Ultra Royalist และ THE KINGMAKERS
"ในประเทศสยาม มีกลุ่มคนประเภทเดียวกับที่เคยมีในประเทศฝรั่งเศส... เราเรียกคนเหล่านี้ว่า “ผู้เกินกว่าราชา” (Ultra Royalist) คือหมายถึงพวกที่ชอบทำตนนิยมราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดีเอง"
ปรีดี พนมยงค์
ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน
เกี่ยวกับ Ultra Royalist โปรดดู
http://en.wikipedia.org/wiki/Ultra-royalist
http://fr.wikipedia.org/wiki/Ultra-royaliste
มีบทความของธงชัย วินิจจะกูลมาฝาก
กรุงเทพธุรกิจ 18 ตุลาคม 2549
http://www.bangkokbiznews.com/2006/10/18/w017_146081.php?news_id=146081
“THE KINGMAKERS”
โดย ธงชัย วินิจจะกูล
เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่สองใกล้เสด็จสวรรคต กลุ่มเจ้านายและขุนนางในขณะนั้นเห็นว่าราชบัลลังก์สมควรเป็นของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์โตผู้มีอิทธิพลและบทบาทในราชสำนักเรียบร้อยแล้ว แต่ทว่าทรงประสูติจากพระสนม เจ้าฟ้ามงกุฎพระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระบรมราชินีศรีสุริเยนทรามาตย์ทว่าพระชันษาอ่อนกว่าถึง 16 พรรษา จึงเสด็จออกผนวชก่อนพระราชบิดาสวรรคตไม่กี่วัน และทรงอยู่ในสมณเพศต่อมา 27 ปี
เมื่อสิ้นรัชกาลที่สาม ราชบัลลังก์มิได้ตกเป็นของเจ้าฟ้ามงกุฎโดยอัตโนมัติ แต่ในที่สุดกลุ่มเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ในขณะนั้นเห็นสมควรถวายราชบัลลังก์แด่พระองค์ท่าน พระองค์ทรงครองราชย์ต่อมาอีก 18 ปี โดยทรงตระหนักตลอดเวลาถึงอำนาจและความสำคัญของกลุ่มเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ดังกล่าว
ดังนั้นก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่สี่จะเสด็จสวรรคต ไม่มีผู้ใดรู้ชัดเจนเลยว่า ราชบัลลังก์จะตกทอดสู่เจ้าฟ้าพระองค์ใด พระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเลือกด้วยพระองค์เองแต่อย่างใด กลุ่มขุนนางกุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินไว้เต็มที่ ในขณะที่เจ้าฟ้าทุกพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ในที่สุดกลุ่มขุนนางผู้มีอำนาจ ตัดสินใจถวายราชบัลลังก์แด่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ แต่ด้วยทรงพระเยาว์ กลุ่มขุนนางจึงสถาปนาตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน มีอำนาจทางการเมืองสูงสุดอย่างแท้จริงตลอด 15 ปีแรกของรัชสมัย
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้า ทรงตระหนักดีถึงสภาวะดังกล่าว ทรงแสดงความคับข้องพระราชหฤทัยไว้ในหลายโอกาส (ดังที่นักประวัติศาสตร์ทราบกันดี) พระองค์ต้องทรงต่อสู้ต่อรองและรอโอกาสต่อมาอีกนาน กว่าที่พระองค์จะทรงสามารถรวบรวมพระราชอำนาจได้เข้มแข็ง บางครั้งความขัดแย้งปะทุจนเกือบเป็นความพินาศดังเช่นวิกฤตการณ์วังหน้าในปี 2417
เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าเสด็จสวรรคต การสืบทอดพระราชบัลลังก์เป็นไปโดยราบรื่น เพราะพระองค์ได้ทรงกำหนดไว้เรียบร้อยก่อนหน้านั้นหลายปี แต่ทว่ากลุ่มเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ที่สืบทอดอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินต่อมา กลับไม่สามารถทำงานร่วมกับพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ได้อย่างราบรื่น ความขัดแย้งตึงเครียดนำไปสู่การโยกย้ายถอดถอนผู้ใหญ่เหล่านั้น หรือเจ้านายและขุนนางเหล่านั้นหลายท่านสมัครใจถอนตัวไปเอง ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่นดำเนินต่อมาตลอดรัชกาล
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เจ็ดขึ้นครองราชย์ด้วยแรงสนับสนุนของพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งกลับมามีบทบาทอีกครั้งหนึ่ง ยิ่งมิได้ทรงเตรียมพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การบริหารราชการแผ่นดินยิ่งต้องอาศัยพระราชวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่เหล่านั้น
เมื่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เผชิญหน้ากับกระแสประชาธิปไตยที่ก่อตัวในหมู่ปัญญาชนผู้มีการศึกษา ผู้มีบารมีและอิทธิพลในระบอบเดิมเหล่านี้มีบทบาทสำคัญไม่น้อยไปกว่าพระเจ้าอยู่หัวเองในการถ่วงรั้งไม่ยอมให้สามัญชนมีอำนาจมากไป ด้วยเห็นว่าสามัญชนยังด้อยการศึกษา ขาดความรู้ความเข้าใจ ยังไม่พร้อมปกครองตนเอง
อวสานของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในแง่หนึ่งคือ ผลของระบอบการเมืองของผู้มีบารมีเหล่านี้ ซึ่งแวดล้อมพระเจ้าอยู่หัวอยู่ในขณะนั้น หลัง 2475 ผู้นำของคณะราษฎรขัดแย้งกับกลุ่มเจ้าอย่างหนัก ใช้เวลาหลายปีกว่าจะสยบฝ่ายเจ้าสำเร็จ ผู้นำคณะราษฎรจึงอยู่ในฐานะผู้กำหนดชะตากรรมของราชบัลลังก์เสียเอง ซึ่งหมายถึงการจำกัดบทบาทอำนาจของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ให้ออกพ้นไปจากการเมืองโดยสิ้นเชิง
ทว่าช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดี พนมยงค์ จำต้องสามัคคีฝ่ายเจ้าในการต่อสู้กับฝ่ายจอมพล ป. พิบูลสงคราม พลังอำนาจฝ่ายเจ้าจึงกลับฟื้นคืนมาใหม่เมื่อสิ้นสงคราม ในที่สุดฝ่ายเจ้าจึงกลับตลบหลังปรีดี จนกลายเป็นกลุ่มที่มีอำนาจสูงร่วมกับทหารหลังรัฐประหาร 2490 ถึง 2494
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในขณะนั้น และองคมนตรีมีบทบาทและอำนาจสูงมากตามรัฐธรรมนูญ 2492 นอกจากจะทรงเป็นผู้ดูแลพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันในระหว่างทรงพระเยาว์แล้ว กลุ่มเจ้านายและขุนนางผู้จงรักภักดีกลุ่มนี้ เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกสถานภาพของพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันเป็นที่มาของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มั่นคงแข็งแรงทุกวันนี้
ในด้านหนึ่ง เราตระหนักดีถึงความสำคัญของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อสังคมไทย ในอีกด้านหนึ่งครั้นเราพิจารณาระบอบการเมือง เรามองเห็นแต่รัฐบาล ทหาร พลเรือน และนักการเมืองคอร์รัปชัน เรามักมองข้ามความจริงง่ายๆ ว่า ประวัติศาสตร์ตามที่เล่ามาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองและระบอบการเมืองตลอดมา สถาบันกษัตริย์ผู้ทรงอยู่เหนือการเมืองและบรรดาผู้ใหญ่ผู้มีบารมี มีความสำคัญทางการเมืองมากอย่างปฏิเสธไม่ได้
คนเหล่านี้บางครั้งก็มีอำนาจทางการเมืองเปิดเผยโดยตรง บางครั้งก็มีในรูปของบารมีอิทธิพลโดยไม่จำเป็นต้องลงมาเกลือกกลั้วกับการบริหารราชการโดยตรง คนเหล่านี้แต่ก่อนจัดว่าเป็นเจ้านายและขุนนาง ต่อมาจัดเป็นกลุ่มองค์กรทางการ เช่น อภิรัฐมนตรี องคมนตรี หรือสภาที่ปรึกษาต่างๆ นานา
คนเหล่านี้มีบทบาทอิทธิพลต่อการสืบราชบัลลังก์มาตลอดประวัติศาสตร์ ซึ่งทุกครั้งมีผลกระทบต่อระบบการเมืองที่ดำเนินอยู่ เพราะภารกิจสำคัญสุดยอดของผู้ใหญ่ผู้มีบารมีเหล่านี้ คือการจัดการให้ระบบการเมืองอยู่ในสภาวะตามที่พวกเขาประสงค์ ตามความเชื่อ (อุดมการณ์) ของพวกเขาว่าจะเป็นระบบที่เอื้ออำนวยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อไปชั่วกาลนาน และเอื้ออำนวยต่อผู้ใหญ่ผู้มีบารมีเหล่านี้เองในระยะเปลี่ยนผ่านราชบัลลังก์
ภายหลัง 2475 ระบบการเมืองที่คนกลุ่มนี้ประสงค์ไม่ใช่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกต่อไป แต่คือระบอบประชาธิปไตยตามแนววัฒนธรรมไทยที่รักษาบทบาทพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะ “อำนาจทางศีลธรรม” เหนือการเมืองสกปรกดีๆ ชั่วๆ ของคนธรรมดา
ยิ่งเข้าใกล้ระยะสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่ผู้มีบารมีเหล่านี้ยิ่งต้องทำทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจว่าความเปลี่ยนแปลงสำคัญอยู่ในวิสัยที่ตนสามารถกำหนดควบคุมได้ จะปล่อยให้ใครมีอำนาจมากแต่นอกลู่นอกทางที่ตนประสงค์ไม่ได้
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องในอดีตทั้งสิ้น
ปรีดี พนมยงค์
ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน
เกี่ยวกับ Ultra Royalist โปรดดู
http://en.wikipedia.org/wiki/Ultra-royalist
http://fr.wikipedia.org/wiki/Ultra-royaliste
มีบทความของธงชัย วินิจจะกูลมาฝาก
กรุงเทพธุรกิจ 18 ตุลาคม 2549
http://www.bangkokbiznews.com/2006/10/18/w017_146081.php?news_id=146081
“THE KINGMAKERS”
โดย ธงชัย วินิจจะกูล
เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่สองใกล้เสด็จสวรรคต กลุ่มเจ้านายและขุนนางในขณะนั้นเห็นว่าราชบัลลังก์สมควรเป็นของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์โตผู้มีอิทธิพลและบทบาทในราชสำนักเรียบร้อยแล้ว แต่ทว่าทรงประสูติจากพระสนม เจ้าฟ้ามงกุฎพระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระบรมราชินีศรีสุริเยนทรามาตย์ทว่าพระชันษาอ่อนกว่าถึง 16 พรรษา จึงเสด็จออกผนวชก่อนพระราชบิดาสวรรคตไม่กี่วัน และทรงอยู่ในสมณเพศต่อมา 27 ปี
เมื่อสิ้นรัชกาลที่สาม ราชบัลลังก์มิได้ตกเป็นของเจ้าฟ้ามงกุฎโดยอัตโนมัติ แต่ในที่สุดกลุ่มเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ในขณะนั้นเห็นสมควรถวายราชบัลลังก์แด่พระองค์ท่าน พระองค์ทรงครองราชย์ต่อมาอีก 18 ปี โดยทรงตระหนักตลอดเวลาถึงอำนาจและความสำคัญของกลุ่มเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ดังกล่าว
ดังนั้นก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่สี่จะเสด็จสวรรคต ไม่มีผู้ใดรู้ชัดเจนเลยว่า ราชบัลลังก์จะตกทอดสู่เจ้าฟ้าพระองค์ใด พระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเลือกด้วยพระองค์เองแต่อย่างใด กลุ่มขุนนางกุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินไว้เต็มที่ ในขณะที่เจ้าฟ้าทุกพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ในที่สุดกลุ่มขุนนางผู้มีอำนาจ ตัดสินใจถวายราชบัลลังก์แด่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ แต่ด้วยทรงพระเยาว์ กลุ่มขุนนางจึงสถาปนาตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน มีอำนาจทางการเมืองสูงสุดอย่างแท้จริงตลอด 15 ปีแรกของรัชสมัย
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้า ทรงตระหนักดีถึงสภาวะดังกล่าว ทรงแสดงความคับข้องพระราชหฤทัยไว้ในหลายโอกาส (ดังที่นักประวัติศาสตร์ทราบกันดี) พระองค์ต้องทรงต่อสู้ต่อรองและรอโอกาสต่อมาอีกนาน กว่าที่พระองค์จะทรงสามารถรวบรวมพระราชอำนาจได้เข้มแข็ง บางครั้งความขัดแย้งปะทุจนเกือบเป็นความพินาศดังเช่นวิกฤตการณ์วังหน้าในปี 2417
เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าเสด็จสวรรคต การสืบทอดพระราชบัลลังก์เป็นไปโดยราบรื่น เพราะพระองค์ได้ทรงกำหนดไว้เรียบร้อยก่อนหน้านั้นหลายปี แต่ทว่ากลุ่มเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ที่สืบทอดอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินต่อมา กลับไม่สามารถทำงานร่วมกับพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ได้อย่างราบรื่น ความขัดแย้งตึงเครียดนำไปสู่การโยกย้ายถอดถอนผู้ใหญ่เหล่านั้น หรือเจ้านายและขุนนางเหล่านั้นหลายท่านสมัครใจถอนตัวไปเอง ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่นดำเนินต่อมาตลอดรัชกาล
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เจ็ดขึ้นครองราชย์ด้วยแรงสนับสนุนของพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งกลับมามีบทบาทอีกครั้งหนึ่ง ยิ่งมิได้ทรงเตรียมพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การบริหารราชการแผ่นดินยิ่งต้องอาศัยพระราชวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่เหล่านั้น
เมื่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เผชิญหน้ากับกระแสประชาธิปไตยที่ก่อตัวในหมู่ปัญญาชนผู้มีการศึกษา ผู้มีบารมีและอิทธิพลในระบอบเดิมเหล่านี้มีบทบาทสำคัญไม่น้อยไปกว่าพระเจ้าอยู่หัวเองในการถ่วงรั้งไม่ยอมให้สามัญชนมีอำนาจมากไป ด้วยเห็นว่าสามัญชนยังด้อยการศึกษา ขาดความรู้ความเข้าใจ ยังไม่พร้อมปกครองตนเอง
อวสานของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในแง่หนึ่งคือ ผลของระบอบการเมืองของผู้มีบารมีเหล่านี้ ซึ่งแวดล้อมพระเจ้าอยู่หัวอยู่ในขณะนั้น หลัง 2475 ผู้นำของคณะราษฎรขัดแย้งกับกลุ่มเจ้าอย่างหนัก ใช้เวลาหลายปีกว่าจะสยบฝ่ายเจ้าสำเร็จ ผู้นำคณะราษฎรจึงอยู่ในฐานะผู้กำหนดชะตากรรมของราชบัลลังก์เสียเอง ซึ่งหมายถึงการจำกัดบทบาทอำนาจของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ให้ออกพ้นไปจากการเมืองโดยสิ้นเชิง
ทว่าช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดี พนมยงค์ จำต้องสามัคคีฝ่ายเจ้าในการต่อสู้กับฝ่ายจอมพล ป. พิบูลสงคราม พลังอำนาจฝ่ายเจ้าจึงกลับฟื้นคืนมาใหม่เมื่อสิ้นสงคราม ในที่สุดฝ่ายเจ้าจึงกลับตลบหลังปรีดี จนกลายเป็นกลุ่มที่มีอำนาจสูงร่วมกับทหารหลังรัฐประหาร 2490 ถึง 2494
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในขณะนั้น และองคมนตรีมีบทบาทและอำนาจสูงมากตามรัฐธรรมนูญ 2492 นอกจากจะทรงเป็นผู้ดูแลพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันในระหว่างทรงพระเยาว์แล้ว กลุ่มเจ้านายและขุนนางผู้จงรักภักดีกลุ่มนี้ เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกสถานภาพของพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันเป็นที่มาของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มั่นคงแข็งแรงทุกวันนี้
ในด้านหนึ่ง เราตระหนักดีถึงความสำคัญของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อสังคมไทย ในอีกด้านหนึ่งครั้นเราพิจารณาระบอบการเมือง เรามองเห็นแต่รัฐบาล ทหาร พลเรือน และนักการเมืองคอร์รัปชัน เรามักมองข้ามความจริงง่ายๆ ว่า ประวัติศาสตร์ตามที่เล่ามาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองและระบอบการเมืองตลอดมา สถาบันกษัตริย์ผู้ทรงอยู่เหนือการเมืองและบรรดาผู้ใหญ่ผู้มีบารมี มีความสำคัญทางการเมืองมากอย่างปฏิเสธไม่ได้
คนเหล่านี้บางครั้งก็มีอำนาจทางการเมืองเปิดเผยโดยตรง บางครั้งก็มีในรูปของบารมีอิทธิพลโดยไม่จำเป็นต้องลงมาเกลือกกลั้วกับการบริหารราชการโดยตรง คนเหล่านี้แต่ก่อนจัดว่าเป็นเจ้านายและขุนนาง ต่อมาจัดเป็นกลุ่มองค์กรทางการ เช่น อภิรัฐมนตรี องคมนตรี หรือสภาที่ปรึกษาต่างๆ นานา
คนเหล่านี้มีบทบาทอิทธิพลต่อการสืบราชบัลลังก์มาตลอดประวัติศาสตร์ ซึ่งทุกครั้งมีผลกระทบต่อระบบการเมืองที่ดำเนินอยู่ เพราะภารกิจสำคัญสุดยอดของผู้ใหญ่ผู้มีบารมีเหล่านี้ คือการจัดการให้ระบบการเมืองอยู่ในสภาวะตามที่พวกเขาประสงค์ ตามความเชื่อ (อุดมการณ์) ของพวกเขาว่าจะเป็นระบบที่เอื้ออำนวยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อไปชั่วกาลนาน และเอื้ออำนวยต่อผู้ใหญ่ผู้มีบารมีเหล่านี้เองในระยะเปลี่ยนผ่านราชบัลลังก์
ภายหลัง 2475 ระบบการเมืองที่คนกลุ่มนี้ประสงค์ไม่ใช่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกต่อไป แต่คือระบอบประชาธิปไตยตามแนววัฒนธรรมไทยที่รักษาบทบาทพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะ “อำนาจทางศีลธรรม” เหนือการเมืองสกปรกดีๆ ชั่วๆ ของคนธรรมดา
ยิ่งเข้าใกล้ระยะสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่ผู้มีบารมีเหล่านี้ยิ่งต้องทำทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจว่าความเปลี่ยนแปลงสำคัญอยู่ในวิสัยที่ตนสามารถกำหนดควบคุมได้ จะปล่อยให้ใครมีอำนาจมากแต่นอกลู่นอกทางที่ตนประสงค์ไม่ได้
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องในอดีตทั้งสิ้น
9 ความคิดเห็น:
เมื่อไหร่จะให้พวกเราปกครองตนเองเสียที? เมื่อไหร่ระบบประสิทธิภาพ ระบบเหตุผลจะมาแทนที่ระบบอวุโส ระบบอำนาจ(ระบบความจงรักภักดี) เบื่อสุดๆแล้ว.......
ราชวงศ์บูร์บองของฝรั่งเศสล่มสลายเพราะพวกอัลตระรอยัลลิสต์นี่แหละ...
สุพจน์ ด่านตระกูลว่างั้น
..นิติรัฐว่าไง?
ทุกๆอย่าง ผมว่า
ถ้าเรารักและเคารพ แบบพอดีๆๆๆ
มันก็น่าจะดีกว่า ที่คลั่งไคล้ ใหลหลง จนไม่ลืมหู ลืมตาใดๆ ต่อความคิดที่ไม่เห็นตรงบ้าง
แม้ว่า ทองแท้ ย่อมจะทนทานต่อการพิสูจน์
แต่ ในอดีต ไทยเราเองก็มีทองแท้อยุ่หลายแท่ง
ที่ได้ผ่านการพิสูจน์ตั้งแต่ ยังไม่สิ้นอายุ
หรือ
ได้ถูกพิสูจน์ไป ว่าเป็นทองแท้ ภายหลังจากที่ ทองแท่งนั้น ได้สูญหายหรือไทยเราได้สูญเสียมันไปแล้ว
กรณีแบบนี้ นับว่า น่าเสียดายมาก
ไม่ว่าจะเป็น ดร.ปรีดี หรือ ดร.ป๋วย
ระบบไหน มันจะเหมาะกับแบบใด
ย่อมต้องให้คนส่วนใหญ่ที่อยู่ในระบบนั้นเป็นผู้กำหนด
ไม่ใช่ คนบางกลุ่มในระบบนั้นเป็นคนกำหนดฉันใด
ทองแท่งไหน เป็นของแท้ หรือ ของปลอม
คนในระบบนั่นแหละ จะเป็นคนที่พิสูจน์เองครับ...
I don't against any history. I'm sure that is true.
But I want to know your idea on the other side too.
Why don't you write something about the corruption of election. And how people loss their power a second after vote.
จะชำระตำราประวัติศาสรต์ไม่ได้หรอก มันส่งผลกระทบถึงระบบที่ยังในปัจจุบัน ถ้าเค้ายังอยู่ยังไงก็ไม่ยอม เดี๋ยวมีคนจับได้ไล่ทันจะแย่ ให้ประชาชนเรียนรู้ตำราฉบับล้าหลังคลั่งชาติน่ะดีแล้ว สอนเรามีศัตรูอยู่นอกประเทศ ต้องสามัคคีกันไว้ ให้ผู้ใหญ่นำทาง ส่วนตำราที่ชำระแล้ว จะบอกว่าศัตรูของประชาชนที่แท้จริงน่ะ อยู่ในประเทศนี้เอง
เทียบเคียงกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 ผ่านมา 30 ปีแล้ว คนที่เกี่ยวข้องล้วนเสียชีวิตหมดแล้ว(ถนอม-ประภาส) เหตุใดยังไม่มีใครชำระประวัติศาสตร์ส่วนนี้ซะที เกรงว่าก็เพราะคนได้ประโยชน์อีกคนหนึ่งจากเหตุการณ์นั้นยังอยู่น่ะสิ และก็อยู่ถึงปัจจุบันด้วย..........ให้มันดำมืดต่อไปเถอะ.......
ติดตามอ่านอยู่เรื่อยๆ นะครับ
ผมคิดเหมือนเค้า แปลกที่ไม่เคยอ่านงานเค้ามาก่อนแต่คิดเหมือนกัน สำหรับความจริง บางครั้งไม่ต้องหาพยานหลักฐานหรือคำสารภาพ ใช้แค่ปัญญาก็สามารถเข้าถึงได้
http://somsakcoup.blogspot.com/
จำได้ว่ามี อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ ผู้หนึ่ง (จำชื่อไม่ได้) เคยกล่าวว่า ประวัติศาตร์ไทย ในแบบที่เรามักได้รับรู้ มักได้ยิน คือสิ่งที่ "เขียนให้จำ ถูกทำให้ลืม"
ก็อย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่ว่า ประวัติศาสตร์เหล่านั้น คือสิ่งที่ถูกรังสรรค์เพื่อผลประโยชน์ด้านการเมือง เพื่อเสริมสร้างความชอบธรรม ในการปกครองของกลุ่มที่มีอำนาจ ในเวลานั้นๆ
ว่าแต่...ผมชอบย่อหน้านี้จริงๆ หึๆ
"ยิ่งเข้าใกล้ระยะสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่ผู้มีบารมีเหล่านี้ยิ่งต้องทำทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจว่าความเปลี่ยนแปลงสำคัญอยู่ในวิสัยที่ตนสามารถกำหนดควบคุมได้ จะปล่อยให้ใครมีอำนาจมากแต่นอกลู่นอกทางที่ตนประสงค์ไม่ได้"
www0927
pandora
coach outlet
christian louboutin
coach outlet
nike shoes
hermes belt
nike shoes
fitflops clearance
air max 90
true religion jeans
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก