ไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “ป๋า” คืนชีพ
ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ไม่ใช่เพียงเพราะเหตุผลที่เป็นผลิตผลจากรัฐประหารเท่านั้น แต่ในส่วนของเนื้อหาก็ไม่น่าพิสมัยเช่นกัน
๑. ระบบเลือกตั้ง ไม่ต้องการให้มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก เขตละ ๓ คน แต่เลือกได้คนเดียว (ในรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ระบุชัด แต่จะไปเขียนในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างฯก็แย้มมาหลายว่าจะเอาแบบนี้ ทำนองเดียวกับเลือก สว เมื่อก่อน เช่น กทม มี ส.ว. ๑๘ คน แต่เลือกได้คนเดียว ซึ่ง ที่ ๑ กับที่๑๘ คะแนนห่างกันมาก) ทำให้เสียงแตก คนได้ที่ ๑ คะแนนนำ ที่ ๒ ที่ ๓ คะแนนน้อย ไม่สะท้อนว่าเป็นเสียงข้างมากจากประชาชนจริงๆ แถมยังทำให้ผู้สมัครฮั้วกันได้ด้วย แนวโน้มชัดเจนว่า ในเขตนั้น ๓ ส.ส. คงมาจาก ๓ พรรค
๒. บัญชีรายชื่อ ๘๐ คน แยกรายภาค ภาคละ ๔๐ คน อันนี้มาจากการต่อรองโดยแท้ แรกๆจรัญยืนยันไม่ให้มี เพราะกลัวมาแบบทักษิณ ๑๙ ล้านเสียง แต่แพ้กระแสต้าน เลยยอมให้มีกัน แต่ทำอย่างไร ไม่ให้มีพรรคเดียวได้คะแนนถล่มทลาย ก็เลยซอยภาคมันซะ ภาคละ ๒๐ ที่อ้างว่าในเยอรมัน บัญชีรายชื่อแยกตามภาคนั้น อ้างไม่ครบ เยอรมันแยกรายภาค เพราะ จำนวน สส บัญชีรายชื่อเยอะมาก ไม่ใช่แค่ ๘๐ คนแบบเรา แนวโน้มของเรา ก็ชัดเจน แบ่งไปพรรคละภาค
๓. ระบบศาลเทวดา-อรหันต์ เข้ามาทำหน้าที่แทบทุกอย่าง โดยเฉพาะการหาคนไปเป็น ส.ว. และองค์กรอิสระต่างๆ
๔. พิจารณาจากที่มาของ ส.ว. แล้ว ต่อไปส.ว. จะเป็นตัวแทนของสถาบัน “อนุรักษ์นิยม-มากบารมี-ข้าราชการ”
๕. รับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้รัฐประหารและผลิตผลของรัฐประหาร
๖. องค์กรอรหันต์แก้วิกฤต ไม่น่ามาแก้วิกฤต แต่จะมาก่อวิกฤตเสียเอง
๗. ในหมวดนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ สักแต่ใส่ๆลงมา ให้มันครบทุกอุดมการณ์ ทุกแนวคิด หลายส่วนมีเนื้อหาขัดแย้งกันเอง
๘. เนื้อหาหลายส่วนก็คล้ายๆกับ รธน ๔๐ แต่ที่เปลี่ยนชัดเจน คือ ไม่ต้องการให้มีพรรคการเมืองเสียงข้างมากเด็ดขาด รัฐบาลเป็นรัฐบาลผสม หลายพรรค อยู่ได้ปีสองปีก็ยุบสภา ทำลายการเมืองในระบบ (พวกที่ลงสนามเลือกตั้ง) แล้วมอบอำนาจให้การเมืองแบบข้าราชการ บรรดาข้าราชการ สถาบันอนุรักษ์นิยม มากบารมี เทวดา อรหันต์จะเป็นใหญ่ ประชาชนเป็นได้แต่องค์ประกอบที่ใช้อ้างความชอบธรรมว่ามีจุดเกาะเกี่ยวกับประชาชนเท่านั้น
หากเราใช้กติกาตามร่างรัฐธรรมนูญนี้ ผมคาดว่าการเมืองไทยจะมีบรรยากาศสมัยยุค ๒๕๒๐ ถึง ๒๕๔๐ (เกรียงศักดิ์ เปรม ชาติชาย ชวน) นั่นก็คือ เชิญพวกนักเลือกตั้งเล่นการเมืองไป แต่เล่นกันในกรอบที่สถาบันมากบารมีเป็นคนดูแล อย่าแหยมล้ำเส้นออกมา นโยบายของพรรคการเมือง ความแปลกใหม่และการกำหนดทิศทางประเทศโดยพรรคการเมืองจะลดหายไป นักการเมืองในระบบไม่มีอะไรมากไปกว่าสู้เพื่อเป็น ส.ส. เอาจำนวนไปต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรี แต่ละพรรคไม่มีความแตกต่างกัน
ผมเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ใช่เพียงกติกากำจัดทักษิณเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือของผู้มากบารมีทั้งหลายในการช่วงชิง “อำนาจนำ” สังคมกลับคืนมาอีกด้วย
ขอเวลาสักระยะ จะวิจารณ์รายมาตราแบบละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างนี้อ่านงานของผมในเบื้องต้นได้ในบทความต่อเนื่องชุด “ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการเมืองในฝรั่งเศส” ลงในโอเพ่น เขียนได้ ๓ ตอนแล้ว พูดถึงการเลือกตั้ง ส.ส. ที่มาของ ส.ว. และองค์กรแก้วิกฤต
ไม่ใช่เพียงเพราะเหตุผลที่เป็นผลิตผลจากรัฐประหารเท่านั้น แต่ในส่วนของเนื้อหาก็ไม่น่าพิสมัยเช่นกัน
๑. ระบบเลือกตั้ง ไม่ต้องการให้มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก เขตละ ๓ คน แต่เลือกได้คนเดียว (ในรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ระบุชัด แต่จะไปเขียนในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างฯก็แย้มมาหลายว่าจะเอาแบบนี้ ทำนองเดียวกับเลือก สว เมื่อก่อน เช่น กทม มี ส.ว. ๑๘ คน แต่เลือกได้คนเดียว ซึ่ง ที่ ๑ กับที่๑๘ คะแนนห่างกันมาก) ทำให้เสียงแตก คนได้ที่ ๑ คะแนนนำ ที่ ๒ ที่ ๓ คะแนนน้อย ไม่สะท้อนว่าเป็นเสียงข้างมากจากประชาชนจริงๆ แถมยังทำให้ผู้สมัครฮั้วกันได้ด้วย แนวโน้มชัดเจนว่า ในเขตนั้น ๓ ส.ส. คงมาจาก ๓ พรรค
๒. บัญชีรายชื่อ ๘๐ คน แยกรายภาค ภาคละ ๔๐ คน อันนี้มาจากการต่อรองโดยแท้ แรกๆจรัญยืนยันไม่ให้มี เพราะกลัวมาแบบทักษิณ ๑๙ ล้านเสียง แต่แพ้กระแสต้าน เลยยอมให้มีกัน แต่ทำอย่างไร ไม่ให้มีพรรคเดียวได้คะแนนถล่มทลาย ก็เลยซอยภาคมันซะ ภาคละ ๒๐ ที่อ้างว่าในเยอรมัน บัญชีรายชื่อแยกตามภาคนั้น อ้างไม่ครบ เยอรมันแยกรายภาค เพราะ จำนวน สส บัญชีรายชื่อเยอะมาก ไม่ใช่แค่ ๘๐ คนแบบเรา แนวโน้มของเรา ก็ชัดเจน แบ่งไปพรรคละภาค
๓. ระบบศาลเทวดา-อรหันต์ เข้ามาทำหน้าที่แทบทุกอย่าง โดยเฉพาะการหาคนไปเป็น ส.ว. และองค์กรอิสระต่างๆ
๔. พิจารณาจากที่มาของ ส.ว. แล้ว ต่อไปส.ว. จะเป็นตัวแทนของสถาบัน “อนุรักษ์นิยม-มากบารมี-ข้าราชการ”
๕. รับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้รัฐประหารและผลิตผลของรัฐประหาร
๖. องค์กรอรหันต์แก้วิกฤต ไม่น่ามาแก้วิกฤต แต่จะมาก่อวิกฤตเสียเอง
๗. ในหมวดนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ สักแต่ใส่ๆลงมา ให้มันครบทุกอุดมการณ์ ทุกแนวคิด หลายส่วนมีเนื้อหาขัดแย้งกันเอง
๘. เนื้อหาหลายส่วนก็คล้ายๆกับ รธน ๔๐ แต่ที่เปลี่ยนชัดเจน คือ ไม่ต้องการให้มีพรรคการเมืองเสียงข้างมากเด็ดขาด รัฐบาลเป็นรัฐบาลผสม หลายพรรค อยู่ได้ปีสองปีก็ยุบสภา ทำลายการเมืองในระบบ (พวกที่ลงสนามเลือกตั้ง) แล้วมอบอำนาจให้การเมืองแบบข้าราชการ บรรดาข้าราชการ สถาบันอนุรักษ์นิยม มากบารมี เทวดา อรหันต์จะเป็นใหญ่ ประชาชนเป็นได้แต่องค์ประกอบที่ใช้อ้างความชอบธรรมว่ามีจุดเกาะเกี่ยวกับประชาชนเท่านั้น
หากเราใช้กติกาตามร่างรัฐธรรมนูญนี้ ผมคาดว่าการเมืองไทยจะมีบรรยากาศสมัยยุค ๒๕๒๐ ถึง ๒๕๔๐ (เกรียงศักดิ์ เปรม ชาติชาย ชวน) นั่นก็คือ เชิญพวกนักเลือกตั้งเล่นการเมืองไป แต่เล่นกันในกรอบที่สถาบันมากบารมีเป็นคนดูแล อย่าแหยมล้ำเส้นออกมา นโยบายของพรรคการเมือง ความแปลกใหม่และการกำหนดทิศทางประเทศโดยพรรคการเมืองจะลดหายไป นักการเมืองในระบบไม่มีอะไรมากไปกว่าสู้เพื่อเป็น ส.ส. เอาจำนวนไปต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรี แต่ละพรรคไม่มีความแตกต่างกัน
ผมเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ใช่เพียงกติกากำจัดทักษิณเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือของผู้มากบารมีทั้งหลายในการช่วงชิง “อำนาจนำ” สังคมกลับคืนมาอีกด้วย
ขอเวลาสักระยะ จะวิจารณ์รายมาตราแบบละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างนี้อ่านงานของผมในเบื้องต้นได้ในบทความต่อเนื่องชุด “ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการเมืองในฝรั่งเศส” ลงในโอเพ่น เขียนได้ ๓ ตอนแล้ว พูดถึงการเลือกตั้ง ส.ส. ที่มาของ ส.ว. และองค์กรแก้วิกฤต
7 ความคิดเห็น:
ขอร่วมคัดค้านร่าง รธน. ด้วยเช่นกัน
เห็นด้วยกับเหตุผลของท่าน โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า รธน.ถูกร่างขึ้นให้ผู้มากบารมี ข้าราชการ สถาบันอนุรักษ์นิยม ฝ่ายตุลาการ ช่วงชิงอำนาจนำสังคมกลับคืนมา.. (ทำให้ระบบ check and balance ระหว่างอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ เสียไปหมด)
และประเด็นที่ รธน. ถูกร่างเพื่อไม่ต้องการให้เกิดพรรคเสียงข้างมากที่ได้เสียงท่วมท้น อันนี้ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เพราะแก้ไม่ถูกจุด...
ผมมองว่าการมีรัฐบาลเสียงเยอะไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือต้องไปออกแบบระบบควบคุมไม่ให้รัฐบาลเสียงเยอะทุจริตหรือดำเนินนโยบายที่ไม่เหมาะสมต่างหาก
การมองว่ารัฐบาลเสียงเยอะคือตัวปัญหา มันก้อเหมือนกับการดูถูกประชาชน ไม่เคารพเสียงของประชาชนกลายๆ นั่นเอง...
แปลกดี ส่วนใหญ่ผมเห็นด้วย และรู้สึกว่ามันปะผุได้ดี
ยกเว้นเรื่องหลักๆที่ผมว่าเข้าขั้นอุบาทว์ 2-3 เรื่อง
ได้แก่การสรรหาวุฒิ โดยกรรมการอรหันต์ เพื่อให้วุฒิไปเลือกกรรมการอรหันต์ชุดต่อๆไป
ลองนึกภาพได้ไหมครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น
สายใยแห่งวงจร "อุปถัมภ์" และ "บารมี" ที่ไม่สิ้นสุด
(กรูเลือกมึงเป็นวุฒิแล้วนะ ทีนี้พอกูพ้นตำแหน่ง อย่าลืมเลือกน้องกรู ญาติกรู ลูกศิษย์กรู มาเป็นหรหันต์ล่ะ สมัยหน้าเขาจะได้เลือกญาติๆมรึงมั่งไง)
ส่วนเรื่องคณะกรรมการบารมีก็น่าขัน
เขียนมาแบบไม่มีทั้งวิธีทำและอำนาจ
แต่เรื่องแบ่งเขตเลือกตั้งผมเริ่มๆเห็นด้วยนะ
ผมรู้สึกว่า ปัญหาหนึ่งของวิกฤตทักษิณ คือเสียงข้างน้อยของผู้นิยมพรรคการเมืองที่ไม่ใช่กระแสหลัก ไม่มีที่ยืน
คือการเลือกตั้งแบบ เขตเดียวคนเดียว ไม่ชนะก็แพ้เลย
ในวัฒนธรรมที่คนไม่พยายามรู้แพ้รู้ชนะอย่างเมืองไทย
ผมว่าให้เราชนะไม่สุดกันดีกว่า
เช่นเขตไหนคนรัก ทรท มากๆๆๆๆ ก็เอาไปหมดเลย 3 ที่
เขตไหนสูสีๆ ก็อาจจะมา 2/3
ซึ่งผมว่าแบบนี้น่าจะทำให้สัดส่วนของ สส. ออกมาแบบยอมรับได้มากกว่า
อันนี้เหตุผลทางจิตวิทยาล้วนๆครับ
ผมรู้สึกว่าถ้าเสียงของคน "ไม่เอาทักษิณ" มีความหมายบ้างในการเลือกตั้ง
อย่างน้อยเรื่องมันอาจจะจบลงในคราวที่ทักษิณยุบสภาแล้วก็ได้
อันนี้มันรู้สึกว่า เลือกไปยังไงก็แพ้กระแสหลัก
กูไม่เล่นในเกมแล้วเว้ยยย แสดดดด
วันวาน ผมเฝ้าใจจดใจจ่อของ รธน. ฉบับผู้มีอำนาจเหนือรธน. เขียน
ที่ของเก่าโดนฉีกด้วยโจรแต่สวมเสื้อรักชาติ ห่วงชาติ
นั่งเฝ้าติดตามเนื้อหาข้างในแล้วแอบลุ้นว่าเรารับได้ หรือ รับไม่ได้
ณ. วันนี้ฉุกคิดขึ้นได้นี่เราแอบลุ้นให้โจรที่ปล้นเรา มานั่งเล่านิทานให้ฟังเรื่องต่อไป
ผมไม่สนว่า รธน นี้จะเป็นแบบไหน ผมสนแค่กระบวนการ และ กลุ่มคนที่มาด้วยความไม่ชอบ เมื่อไม่ชอบด้วยหลักการ ก็ป่วยการ จะมานั่งทำใจว่ารับได้หรือรับไม่ได้ในสาระ
คงมีเหลือคำถามว่า
เรา คนไทย ทุกชนชั้น จะต้องออกมาประมาม การรัฐประหาร ปฏิวัติ ฉีกรธน. แล้ว ร่างมันขึ้นใหม่ กันอีกกี่หน?
ในขณะที่ประเทศแทบทั่วโลกเขาเลิก งี่เง่ามาคุยเรื่องเหล่านี้ เลิก ฉีกๆ เขียนๆ แล้วเอาเวลาพัฒนาประเทศจนเจริญผิดหูผิดตา
ที่มันฉุดรั้งประเทศให้ฉิบหายทุกวันนี้ คงไม่ใช่ปัญหาของ ไอ้ตัว รธน. ละมั้ง
รธน.ไทย ยังคงเป็นเพียงสัญลักษณ์ เป็นกระดาษที่บอกว่า อ้าย อี คนนั้นคนนี้ มีสิทธิ์เท่านั้นเท่านี้? โดยที่ยังมีอีกกลุ่ม เดินเหนือเมฆต่อไป
และ รธน. จึงตกเ็็ป็นเพียงตัวประกัน ระหว่างชนชั้นต่อไป
ผมว่าเราหวงกระดาษที่ชื่อ รธน. เกินกว่า คำว่า สิทธิเสรีภาพโดยสามัญสำนึก ซะแล้ว
แต่ก่อน ตำหนิคนใต้ วันนี้ เริ่มเห็นและเข้าใจแล้วว่า เขากำลังทำอะไร
เขาไม่ได้ต้องการ แค่กระดาษที่เขียนจากคนนั้นคนนี้ บอกถึงสิทธิที่เขาจะได้ แต่เขาต้องการ เสรีภาพที่เท่าเทียมกันทุกชนชั้นต่างหากอย่างเป็นรุปธรรม มากกว่า
ผมนั่งคิดเล่นๆ ว่าถ้ากฏเกฏณ์การเลือกตั้งเป็นแบบนี้ จะเกิดอะไรขึ้น.. ไม่แน่ใจว่า logic ตัวเอง make sense ไหม ใครคิดเห็นแตกต่างช่วยชี้แนะด้วยนะครับ...
การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เขตละ 3 คน แต่ปชช.เลือกได้แค่ 1 คน.. ผมคิดว่า ถ้าเป็นลักษณะนี้ จะยากมากๆที่พรรคการเมืองใดจะได้ 3 ที่ในเขตเดียว เพราะพรรคใหญ่จะต้องพยายามแย่งตัวผู้สมัครที่ดังๆในเขตนั้น เช่น พรรค A ก็จะมีตัวเด่นหนึ่งคน พรรค B มีตัวเด่นอีกคน พรรค C ก็จะมีอีกคนที่เด่น
สรุปคือ พรรค A, B และ C จะได้ สส พรรคละคน หรืออย่างดี พรรค A ได้สอง พรรค B ได้หนึ่งคน
ทำให้จำนวน สส. ที่พรรคใหญ่ๆจะได้ทั่วประเทศในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ออกมาไม่น่าต่างกันมาก
ชัยชนะของการเลือกตั้งจึงน่าจะตัดสินกันที่การเลือกตั้งแบบแบ่งภาค 80 ที่นั่ง ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า แต่ละพรรคจะได้ที่นั่งพอๆกันไปตาม "พื้นที่" ที่ตัวเอง specialize in รึป่าว
หรือว่าเป็นไปได้ไหมว่า พรรคใดที่ต้องการชัยชนะ จะต้องทำนโยบายให้ถูกใจคนทุกภาคทั่วประเทศ เพื่อจะได้ สส. ปาร์ตี้ลิสต์แบ่งภาคตรงนี้ให้มากที่สุด?
แต่ผมว่า สำหรับการเมืองไทย "พื้นที่"ยังสำคัญมาก ไม่งั้นเราคงไม่เห็นพรรคภาคใต้ พรรคสุพรรณบุรี พรรคภาคเหนือ พรรคโคราช ฯลฯ..
สรุปคือ ผมมองว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงที่ผลการเลือกตั้งออกมา พรรคใหญ่ๆจะได้ที่นั่งไม่แตกต่างกันมาก (ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบปาร์ตี้ลิสต์) โอกาสที่จะมี landslide win ในการเลือกตั้งก็ยาก.. โอกาสที่จะมีรัฐบาลผสมที่มีพรรคเล็กพรรคน้อยหลายพรรคมีสูงมาก และเราก็จะเจอปัญหารัฐบาลขาดเสถียรภาพแบบเดิมๆอีก...
และผมยังคิดว่า การเลือกตั้งแบบนี้ มันทำให้พรรคการเมืองขาดแรงจูงใจที่จะทำนโยบายดีๆให้ปชช.นะ เพราะ marginal benefits ของการทำนโยบายดีๆมัน diminishing อ่ะ (เพราะทำดีไป ก็ไม่ได้ที่นั่งเพิ่มมากนัก ยากที่จะได้ที่นั่งเยอะๆต่อให้ทำดีแค่ไหนก็ตาม เพราะระบบมันออกแบบมา penalize คนที่ทำดีเกิน)การเลือกตั้งแบบนี้จึงน่าจะเป็นการ distort ตลาดนโยบายพรรคการเมืองให้มีประสิทธิภาพลดลง
ผมจึงมองว่า ไม่ควรแก้โดยการพยายาทำให้พรรคฝ่ายค้านหรือเสียงข้างน้อยมีที่นั่ง "มากขึ้น" แต่ควรทำให้กลไกการตรวจสอบรัฐบาลอื่นๆมันทำงานได้ดีกว่านี้ต่างหาก
ผมไม่เชี่ยวชาญเก่งกาจพอที่จะบอกได้ว่า จะออกแบบระบบยังไงถึงจะตรวจสอบรัฐบาลได้ดี แต่ผมเห็นว่า หลักการที่ถูกต้องคือ พรรคที่ทำดี ต้องได้ดี ไม่ใช่ทำดีแทบตาย แต่ก็ได้ที่นั่งนิดเดียว และต้องเป็นรัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพ ต้องเอาเวลาทำงานนโยบายมาใช้ไปกับการรักษาเสถียรภาพและผลประโยชน์ของพรรคร่วมรัฐบาล...
เพราะ ทรท นี่เอง ที่ทำให้ อำนาจดึกดำบรรพ์ กลัีวจะดึงความนิยมจาก ประชาชนชาวไทยไปซะหมด
ผมอ่านผ่านๆ ไอ้ อัตราส่วน สส ไรน่ะ
อ่านๆ แล้วก็ได้กลิ่นแค่ว่า ไม่ต้องการให้ มีเสียงถล่มทลาย เปิดโอกาสให้ ฝ่ายค้าน ได้มีสิทธิ์เปิดสภาอธิปราย พูดกันแบบซื่อ ก็แค่ต้องการให้เสียงมันสูสี แล้วตีกันเองในสภา บริหารบ้านเมืองไม่ต้องเน้น เปิดแกล้งไปเรื่อยๆ สงสัยไร ก็ อภิปรายกันไป
อยากได้ ระบบเลือกตั้งเจ๋งๆไหม
มาไม่ต้องเถียงกัน ถ้าแฟรงค์จริง เลือกตั้งนายก ทางตรงเลยดิ
ใครจะเป็นนายก ลงมาเลย แล้วใครที่ได้เป็นนายก มีอำนาจ เด็ดขาดในการ ย้าย สับเปลี่ยน หรือ ปลด ข้าราชการ โดยไม่ต้องส่งไปที่ใคร นายกเซนต์คนเดียวจบ
สส ของแต่ละจังหวัด ลงสมัครแบบผู้ว่าการรัฐไปเลย
ไม่ต้องมา จังหวัดนี้ใหญ่ มี สส 3 คน
เปลืองๆ
ก็ได้ สส 76 คน
แล้วไอ้ สว ตัวปัญหาก็ เลือกตั้งมาซิ เอาให้เต็มที อยากมีกันกี่คน
แต่ขอบอก ไม่นิยม ไอ้ สส สว หรือ อะไรก็ตาม ที่แต่งตั้งมา
เออ แล้วเมื่อไหร่จะมี กฏหมายเล่นงาน ฝ่ายผู้พิพากษา ที่ตัดสินลำเอียง สองมาตราฐานซะที
ตัวปัญหาใช่เล่นนะ
May I present my different point of view though.
I don't like this constitution. But I think it do reflect the real stance of power in Thai politics.
If we take constitution as the rules of the game for politics. And this game has many partitipants. The situation that can led this game to break down happen when the game don't produce the kind of equilibrium sharing of benefit that satisfy the elites.
Taken the last constitution as an example, the constitution produce a big political party that was immuned to the challenge from other political paties, and even have enough power to interfere with the regulatory institution. Power was tilted too much in favor of one party. Those participants who knew they would lost anyway didn't want to participate in political competition. The game breakdown.
This constitution, probably counted as "the last Royalist upsurge" is exacly trying to tilt the power to the most powerful political institution in Thailand, the Monarchy and co. It's probably reflecting the real constituents of present equilibrium in Thailand.
What I want to argue is, if we just want to keep democracy as a procedure, this might keep democracy (in its minimalist shape) to survive - since it's not providing anyway for new power to challenge the old power (and old power won't feel threaten). But, as I said, this is just to keep domocracy survives. For the democracy with quality, democracy that is really people's democracy, this constitution really sucks.
Probably, question that arises here is, if there's such a kind of democracy that really reflected more of people's will, will that democracy survive. Especially in the democratic game that players don't include only civil society and political society, but included the "higher power".
ขอตรงๆเลยว่าอาจารย์ยินดีให้เบอร์เมลล์ไหม
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก