง
พออุทรณ์ แล้วเจอ บุญชิต บอก สบายใจได้ ตม กม ไม่มีย้อน
คงฮาดีเนอะ
มาถึงตรงนี้เลยอยากถามอาจารย์ว่า มีความเป็นไปได้ไหม ที่ จะยกเครื่อง ทางกฏหมายให้ คนในวงการก่อนเลย เข้าใจให้ตรงกันก่อน
ไม่มีแบ่งซ้าย หรือ ขวา
ผมว่าน่าจะมีการผ่าตัดด่วนสุดเลยนะ
แตกต่าง น่าตกใจแบบนี้ คนเดือดร้อน คือ คนที่มาหวังพึ่งพวกท่าน ดั่งฟางเส้นสุดท้าย
อ่าน comment เจ้าของบล๊อก ทำให้ยืนยันความเชื่อของผมที่มีมาโดยตลอดว่า
นักฏหมายเนี้ย มีพรสวรรค์ มากๆในการพูด แล้วยิ่งจะเก่งกาจมาก หากเจอพวกเลว ที่สามารถบอก ขาว ให้ เป็นดำ
กรณี Oj Simson นี่ขอบอก แม่ง ศรีธญนชัย เป็นเด็กไปเลย
ผมเคยคิดว่า ถ้าเจอ นักฏหมายสารเลว ผู้ทรงเกียรติซัก 6 คน นั่งบนบัลลังค์ แล้ว มีมติตัดสิน จากผลการวินิจฉัย ว่า โลกแบน
ผมคงเถียงอะไรไม่ได้
และแล้วตั้งแต่วินาทีนั้น โลกก็แบน
ถามผู้รู้ทั้งหลาย ทั้งเจ้าของบล็อก แล้วก็สาวกนะครับ
ถ้าไม่มีรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว มีการเลือกตั้งทั่วไป ทรท.ผูกขาดอีกสี่ห้าปี หลักการนิติรัฐยังอยู่ครบทั้งพวง พวกคุณคงคิดว่าโลกคงสงบสุขแล้วใช่ไหม? มองสิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยก่อนการปฏิวัติรัฐประหารเป็นปัญหาหรือไม่? ถ้าเป็น มีข้อเสนอแนะหรือทางแก้อย่างไร?
ฝากทิ้งท้าย ท่าทางพวกท่านกับอาจารย์ศาสตราคงคุยกันยาก ถ้างั้นฟังอาจารย์ทวีเกียรติ แล้วเก็บไปคิดบ้างก็ดีนะ
จากผู้ไม่รู้
ไม่เห็นด้วยกับ อ.ทวีเกียติ และก็ไม่ได้เป็นสาวกของนิติรัฐ
บทความของ อ.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ถือเป็นตัวอย่าง
ของการใช้ตรรกะที่ล้มเหลว ตามประสา "คนในระบอบสนธิ" ดังนี้
"...ผู้เขียนจะสอนลูกศิษย์ได้อย่างไร เมื่ออาจารย์กฎหมายเองยังไม่ยอมรับกติกาเสียงข้างมากของตุลาการรัฐธรรมนูญ?..."
ผู้เขียนไม่เคยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาล แม้แต่ฉบับเดียวเลยหรือครับ ? ไม่เคยสอนแย้งแนวคำพิพากษาของศาลเลยเชียวหรือ ?
การยอมรับ กับการวิจารณ์ มันคนละเรื่องกัน
"...การที่หนังสือพิมพ์พาดหัวตัวโตว่า "5 อาจารย์ นิติ มธ.แย้ง..." ทำให้ดูเหมือนมีตั้ง 5 คน แต่แท้จริงแล้ว 2 ใน 5 คน ยังศึกษาไม่จบอยู่ต่างประเทศ...."
การศึกษาต่อในต่างประเทศ ทำให้สิ้นสภาพอาจารย์หรือ ? ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น แล้วทำไมจึงต้องมีประโยคนี้ ? ท่านสับสนในหลักคิดอะไรหรือไม่
หรือท่านคิดแบบสนธิ ที่ถือจำนวนเป็นหลัก ว่า โอ้ย จริงๆไม่ใช่ห้า แค่สอง !
จำนวนสำคัญกว่าคุณภาพ ?
"...อาจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพาณิชย์ นั้น ชื่นชมว่าเป็น "ลกเจ๊ก" ในเรื่องสามก๊ก ..."
ตรงไหน ? หรือจะตั้งใจเหน็บแนมในประเด็นว่า เป็นเด็กที่เห็นมาเมื่อวานซืน
แต่อย่างไร เด็กเมื่อวานซืน ยังดีกว่าผู้ใหญ่มะรืนนี้ !
"...ผู้เขียนเคารพความเห็นของเพื่อนอาจารย์เหล่านั้น โดยขออธิบายเพิ่มเติมก่อนกลับไปสอนหนังสือโดยสงบ ดังนี้..."
อู้ววว อาจารย์ผู้สอนหนังสือโดยถือว่าการตั้งคำถามกับคำพิพากษา หรือคำวินิจฉัย เป็นการ "ไม่ยอมรับการตัดสิน"
ผมว่าไม่เห็นต้องไปสอนเลย ถ้างั้นไปจ้างคนเสียงดีๆ มานั่งอ่านตำรากฎหมายอาญาคลาสสิก กับคำพิพากษาศาลฎีกาให้เด็กอ่านในห้อง จะดีกว่าไหมครับ
"...การใช้มาตรการดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องกฎหมายย้อนหลังอันเป็นผลร้ายหรือเป็นโทษแก่บุคคล เทียบได้กับกรณีคนที่มาเช่าบ้าน ทำบ้านสกปรกเลอะเทอะเสียหาย ถึงขนาดลงมือรื้อฝาบ้านไปขาย, ให้คนนอกมาเช่าพื้นที่อยู่อาศัยโดยเอารายได้ใส่ตน, ค่อยๆ ทยอยขายทรัพย์สินในบ้านที่เจ้าของบ้านสะสมไว้ จนบ้านทรุดโทรม ทรัพย์สินร่อยหรอลงไปทุกทีเมื่อความจริงเปิดเผยเข้า จึงมีการบอกเลิกสัญญาเช่า โดยเพียงขอให้ผู้เช่าออกจากบ้านไปชั่วคราวก่อน จะได้เข้าไปซ่อมแซมบ้าน ไม่ได้เอาไปลงโทษ ทำร้ายที่ไหน การให้ผู้เช่าที่กำลังทำลายบ้านเช่าออกไปจากบ้าน เพื่อป้องกันความเสียหายของบ้าน จึงไม่ใช่โทษ แต่เป็นมาตรการเพื่อยุติความเสียหายแก่บ้านเช่าที่เขากำลังทำลายอยู่ ..."
คนละเรื่อง, นี่เป็นเรื่องสัญญาแพ่ง เอามาเปรียบเทียบกับเรื่องมหาชน แสดงความอ่อนด้อยของผู้เขียน
อีกอย่างถ้าจะเปรียบเทียบ คงเหมือนกรณีผิดสัญญาเช่าบ้าน คือเอาบ้านไปทำการค้า สัญญาเดิมกำหนดว่าให้เลิกสัญญาเฉยๆ แต่พอถึงเวลาจะลงโทษ ดันเติมสัญญาหใม่ว่า เลิกสัญญาแล้วเรียกค่าปรับด้วย
การเพิ่มสัญญาเองภายหลังแบบนี้ ได้รับการยอมรับในระบบกฎหมายหรือไม่
"...ทำไมประชาชนทำบัตรเลือกตั้งฉีกขาดนิดเดียวก็อาจถูกตัดสิทธิถึง 10 ปี แต่คนโกงเลือกตั้งทั้งโขยงไม่โดนอะไรเลย? หากจะอ้างว่าการตัดสิทธิเป็นโทษหรือเป็นคุณก็ต้องถามว่าเป็นโทษกับใคร หรือจะให้เป็นคุณกับใคร ..."
นี่ก็มั่วอีกแล้ว เอามาเปรียบเทียบได้อย่างไร โทษฐานฉีกบัตรเลือกตั้งมันกำหนดไว้ก่อนแล้วตามกฎหมาย ไม่ใช่มาบัญญัติกันใหม่เมื่อฉีกบัตรไปแล้ว
เสร่อ
"...ที่ดินเอกชนขวางถนนอยู่แปลงเดียว กฎหมายมหาชนจะยึดกรรมสิทธิ์ย้อนหลังโดยเวนคืนตัดถนนผ่านเพื่อมหาชนหรือไม่? หากเอามหาชนเป็นหลัก การใช้มาตรการดังกล่าวจึงไม่ใช่การย้อนหลังไปเป็นโทษแต่กลับเป็นคุณแก่มหาชนทั้งสิ้น..."
นี่ก็ตลกอีก เพราะการเวนคืนไม่ใช่การตัดกรรมสิทธิย้อนหลัง แต่เป็นการซื้อคืนโดยรัฐ และผู้ถือครองที่ดินทั้งหลายในราชอาณาจักรย่อมรู้กติกาตรงกันแล้วว่าที่ดินอาจถูกรัฐซื้อคืนได้
ไม่ใช่เรื่องการใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นโทษเพื่อประโยชน์สาธารณะ
เสร่ออีกแล้ว
ส่วนตั้งแต่ท่อนเรื่องมดปลวกลงไปนั้น
อันนี้เป็นความเห็นของผู้เขียนบทความ จะเห็นใครเป็นหมดเป็นปลวกที่ต้องกำจัด ก็ไม่อยากไปก้าวล่วง เพราะเป็นอัตวิสัย ท่านหเนว่าทักษิณและพวกเป็นปลวกเป็นมด เป็นเสรีภาพของท่าน
แต่ถ้าวันไหนที่คนอย่างท่าน ถูกใครสักคนที่มีอำนาจ มองว่าท่านเป็น "ปลวก" เสียแล้ว
และเลือกใช้ "วิธีการเดียวกันนี้" คือใช้กฎหมายย้อนหลังที่ไม่มีโทษทางอาญาจัดการกับท่าน (เพราะเขามองว่ากำลังกำจัดปลวกเพื่อ "ปัดกวาดหลักกฎหมายและวิชาการไทยบ้าง"
หวังว่าท่านจะยังคงยินดีรักษาหลักคิดเช่นนี้
ปล. ผมว่าท่านอ่อนหัดกว่าศาสตราอยู่มาก แม้พรรษาจะสูงกว่า และแม้ศาสตราจะอ้างความรู้สึก ความจำเป็นมากกว่าหลักกฎหมาย แต่ศาสตราก็ไม่ปรับหลักกฎหมาย หรืออ้างอิงตรรกะอันมั่วแบบจับต้นชนปลายให้ชวนดูถูกขนาดนี้
คนอาจจะขอดค่อนคุณศาสตราว่า มีแต่เล่นสำนวน เล่นความแรง โวหาร ขาดหลักกฎหมายเจ๋งๆ
แต่นั่นก็ดีกว่าตรรกะอ่อนๆ แบบนี้เยอะ
หรือถ้าอยากหัดเป็นนักวิชาบริกร
โปรดศึกษาจาก :-
สุรพล นิติไกรพจน์
ชัยอนันต์ สมุทวณิช
มีชัย ฤชุพันธ์
ฯลฯ
ท่านเหล่านี้ไม่โง่พอที่จะเอาหลักที่มีอยู่แล้วมาอ้างด้วยตรรกะเพี้ยนๆ ให้คนอ่านแล้วคิดตามเฮฮา
แต่ท่านเหล่านั้นสร้างหลักการใหม่ของท่านขึ้นมาเลย แล้วเล่นไปในหลักการนั้น ใครจะจับผิด จับตรรกะก็ไม่ได้ เพราะมันสมบูรณ์ในตรรกะแบบนั้นเอง
(ตัวอย่างเช่น แนวคิดราชประชาสมาศัยของชัยอนันต์ ม.๗ ซึ่งเนียนมาก และไม่มีใครลงไปเถียงได้ เพระแกคิดระบบของแกเองจริงๆ)
555
ไม่ได้อ่านความเห็นมันส์ๆและมีสาระอย่างคนที่ใช้นามว่า " แซงแซว ณ วงศ์ไฮโลว์ " แสดงทัศนะไว้ด้านบนมานานแล้ว นับถือ ครับ
การ "ทะเลาะ" กันเป็นงานประจำของนักกฎหมายหรือ ?
สาวก พ.ต.ท.ทุศีล กินชะมัด "ออกไป"
+ น.ต.ร. "ออกไป" (นิติรัฐ)
รับกลับมานะกูจะตืบมึงทั้งนายทั้งลิ่วล้อเลย
ในเมืองไทยนั้น นิติรัฐ ไม่ใช่นักกฎหมายที่เก่ง หรือเข้าใจอะไรมากที่สุดหรอก
นิติรัฐเป็นพวกอ่านเลกเช่อของ นายราติโอ้และไปเข้าสอบ นิติรัฐวิ่งเต้นตีซี้กับ สมคิดจนได้เป็นอาจารย์ คนใน สสร.เขารู้ว่า หากจะวิ่งอะไรให้ไปที่ สมคิด
นิติรัฐชอบกินเหล้ามากกว่าจะเข้าใจความทุกข์และบริบทของประเทศ นิติรัฐมีฝันคืออยากเป็นดารา อยากป็อป เลยสำเร็จความใคร่ตัวเองโดยการชักว่าว ให้พวกท่านดูเล่น แล้วเรียกว่า สำนักพ๊อพ อคาเดมิก
นี่คือเรื่องของนิติรัฐที่หาสาระไม่เจอ
หลายเรื่องที่ผมอ่านในฐานะนักกฎหมาย ผมว่าเป็นเรื่องเชยๆ หากจะว่าทวีเกียรติเป็นนักสำนวน ผมว่านิติรัฐนี่ก็น้องๆ ผมลองเปรียบเทียบกับศาสตรา แล้วผมว่า ศาสตรา บ้า มัน แต่สิ่งีท่ผมเห็น คือศาสตรา พูดอะไรมีหลักการแน่นตลอด และเรื่องที่เล่น เป็นเรื่องเทคนิกล้วนๆ ซึ่งบางทีนิติรัฐ สวนไม่ออก นอกจากบอกว่าไม่เห็นด้วย
ควาย 5 ตัว
อ่านหัวข้อไม่ออกหรือครับ
เขาบอกว่า "ความเห็นต่าง(๒)"
จะเอาอะไรกันอีก
เจ้าของบล๊อกเอาความเห็นคนอื่นมาให้ท่านผู้อ่านบล๊อกพิจารณาเปรียบเทียบ
มันไม่เคยบอกให้ใครเชื่อมัน
หรือเชื่อคนอื่น
มันแค่อยากให้ท่านผู้อ่านหัดใช้สมองมากกว่าพิมพ์คำด่าทอ หรือเสียดสีกัน
ลองค้นคำว่า "ราติโอ้" จาก
Google ดู
จะพบว่ามีมนุษย์คนเดียวในโลก ที่เรียก Ratioscripta แบบนี้
จะเป็นใครไปดูกันเอาเอง
สาธุชนพึงสดับก็แล้วกัน
...คนที่เจริญแล้วไม่พึงเอาเรื่องส่วนตัว บุคลิค หรือนิสัย ของคนอื่น มาเป็นเครื่องมือในการด่าทอหรือดิสเครดิต ให้บุคคลผู้นั้น เสื่อมเสียลง ให้ดูจากงานของเขามากกว่า ถ้าไม่เห็นด้วยควรแย้งด้วยผลงานของตัวเอง มิใช่เอาเรื่องอื่นมาแย้งให้คนนั้นด้อยค่า
เห็นเพียงแค่ว่าเจ้าของบล็อกไพสต์ ความเห็นต่างเพื่อเปรียบเทียบให้เห็น ความคิดเห็นที่ต่างกันเท่านั้น นับว่าเจ้าของบล็อกมีใจกว้าง มิใช่ ถ้าใครไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของตน (ความคิดอันคับแคบ และไม่มีหลักกฎหมายเลย มีแต่ความรู้สึก) แล้วเหมารวมว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับตนเองนั้นเป็นลิ่วล้อของอีกฝ่าย ขอยืนยันว่ามีหนึ่งคนที่ไม่เป็นลิ่วล้อใคร แต่ตามดู ตามอ่านมาตลอด คุณศาสตรา ก็เคยอยากเป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์มากมิใช่หรือ แต่ไม่ได้เป็น เลยพยายามดิสเครดิต ท่านอื่นๆ ทุกครั้งที่มีโอกาส โดยเหตุผลใดมิทราบได้...
เอาอีก เอาอีก เอาอีก ชออออบบบบ
เอาอีก เอาอีก เอาอีก ชออออบบบบ
พวกคุณอย่างดีก็แค่พวก "ยักษ์ไม่มีเพชร"
ฮ่า ฮ่า ฮ่า
ใจกว่าง ? กว้างตายแหละ
ไอ้คอมมิวนิสต์ หลงยุค
พวก "ลิ้นจี่ใต้หอ"
พวก "ยกหน้ากระเจ็ด"
ระวังโดน “ถอยหมอน” นะคะ
คณะทหารบี (การยุทธไม่มีวันเสร็จ)
ตาม FBI ไปดูล่ะ
อื้ม ถ้าเป็นคนนั้นจริงๆ ถือว่าหน้าด้านมากนะนี่
มีรายการชมตัวเองเพื่อลวงให้คนไขว้เขวเสียอีก
อืม มีคนเดียวจริงๆนั่นแหละ ที่อ่านคำว่า Ratio เป็น ราติโอ้
นี่พลาดขนาดหนัก ทิ้งรอยไว้ให้คนแกะ
เฮ้อ เลิกเล่นสกปรกเสียทีเถอะครับ
คุณคิดว่าคุณจะอยู่ในแวดวงนี้ด้วยวิธีสกปรกขนาดนี้
ได้จริงหรือ
ถ้าอีกสามปีห้าปี ฝุ่นมันหายตลบแล้ว
แม้วตายห่าไปหมดแล้ว ทุกคนกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติ
คุณคิดว่าจะมองหน้าคนกลุ่มนี้ได้อย่างไร
นิสัยหมาลอบกัดแบบนี้ จะยังมีคนยังทำงานด้วยไหม
นี่คือจะเอาดีทางเป็นคนถ่อย ด่าทอ เปิดโปง ?
นิสัยแบบนักการเมืองชั้นเลวเลยนะคุณ
ระวัง “คุก” ไว้ด้วยนะครับ
ไม่ใช่คุกธรรมดานะครับ
แต่เป็น “คุกลวย”
55555
ขำดีดูหมากัดกัน
จากทหารบี
อุตสาห์เป็นถึงครูบาอาจารย์ ยังโง้ โง่
ไม่รู้อีกว่าผมเป็นใคร
ผมชื่ออวยครับ
อวยคม
ครับ
ถ้า อ.วรเจตน์ เป็น "กาลิเลโอหลงยุค" อ.ทวีเกียรติ ก็คงจะเป็น "คริสตจักรหลงยุค" ซินะครับ
ไม่เข้าใจเลยว่า ทำไมจะต้องใช้คำหยาบคายด้วย ถ้าอยากแสดงความเห็นก็น่าจะใช้ภาษาที่ดีกว่านี้ มาคอยป่วนคนอื่นแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงความ "เด็ก" ของคนที่ทำได้อย่างดี เอาเวลาไปอ่านหนังสือบ้างเถอะ
นึกแล้ว สักวัน ต้องมีคนเล่นสกปรก เอาประวัติส่วนตัว มาเล่นงาน ในงามที่ เหตุผล ไม่มี ... เด็กเอ๋ย เด็กน้อย เสียใจด้วยครับ
พี่ป๊อก
ลองเอา webstat แปะดูแล้วเช็กเวลาที่พวกป่วนเข้ามาโพสดูก็ได้ จะตามไปได้ถึงต้นทางว่ามาจากไหน
http://motigo.com/about/webstats
รำคาญพวกนี้จริงๆ ถ้าจะด่าก็อย่าปิดบังตัวเองเลย น่าสมเพช
ธร
เข้ามาอีกที เฮ้ย..ทำไมคอมเมนต์มันเยอะจังวะ
..
..
วิญญาณไม่เคยจางหาย
มันกลับมาอีกแล้ว
นึกถึงอารมณ์มันบ้า ตอนไล่ทักษิณเลย
ด่ากันหญ่ายเลยนะพวกเมิง
ครูบาอาจารย์ก็ไปด่า
คมช ก็ ด่า
รัฐบาล กูก็ด่า
แม้วกูก็ด่า
สินธิลิ้มก็ด่า
ศาสตราก็โดนด่า
นิติรัฐก็โดนด่า
ม็อบทั้งปวงก็โดนด่า
จตุคามก็โดนด่า
เห้ไรกูก็ด่า
ดีว่ะ
ปล.กูถูกที่ซู๊ดดดดด
คุณแซงแซว ณ วงศ์ไฮโลว์
โอ้ว ..... มันยอดมาก
สนับสนุนคนกล้าเถียงผู้ที่เรียกต้นเองว่า "อาจารย์"
วิชาการจริงๆ...เลิกอ้างประชาธิปไตยหรือประชาชนเถอะครับ รัฐบาลไหนมันเป็นประชาธิปไตยและทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนบ้าง ระยำเสมอกัน
www0719
nfl jerseys wholesale
ugg outlet
canada goose jackets
michael kors outlet
oakley sunglasses
spurs jerseys
ugg outlet
fitflops outlet
mont blanc pens
fitflops
www0815
yeezy boost 350 v2
polo ralph lauren outlet
polo ralph lauren outlet
fitflops
nike requin pas cher
coach outlet
christian louboutin shoes
uggs outlet
supreme new york
nike outlet
jordan 6
kyrie 3
ysl handbags
nike roshe run
adidas tubular
off white clothing
goyard handbags
nike epic react
adidas stan smith
curry 4 shoes
www1027
louboutin shoes
jordan shoes
coach outlet
canadian goose
coach outlet
coach outlet
ugg outlet
kate spade outlet
hermes belt
christian louboutin outlet
yeezy boost 350 v2
yeezy boost 350
supreme hoodie
supreme t shirt
hermes online
yeezy 350
golden goose shoes
lebron 17 shoes
curry shoes
yeezy boost 350
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก