วันพุธ, มิถุนายน 13, 2550

ความเห็นต่าง

ผมไปพบบทความของศาสตรา โตอ่อนในเว็บไซต์ผู้จัดการ ซึ่งบทความเดียวกันนี้ เผยแพร่ลงในบล็อกของเขา และหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ด้วย

บทความนี้ “เห็นด้วย” ต่อคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรคไทยรักไทยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค ๕ ปี ย้อนหลัง บทความเดียวกันนี้จึง “เห็นต่าง” ต่อบทวิเคราะห์ของอาจารย์นิติศาสตร์ มธ. ๕ คน

อนึ่ง บทความของศาสตราชี้ให้เห็นว่า การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งย้อนหลัง ๕ ปี ทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่สำหรับผม ไม่เห็นว่าเป็นประโยชน์สาธารณะ และต่อให้เป็นประโยชน์สาธารณะ ก็ไม่ได้สัดส่วนกับสิทธิขั้นพื้นฐานที่ถูกลิดรอนไป

เพื่อความหลากหลายทางความคิดเห็น ผมขออนุญาตนำบทความดังกล่าวมาโพสลงไว้ ณ ที่นี้

หลากหลายสถานการณ์ในหลักการห้ามกฎหมายมีผลย้อนหลัง

โดย ศาสตรา โตอ่อน

ในนิติรัฐ หรือรัฐที่มีการปกครองโดยถือกฎหมายเป็นใหญ่นั้น ฝ่ายนิติบัญญัติมีความผูกพันในการบัญญัติกฎหมายให้มีความชอบธรรม ซึ่งความชอบธรรมในการบัญญัติกฎหมายจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อการบัญญัติกฎหมายมีการคำนึงหลักการสำคัญอย่างน้อยที่สุดสามประการ คือ หลักความแน่นอนของกฎหมาย หลักการห้ามกฎหมายมีผลย้อนหลัง และหลักความเสมอภาค


กล่าวโดยเฉพาะหลักการห้ามกฎหมายมีผลย้อนหลัง ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อวิวาทะสำคัญที่มีผู้ออกมาให้ความเห็น กระทั่งมีการนำความเห็นต่างๆ ไปขยายผลทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มพวกของตนอย่างมากมาย สิ่งที่ปรากฏ คือ ความไม่ชัดเจนในการปรับใช้หลักการดังกล่าวกับกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นหลายกรณี หรือกระทั่งกรณีที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

หลักการห้ามกฎหมายมีผลย้อนหลัง ถือเป็นหลักการพื้นฐานในการบัญญัติกฎหมายที่สำคัญ โดยหลักการดังกล่าวมีเนื้อหาที่สำคัญ คือ การห้ามกฎหมายมีผลย้อนหลังไปก่อผลร้ายต่อการกระทำที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่การย้อนหลังอันเป็นโทษทางอาญานั้น จะกระทำไม่ได้โดยเด็ดขาด โดยนัยของหลักการดังกล่าวทำให้เกิดประเด็นพิจารณาว่า

1. กฎหมายสามารถย้อนหลังไปเป็นคุณกับประชาชนได้หรือไม่ กรณีย้อนหลังไปเป็นคุณกับประชาชนนั้นสามารถทำได้ เช่น กรณีการกำหนดอัตราเบี้ยบำนาญของข้าราชการเพิ่มขึ้น ก็สามารถนำอัตราที่เพิ่มขึ้นไปคำนวณกับเวลาที่ได้เคยทำงาน ก่อนวันที่จะมีกฎหมายดังกล่าว เพื่อรับเบี้ยบำนาญเพิ่มขึ้นได้

2. กฎหมายสามารถย้อนหลังไปลงโทษทางอาญาได้หรือไม่ กรณีโทษทางอาญาไม่สามารถย้อนหลังได้ เนื่องจากโทษทางอาญามีผลกระทบต่อสิทธิในชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพของประชาชน กรณีดังกล่าว จึงไม่สามารถย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ล่วงไปแล้วไม่ได้โดยเด็ดขาด

3. กฎหมายสามารถย้อนหลังไปก่อผลร้ายอื่นๆ นอกเหนือจากโทษทางอาญาได้หรือไม่ กรณีผลทางกฎหมายอื่นๆ นอกเหนือไปจากโทษทางอาญานั้นสามารถย้อนหลังได้ แต่การย้อนหลังจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการชั่งน้ำหนักระหว่าง หลักการที่สำคัญสองหลักการ คือ หลักความแน่นอนของกฎหมาย และหลักเหตุผลในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ

หลักความแน่นอนของกฎหมาย เป็นหลักการที่ผู้บัญญัติกฎหมายจะต้องพิจารณาว่า กฎหมายจะต้องมีความแน่นอนเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนมีความมั่นใจว่าการกระทำของตน ณ ขณะที่ลงมือ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นผลร้ายกับตน ลักษณะเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความมั่นใจในการใช้เสรีภาพของตน อันเป็นหลักการสำคัญของนิติรัฐ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น รัฐมีหน้าที่ที่จะต้องปกป้อง สิทธิและเสรีภาพดังกล่าว โดยทำให้กฎหมายที่บัญญัติมีความแน่นอนให้มากที่สุด

หลักเหตุผลในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เป็นหลักการที่ผู้บัญญัติกฎหมายจะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและเหตุผลในการบัญญัติกฎหมายให้ย้อนหลัง โดยคำนึงถึงความเสียหายที่มีต่อประโยชน์สาธารณะ โดยอาจกำหนดมาตรการหรือผลในทางกฎหมายให้ย้อนหลังไปปกป้องคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้ผลในทางกฎหมายดังกล่าว อาจย้อนหลังไปเป็นคุณหรือสร้างผลร้ายก็ได้

ดังนั้นในการกรณีการย้อนหลังของกฎหมายไปก่อผลร้ายอื่นๆ นอกเหนือไปจากโทษทางอาญานั้น ผู้บัญญัติกฎหมายจะต้องทำการชั่งน้ำหนักเหตุการณ์บ้านเมือง บริบทแวดล้อมของสังคม ณ ขณะนั้นว่า มีความสอดคล้องกับหลักการใดมากกว่ากัน หากพิจารณาแล้วเห็นว่า การสร้างความแน่นอนทางกฎหมายมีน้ำหนักมากกว่า การคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ กรณีจึงไม่อาจบัญญัติกฎหมายให้ย้อนหลังไปก่อผลร้ายได้ แต่หากการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะมีน้ำหนักมากกว่า การสร้างความแน่นอนทางกฎหมาย กรณีนี้ก็สามารถบัญญัติกฎหมายให้ย้อนหลังไปก่อผลร้ายอื่นๆนอกจากโทษทางอาญาได้

ดังนั้น หากพิจารณาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองโดยปรับกับหลักการดังกล่าวจะเห็นได้ว่า

กรณี ประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 สามารถย้อนหลังเป็นการก่อผลร้ายได้ ทั้งนี้เนื่องจากความเลวร้ายของนักการเมืองไทยในระบอบทักษิณมีลักษณะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะอย่างชัดเจน และการปกป้องประโยชน์สาธารณะย่อมมีน้ำหนักที่มากกว่าการปกป้องเสรีภาพโดยการสร้างความแน่นอนทางกฎหมายให้กับนักการเมืองที่มีพฤติกรรมชั่วร้ายอย่างไม่ต้องสงสัย

กรณีคำวินิจฉัยคดียุบพรรค อย่างน้อยที่สุดก็ยืนอยู่บนพื้นฐานของการชั่งน้ำหนักระหว่างหลักความแน่นอนทางกฎหมาย และหลักเหตุผลในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ซึ่งตุลาการเสียงข้างมากได้บรรยายอย่างชัดเจนว่า “ระบอบทักษิณ” ได้ทำลายประโยชน์สาธารณะต่างๆ ลงอย่างมากมาย ซึ่งกรณีจะเห็นว่า ความเลวร้ายดังกล่าว มีน้ำหนักมหาศาลมากกว่าการปกป้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของนักการเมืองเลวอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยเหตุนี้คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ตัดสิทธินักการเมืองทั้ง 111 คนจึงสอดคล้องกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ในบริบทปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง

กรณีคำคัดค้านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคโดย 5 คณาจารย์จากนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มีการพิจารณาประเด็นการย้อนหลังของกฎหมายโดยคำนึงหลักความแน่นอนของกฎหมายแต่เพียงประการเดียว โดยไม่ได้มีการพิจารณาหลักเหตุผลในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะแต่อย่างใด กรณีดังกล่าวจึงแสดงออกอย่างชัดเจนว่านักวิชาการทั้งห้าท่านได้ใช้กฎหมายโดยมิได้คำนึงถึงบริบทสังคม ที่เสียหายไปกับระบอบทักษิณอย่างมากมาย ซึ่งกรณีที่ตุลาการรัฐธรรมนูญได้ยกแสดงในคำวินิจฉัยอย่างละเอียดนั้นมิใช่ประโยชน์สาธารณะที่กฎหมายจะต้องคุ้มครองหรอกหรือ ซึ่งความซื่อตรงต่อความรู้แบบถ่ายสำเนาเอกสารของนักวิชาการกลุ่ม ดังกล่าว ณ วันนี้ กำลังถูกนำไปขยายผลโดยเหล่าสาวกผู้สมาทานตนกับ “ลัทธิไทยรักไทย” อย่างไม่ลืมหูลืมตา

กรณีการยกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 หากมีการยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าวจริงจะทำให้นักการเมืองทั้ง 111 คน ที่ตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี สามารถกลับมาฟื้นคืนชีพทางการเมืองได้ทันทีโดยไม่ต้องออกกฎหมายนิรโทษกรรม ทั้งนี้เนื่องจากหากมีประกาศฉบับใหม่ออกยกเลิก ประกาศฉบับใหม่ย่อมเป็นกฎหมายที่มีผลย้อนหลัง ซึ่งกรณีนี้โดยปริยายย่อมมีลักษณะการย้อนหลังเป็นคุณกับนักการเมืองทั้ง 111 คน ผลที่ตามมาคือนักการเมืองเหล่านั้น ย่อมฟื้นคืนชีพทางการเมืองได้โดยไม่ต้องออกกฎหมายนิรโทษกรรมแต่อย่างใด นี่ไม่ใช่คำแนะนำทางกฎหมาย แต่คือการเตือนภัยให้สังคมเฝ้าระวังการนิรโทษกรรมนอกแบบ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ให้ดี

14 ความคิดเห็น:

Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ในการอ้างความเห็นทางกฎหมาย ต้องพูดหลักกันให้ครบถ้วนทุกหลัก
พื้นที่แห่งการถกเถียงในกรณีนี้ หากหลักที่ศาสตราเขียนมีความครบถ้วน คือการทุมเถียงต้องอยู่บนการชั่งน้ำหนักระหว่าง ความแน่นอนของกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิ และประโยชน์สาธารณะที่สูญเสียไป

หากเถียงกันโดยนำข้อมูลมาชั่ง เหมือนชั่งบนตราชั่งอันเป็นสัญญลักษณ์ของ นิติศาสตร์ อย่างนี้ถึงจะเป็นเวทีการถกเถียงที่แท้จริง เพราะข้อมูลครบและมีการฟังข้อมูลกันก่อนฟันธง

3:55 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมได้อ่านเมื่อคืนนี้พอดี

ตัวเองไม่รู้ อ่าว หรือ เหว อะไรเลย เกี่ยวกับเรื่อง กฏหมาย

จึงขอนั่งอ่านผู้รู้ ถกกัน

โดยความเข้าใจของผม ถ้า กฏหมาย มันย้อนเอาผิดได้

แบบนี้ ก็สวยดี เพราะถ้า ทรท ได้กลับมาอีก ก็เอาไอ้ ย้อนกฏหมายนี่แหละ เล่นงาน คณะ คมช ทุกคน รวมทั้ง กตส และ คณะ ตลก แห่งประเทศไทยได้

ข้อหา ร่วมกัน สมรู้ร่วมคิด ล้มล้าง รธน

โทษ ประหารชีวิต


ผมเข้าใจถูกไหม?

2:56 หลังเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Pragmatism

5:15 หลังเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

แมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูได้เป็นพอ

รักประเทศไทยจริงๆ

7:25 หลังเที่ยง  
Blogger crazycloud กล่าวว่า...

ในการให้ความเห็นทางกฎหมาย
หนึ่ง หลักการต้องครบถ้วนก่อน
สอง ข้อเท็จจริง บริบทแวดล้อม ต้องครบถ้วน
สาม ชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐาน เหตุการณ์ต่างๆ

ผมคิดว่า ปริมาณงานของนิติรัฐ ที่วิพากษ์ระบอบทักษิณไว้อย่างยอดเยี่ยม ในบล็อกนี้เป็นพยานชั้นดี เพราะมีปริมาณมากเหลือเกิน ท่านลองย้อนกลับไปดูกันเอง

ผมหมายความว่า นิติรัฐ เคยปกป้องประโยชน์สาธารณะด้วยข้อเขียนจำนวนมากมาย นั่นเป็นการกระทำที่สง่างาม

ผมไม่ปฏิเสธ ว่าการรัฐประหาร ผิดหลักอนามัย
ผมไม่ปฏิเสธว่าเป็น ปากหมาติ๊ซึ่ม

ถึงที่สุด เราต้องเดินทางมาชั่ง ชั่งข้อเท็จจริง
ข้อเท็จจริง คือ สิ่งที่เราต้องสัมผัส
ด้วยสำนึกของ "วิญญูชน"

9:45 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อ่านแล้วรู้สึกว่าได้อ่านบทความทางกฎหมายเท่าไหร่ ....

เพราะหนักทางเล่นถ้อยคำสำนวนมากกว่าการให้เหตุผลทางกฎหมาย

รู้สึกว่าเป็นบทความแบบลงคอลัมน์ นสพ.มากกว่า

5:50 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ตรรกะ คณะ ตลก

คณะ ตลก
พิจารณาแล้ว"เชื่อว่า" ......นกกระจอกเทศบินได้
"จริง" เพราะ เป็นนก



ฮ่าาาาาาาาาาาาา

9:04 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ฮ่า ฮ่า ฮ่า.. ขำ นกกระจอกเทศ

งั้นเอาอีกดอก

สาดดดตา เป็นตุลากวนได้ "จริง" เพราะ "เชื่อได้ว่า" จบกฎหมายมา

นี่เมื่อไหร่จะไปเยอรมันสักที รำคาญเต็มแก่แล้ว

11:32 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

...ขอหลักกฎหมายเพียวๆ สักครั้ง...

11:40 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โห โคตรเจ๋งง่า ความเห็นของนิติรัฐนี่ที่สุดในโลกแล้วจริง กล้าที่สุดเลยล่ะเนี่ย เหน็บเก่งจังเลย เหน็บได้ทุกเหน็บแบบสุภาพได้ทุกคนวิจารณ์แบบมีนัยว่าผมถูกที่สุดคนอื่นผิดหมดเก่งมากมาก (ขนาด King นิติรัฐยังไม่เว้นเลย)เยี่ยมจิงๆ พวกนิติรัฐก็ยอดจิงๆ น่าจะไปเป็นนายกเนอะพวกคุณเนี่ย

9:44 ก่อนเที่ยง  
Blogger Unknown กล่าวว่า...

qzz0614
michael kors uk
tory burch outlet
jordan 32
michael kors outlet
nike pegasus
coach outlet online
michael kors outlet
ray ban sunglasses
polo outlet
camel shoes

5:46 ก่อนเที่ยง  
Blogger Unknown กล่าวว่า...

www0719
coach outlet online
pandora charms
bottega veneta outlet
cheap jerseys
air max 90
michael kors outlet
brequet wathes
pandora jewelry
pandora charms
michael kors outlet

11:36 ก่อนเที่ยง  
Blogger Unknown กล่าวว่า...

www0815
yeezy boost 350 v2
polo ralph lauren outlet
polo ralph lauren outlet
fitflops
nike requin pas cher
coach outlet
christian louboutin shoes
uggs outlet
supreme new york
nike outlet

9:58 ก่อนเที่ยง  
Blogger yanmaneee กล่าวว่า...

yeezy boost 350 v2
yeezy boost 350
supreme hoodie
supreme t shirt
hermes online
yeezy 350
golden goose shoes
lebron 17 shoes
curry shoes
yeezy boost 350

1:31 หลังเที่ยง  

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก