ความเห็นของธเนศต่อรัฐประหาร ๑๙ ก.ย.
ธเนศ วงศ์ยานนาวา เข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อ "รัฐประหารกับความชอบธรรมทางการเมือง" ที่คณะรัฐศาสตร์ มธ. เมื่อวันที่ ๑๓ ต.ค.
ผมไปเจอใน http://invisiblenews.exteen.com/
เจ้าของบล็อกรวบรวมคำอภิปรายของธเนศไว้ละเอียดดี
อ่านแล้วชอบ จึงอยากแบ่งปันกัน
...............
เสียงสะท้อนถึงปัญญาชนสาธารณะบางคนกับการรัฐประหาร
เวลาเราพูดถึงปัญญาชนสาธารณะจำนวนหนึ่งว่าจะมาเป็นหมอนรองรับให้คปค. มันทำให้ผมคิดถึงรัฐบาลคุณธานินทร์ กรัยวิเชียรขึ้นมาทันทีว่า รัฐบาลธานินทร์มันเป็นหอย แล้วคณะปฏิรูปคือเปลือกหอย เพราะฉะนั้นผมก็เลยเกิดคำถามว่าปัญญาชนสาธารณะที่เข้าไปทำงานให้กับคปค. เช่น อาจารย์บรรเจิดและอาจารย์สุรพล แกจะกลายเป็นหอยหรือเปลือกหอย? ผมคิดว่าคนพวกนี้น่าจะกลายเป็นเปลือกหอยมากกว่า เพียงแต่ผมไม่รู้ว่าเปลือกของแกนั้นจะหนาแค่ไหน เพราะว่ามันคงต้องทนแรงกระแทกอีกเยอะ
อนาคตและความทรงจำอันแสนสั้นของสังคมไทย
ผมมองว่าสถานการณ์ต่อไปนี้จะเกิดการเผชิญหน้าที่ทำให้หอยถูกบดขยี้และศูนย์กลางแห่งอำนาจของสังคมไทยจะต้องประสบปัญหามากขึ้น เพราะสังคมไทยไม่ได้เป็นสังคมอีแอบอีกแล้ว ในขณะนี้ชนชั้นนำทางการเมืองทุกคนเอาไพ่ออกมาวางบนโต๊ะเดิมพันกันหมด ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนพวกนี้จะต้องเสริมสร้างพลัง ซึ่งผมคิดว่าเราต้องพิจารณาถึงพลังของศูนย์กลางแห่งอำนาจของสังคมไทยในอนาคตให้มาก ด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญฉบับต่อไปมันจะต้องเน้นไปที่พลังของศูนย์กลางแห่งอำนาจในอนาคต
เราจะต้องคิดกันต่อไปว่าพลังของศูนย์กลางแห่งอำนาจในอนาคตดังกล่าวจะอยู่อย่างไรต่อไปภายในโครงสร้างของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะฉะนั้น คุณจึงไม่สามารถมองการรัฐประหารครั้งนี้อย่างแยกขาดออกจากประเด็นเรื่องพลังของศูนย์กลางแห่งอำนาจของสังคมไทยในอนาคต ซึ่งคุณก็ควรจะต้องย้อนกลับไปดูกรณี 6 ตุลา แต่ผมเห็นด้วยว่าความทรงจำของประเทศไทยมันค่อนข้างที่จะสั้น ทว่าความจริงแล้วไม่ได้เป็นเฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่มีความทรงจำสั้น แต่มันเป็นตรรกะของรัฐประชาชาติที่คุณจะต้องเลือกลืมและเลือกจำ ด้วยเหตุนี้ทุกชาติจะต้องมีความทรงจำที่สั้น โดยเฉพาะความทรงจำในเรื่องที่ไม่สะอาด มิฉะนั้นแล้ว ก็คงจะไม่มีคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ เพราะเวลาคุณเข้าห้องน้ำคุณก็ต้องใช้กระดาษชำระ อะไรที่สกปรกมันก็ต้องถูกชำระออกไป
Coup d'Etat, รัฐที่ไม่สามารถประหารได้, กระบวนการที่ต้องดำเนินต่อไปของประชาธิปไตย และการ “ปฏิวัติ”
ถ้าคุณดูการรัฐประหารปี 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ คุณจำได้มั้ยว่าวีรบุรุษสะพานมัฆวานคือใคร? วีรบุรุษสะพานมัฆวานก็คือคุณอาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งเป็นคนเปิดสะพานให้นักศึกษาเดินข้ามไปเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะและป้องกันการเสียเลือดเนื้อ ข้อโต้แย้งแบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นในเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน ตอนจอมพลถนอมทำรัฐประหารปี 2514 เสียเลือดมั้ยครับ? ไม่เสียเลยสักบาทเดียว ตอนรัฐประหารรัฐบาลคุณธานินทร์ก็ไม่ได้เสียเลือดเสียเนื้อ และตอนรสช.ก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นเวลาเราบอกว่ารัฐประหารครั้งนี้เป็น bloodless coup ผมอยากบอกว่ารัฐประหารครั้งไหน ๆ มันก็ไม่เสียเลือดเนื้อทั้งนั้น
ผมเห็นว่ารัฐประหารครั้งนี้มันมีความชัดเจนที่สุดในการเป็น Coup d'Etat ถ้าเราย้อนกลับไปดูรากศัพท์ของคำว่า Coup d'Etat คำ ๆ นี้เกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อใช้อธิบายวันที่ถูกเรียกว่า the day of the dupes ในคริสต์ทศวรรษ 1620 ที่ Richelieu จัดการศัตรูทางการเมืองให้กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 กษัตริย์ฝรั่งเศส (ดูประวัติอย่างย่นย่อของ Richelieu ได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Richelieu) เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า Coup d'Etat ครั้งนี้เป็นครั้งที่ไม่ได้คลาสสิก แต่เป็นครั้งที่ผมถือว่าเป็น prototype (รูปแบบดั้งเดิม) เลยทีเดียว
Coup d'Etat หมายถึงการประหารรัฐ แต่เราประหารรัฐได้มั้ย? เราประหารรัฐไม่ได้ เพราะรัฐคือสิ่งที่ไม่มีตัวตน นับตั้งแต่ Hobbes เป็นต้นมา มันไม่มีสิ่งที่เรียกว่า personal state อีกต่อไป รัฐเป็นสิ่งที่ impersonal เพราะฉะนั้นรัฐไม่มีวันตาย เมื่อรัฐไม่มีวันตาย รัฐจึงอยู่เหนือสิ่งอื่นใด สำหรับผม รัฐคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ เพราะคุณฉีกรัฐไม่ได้ เมื่อคุณฉีกรัฐไม่ได้ รัฐจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องหันหลังพิงหรือไม่ก็ต้องก้มลงกราบ ดังนั้นรัฐจึงสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด และสิ่งหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐก็คือความมั่นคง ด้วยเหตุนี้ตรรกะในการอธิบายสถานการณ์ทางการเมืองตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาภายใต้สิ่งที่เรียกว่าการสมานฉันท์ กอดกัน จูบกัน หรือสามัคคี จึงเป็นตรรกะของรัฐประชาชาติที่ต้องการความมั่นคง แต่ไม่ได้เป็นตรรกะของระบอบเสรีประชาธิปไตย เพราะระบอบเสรีประชาธิปไตยนั้นต้องมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอยู่แล้ว
สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นจึงแสดงให้เห็นว่ากระบวนการประชาธิปไตยของไทยดำเนินไปอย่างเข้มข้นแล้ว ด้วยการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับรัฐบาลทักษิณ เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนกรณี 6 ตุลา เพราะไม่ว่ารัฐบาลทักษิณจะปกป้องหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยคือกระบวนการที่จะต้องดำเนินการต่อไปเพื่อบรรลุถึงความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีที่ไหนในโลกนี้ในสายตาของผมที่เป็นเสรีประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากเสรีประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับโลกสมัยใหม่ที่เป็น unfinished project ตามแนวคิดของ Habermas คือเป็นกระบวนการที่จะต้องดำเนินต่อไป ไม่ใช่เป็น substantive democracy ที่คุณสามารถจะหยิบฉวยเนื้อหาหรือแก่นสารของมันออกมาได้
ผมคิดว่าการรัฐประหารครั้งนี้เป็นการสร้างจารีตแบบไทย ๆ เพราะถ้าถามว่ารัฐประหารมีความชอบธรรมมั้ย? ผมขอตอบว่าชอบ “ทำ” ครับ เพราะเราทำมาหลายครั้งแล้ว จึงเป็นสิ่งที่เราชอบทำ หรือถ้าเราคิดในกรอบของภาษาไทยรัฐประหารจะมีความชอบธรรมมั้ย? หากธรรมะหมายถึงธรรมชาติภายใต้เงื่อนไขของสังคมนี้ รัฐประหารมันก็ชอบธรรมเช่นเดียวกับการมีแรงงานเด็ก เช่นเดียวกับการที่ผัวมีเมียน้อย เช่นเดียวกับการทำร้ายเด็กจำนวนมากที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่เรารู้สึกอับอายขายหน้า ผมคิดว่านั่นมันก็ชอบธรรมหากพิจารณาว่าธรรมะหมายถึงธรรมชาติภายใต้เงื่อนไขของสังคมไทย ดังนั้นคนอย่างครูหยุยต่างหากที่ไม่ชอบธรรม เพราะแรงงานเด็กมันเป็นจารีตประเพณีอันดีงามของไทย สูงสองศอกหนึ่งคืบเขาก็เอาไปสักเลขแล้ว คุณจะเอาเด็กไว้หาพระแสงอะไรถ้าไม่ใช้มัน นี่คือจารีตประเพณีไทยอันดีงามที่เราจะต้องต่อต้านยูเอ็นแล้วเราก็ควรใช้แรงงานเด็กต่อไป
นอกจากนี้ควรไปบอกคุณระเบียบรัตน์ว่า การที่ผัวมีเมียน้อยก็เป็นจารีตอันดีของคนชนชั้นสูงไทย เพราะเมียของไทยนั้นไม่ใช่มีเมียน้อย นี่เป็นวิธีคิดแบบฝรั่ง แต่เมียของเรานั้นมีหลายเมีย ตั้งแต่เมียทาสเมียเชลย ไปจนถึง เมียพระราชทาน เราจึงต้องรักษาจารีตอันนี้ไว้ต่อไป การมีผัวเดียวเมียเดียวเป็นวิธีคิดแบบคริสเตียนนิตี้ แต่ผมอยากรู้ว่าปัจจุบันเราต้องการมีเมียแบบไทย ๆ มั้ย? ตอนนี้เราก็จะเริ่มไม่พอใจแล้ว เพราะเห็นว่ามันไม่เป็นอารยะ
กลับมาที่คำว่า “ปฏิวัติ” ซึ่งเป็นคำที่สร้างโดยบรรพบุรุษของพวกคุณ คือพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าที่เอียงข้างประชาชน ผมอุตส่าห์เรียกซะอย่างดีเลยนะครับ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากรเรียกการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ว่า “ปฏิวัติ” มันคืออะไร? แล้วทำไมคนที่นั่งอยู่ริมน้ำ สายตาทอดมองไปสู่คลองบางกอกน้อยด้วยความเศร้าใจ จึงสร้างคำเรียกการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ว่า “อภิวัฒน์” ในปี 2500 เพราะตามความคิดของพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 มันคือ ปฏิ+วัฏฏะ หมายถึงการหมุนกลับไปสู่เอนกชนนิกรสโมสรสมมติ ที่นำไปสู่การอธิบายว่า เรามีประชาธิปไตยแบบไทย ๆ มาเป็นเวลานานแล้วก่อนปี 2475 ดูนะครับ นี่คือปัญญาชนสายราษฎรเมื่อเจอปัญญาชนสายเจ้าเป็นยังไงครับ? เดี้ยง ต้องใช้เวลาอีก 25 ปีกว่าจะคิดออก แล้วเรียกการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ว่า “อภิวัฒน์” แต่เสียใจนะครับคำ ๆ นี้ไม่ติดตลาด เพราะคนพากันเรียกว่าการ “ปฏิวัติ” 2475
ดังนั้น ถ้าถามว่าเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน มันเป็นการ “ปฏิวัติ” มั้ย? มันก็คือการปฏิวัติที่กลับไปสู่รากเหง้าของไทย เพราะมันคือปฏิ+วัฏฏะ วัฏฏะคือการหมุน แต่เมื่อมีปฏิอยู่ข้างหน้าคุณก็ต้องหมุนกลับ แต่จะหมุนกลับไปไหน ก็คิดดูกันเอาเอง ผมคงตอบไม่ได้ เพราะถ้าผมตอบได้ ผมคงไม่มาเป็นอาจารย์ แต่คงไปนั่งดูหมอที่ท่าพระจันทร์แล้ว
ภาพอดีตที่คอยหลอกหลอนและความวิตกกังวลต่ออนาคตของชนชั้นนำในประเทศนี้
วิกฤตการณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาและเป็นบทเรียนที่หลอกหลอนคนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มทุนเก่า ก็คือวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถดึงมันออกไปจากการรัฐประหารครั้งนี้ได้ คุณลองกลับไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับกลุ่มทุนทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุนโบราณในปี 2540 เมื่อเคยไปถึงจุด ๆ นั้นแล้ว มันก็เป็นผลสะท้อนที่ทำให้ psyche (จิตใจ) ของคนชนชั้นนำที่ยึดกุมทุนเก่าหวาดวิตก และเมื่อคนเหล่านั้นมองไปที่คุณทักษิณ ก็เห็นว่าคุณทักษิณอาจนำพาพวกเขาไปสู่โลกของ financial shock (วิกฤตเศรษฐกิจ) ครั้งต่อไปได้ เพราะฉะนั้นคุณจะเห็นได้ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของรัฐบาลคุณทักษิณว่า ไม่มีประเด็นอะไรที่สำคัญไปกว่าเรื่องค่าเงินบาทและการจัดงบประมาณ วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 คือสิ่งที่มันคอยหลอกหลอน จนทำให้ในวันนี้หลายคนออกมาพูดจาสนับสนุนได้อย่างเต็มปากเต็มคำกับกรณีรัฐประหารที่เกิดขึ้น
แต่ในขณะเดียวกันถามว่าประเทศไทยหลังเหตุการณ์ 19 กันยายนมันจะไปข้างหน้ามั้ย? หนังสือพิมพ์บางฉบับบอกว่า นี่คือการถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อกระโดด 2 ก้าว ผมไม่ทราบว่าจะถอยหลัง 1 ก้าว หรือกระโดดไปข้างหน้า 2 ก้าว แต่ถ้าคุณเป็นชาวพุทธ หลังปี 2500 หรือกึ่งพุทธกาลเป็นต้นมา มันต้องมีแต่ความเสื่อม เมื่อมันเสื่อม ใครเสื่อมผมไม่ทราบ แต่ผมคิดว่าความเสื่อมคือสิ่งที่คนชนชั้นนำของประเทศนี้ต้องวิตกกังวล และรัฐธรรมนูญฉบับหน้าก็จะเหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 2540 รัฐธรรมนูญฉบับหน้าจะเป็นฉบับที่ไม่ compromise (ไม่ประนีประนอม) กับโครงสร้างทางอำนาจของกลุ่มอำนาจหลายกลุ่ม เช่นเดียวกันกับรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ตามความเห็นของผม ถูกเขียนขึ้นเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับพลังของศูนย์กลางแห่งอำนาจของสังคมไทย เพราะฉะนั้น ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เคยเรียกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่ผมเรียกว่าฉบับนักวิชาการ แม้ผมจะไม่ปฏิเสธว่ามันมีข้อดีอะไรหลาย ๆ อย่าง
อนาคตของสังคมไทย (อีกครั้ง): ชนบท, กฎอัยการศึก และตรรกะของรัฐประชาชาติ
อย่างไรก็ตาม ในสายตาของผม โครงสร้างของชนบทในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล แต่ในเวลานี้ คนอีสานที่เดินทางกับรถล่อง คือ รถที่เอาคนอีสานไปส่งตามจุดต่าง ๆ ถึงที่ กลับต้องไปรายงานตัวให้ปลัดอำเภอรับทราบเมื่อเดินทางไปถึงที่หมาย แล้วปลัดอำเภอก็ต้องส่งเรื่องให้กับอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด และแม่ทัพภาคตามลำดับ เนื่องมาจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก เท่าที่ผมรู้ รัฐประหารครั้งที่ผ่าน ๆ มา รวมทั้งสมัยรสช. ไม่เคยมีสภาวะแบบนี้เกิดขึ้นในชนบท และชาวบ้านก็เริ่มถามกันแล้วว่า เมื่อไหร่จะเลิกทำแบบนี้? บางคนบอกว่าหนึ่งปี คุณสุรยุทธ์ก็บอกเมื่อวานนี้ว่า การประกาศใช้กฎอัยการศึกเป็นเวลาหนึ่งปีนั้นมันไม่นานหรอก แต่ desire (แรงปรารถนา) ของแกที่จะมาเป็นนายกฯ มันกลับยังไม่ถึงหนึ่งปีเลย
ผมคิดว่าสังคมไทยในระยะเวลาต่อไปจะแตกต่างไปจากโครงสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบทักษิณที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งผมถือว่านั่นคือกระบวนการของประชาธิปไตยที่ทำให้ผู้คนแตกออกเป็นฝักเป็นฝ่าย และผมคิดว่านั่นคือความชัดเจนซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับกระบวนการประชาธิปไตย ที่ผู้คนนั้นจะเลือกข้างและยืนกันอยู่คนละฝั่ง โดยที่คนต่าง ๆ เหล่านี้พร้อมที่จะพูดคุยและพร้อมที่จะตกลงกัน แต่แน่นอนในขณะเดียวกันคุณก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความรุนแรงหรือการปะทะกันมันก็ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น ผมขอย้ำว่าวิธีคิดของเราหรือสังคมไทย มันคือวิธีคิดของรัฐประชาชาติมากกว่าที่จะเป็นของระบอบประชาธิปไตย และผมคิดว่านักวิชาการจำนวนมากก็ยืนอยู่ในกรอบความคิดของรัฐประชาชาติอันนี้
ถึงเพื่อนนักวิชาการ
ผมไม่เห็นด้วยกับคณะปฏิรูปฯ แต่ผมคิดว่ามันชอบ “ทำ” เพราะนี่มันคือวัฒนธรรมไทย ที่เราบอกว่าเรากำลังอยู่ในวงจรอุบาทว์นั้น ผมไม่คิดว่าหลายคนเขาจะคิดว่ามันเป็นวงจรอุบาทว์ แต่ตามความคิดของเขามันเป็นวงจรแห่งการสรรเสริญ เป็นวงจรแห่งวันมหาปิติมากกว่า ถ้าคุณลองไปสำรวจอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนสังคมศาสตร์จำนวนมาก แล้วเช็คดูว่าคนที่สนับสนุนการรัฐประหารนั้นอายุเท่าไหร่ ผมเดาว่าส่วนใหญ่แล้วมันคือคนหัวหงอกรุ่นผม แต่เผอิญผมเสือกไว้ผมยาวไม่ได้ตัดผมสั้น ผมก็เลยไม่สนับสนุนและไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร เพราะฉะนั้นปัจจัยเรื่องอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญและน่าสนใจมาก
เมื่อสักครู่มีคนมาถามผมว่าคิดอย่างไรกับคนที่ไปเข้าร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลา แล้วปัจจุบันหันมาอยู่ร่วมกับฝ่ายมีอำนาจ ผมว่าคุณก็ต้องเห็นใจเขานะ ว่าเมื่อคนเราแก่แล้ว นักวิชาการหลายคนก็มีลูกมีเมียที่จะต้องเลี้ยง ถ้าคุณไปบอกว่า ไอ้ห่า! กูไม่เห็นด้วยกับคณะปฏิกูล ทุกคนก็จะบอกว่า ก็มึงไม่มีลูกไม่มีเมีย มึงก็พูดได้สิ ไอ้เหี้ย! ถูกจับไปมึงก็ไม่ต้อง worry (วิตกกังวล) แต่กูมีลูกมีเมียนี่ อันนี้ผมไม่ได้พูดเล่นนะครับ เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อคุณอายุเพิ่มมากขึ้น ชีวิตคุณแก่ขึ้น คุณเห็นอะไรมามากขึ้น network (เครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม) ของคุณมากขึ้น คุณก็ไม่พร้อมหรอกครับที่จะเสียสิ่งพวกนี้ไป เพราะทุกวันนี้ แม้กระทั่งเพื่อน ๆ ของผมเอง ผมก็ยังไม่อยากเจอ เพราะว่าถ้าเจอแล้วเดี๋ยวมาพูดกันเรื่องนี้ แม่งก็ทะเลาะกันเปล่า ๆ สังคมไทยมันเป็นสังคมซึ่งต้องลูบหน้าปะจมูก
แล้วผมก็ขอพูดให้คุณฟังว่า นักวิชาการต่างประเทศชื่อดังหลาย ๆ คน หลาย ๆ คู่ ในที่สุดก็ต้องทะเลาะกันเพราะเรื่องการเมือง ดังนั้นผมก็ต้องนั่งสงบสติอารมณ์และเตือนสติของตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า ระหว่างเพื่อนกับการเมืองผมเอาอันไหน? ผมบอกชัดเจนกูเอาเพื่อน ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญมากเมื่อเรามองถึงโครงสร้างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเวลานักวิชาการทะเลาะกัน ไม่ว่านักวิชาการจะมองเห็นหรือไม่เห็นโครงสร้างดังกล่าวก็ตาม ก็คือ ถ้าใครดูหนังของ Woody Allen ชื่อ Stardust Memories แล้วผมก็เคยเอามาเขียนลงในรัฐศาสตร์สารเล่มปัญญาชน เขาจะบอกว่า “intellectuals they are like a mafia they only kill each other” “ปัญญาชนเนี่ยมันเหมือนมาเฟีย มันไม่ฆ่าคนอื่นหรอก มันฆ่าพวกเดียวกันเอง” เพราะฉะนั้น การที่นักวิชาการขัดแย้งกันมันก็เป็นเรื่องธรรมดา คุณจะให้ผมไปด่าคุณสนธิเหรอ มันก็พูดกันไม่รู้เรื่อง ผมก็ต้องด่าพวกเดียวกันเองก่อน เพราะผมก็เป็นมาเฟียที่ kill each other เหมือนกัน แต่ก็ kill มากไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะเสียเพื่อน มันก็ต้องด่าแบบพอหอมปากหอมคอ คือ ด่าแต่พอเพียง
การยึดทรัพย์, “แพะ” เกิดซวย และ “ระบอบทักษิณ”
ผมอยากจะพูดเรื่องประเด็นการยึดทรัพย์ ผมคิดว่าสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของการยึดทรัพย์ก็คือ ผมกำลังสงสัยว่ามันจะเหมือนกับกรณีเพชรซาอุฯ มั้ย? มันเกิดอะไรขึ้นกับเพชรซาอุฯ ผมกำลังสงสัยว่าด้วยโครงสร้างทางอำนาจที่มันเกี่ยวโยงกันหมดขนาดนี้ ในที่สุดแล้วมันก็ต้องมีคนที่จะมาเป็น ชลอ เกิดซวย คือต้องมาเป็นแพะรับบาป เพราะมิฉะนั้นแล้ว คุณก็จะต้องมี tension (ความตึงเครียด) ในสังคมสูงมาก
แต่ในขณะเดียวกัน กรณีซุกหุ้นทั้งหมดของคุณทักษิณและการที่คุณทักษิณรอดคดีขึ้นมาเป็นนายกฯได้ก็เพราะโครงสร้างทางอำนาจที่มันเกี่ยวโยงกันหมดในสังคมไทยไม่ใช่หรือ? และผมก็ไม่เชื่อว่าเคยมี “ระบอบทักษิณ” มันไม่มี “ระบอบทักษิณ” ไอ้นี่มันเป็นสิ่งที่นักวิชาการแม่งสร้างผีขึ้นมาหลอกตัวเอง คุณคิดดูสิว่ามีอะไรหลายอย่างในประเทศนี้ที่อยู่มาเป็นเวลานาน แต่พอถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง คุณก็เริ่มหวาดวิตกใช่มั้ย? แล้วคุณจะบอกได้ยังไงว่ามันมีระบอบ มันไม่มี สังคมไทยมันอยู่กับตัวบุคคลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เมื่อทักษิณไป ทุกอย่างแม่งก็ไป แล้วมันจะมีระบอบได้ยังไง? ผมก็ไม่รู้ว่า ทักษิณ system หรือ ทักษิณ regime นี่มันเป็นยังไง? ผมอยากเจอจริง ๆ แต่ผมเชื่อว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้า “ระบอบทักษิณ” ถูกเชื่อว่ามีจริงก็คือ คุณจะต้องเผชิญกับชลอ เกิดซวย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ กรณีเพชรซาอุฯ อีกครั้ง
การเมืองกับหนังโป๊
เมื่อการเมืองไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คุณคาดหวัง ถ้าถามว่าประเทศไทยมันจะไปถึงไหน ผมไม่สามารถพูดแบบคน generation ผม ซึ่งถูกกงล้อประวัติศาสตร์บดขยี้ตีนไปเรียบร้อยแล้ว แต่ผมคิดว่าสังคมไทยเปลี่ยนไปเยอะ อย่างน้อยที่สุด เวลาคุณเดินขึ้นไปบนอำเภอ มันก็ไม่เหมือนสมัยผมตอนอายุ 10 ขวบ เดินขึ้นไปบนอำเภอ ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป แต่ถามว่ามันเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เราคาดหวังมั้ย? ไม่ใช่ครับ สิ่งที่เราคาดหวังก็คือ เราคาดหวังว่าเมื่อเราเดินออกไปแล้วจะมีบีเอ็ม ซีรี่ส์ 7 มารอรับเรา
ผมถึงพูดมาตลอดเวลาว่า ความคาดหวังทางการเมืองของคนในสังคมไทยหรือสายสัมพันธ์ระหว่างคนดูการเมืองกับการเมืองมันเหมือนหนังโป๊ คุณก็รู้ว่าทำไมคุณถึงดูหนังโป๊ เพราะคุณรู้ว่าเมียที่บ้านคุณนมไม่ใหญ่ สามีที่บ้านคุณเจี๊ยวไม่ใหญ่ขนาดนั้น และร่วมเพศไม่ได้เก่งขนาดนั้น ทั้งหมดมันก็คือ projection (ความคาดหวัง) ที่คุณอยากจะมี ในสิ่งที่ตัวคุณเองไม่มี ในที่สุดแล้ว ทุกคนก็ไม่เคยเล่นตามกติกา เมื่อฝ่ายหนึ่งไม่เล่นตามกติกา ขี้โกง อีกฝ่ายหนึ่งก็ขี้โกง ละเมิดกติกาบ้าง เช่น เมื่อทักษิณเป็นเผด็จการอย่างนี้ คุณแก้ไม่ได้ คุณก็ปฏิวัติ ทั้งหมดคือการเผชิญหน้ากันของคนขี้โกงเมื่อเจอกับคนขี้โกงด้วยกัน ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คุณไม่เคยสนใจวิถีทางใด ๆ ทั้งสิ้น คุณมองแต่เพียงว่าเป้าหมายของคุณนั้นเป็นอย่างไร และอะไรก็ได้ที่บรรลุเป้าหมายอันนั้นก็โอเค
ผมหมายความว่า มันไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กันทุกคน คือมันก็พอกันน่ะ เพราะในที่สุดแล้ว คุณก็อยู่ในโครงสร้างอันนี้ ซึ่งคุณไม่เคยทำอะไรที่มันโปร่งใสตั้งแต่เริ่มต้น เช่น คุณไม่เคยรู้ว่ากระเป๋าตังค์ของคนบางคนมีกี่ตังค์ใช่หรือเปล่า?
คำถามจากผู้ฟัง
ผู้ฟัง ถ้าเกิดสังคมนี้มีคนขี้โกงสู้กัน ฝ่ายหนึ่งชนะ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งออกนอกประเทศไป แล้วมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่รู้ว่าโกงหรือไม่โกงเข้ามาร่างกฎเกณฑ์ของสังคม อะไรคือหลักเกณฑ์ว่ากฎเกณฑ์นั้นมันจะดีหรือไม่ดี? หรือว่ามันมีอะไรเป็นสากลหรือไม่?
ผมคิดว่าในประเทศไทยมันชัดเจนอยู่แล้ว คือ สังคมนี้เป็นสังคมที่อย่างน้อยที่สุด พุทธศาสนาไม่เคยบอกว่าคุณเท่าเทียมกันนะครับ คุณมีกรรมแต่ชาติปางก่อน ผมก็ไม่รู้ว่าชาติที่แล้วคุณมีกรรมอะไร คุณกับผมต่างคนต่างไม่รู้ ยกเว้นคนระลึกชาติได้ เพราะฉะนั้น เมื่อคนมันไม่เท่าเทียมกันผ่านความคิดเรื่องกฎแห่งกรรม คุณก็ไม่ต้องพูดตั้งแต่เริ่มต้นว่า ระบอบเสรีประชาธิปไตยนั้นมันคืออะไร เพราะคุณไม่ได้วางอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันอยู่แล้ว ดังนั้น สำหรับผมระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยมันถูกหักขามาตั้งแต่เริ่มต้น โดยไม่ต้องมีคุณทักษิณ คุณจะมีคุณทักษิณ หรือไม่มีคุณทักษิณก็ตาม นี่คือโครงสร้างของสังคมไทย
ผู้ฟัง แล้วเราทำไมต้องดำเนินระบอบประชาธิปไตยต่อไป?
เป็นคำถามที่ดีมากเลยนะครับ มันเหมือนกับที่ผมพูดเมื่อสักครู่นี้แล้วว่า บรรดาพวกผู้หญิงทั้งหลายจะยอมรับให้ผัวของคุณมีเมียน้อยมั้ย? แน่ะ มีคนในนี้ส่ายหน้า ยึก ยึก ยึก บอกไม่เอา คุณจะยอมรับมั้ยถ้าให้เด็กแม่งเป็นแรงงานเด็ก? คือถ้าคุณยอมรับสิ่งพวกนี้ ก็โอเค ไม่เห็นเป็นปัญหา สังคมไทยก็ไม่ต้องดำเนินไปตามระบอบประชาธิปไตยเพราะมันขัดกับจารีตแต่เดิมของเรา ผมไม่เป็นปัญหาอยู่แล้ว อะไรก็ได้ บอกมาสิ ว่ามึงจะเอายังไง?
ปัญหาของสิ่งที่มันเกิดขึ้นตอนนี้ ถ้าคุณอ่านคำอธิบายข้อโต้แย้งของอาจารย์ประจักษ์ ก้องกิรติ ที่มีต่องานเขียนของอาจารย์ไชยันต์ ไชยพร (อ่านได้ใน www.onopen.com) ก็คือว่า มันไม่เคยมีใครออกมาประกาศว่า จุดยืนของกูคือกูไม่เอาประชาธิปไตย กูคืออเสรีนิยม ดังนั้น ถ้าคุณประกาศจุดยืนตรงนี้อย่างชัดเจน มันก็จะทำให้เราสามารถบอกตำแหน่งของผู้คนต่าง ๆ ในสังคมได้ ซึ่งผมว่าไม่เห็นเสียหายอะไร
เมื่อวันก่อนมีหนังสือพิมพ์มาสัมภาษณ์ผม ผมก็บอกว่าประเทศไทยควรจะให้มีพรรคคอมมิวนิสต์เสียด้วยซ้ำ เพราะในที่สุดแล้ว จะเป็นการเปิดโอกาสให้คนมันประกาศจุดยืนของตัวเองว่า คุณนั้นเป็นอะไร แต่ทุกวันนี้ การเมืองไทยเป็นแบบที่ผมไม่รู้จะเรียกว่าอะไร มีคนเขาบอกให้ผมเรียกว่าการเมืองแบบอีแอบ ถ้าคุณดูในประวัติศาสตร์ยุโรป คุณจะเห็นได้ว่าการเมืองแบบอีแอบนั้นมันเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาตลอดเวลา โดยพวกชนชั้นสูงและขุนนาง เพราะฉะนั้น มันก็เป็นเรื่องปกติ คำถามคือคุณจะยอมรับสิ่งพวกนี้ได้หรือไม่? ถ้าคุณยอมรับได้ คุณก็ไม่ต้องมีระบอบประชาธิปไตย คุณกล้ายอมรับมั้ยล่ะ? คุณกล้ายอมรับที่จะออกมายืนบอกมั้ยว่า fuck democracy go to hell I don’t need a fuck I want dictator คุณกล้ามั้ย? ผมว่าถึงที่สุดแล้ว มันไม่มีใครกล้าที่จะออกมายืนพูดว่า ไม่เอา กูต้องการฮิตเลอร์ เพราะสังคมไทยแม่งเหมาะสม
แต่คุณก็อย่าลืมว่าในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ มีสิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าคุณยังไม่เคยพูดถึงกัน นั่นก็คือเรื่อง mood (สภาวะทางอารมณ์) ของคน ผมอยากให้คุณไปอ่านบทความของอาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ในเนชั่นสุดสัปดาห์เล่มล่าสุด ที่แปลบทความในหนังสือคลาสสิกชื่อ “The Man on Horseback: The Role of the Military in Politics”ของ S.E. Finer โปรเฟสเซอร์จาก LSE ที่ตายไปแล้ว ซึ่งอธิบายเรื่องทหาร ประเด็นอันหนึ่งก็คือการอธิบายเรื่อง mood และเรื่อง motive ของทหาร ทุกวันนี้ที่คุณบอกว่าไปมอบดอกไม้ให้ทหาร คุณกลับไปดูปี 2500 จอมพลสฤษดิ์ก็ทำแบบเดียวกันกับเหตุการณ์ 19 กันยายน ถามว่าเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2514 ตอนที่จอมพลถนอมปฏิวัติตัวเอง คน happy หรือไม่? ผมคิดว่าคนแม่งก็เบื่อพรรคสหประชาไทยฉิบหาย
นี่ก็นำมาสู่รูปแบบทางการเมืองที่ผมถูกพร่ำสอนมาว่า คุณจะต้องมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ แต่พอถึงเวลานี้ ทุกคนก็ปัดตูดหนีไป ไม่มีใครบอกว่า เฮ้ย! กูเป็นนักวิชาการ กูคิดแบบนี้เอง เพราะฉะนั้น กูขอออกมารับผิดชอบว่า กูเขียนรัฐธรรมนูญแบบที่ทำให้เกิดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ผมถามว่าประชาชนตาสีตาสาที่ไหนจะรู้ว่าเราจำเป็นต้องมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่? เพราะไอเดียทั้งหมดนี้มันเป็นกระแสของโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา ดังนั้น นักวิชาการทุกคนที่ไปเรียนเมืองนอก ก็จะกลับมาอธิบายไอเดียเรื่องพรรคการเมืองขนาดใหญ่แบบนี้ แต่นักวิชาการไม่เคยรับผิดชอบเหี้ยอะไรทั้งสิ้น ถึงเวลาก็ปัดตูดไป เพราะกูร่างเสร็จแล้ว กูได้เงินไปแล้วนี่ ใช่มั้ยครับ?
(มีผู้ฟังพูดแทรกว่า “ฟันแล้วทิ้ง”) คุณจะเรียกว่าฟันแล้วทิ้ง มันก็คงไม่ถึงขนาดนั้น เพราะนักวิชาการไม่มีความผูกพันทาง emotion (อารมณ์ความรู้สึก) กับรัฐธรรมนูญที่เขาร่างขึ้นมาขนาดนั้นหรอก สุดท้ายก็ต้องย้อนกลับมาถามว่า คุณกล้ามั้ยล่ะครับ? นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่า ในที่สุดแล้ว เราทุกคนไม่มีใครกล้า ทุกคนก็เหนียม ๆ อาย ๆ กว่าจะออกมาก็สามสี่วันแล้ว เพราะต้องดูก่อนว่า เฮ้ย! มีใครไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติบ้าง พอถ้ามีคนเริ่มออกเสียงหน่อย คุณก็เฮ้ว ... ตาม ใช่มั้ย? ไม่มีใครอยากยืนโดดเดี่ยวหรอก คุณกล้ามั้ย? ที่จะออกไปยืนบอกว่า กูต้องการเผด็จการทหาร กูคิดว่านายกฯที่สุดยอดที่สุด คือ สุจินดา คราประยูร แต่คุณก็จะเห็นว่าในที่สุดแล้ว ลึก ๆ ของคนจำนวนมาก คน generation หนึ่งก็คิดถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ใช่มั้ย? เพราะฉะนั้น สิ่งที่คุณต้องถามตัวเองก็คือว่า ในที่สุดแล้ว คุณมี fascist desire ในตัวคุณรึเปล่า?
ผู้ฟัง อาจารย์คิดว่าการละเมิดกฎเกณฑ์ทางการเมืองครั้งนี้มันมีเสน่ห์ของมันหรือไม่?
โอ๊ย! แน่นอนมันมีเสน่ห์อยู่แล้ว ผมถึงพูดตลอดเวลาว่า ห้ามพูดปดใช่มั้ย? แต่ถ้าเราตดเราต้องบอกว่าอะไร? ก็ต้องบอกว่าเปล่า เพราะความสุขของเราคือการได้ละเมิด ผมพูดมาตลอดเวลาว่า มะม่วงที่คุณขโมยกินนั้น แม่งอร่อยกว่าที่คุณซื้อ ข้าวผัดที่มันเย็นชืดซึ่งคุณแอบกินหลังห้องเรียนเวลาคุณสอนหนังสือตอนมัธยมหรือประถม แม่งอร่อยที่สุด เพราะฉะนั้น คุณอย่าได้แปลกใจที่ว่าคนพวกนี้ไม่ได้มีเพียงแต่ความภาคภูมิใจเท่านั้น ผมคิดว่าลึก ๆ แล้ว การที่มนุษย์ได้ละเมิดอะไรบางอย่าง มันคือการได้สนองตัณหาของตัวเอง
อีกข้อหนึ่งที่ผมคิดว่า คนจำนวนมากไม่ค่อยยอมพูดก็คือว่า ผมถามคุณคำหนึ่งว่า คนที่มาทำรัฐประหารครั้งนี้ ทำไมเวลานั่งแถลงข่าวกันหน้าถึงหงิก? ผมบอกคุณไปเลยว่า ถ้ามีประชุมกันครั้งไหนแสดงว่าตกลงกันไม่ได้ คุณกลับไปดูในประวัติศาสตร์สิ คุณไม่เคยพูดเลยว่านี่คือความขัดแย้งทั้งหมดของกลุ่มทหาร และรัฐประหารทุกครั้งก็เป็นอย่างนี้ทั้งสิ้น เพราะถ้าคุณกลับไปดูข่าวก่อนหน้านี้ ก็มีการพูดถึงโผทหาร หรือคุณกลับไปดูเลยว่า ก่อน 14 ตุลาเกิดอะไรขึ้น เมื่อจอมพลประภาสลงจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก, ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลังกรณี 6 ตุลา หลังการเกษียณของพล.อ.บุญชัย บำรุงพงศ์, เหตุการณ์ก่อนเมษาฮาวาย หรือแม้กระทั่งกรณี รสช. ทำไมมันต้องเป็นวันที่ 23 กุมภาพันธ์ คุณกลับไปเปิดดูเลยว่ารัฐบาลน้าชาติจะทำอะไร
เหตุผลทั้งหมดในการทำรัฐประหารมันก็คือคำอธิบายที่คุณจะต้องให้เพราะมันคือจังหวะที่คุณจะต้องทำ ผมอยากรู้ว่าผู้สื่อข่าวจะกล้าพูดมั้ยครับว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันมีที่มาจากความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ คุณรู้อยู่แล้วน่ะ เช่น แน่นอนว่าสภานิติบัญญัติ คุณจะให้ใคร มันก็ต้องให้ old soldier never die คุณก็ต้องตอบแทนบุญคุณ
ผู้ฟัง อยากทราบว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ต้องให้ทหารรีเทิร์นอยู่เรื่อย ๆ อย่างนี้ จะมีในอนาคตอีกหรือไม่ครับ? ถ้ามีอีก จะมีการประยุกต์ให้มันเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในสังคมหรือไม่ครับ?
คุณเป็นพุทธรึเปล่าครับ? (ผู้ถามตอบ “เป็นครับ”) ถ้าเป็นพุทธ เวลาของพุทธนี่มันเป็นยังไงล่ะ มันไม่ได้เป็นเส้นตรงแบบฝรั่งใช่มั้ย แต่มันเป็นวงกลม เพราะฉะนั้นแค่ถามว่ามันจะพัฒนาหรือไม่ นั่นก็เป็นวิธีคิดแบบฝรั่งแล้ว เพราะของเราเนี่ยมันก็จะหมุนอยู่อย่างนี้ (ผู้ถาม “แล้วถ้าไม่ใช้คำว่าพัฒนา แต่เป็นบูรณาการเพื่อความมั่นคงล่ะครับ”) โอ๊ย! ถ้าบูรณาการเหรอครับ เขาก็บูกันอยู่ทุกวันแหละ เขาบู๊กับคุณอยู่ด้วยไม่ใช่บู ผมว่ามันก็เป็นเรื่องปกติ ผมถึงใช้คำว่า ชอบ “ทำ” เพราะมันต้องทำน่ะ
มีคนบอกว่าการปฏิวัติรัฐประหารครั้งนี้เป็นทางเลือก ผมถามว่า ไอ้ห่า! มึงคิดได้ยังไงว่าเป็นทางเลือกวะ คุณไปถามประธานาธิบดีชีรักซิว่า เฮ้ย! Coup d'Etat นี่มันเป็นทางเลือกของประเทศมึงรึเปล่า? สิ่งที่คุณเริ่มพูดว่ามันคือทางเลือก ก็แสดงว่ามันอยู่ใน cognitive structure (โครงสร้างการรับรู้) ของคุณแล้ว เพราะฉะนั้น รัฐประหารโดยทหารมันก็จะออกมาอยู่เรื่อย ๆ แต่อย่าคิดว่ามันจะมีความหมายของการถอยหลังเข้าคลองหรือเราสามารถหยุดยั้งมันได้นะครับ ผมคิดว่านี่คือ process (กระบวนการ) ที่คุณหยุดยั้งไม่ได้ ผมถามคุณว่า คุณจะเอา 14 ตุลากลับไปคืนได้มั้ย? คุณจะบอกผมว่ามึงไม่ต้องมีเสรีภาพ ขอโทษ คุณนั่งกันอยู่ตรงนี้เกิน 5 คนรึเปล่าวะ? เกิน (ผู้ถาม “ถ้าอย่างนั้นประชาธิปไตยของไทยมันก็ต้องเป็นแบบนี้ ไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาเหมือนประเทศที่เจริญแล้วใช่หรือไม่?”) คุณไปดูสนามบินหนองงูเห่าก็แล้วกัน มันเป็นยังไง มันก็เป็นแบบนั้น
ผมไปเจอใน http://invisiblenews.exteen.com/
เจ้าของบล็อกรวบรวมคำอภิปรายของธเนศไว้ละเอียดดี
อ่านแล้วชอบ จึงอยากแบ่งปันกัน
...............
เสียงสะท้อนถึงปัญญาชนสาธารณะบางคนกับการรัฐประหาร
เวลาเราพูดถึงปัญญาชนสาธารณะจำนวนหนึ่งว่าจะมาเป็นหมอนรองรับให้คปค. มันทำให้ผมคิดถึงรัฐบาลคุณธานินทร์ กรัยวิเชียรขึ้นมาทันทีว่า รัฐบาลธานินทร์มันเป็นหอย แล้วคณะปฏิรูปคือเปลือกหอย เพราะฉะนั้นผมก็เลยเกิดคำถามว่าปัญญาชนสาธารณะที่เข้าไปทำงานให้กับคปค. เช่น อาจารย์บรรเจิดและอาจารย์สุรพล แกจะกลายเป็นหอยหรือเปลือกหอย? ผมคิดว่าคนพวกนี้น่าจะกลายเป็นเปลือกหอยมากกว่า เพียงแต่ผมไม่รู้ว่าเปลือกของแกนั้นจะหนาแค่ไหน เพราะว่ามันคงต้องทนแรงกระแทกอีกเยอะ
อนาคตและความทรงจำอันแสนสั้นของสังคมไทย
ผมมองว่าสถานการณ์ต่อไปนี้จะเกิดการเผชิญหน้าที่ทำให้หอยถูกบดขยี้และศูนย์กลางแห่งอำนาจของสังคมไทยจะต้องประสบปัญหามากขึ้น เพราะสังคมไทยไม่ได้เป็นสังคมอีแอบอีกแล้ว ในขณะนี้ชนชั้นนำทางการเมืองทุกคนเอาไพ่ออกมาวางบนโต๊ะเดิมพันกันหมด ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนพวกนี้จะต้องเสริมสร้างพลัง ซึ่งผมคิดว่าเราต้องพิจารณาถึงพลังของศูนย์กลางแห่งอำนาจของสังคมไทยในอนาคตให้มาก ด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญฉบับต่อไปมันจะต้องเน้นไปที่พลังของศูนย์กลางแห่งอำนาจในอนาคต
เราจะต้องคิดกันต่อไปว่าพลังของศูนย์กลางแห่งอำนาจในอนาคตดังกล่าวจะอยู่อย่างไรต่อไปภายในโครงสร้างของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะฉะนั้น คุณจึงไม่สามารถมองการรัฐประหารครั้งนี้อย่างแยกขาดออกจากประเด็นเรื่องพลังของศูนย์กลางแห่งอำนาจของสังคมไทยในอนาคต ซึ่งคุณก็ควรจะต้องย้อนกลับไปดูกรณี 6 ตุลา แต่ผมเห็นด้วยว่าความทรงจำของประเทศไทยมันค่อนข้างที่จะสั้น ทว่าความจริงแล้วไม่ได้เป็นเฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่มีความทรงจำสั้น แต่มันเป็นตรรกะของรัฐประชาชาติที่คุณจะต้องเลือกลืมและเลือกจำ ด้วยเหตุนี้ทุกชาติจะต้องมีความทรงจำที่สั้น โดยเฉพาะความทรงจำในเรื่องที่ไม่สะอาด มิฉะนั้นแล้ว ก็คงจะไม่มีคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ เพราะเวลาคุณเข้าห้องน้ำคุณก็ต้องใช้กระดาษชำระ อะไรที่สกปรกมันก็ต้องถูกชำระออกไป
Coup d'Etat, รัฐที่ไม่สามารถประหารได้, กระบวนการที่ต้องดำเนินต่อไปของประชาธิปไตย และการ “ปฏิวัติ”
ถ้าคุณดูการรัฐประหารปี 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ คุณจำได้มั้ยว่าวีรบุรุษสะพานมัฆวานคือใคร? วีรบุรุษสะพานมัฆวานก็คือคุณอาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งเป็นคนเปิดสะพานให้นักศึกษาเดินข้ามไปเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะและป้องกันการเสียเลือดเนื้อ ข้อโต้แย้งแบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นในเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน ตอนจอมพลถนอมทำรัฐประหารปี 2514 เสียเลือดมั้ยครับ? ไม่เสียเลยสักบาทเดียว ตอนรัฐประหารรัฐบาลคุณธานินทร์ก็ไม่ได้เสียเลือดเสียเนื้อ และตอนรสช.ก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นเวลาเราบอกว่ารัฐประหารครั้งนี้เป็น bloodless coup ผมอยากบอกว่ารัฐประหารครั้งไหน ๆ มันก็ไม่เสียเลือดเนื้อทั้งนั้น
ผมเห็นว่ารัฐประหารครั้งนี้มันมีความชัดเจนที่สุดในการเป็น Coup d'Etat ถ้าเราย้อนกลับไปดูรากศัพท์ของคำว่า Coup d'Etat คำ ๆ นี้เกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อใช้อธิบายวันที่ถูกเรียกว่า the day of the dupes ในคริสต์ทศวรรษ 1620 ที่ Richelieu จัดการศัตรูทางการเมืองให้กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 กษัตริย์ฝรั่งเศส (ดูประวัติอย่างย่นย่อของ Richelieu ได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Richelieu) เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า Coup d'Etat ครั้งนี้เป็นครั้งที่ไม่ได้คลาสสิก แต่เป็นครั้งที่ผมถือว่าเป็น prototype (รูปแบบดั้งเดิม) เลยทีเดียว
Coup d'Etat หมายถึงการประหารรัฐ แต่เราประหารรัฐได้มั้ย? เราประหารรัฐไม่ได้ เพราะรัฐคือสิ่งที่ไม่มีตัวตน นับตั้งแต่ Hobbes เป็นต้นมา มันไม่มีสิ่งที่เรียกว่า personal state อีกต่อไป รัฐเป็นสิ่งที่ impersonal เพราะฉะนั้นรัฐไม่มีวันตาย เมื่อรัฐไม่มีวันตาย รัฐจึงอยู่เหนือสิ่งอื่นใด สำหรับผม รัฐคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ เพราะคุณฉีกรัฐไม่ได้ เมื่อคุณฉีกรัฐไม่ได้ รัฐจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องหันหลังพิงหรือไม่ก็ต้องก้มลงกราบ ดังนั้นรัฐจึงสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด และสิ่งหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐก็คือความมั่นคง ด้วยเหตุนี้ตรรกะในการอธิบายสถานการณ์ทางการเมืองตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาภายใต้สิ่งที่เรียกว่าการสมานฉันท์ กอดกัน จูบกัน หรือสามัคคี จึงเป็นตรรกะของรัฐประชาชาติที่ต้องการความมั่นคง แต่ไม่ได้เป็นตรรกะของระบอบเสรีประชาธิปไตย เพราะระบอบเสรีประชาธิปไตยนั้นต้องมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอยู่แล้ว
สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นจึงแสดงให้เห็นว่ากระบวนการประชาธิปไตยของไทยดำเนินไปอย่างเข้มข้นแล้ว ด้วยการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับรัฐบาลทักษิณ เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนกรณี 6 ตุลา เพราะไม่ว่ารัฐบาลทักษิณจะปกป้องหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยคือกระบวนการที่จะต้องดำเนินการต่อไปเพื่อบรรลุถึงความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีที่ไหนในโลกนี้ในสายตาของผมที่เป็นเสรีประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากเสรีประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับโลกสมัยใหม่ที่เป็น unfinished project ตามแนวคิดของ Habermas คือเป็นกระบวนการที่จะต้องดำเนินต่อไป ไม่ใช่เป็น substantive democracy ที่คุณสามารถจะหยิบฉวยเนื้อหาหรือแก่นสารของมันออกมาได้
ผมคิดว่าการรัฐประหารครั้งนี้เป็นการสร้างจารีตแบบไทย ๆ เพราะถ้าถามว่ารัฐประหารมีความชอบธรรมมั้ย? ผมขอตอบว่าชอบ “ทำ” ครับ เพราะเราทำมาหลายครั้งแล้ว จึงเป็นสิ่งที่เราชอบทำ หรือถ้าเราคิดในกรอบของภาษาไทยรัฐประหารจะมีความชอบธรรมมั้ย? หากธรรมะหมายถึงธรรมชาติภายใต้เงื่อนไขของสังคมนี้ รัฐประหารมันก็ชอบธรรมเช่นเดียวกับการมีแรงงานเด็ก เช่นเดียวกับการที่ผัวมีเมียน้อย เช่นเดียวกับการทำร้ายเด็กจำนวนมากที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่เรารู้สึกอับอายขายหน้า ผมคิดว่านั่นมันก็ชอบธรรมหากพิจารณาว่าธรรมะหมายถึงธรรมชาติภายใต้เงื่อนไขของสังคมไทย ดังนั้นคนอย่างครูหยุยต่างหากที่ไม่ชอบธรรม เพราะแรงงานเด็กมันเป็นจารีตประเพณีอันดีงามของไทย สูงสองศอกหนึ่งคืบเขาก็เอาไปสักเลขแล้ว คุณจะเอาเด็กไว้หาพระแสงอะไรถ้าไม่ใช้มัน นี่คือจารีตประเพณีไทยอันดีงามที่เราจะต้องต่อต้านยูเอ็นแล้วเราก็ควรใช้แรงงานเด็กต่อไป
นอกจากนี้ควรไปบอกคุณระเบียบรัตน์ว่า การที่ผัวมีเมียน้อยก็เป็นจารีตอันดีของคนชนชั้นสูงไทย เพราะเมียของไทยนั้นไม่ใช่มีเมียน้อย นี่เป็นวิธีคิดแบบฝรั่ง แต่เมียของเรานั้นมีหลายเมีย ตั้งแต่เมียทาสเมียเชลย ไปจนถึง เมียพระราชทาน เราจึงต้องรักษาจารีตอันนี้ไว้ต่อไป การมีผัวเดียวเมียเดียวเป็นวิธีคิดแบบคริสเตียนนิตี้ แต่ผมอยากรู้ว่าปัจจุบันเราต้องการมีเมียแบบไทย ๆ มั้ย? ตอนนี้เราก็จะเริ่มไม่พอใจแล้ว เพราะเห็นว่ามันไม่เป็นอารยะ
กลับมาที่คำว่า “ปฏิวัติ” ซึ่งเป็นคำที่สร้างโดยบรรพบุรุษของพวกคุณ คือพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าที่เอียงข้างประชาชน ผมอุตส่าห์เรียกซะอย่างดีเลยนะครับ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากรเรียกการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ว่า “ปฏิวัติ” มันคืออะไร? แล้วทำไมคนที่นั่งอยู่ริมน้ำ สายตาทอดมองไปสู่คลองบางกอกน้อยด้วยความเศร้าใจ จึงสร้างคำเรียกการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ว่า “อภิวัฒน์” ในปี 2500 เพราะตามความคิดของพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 มันคือ ปฏิ+วัฏฏะ หมายถึงการหมุนกลับไปสู่เอนกชนนิกรสโมสรสมมติ ที่นำไปสู่การอธิบายว่า เรามีประชาธิปไตยแบบไทย ๆ มาเป็นเวลานานแล้วก่อนปี 2475 ดูนะครับ นี่คือปัญญาชนสายราษฎรเมื่อเจอปัญญาชนสายเจ้าเป็นยังไงครับ? เดี้ยง ต้องใช้เวลาอีก 25 ปีกว่าจะคิดออก แล้วเรียกการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ว่า “อภิวัฒน์” แต่เสียใจนะครับคำ ๆ นี้ไม่ติดตลาด เพราะคนพากันเรียกว่าการ “ปฏิวัติ” 2475
ดังนั้น ถ้าถามว่าเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน มันเป็นการ “ปฏิวัติ” มั้ย? มันก็คือการปฏิวัติที่กลับไปสู่รากเหง้าของไทย เพราะมันคือปฏิ+วัฏฏะ วัฏฏะคือการหมุน แต่เมื่อมีปฏิอยู่ข้างหน้าคุณก็ต้องหมุนกลับ แต่จะหมุนกลับไปไหน ก็คิดดูกันเอาเอง ผมคงตอบไม่ได้ เพราะถ้าผมตอบได้ ผมคงไม่มาเป็นอาจารย์ แต่คงไปนั่งดูหมอที่ท่าพระจันทร์แล้ว
ภาพอดีตที่คอยหลอกหลอนและความวิตกกังวลต่ออนาคตของชนชั้นนำในประเทศนี้
วิกฤตการณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาและเป็นบทเรียนที่หลอกหลอนคนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มทุนเก่า ก็คือวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถดึงมันออกไปจากการรัฐประหารครั้งนี้ได้ คุณลองกลับไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับกลุ่มทุนทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุนโบราณในปี 2540 เมื่อเคยไปถึงจุด ๆ นั้นแล้ว มันก็เป็นผลสะท้อนที่ทำให้ psyche (จิตใจ) ของคนชนชั้นนำที่ยึดกุมทุนเก่าหวาดวิตก และเมื่อคนเหล่านั้นมองไปที่คุณทักษิณ ก็เห็นว่าคุณทักษิณอาจนำพาพวกเขาไปสู่โลกของ financial shock (วิกฤตเศรษฐกิจ) ครั้งต่อไปได้ เพราะฉะนั้นคุณจะเห็นได้ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของรัฐบาลคุณทักษิณว่า ไม่มีประเด็นอะไรที่สำคัญไปกว่าเรื่องค่าเงินบาทและการจัดงบประมาณ วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 คือสิ่งที่มันคอยหลอกหลอน จนทำให้ในวันนี้หลายคนออกมาพูดจาสนับสนุนได้อย่างเต็มปากเต็มคำกับกรณีรัฐประหารที่เกิดขึ้น
แต่ในขณะเดียวกันถามว่าประเทศไทยหลังเหตุการณ์ 19 กันยายนมันจะไปข้างหน้ามั้ย? หนังสือพิมพ์บางฉบับบอกว่า นี่คือการถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อกระโดด 2 ก้าว ผมไม่ทราบว่าจะถอยหลัง 1 ก้าว หรือกระโดดไปข้างหน้า 2 ก้าว แต่ถ้าคุณเป็นชาวพุทธ หลังปี 2500 หรือกึ่งพุทธกาลเป็นต้นมา มันต้องมีแต่ความเสื่อม เมื่อมันเสื่อม ใครเสื่อมผมไม่ทราบ แต่ผมคิดว่าความเสื่อมคือสิ่งที่คนชนชั้นนำของประเทศนี้ต้องวิตกกังวล และรัฐธรรมนูญฉบับหน้าก็จะเหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 2540 รัฐธรรมนูญฉบับหน้าจะเป็นฉบับที่ไม่ compromise (ไม่ประนีประนอม) กับโครงสร้างทางอำนาจของกลุ่มอำนาจหลายกลุ่ม เช่นเดียวกันกับรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ตามความเห็นของผม ถูกเขียนขึ้นเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับพลังของศูนย์กลางแห่งอำนาจของสังคมไทย เพราะฉะนั้น ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เคยเรียกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่ผมเรียกว่าฉบับนักวิชาการ แม้ผมจะไม่ปฏิเสธว่ามันมีข้อดีอะไรหลาย ๆ อย่าง
อนาคตของสังคมไทย (อีกครั้ง): ชนบท, กฎอัยการศึก และตรรกะของรัฐประชาชาติ
อย่างไรก็ตาม ในสายตาของผม โครงสร้างของชนบทในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล แต่ในเวลานี้ คนอีสานที่เดินทางกับรถล่อง คือ รถที่เอาคนอีสานไปส่งตามจุดต่าง ๆ ถึงที่ กลับต้องไปรายงานตัวให้ปลัดอำเภอรับทราบเมื่อเดินทางไปถึงที่หมาย แล้วปลัดอำเภอก็ต้องส่งเรื่องให้กับอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด และแม่ทัพภาคตามลำดับ เนื่องมาจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก เท่าที่ผมรู้ รัฐประหารครั้งที่ผ่าน ๆ มา รวมทั้งสมัยรสช. ไม่เคยมีสภาวะแบบนี้เกิดขึ้นในชนบท และชาวบ้านก็เริ่มถามกันแล้วว่า เมื่อไหร่จะเลิกทำแบบนี้? บางคนบอกว่าหนึ่งปี คุณสุรยุทธ์ก็บอกเมื่อวานนี้ว่า การประกาศใช้กฎอัยการศึกเป็นเวลาหนึ่งปีนั้นมันไม่นานหรอก แต่ desire (แรงปรารถนา) ของแกที่จะมาเป็นนายกฯ มันกลับยังไม่ถึงหนึ่งปีเลย
ผมคิดว่าสังคมไทยในระยะเวลาต่อไปจะแตกต่างไปจากโครงสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบทักษิณที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งผมถือว่านั่นคือกระบวนการของประชาธิปไตยที่ทำให้ผู้คนแตกออกเป็นฝักเป็นฝ่าย และผมคิดว่านั่นคือความชัดเจนซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับกระบวนการประชาธิปไตย ที่ผู้คนนั้นจะเลือกข้างและยืนกันอยู่คนละฝั่ง โดยที่คนต่าง ๆ เหล่านี้พร้อมที่จะพูดคุยและพร้อมที่จะตกลงกัน แต่แน่นอนในขณะเดียวกันคุณก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความรุนแรงหรือการปะทะกันมันก็ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น ผมขอย้ำว่าวิธีคิดของเราหรือสังคมไทย มันคือวิธีคิดของรัฐประชาชาติมากกว่าที่จะเป็นของระบอบประชาธิปไตย และผมคิดว่านักวิชาการจำนวนมากก็ยืนอยู่ในกรอบความคิดของรัฐประชาชาติอันนี้
ถึงเพื่อนนักวิชาการ
ผมไม่เห็นด้วยกับคณะปฏิรูปฯ แต่ผมคิดว่ามันชอบ “ทำ” เพราะนี่มันคือวัฒนธรรมไทย ที่เราบอกว่าเรากำลังอยู่ในวงจรอุบาทว์นั้น ผมไม่คิดว่าหลายคนเขาจะคิดว่ามันเป็นวงจรอุบาทว์ แต่ตามความคิดของเขามันเป็นวงจรแห่งการสรรเสริญ เป็นวงจรแห่งวันมหาปิติมากกว่า ถ้าคุณลองไปสำรวจอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนสังคมศาสตร์จำนวนมาก แล้วเช็คดูว่าคนที่สนับสนุนการรัฐประหารนั้นอายุเท่าไหร่ ผมเดาว่าส่วนใหญ่แล้วมันคือคนหัวหงอกรุ่นผม แต่เผอิญผมเสือกไว้ผมยาวไม่ได้ตัดผมสั้น ผมก็เลยไม่สนับสนุนและไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร เพราะฉะนั้นปัจจัยเรื่องอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญและน่าสนใจมาก
เมื่อสักครู่มีคนมาถามผมว่าคิดอย่างไรกับคนที่ไปเข้าร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลา แล้วปัจจุบันหันมาอยู่ร่วมกับฝ่ายมีอำนาจ ผมว่าคุณก็ต้องเห็นใจเขานะ ว่าเมื่อคนเราแก่แล้ว นักวิชาการหลายคนก็มีลูกมีเมียที่จะต้องเลี้ยง ถ้าคุณไปบอกว่า ไอ้ห่า! กูไม่เห็นด้วยกับคณะปฏิกูล ทุกคนก็จะบอกว่า ก็มึงไม่มีลูกไม่มีเมีย มึงก็พูดได้สิ ไอ้เหี้ย! ถูกจับไปมึงก็ไม่ต้อง worry (วิตกกังวล) แต่กูมีลูกมีเมียนี่ อันนี้ผมไม่ได้พูดเล่นนะครับ เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อคุณอายุเพิ่มมากขึ้น ชีวิตคุณแก่ขึ้น คุณเห็นอะไรมามากขึ้น network (เครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม) ของคุณมากขึ้น คุณก็ไม่พร้อมหรอกครับที่จะเสียสิ่งพวกนี้ไป เพราะทุกวันนี้ แม้กระทั่งเพื่อน ๆ ของผมเอง ผมก็ยังไม่อยากเจอ เพราะว่าถ้าเจอแล้วเดี๋ยวมาพูดกันเรื่องนี้ แม่งก็ทะเลาะกันเปล่า ๆ สังคมไทยมันเป็นสังคมซึ่งต้องลูบหน้าปะจมูก
แล้วผมก็ขอพูดให้คุณฟังว่า นักวิชาการต่างประเทศชื่อดังหลาย ๆ คน หลาย ๆ คู่ ในที่สุดก็ต้องทะเลาะกันเพราะเรื่องการเมือง ดังนั้นผมก็ต้องนั่งสงบสติอารมณ์และเตือนสติของตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า ระหว่างเพื่อนกับการเมืองผมเอาอันไหน? ผมบอกชัดเจนกูเอาเพื่อน ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญมากเมื่อเรามองถึงโครงสร้างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเวลานักวิชาการทะเลาะกัน ไม่ว่านักวิชาการจะมองเห็นหรือไม่เห็นโครงสร้างดังกล่าวก็ตาม ก็คือ ถ้าใครดูหนังของ Woody Allen ชื่อ Stardust Memories แล้วผมก็เคยเอามาเขียนลงในรัฐศาสตร์สารเล่มปัญญาชน เขาจะบอกว่า “intellectuals they are like a mafia they only kill each other” “ปัญญาชนเนี่ยมันเหมือนมาเฟีย มันไม่ฆ่าคนอื่นหรอก มันฆ่าพวกเดียวกันเอง” เพราะฉะนั้น การที่นักวิชาการขัดแย้งกันมันก็เป็นเรื่องธรรมดา คุณจะให้ผมไปด่าคุณสนธิเหรอ มันก็พูดกันไม่รู้เรื่อง ผมก็ต้องด่าพวกเดียวกันเองก่อน เพราะผมก็เป็นมาเฟียที่ kill each other เหมือนกัน แต่ก็ kill มากไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะเสียเพื่อน มันก็ต้องด่าแบบพอหอมปากหอมคอ คือ ด่าแต่พอเพียง
การยึดทรัพย์, “แพะ” เกิดซวย และ “ระบอบทักษิณ”
ผมอยากจะพูดเรื่องประเด็นการยึดทรัพย์ ผมคิดว่าสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของการยึดทรัพย์ก็คือ ผมกำลังสงสัยว่ามันจะเหมือนกับกรณีเพชรซาอุฯ มั้ย? มันเกิดอะไรขึ้นกับเพชรซาอุฯ ผมกำลังสงสัยว่าด้วยโครงสร้างทางอำนาจที่มันเกี่ยวโยงกันหมดขนาดนี้ ในที่สุดแล้วมันก็ต้องมีคนที่จะมาเป็น ชลอ เกิดซวย คือต้องมาเป็นแพะรับบาป เพราะมิฉะนั้นแล้ว คุณก็จะต้องมี tension (ความตึงเครียด) ในสังคมสูงมาก
แต่ในขณะเดียวกัน กรณีซุกหุ้นทั้งหมดของคุณทักษิณและการที่คุณทักษิณรอดคดีขึ้นมาเป็นนายกฯได้ก็เพราะโครงสร้างทางอำนาจที่มันเกี่ยวโยงกันหมดในสังคมไทยไม่ใช่หรือ? และผมก็ไม่เชื่อว่าเคยมี “ระบอบทักษิณ” มันไม่มี “ระบอบทักษิณ” ไอ้นี่มันเป็นสิ่งที่นักวิชาการแม่งสร้างผีขึ้นมาหลอกตัวเอง คุณคิดดูสิว่ามีอะไรหลายอย่างในประเทศนี้ที่อยู่มาเป็นเวลานาน แต่พอถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง คุณก็เริ่มหวาดวิตกใช่มั้ย? แล้วคุณจะบอกได้ยังไงว่ามันมีระบอบ มันไม่มี สังคมไทยมันอยู่กับตัวบุคคลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เมื่อทักษิณไป ทุกอย่างแม่งก็ไป แล้วมันจะมีระบอบได้ยังไง? ผมก็ไม่รู้ว่า ทักษิณ system หรือ ทักษิณ regime นี่มันเป็นยังไง? ผมอยากเจอจริง ๆ แต่ผมเชื่อว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้า “ระบอบทักษิณ” ถูกเชื่อว่ามีจริงก็คือ คุณจะต้องเผชิญกับชลอ เกิดซวย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ กรณีเพชรซาอุฯ อีกครั้ง
การเมืองกับหนังโป๊
เมื่อการเมืองไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คุณคาดหวัง ถ้าถามว่าประเทศไทยมันจะไปถึงไหน ผมไม่สามารถพูดแบบคน generation ผม ซึ่งถูกกงล้อประวัติศาสตร์บดขยี้ตีนไปเรียบร้อยแล้ว แต่ผมคิดว่าสังคมไทยเปลี่ยนไปเยอะ อย่างน้อยที่สุด เวลาคุณเดินขึ้นไปบนอำเภอ มันก็ไม่เหมือนสมัยผมตอนอายุ 10 ขวบ เดินขึ้นไปบนอำเภอ ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป แต่ถามว่ามันเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เราคาดหวังมั้ย? ไม่ใช่ครับ สิ่งที่เราคาดหวังก็คือ เราคาดหวังว่าเมื่อเราเดินออกไปแล้วจะมีบีเอ็ม ซีรี่ส์ 7 มารอรับเรา
ผมถึงพูดมาตลอดเวลาว่า ความคาดหวังทางการเมืองของคนในสังคมไทยหรือสายสัมพันธ์ระหว่างคนดูการเมืองกับการเมืองมันเหมือนหนังโป๊ คุณก็รู้ว่าทำไมคุณถึงดูหนังโป๊ เพราะคุณรู้ว่าเมียที่บ้านคุณนมไม่ใหญ่ สามีที่บ้านคุณเจี๊ยวไม่ใหญ่ขนาดนั้น และร่วมเพศไม่ได้เก่งขนาดนั้น ทั้งหมดมันก็คือ projection (ความคาดหวัง) ที่คุณอยากจะมี ในสิ่งที่ตัวคุณเองไม่มี ในที่สุดแล้ว ทุกคนก็ไม่เคยเล่นตามกติกา เมื่อฝ่ายหนึ่งไม่เล่นตามกติกา ขี้โกง อีกฝ่ายหนึ่งก็ขี้โกง ละเมิดกติกาบ้าง เช่น เมื่อทักษิณเป็นเผด็จการอย่างนี้ คุณแก้ไม่ได้ คุณก็ปฏิวัติ ทั้งหมดคือการเผชิญหน้ากันของคนขี้โกงเมื่อเจอกับคนขี้โกงด้วยกัน ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คุณไม่เคยสนใจวิถีทางใด ๆ ทั้งสิ้น คุณมองแต่เพียงว่าเป้าหมายของคุณนั้นเป็นอย่างไร และอะไรก็ได้ที่บรรลุเป้าหมายอันนั้นก็โอเค
ผมหมายความว่า มันไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กันทุกคน คือมันก็พอกันน่ะ เพราะในที่สุดแล้ว คุณก็อยู่ในโครงสร้างอันนี้ ซึ่งคุณไม่เคยทำอะไรที่มันโปร่งใสตั้งแต่เริ่มต้น เช่น คุณไม่เคยรู้ว่ากระเป๋าตังค์ของคนบางคนมีกี่ตังค์ใช่หรือเปล่า?
คำถามจากผู้ฟัง
ผู้ฟัง ถ้าเกิดสังคมนี้มีคนขี้โกงสู้กัน ฝ่ายหนึ่งชนะ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งออกนอกประเทศไป แล้วมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่รู้ว่าโกงหรือไม่โกงเข้ามาร่างกฎเกณฑ์ของสังคม อะไรคือหลักเกณฑ์ว่ากฎเกณฑ์นั้นมันจะดีหรือไม่ดี? หรือว่ามันมีอะไรเป็นสากลหรือไม่?
ผมคิดว่าในประเทศไทยมันชัดเจนอยู่แล้ว คือ สังคมนี้เป็นสังคมที่อย่างน้อยที่สุด พุทธศาสนาไม่เคยบอกว่าคุณเท่าเทียมกันนะครับ คุณมีกรรมแต่ชาติปางก่อน ผมก็ไม่รู้ว่าชาติที่แล้วคุณมีกรรมอะไร คุณกับผมต่างคนต่างไม่รู้ ยกเว้นคนระลึกชาติได้ เพราะฉะนั้น เมื่อคนมันไม่เท่าเทียมกันผ่านความคิดเรื่องกฎแห่งกรรม คุณก็ไม่ต้องพูดตั้งแต่เริ่มต้นว่า ระบอบเสรีประชาธิปไตยนั้นมันคืออะไร เพราะคุณไม่ได้วางอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันอยู่แล้ว ดังนั้น สำหรับผมระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยมันถูกหักขามาตั้งแต่เริ่มต้น โดยไม่ต้องมีคุณทักษิณ คุณจะมีคุณทักษิณ หรือไม่มีคุณทักษิณก็ตาม นี่คือโครงสร้างของสังคมไทย
ผู้ฟัง แล้วเราทำไมต้องดำเนินระบอบประชาธิปไตยต่อไป?
เป็นคำถามที่ดีมากเลยนะครับ มันเหมือนกับที่ผมพูดเมื่อสักครู่นี้แล้วว่า บรรดาพวกผู้หญิงทั้งหลายจะยอมรับให้ผัวของคุณมีเมียน้อยมั้ย? แน่ะ มีคนในนี้ส่ายหน้า ยึก ยึก ยึก บอกไม่เอา คุณจะยอมรับมั้ยถ้าให้เด็กแม่งเป็นแรงงานเด็ก? คือถ้าคุณยอมรับสิ่งพวกนี้ ก็โอเค ไม่เห็นเป็นปัญหา สังคมไทยก็ไม่ต้องดำเนินไปตามระบอบประชาธิปไตยเพราะมันขัดกับจารีตแต่เดิมของเรา ผมไม่เป็นปัญหาอยู่แล้ว อะไรก็ได้ บอกมาสิ ว่ามึงจะเอายังไง?
ปัญหาของสิ่งที่มันเกิดขึ้นตอนนี้ ถ้าคุณอ่านคำอธิบายข้อโต้แย้งของอาจารย์ประจักษ์ ก้องกิรติ ที่มีต่องานเขียนของอาจารย์ไชยันต์ ไชยพร (อ่านได้ใน www.onopen.com) ก็คือว่า มันไม่เคยมีใครออกมาประกาศว่า จุดยืนของกูคือกูไม่เอาประชาธิปไตย กูคืออเสรีนิยม ดังนั้น ถ้าคุณประกาศจุดยืนตรงนี้อย่างชัดเจน มันก็จะทำให้เราสามารถบอกตำแหน่งของผู้คนต่าง ๆ ในสังคมได้ ซึ่งผมว่าไม่เห็นเสียหายอะไร
เมื่อวันก่อนมีหนังสือพิมพ์มาสัมภาษณ์ผม ผมก็บอกว่าประเทศไทยควรจะให้มีพรรคคอมมิวนิสต์เสียด้วยซ้ำ เพราะในที่สุดแล้ว จะเป็นการเปิดโอกาสให้คนมันประกาศจุดยืนของตัวเองว่า คุณนั้นเป็นอะไร แต่ทุกวันนี้ การเมืองไทยเป็นแบบที่ผมไม่รู้จะเรียกว่าอะไร มีคนเขาบอกให้ผมเรียกว่าการเมืองแบบอีแอบ ถ้าคุณดูในประวัติศาสตร์ยุโรป คุณจะเห็นได้ว่าการเมืองแบบอีแอบนั้นมันเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาตลอดเวลา โดยพวกชนชั้นสูงและขุนนาง เพราะฉะนั้น มันก็เป็นเรื่องปกติ คำถามคือคุณจะยอมรับสิ่งพวกนี้ได้หรือไม่? ถ้าคุณยอมรับได้ คุณก็ไม่ต้องมีระบอบประชาธิปไตย คุณกล้ายอมรับมั้ยล่ะ? คุณกล้ายอมรับที่จะออกมายืนบอกมั้ยว่า fuck democracy go to hell I don’t need a fuck I want dictator คุณกล้ามั้ย? ผมว่าถึงที่สุดแล้ว มันไม่มีใครกล้าที่จะออกมายืนพูดว่า ไม่เอา กูต้องการฮิตเลอร์ เพราะสังคมไทยแม่งเหมาะสม
แต่คุณก็อย่าลืมว่าในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ มีสิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าคุณยังไม่เคยพูดถึงกัน นั่นก็คือเรื่อง mood (สภาวะทางอารมณ์) ของคน ผมอยากให้คุณไปอ่านบทความของอาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ในเนชั่นสุดสัปดาห์เล่มล่าสุด ที่แปลบทความในหนังสือคลาสสิกชื่อ “The Man on Horseback: The Role of the Military in Politics”ของ S.E. Finer โปรเฟสเซอร์จาก LSE ที่ตายไปแล้ว ซึ่งอธิบายเรื่องทหาร ประเด็นอันหนึ่งก็คือการอธิบายเรื่อง mood และเรื่อง motive ของทหาร ทุกวันนี้ที่คุณบอกว่าไปมอบดอกไม้ให้ทหาร คุณกลับไปดูปี 2500 จอมพลสฤษดิ์ก็ทำแบบเดียวกันกับเหตุการณ์ 19 กันยายน ถามว่าเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2514 ตอนที่จอมพลถนอมปฏิวัติตัวเอง คน happy หรือไม่? ผมคิดว่าคนแม่งก็เบื่อพรรคสหประชาไทยฉิบหาย
นี่ก็นำมาสู่รูปแบบทางการเมืองที่ผมถูกพร่ำสอนมาว่า คุณจะต้องมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ แต่พอถึงเวลานี้ ทุกคนก็ปัดตูดหนีไป ไม่มีใครบอกว่า เฮ้ย! กูเป็นนักวิชาการ กูคิดแบบนี้เอง เพราะฉะนั้น กูขอออกมารับผิดชอบว่า กูเขียนรัฐธรรมนูญแบบที่ทำให้เกิดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ผมถามว่าประชาชนตาสีตาสาที่ไหนจะรู้ว่าเราจำเป็นต้องมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่? เพราะไอเดียทั้งหมดนี้มันเป็นกระแสของโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา ดังนั้น นักวิชาการทุกคนที่ไปเรียนเมืองนอก ก็จะกลับมาอธิบายไอเดียเรื่องพรรคการเมืองขนาดใหญ่แบบนี้ แต่นักวิชาการไม่เคยรับผิดชอบเหี้ยอะไรทั้งสิ้น ถึงเวลาก็ปัดตูดไป เพราะกูร่างเสร็จแล้ว กูได้เงินไปแล้วนี่ ใช่มั้ยครับ?
(มีผู้ฟังพูดแทรกว่า “ฟันแล้วทิ้ง”) คุณจะเรียกว่าฟันแล้วทิ้ง มันก็คงไม่ถึงขนาดนั้น เพราะนักวิชาการไม่มีความผูกพันทาง emotion (อารมณ์ความรู้สึก) กับรัฐธรรมนูญที่เขาร่างขึ้นมาขนาดนั้นหรอก สุดท้ายก็ต้องย้อนกลับมาถามว่า คุณกล้ามั้ยล่ะครับ? นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่า ในที่สุดแล้ว เราทุกคนไม่มีใครกล้า ทุกคนก็เหนียม ๆ อาย ๆ กว่าจะออกมาก็สามสี่วันแล้ว เพราะต้องดูก่อนว่า เฮ้ย! มีใครไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติบ้าง พอถ้ามีคนเริ่มออกเสียงหน่อย คุณก็เฮ้ว ... ตาม ใช่มั้ย? ไม่มีใครอยากยืนโดดเดี่ยวหรอก คุณกล้ามั้ย? ที่จะออกไปยืนบอกว่า กูต้องการเผด็จการทหาร กูคิดว่านายกฯที่สุดยอดที่สุด คือ สุจินดา คราประยูร แต่คุณก็จะเห็นว่าในที่สุดแล้ว ลึก ๆ ของคนจำนวนมาก คน generation หนึ่งก็คิดถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ใช่มั้ย? เพราะฉะนั้น สิ่งที่คุณต้องถามตัวเองก็คือว่า ในที่สุดแล้ว คุณมี fascist desire ในตัวคุณรึเปล่า?
ผู้ฟัง อาจารย์คิดว่าการละเมิดกฎเกณฑ์ทางการเมืองครั้งนี้มันมีเสน่ห์ของมันหรือไม่?
โอ๊ย! แน่นอนมันมีเสน่ห์อยู่แล้ว ผมถึงพูดตลอดเวลาว่า ห้ามพูดปดใช่มั้ย? แต่ถ้าเราตดเราต้องบอกว่าอะไร? ก็ต้องบอกว่าเปล่า เพราะความสุขของเราคือการได้ละเมิด ผมพูดมาตลอดเวลาว่า มะม่วงที่คุณขโมยกินนั้น แม่งอร่อยกว่าที่คุณซื้อ ข้าวผัดที่มันเย็นชืดซึ่งคุณแอบกินหลังห้องเรียนเวลาคุณสอนหนังสือตอนมัธยมหรือประถม แม่งอร่อยที่สุด เพราะฉะนั้น คุณอย่าได้แปลกใจที่ว่าคนพวกนี้ไม่ได้มีเพียงแต่ความภาคภูมิใจเท่านั้น ผมคิดว่าลึก ๆ แล้ว การที่มนุษย์ได้ละเมิดอะไรบางอย่าง มันคือการได้สนองตัณหาของตัวเอง
อีกข้อหนึ่งที่ผมคิดว่า คนจำนวนมากไม่ค่อยยอมพูดก็คือว่า ผมถามคุณคำหนึ่งว่า คนที่มาทำรัฐประหารครั้งนี้ ทำไมเวลานั่งแถลงข่าวกันหน้าถึงหงิก? ผมบอกคุณไปเลยว่า ถ้ามีประชุมกันครั้งไหนแสดงว่าตกลงกันไม่ได้ คุณกลับไปดูในประวัติศาสตร์สิ คุณไม่เคยพูดเลยว่านี่คือความขัดแย้งทั้งหมดของกลุ่มทหาร และรัฐประหารทุกครั้งก็เป็นอย่างนี้ทั้งสิ้น เพราะถ้าคุณกลับไปดูข่าวก่อนหน้านี้ ก็มีการพูดถึงโผทหาร หรือคุณกลับไปดูเลยว่า ก่อน 14 ตุลาเกิดอะไรขึ้น เมื่อจอมพลประภาสลงจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก, ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลังกรณี 6 ตุลา หลังการเกษียณของพล.อ.บุญชัย บำรุงพงศ์, เหตุการณ์ก่อนเมษาฮาวาย หรือแม้กระทั่งกรณี รสช. ทำไมมันต้องเป็นวันที่ 23 กุมภาพันธ์ คุณกลับไปเปิดดูเลยว่ารัฐบาลน้าชาติจะทำอะไร
เหตุผลทั้งหมดในการทำรัฐประหารมันก็คือคำอธิบายที่คุณจะต้องให้เพราะมันคือจังหวะที่คุณจะต้องทำ ผมอยากรู้ว่าผู้สื่อข่าวจะกล้าพูดมั้ยครับว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันมีที่มาจากความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ คุณรู้อยู่แล้วน่ะ เช่น แน่นอนว่าสภานิติบัญญัติ คุณจะให้ใคร มันก็ต้องให้ old soldier never die คุณก็ต้องตอบแทนบุญคุณ
ผู้ฟัง อยากทราบว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ต้องให้ทหารรีเทิร์นอยู่เรื่อย ๆ อย่างนี้ จะมีในอนาคตอีกหรือไม่ครับ? ถ้ามีอีก จะมีการประยุกต์ให้มันเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในสังคมหรือไม่ครับ?
คุณเป็นพุทธรึเปล่าครับ? (ผู้ถามตอบ “เป็นครับ”) ถ้าเป็นพุทธ เวลาของพุทธนี่มันเป็นยังไงล่ะ มันไม่ได้เป็นเส้นตรงแบบฝรั่งใช่มั้ย แต่มันเป็นวงกลม เพราะฉะนั้นแค่ถามว่ามันจะพัฒนาหรือไม่ นั่นก็เป็นวิธีคิดแบบฝรั่งแล้ว เพราะของเราเนี่ยมันก็จะหมุนอยู่อย่างนี้ (ผู้ถาม “แล้วถ้าไม่ใช้คำว่าพัฒนา แต่เป็นบูรณาการเพื่อความมั่นคงล่ะครับ”) โอ๊ย! ถ้าบูรณาการเหรอครับ เขาก็บูกันอยู่ทุกวันแหละ เขาบู๊กับคุณอยู่ด้วยไม่ใช่บู ผมว่ามันก็เป็นเรื่องปกติ ผมถึงใช้คำว่า ชอบ “ทำ” เพราะมันต้องทำน่ะ
มีคนบอกว่าการปฏิวัติรัฐประหารครั้งนี้เป็นทางเลือก ผมถามว่า ไอ้ห่า! มึงคิดได้ยังไงว่าเป็นทางเลือกวะ คุณไปถามประธานาธิบดีชีรักซิว่า เฮ้ย! Coup d'Etat นี่มันเป็นทางเลือกของประเทศมึงรึเปล่า? สิ่งที่คุณเริ่มพูดว่ามันคือทางเลือก ก็แสดงว่ามันอยู่ใน cognitive structure (โครงสร้างการรับรู้) ของคุณแล้ว เพราะฉะนั้น รัฐประหารโดยทหารมันก็จะออกมาอยู่เรื่อย ๆ แต่อย่าคิดว่ามันจะมีความหมายของการถอยหลังเข้าคลองหรือเราสามารถหยุดยั้งมันได้นะครับ ผมคิดว่านี่คือ process (กระบวนการ) ที่คุณหยุดยั้งไม่ได้ ผมถามคุณว่า คุณจะเอา 14 ตุลากลับไปคืนได้มั้ย? คุณจะบอกผมว่ามึงไม่ต้องมีเสรีภาพ ขอโทษ คุณนั่งกันอยู่ตรงนี้เกิน 5 คนรึเปล่าวะ? เกิน (ผู้ถาม “ถ้าอย่างนั้นประชาธิปไตยของไทยมันก็ต้องเป็นแบบนี้ ไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาเหมือนประเทศที่เจริญแล้วใช่หรือไม่?”) คุณไปดูสนามบินหนองงูเห่าก็แล้วกัน มันเป็นยังไง มันก็เป็นแบบนั้น
4 ความคิดเห็น:
กระผมชื่อ รัฐนิติ
กระผมไม่ค่อยมีความรู้ในทางวิชาการมากนักแต่ขอสะท้อนความเห็นเล็กๆ
ผมอยากตั้งคำถามดังนี้
1.ประเทศไทยเหมาะกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้วหรือยัง
เราเข้ามาเป็นประชาธิปไตยเร็วเกินไปรึเปล่า
เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาคนยังคิดว่ารํฐธรรมนูญเป็นชื่อลูกชายของผู้มีอำนาจบางคนอยู่เลย
2.ผมไม่อยากให้เราไปอายต่างชาติ
เพราะคนที่กล่าวประณามเรา
เขาลืมประวัติศาสตร์ตัวเอง
ประชาธิปไตยมันต้องมีการล้มลุกคลุกคลาน
แม้แต่ฝรั่งเศาเองก็ล้มลุกคลุกคลานมาขนาดไหนกว่าจะเกิดหลัก นิติรัฐ etat de droit
การปกครองแบบใดเหมาะกับประเทศใดต้องดูจริตของคนในประเทศนั้นอย่าเชื่ออะไรตามแนวปรัชญากระแสหลักตะวันตก
ประวัติศาสตร์ของแต่ละชาติต่างกัน ความคิดความอ่านของคนต่างกัน
ส่วนประเด็นที่อาจารย์อ้างว่าการรัฐประหารครั้งอื่นก็ไม่เสียเลือดเนื้อเหมือนกันลองพิจารณาดูนะครับว่ามันมีอะไร วิธีการอย่างไรในการรัฐประหารแต่ละครั้งแฝงอยู่
มองทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานความจริงอย่าพูดความจริงบางส่วนเพราะการพูดความจริงแค่ส่วนเดียนก็เท่ากัยการพูดปด
www1027
nike huarache
clarks shoes
christian louboutin outlet
dsquared2
pandora outlet
christian louboutin outlet
canada goose jackets
nba jerseys
coach outlet
jordan shoes
jimmy choo shoes
curry 4 shoes
kd shoes
yeezy boost
off white shoes
balenciaga shoes
balenciaga
mbt shoes
nfl jerseys
nike flyknit
yeezy boost 350 v2
curry 9
curry shoes
palm angels
palm angels hoodie
supreme outlet
supreme outlet
jordan shoes
a bathing ape
off white hoodie
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก