๘ พฤษภา
ดีใจ การเมืองเริ่มคลี่คลาย
เสียใจ กฎหมายโดนกระทำชำเราจนเละเทะ
ผลพลอยได้ เห็นนักกฎหมายเนติบริกรขั้วใหม่
ไว้ทุกข์ให้กับกฎหมาย ด้วยการเว้นวรรคแสดงความเห็นทางกฎหมายระยะหนึ่ง
เสียใจ กฎหมายโดนกระทำชำเราจนเละเทะ
ผลพลอยได้ เห็นนักกฎหมายเนติบริกรขั้วใหม่
ไว้ทุกข์ให้กับกฎหมาย ด้วยการเว้นวรรคแสดงความเห็นทางกฎหมายระยะหนึ่ง
22 ความคิดเห็น:
อ่านงานที่ลงในโอเพ่น หน้าสเปเชียลจบไปเมื่อกี้
ชมเชยว่าเขียนได้ดี แม้จะรู้ว่านั่งอ่าน ทวน กรอง แล้วอยู่หลายรอบก่อนจะส่งให้โอเพ่น จึงยิ่งรู้สึกว่าเขียนได้ดีเข้าไปใหญ่เพราะว่าน่าจะครบถ้วนกับสิ่งที่ผู้เขียนอยากจะบอกโดยนำเสนอในรูปแบบที่ดีมากๆ
พยายามต่อไป ทำดีแล้ว
ผมขอแสดงความชื่นชม Etat de droit ในฐานะที่มีจุดยืนทางวิชาการและหลักการอย่างมั่นคงและงานของ Etat de droit เป็นงานที่ผมอ่านเพื่อใช้อ้างอิงและคิดต่อไปเสมอในเชิงเรื่องของกฏหมายไทย
ผมเห็นด้วยกับ คุณบุญชิตหรือคุณกล้าว่า วิกฤติการณ์ทางการเมืองครั้งนี้ทำให้เห็นถึงธาตุแท้ของนักวิชาการทางกฏหมายหลายท่านและสำนักกฏหมายหลายแห่งว่ามีจุดยืนในจตนารมณ์และปรัชญาของกฏหมายดังที่ตนเองเคยป่าวประกาศต่อสาธารณชนตลอดมาหรือไม่ หรือใช้มันเป็นแค่เครื่องมือในการสนองตอบเจตนารมณ์ทางการเมืองและผลประโยชน์ส่วนตัว
สุดท้าย ผมอยากจะฝากให้กับ Etat de droit ว่าถึงที่สุดแล้ว เมื่อกฏหมายจะต้องเลือกว่าจะจัดการตามผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่กับเลือกที่จะพิทักษ์รักษาเจตนารมณ์ของกฏหมาย กฏหมายควรมีทางเลือกอย่างไร? ที่น่าสนใจไปกว่านั้น ถ้าเลือกที่จะละเมิดกฏหมายเพื่อผลประโยชน์ที่เชื่อได้ว่าเป็นของคนส่วนใหญ่แล้ว แน่ใจได้อย่างไรว่าการเลือกทางดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือวิกฤติการณ์อื่นๆที่ร้ายแรงกว่าตามมาในอนาคต
คำตอบต่อคำถามนี้ ใช้ความรู้หลายสาขาและกว้างไปกว่าหลักกฏหมาย และคำพิพากษาในอดีต น่าเสียดายวงการกฏหมายไทยยังไม่พร้อมต่อการบูรณาการศาสตร์กับสาขาวิชาอื่นๆ
คำว่า เนติบริกรขั้วใหม่ ดูจะเป็นการมองภาพทีมกฎหมายที่ยืนเคียงข้างประชาชน และหลักนิติรัฐ แบบคนเขียนบทความมากจนเมาหมัด
ตั้งแต่ปี 44 ในฐานะนักกฎหมาย ท่านเห็นว่านายกทักษิณทำลายหลักนิติรัฐมากี่เรื่อง
ซุกหุ้น ตัดตอน พรก.ภาษี พรก.กิจการโทรคมนาคม สัญญาสัมปทาน ปิดกั้นสื่อ อุ้มฆ่า ไม่เสียภาษี ทำลายระบอบถ่วงดุล ทำลายหลักการปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่นๆอีกมากมาย
ถามว่าที่ผ่านมาบรรดาเหล่านักวิชาการรวมได้ร่วมกันต่อต้านในรูปแบบทางวิชาการแล้วได้ผลหรือไม่ คำตอบคือ ได้ผลแต่ไม่มาก
เราจะทำอย่างไรเพื่อจะกอบกู้ หลักนิติรัฐ กลับมาบนพื้นฐานที่อำนาจทางการเมืองถูกยึดครอง
ท่านคิดว่าความเห็นที่ท่านให้ไป มีผลมากน้อยเพียงใด ผมบอกได้เลยว่า ความเห็นท่านมีผลแน่ในการให้ความรู้และบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้ยึดถือกฎหมาย
แต่ในทางความเป็นจริง ในโลกที่ความชั่วร้ายทำงานเต็มไปหมด ในโลกที่กฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือของอำนาจเพื่อปล้นสดมภ์ประชาชน กระบวนการเหล่านี้ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทย แต่เป็นกระบวนการทุนนิยมที่ปล้นความเป็นอยู่ของ คนเล็กคนน้อยทั่วโลก
การเคลื่อนไหวต่างๆของเหล่านักกฎหมายเพื่อสถาปนาหลักนิติรัฐให้งอกงามขึ้นใหม่ จึงเป็นงานสำคัญ มิใช่เพียงเพื่อ ตัวบทกฎหมาย ความศักดิ์สิทธิของกฎหมาย ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ต้องคำนึง คือ ปากท้อง ความหิว ความร้อน ของประชาชนตาดำๆด้วย
ในการให้ความเห็นทางกฎหมายทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพอยู่แล้ว แต่ในยามที่อยู่ในสถานการณ์พิเศษต้องมีการคำนึงถึงความเป็นจริงบ้าง ท่านเองก็เคยเขียนเรื่อง สถานการณ์พิเศษมิใช่หรือ กรณีรายละเอียดอาจจะแตกต่าง แต่ยืนอยู่บนแก่นความคิดเดียวกัน
จากผลของคำวินิจฉัย และด้วยพระบารมีของอัจฉริยบุคคล หลักนิติรัฐเริ่มกลับมาตั้งตนได้อีกครั้ง
และขอความกรุณา ให้ท่านโปรดเข้าใจว่า คำว่า เนติบริกร ว่าไม่ได้หมายถึง ผู้ใช้กฎหมายเพื่อรับใช้เจตนารมณ์ทางการเมืองของตน แต่มันมีนัย แฝงเร้น ในด้าน เลว ชั่ว ใช้กฎหมายเอาเปรียบประชาชน เอากฎหมายไปปล้นสดมภ์ชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้อื่น
เตือนด้วยความหวังดี เพราะกลัวคนอื่นเขาจะดูถูกว่าท่าน เข้าไม่ถึง
หากจะใช้ ขอให้ใช้คำว่า
"กลุ่มนักกฎหมายรับใช้ประชาชน"
เพราะพระองค์เจ้ารพี บอกว่า "My life is service" ไม่รู้สิ่งนี้อยู่ในสำนึกของนักกฎหมายมากน้อยเพียงใด
เพราะที่ผ่านมา เห็นแต่นักกฎหมายไว้ตัว ไว้ศักดิ์ รอให้คนอื่นมารับใช้ สร้างภาพความมลังเมลือง เพื่อตนเอง
เพื่อแสวงหาอำนาจ แสวงหาฐานความนิยม โดยขาดแก่นแท้ ซึ่งในที่สุด เขาเหล่านั้น อาจกลายเป็นพวก "เนติบริกร" เพราะกระแสแห่งกิเลส กิน กาม เกียรติ แวะพัดมาทักทาย
อ่ะ....... ว่ากันด้วยเหตุด้วยผลแบบนี้บ้างก็ดีครับ
ผมชอบที่ได้รับฟังความคิดเห็นแบบมีเหตุมีผลแบบนี้มากกว่าจะมาผรุสวาทถ้อยคำหยาบใส่กันจริงๆ ครับ
มีบางส่วนบางตอนที่ผมอ่านแล้วตะหงิด ๆ นะครับ แต่ขอละไว้ก่อน ยังไม่อยากพูดถึง (เก็บไว้เขียนในบล๊อกตัวเองดีไหม อิอิ)
แต่ขออนุญาตแสดงความรู้สึก... เน้นว่า "ความรู้สึก" นะครับ อาจไม่ได้เกี่ยวกับตัวบทสักเท่าใดนัก
ผมรู้สึกว่าเหมือนเวลานี้ นักกฎหมายมหาชนกำลังเป็นศูนย์กลางของรัฐประชาชาติไทยไปเสียแล้ว (อาจเป็นถึงศูนย์กลางแห่งจักรวาลไปแล้วก็ได้) ทุกวันนี้ หันหน้าไปทางไหนก็เจอแต่นักกฎหมาย (โดยเฉพาะ "มหาชน" ) จะทำอะไรก็ต้องคิดถึงความชอบธรรมตามกฎหมายตามตัวบทไปหมด... ซึ่งจะไว้ไปแล้ว นี่ละมั้ง... คือเจตนาอันแฝงเร้นในรัฐธรรมนูญ 2540
สมัยทำงานข่าวใหม่ ๆ นั่งฟังประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำได้ว่าร่างแรกขององค์ประกอบศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย "นักกฎหมายมหาชน" ทั้งหมด ด้วยฝีมือของเนติบริกรบวรศักดิ์ จนถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็น "ศาลวิชาชีพ" !!!! ตอนหลังต้องยอมแก้ไขให้องค์ประกอบกว้างขึ้นอย่างที่เป็นอยู่
อีกทั้ง ยังมีข้อวิจารณ์ตั้งแต่ตอนนั้นว่า ได้สร้างหน่วยงานเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐอย่างยุบยับ แน่นอนว่าต้องพึ่งพากฎหมายจำนวนมาก จึงไม่แปลกแต่อย่างใด ที่หลังรัฐธรรมนุญประกาศใช้จะทำให้คะแนนสอบเอ้นทรานซ์เข้าคณะนิติฯ พุ่งสูงจนเกือบเท่านิเทศฯ หรือวารสารฯ
สุดท้าย แม้แต่กษัตริย์ยังต้องแสดงบทบาทในฐานะนักกฎหมายไปด้วย จบข่าว....
ก่อนหน้า 25 เม.ย. มีงานเขียนมากพอสมควรที่คนเขียนแม้จะไม่เอาทักษิณแต่ก็ไม่เห็นด้วยกับนายกพระราชทาน/มาตรา 7 นำเสนออย่างต่อเนื่อง แต่พอหลังคืน 25 เม.ย. กลับเงียบหายจ้อย... จริงอยู่อาจมี "หอกข้างแคร่" บ้าง แ่ต่กลับเป็นการฉวย "พระปรีชาสามารถ" มาวิจารณ์พันธมิตร
หาได้วิจารณ์ไปยังตัวกระบวนการที่แสดงออกมาในค่ำคืนนั้น และผลที่สืบเนื่องต่อไปในอนาคต ว่าจะดีจะร้ายอย่างไร
พยายามตรวจสอบใน ประชาไทยดอทคอม ซึ่งเสนอเนื้อหาคัดค้านมาตรา 7 อย่างต่อเนื่อง ก็ไม่เห็นมีการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้เลย... ขาดช่วงไปเสียเฉย ๆ (ดูเหมือนว่าจะปลาบปลื้มกับคืนวันนั้นเสียด้วยซ้ำ)
ธีรยุทธ บุญมี เคยบอกว่า ก่อนหน้านี้สองครั้ง (14 ตุลาและ พฤษภาทมิฬ) ก็เรื่องร้องกันแทบเป็นแทบตาย แต่พอเกิด "นายกพระราชทาน" เข้าจริง ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งสักหน่อย... ก็ไม่เห็นใครออกมาว่าอะไรเลย...
วัีนนี้จะย้อนกลับไปเป็นเหมือนอดีตอีกหรือ?
บทความของคุณเข้าใจว่าเป็นชิ้นแรกนะครับ
ไม่ได้มาชมเพื่อน แต่ขอชมบทความที่เพื่อนเขียน
ไม่ได้เข้ามายกยอปอปั้น แต่เข้ามาเพื่อไว้อาลัยให้แก่ตัวเองในฐานะนักกฎหมายคนหนึ่งแม้ไม่ใช่นักกฎหมายมหาชน
เป็นความยากลำบากจริงๆ เมื่อต้องยืนอยู่บนทางสองแพร่ง (อาจจะสามหรือสี่) เมื่อต้องเลือกกระหว่างผลประโยชน์ที่เห็นทันตา แต่ต้องแลกด้วยการ "หรี่" หรือ "ปิด" ตา พร้อมกับยัดหลักนิติรัฐ และหลักการใช้และการตีความกฎหมาย รวมถึงนิติวิธี ใส่ลิ้นชัก
กับการยึดมั่นในหลักการ เพราะเชื่อว่ามันต้องส่งผลที่ยั่งยืน และพัฒนากว่าในอนาคต แม้จะไม่เห็นผลในช่วงข้ามคืนก็ตาม
เพราะอย่างที่พี่ปริเยศบอก การเห็นผลชัดเจนทันตาในวันนี้ จะซ่อนมะเร็งอะไรไว้ในวันหน้า มิอาจรู้ได้
นักกฎหมายถูกก่นด่าตลอดเวลาเมื่อต้องเลือกแพร่งหนึ่งในหลายแพร่งนั้น โดยเฉพาะหากเลือกแพร่งที่ยึดมั่นต่อหลักการ เนื่องจากไม่วายที่จะต้องโดนครหาว่าไม่สนใจความเป็นไปของสังคม สนแต่หลักวิชาชีพของตนเอง ยกตนสูงส่งเหนือความเดือดร้อนของเพื่อนร่วมชาติ
ไม่ต่างจากประโยคทอง "ใช้หลักรัฐศาสตร์นำหลักนิติศาสตร์" นั่นแล
นักกฎหมายถูกสอนว่าควรให้ความสำคัญต่อ "วิธีการ" ไม่น้อยไปกว่า "เป้าหมาย" แม้จะถูกมองว่าโบราณ คร่ำครึ และไม่ทันใจก็ตาม
ที่ผมเข้ามาขอไว้อาลัยให้แก่ตัวเองเพราะผมยอมรับว่าในบางจังหวะ ผมรู้สึกพึงใจกับวิธีการแก้ปัญหาเช่นนี้เหมือนกัน ผมปลาบปลื้มกับการที่พระองค์ทรงใช้คำว่า "มั่ว" กับแนวคิดนายกพระราชทาน
ผมรู้สึกพึงใจกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และการแถลงของเลขาธิการศาลฎีกาที่เรียกร้องให้ กกต ลาออก
แต่ความพึงพอใจของผม หาได้ยืนอยู่บนหลักการไม่ แค่อารมณ์เท่านั้น
และทุกครั้งยามเมื่อผมได้สนทนากับเจ้าของบล็อก หรืออ่านงานเขียนของเจ้าของบล็อก มันก็เป็นเหมือนกับการได้เตือนตัวเองอีกครั้งหนึ่ง
แม้หลายเรื่องจะเห็นไม่ตรงกัน เช่นอำนาจการยุบสภาแบบไร้เงื่อนไข และแนวคิดในเรื่องการบริหารประเทศโดยอำนาจตุลาการหรือผู้พิพากษาก็ตาม (ไว้จะลองเขียนเรื่องนี้ดู) แต่ก็ยอมรับนับถือในการยึดมั่นในหลักการ
และด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า นิยามคำว่า "เนติบริกร" ของเจ้าของบล็อกจึงก้าวพ้นเป้าหมายที่ "ดี" หรือ "เลว" แต่เป็นเรื่องของการยึดมั่นในหลักการหรือ "วิธีการ" มากกว่า
ดังนั้น ไม่ว่าจะไปให้ถึงเป้าหมายใด แต่หากนักกฎหมายผู้นั้น ไม่ยึดมั่นในหลักการ พร้อมจะเปลี่ยนแนวคิดหรือวิธีการ หรือแม้แต่ทำลายหลักการเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ (ไม่ว่าจะเป็นใครที่วาง หรือไม่ว่าเป้าหมายนั้นจะดีหรือไม่ก็ตาม) ก็ย่อมถือได้ว่า นักกฎหมายผู้นั้น อยู่ในนิยามของ "เนติบริกร" ของเจ้าของบล็อก
และผมก็เห็นเช่นเดียวกันในประเด็นนี้
ส่วนประเด็นเรื่องการเติบโตทางการเมืองและทางกฎหมายของประเทศไทย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นักกฎหมายเองก็ต้องยอมรับเงื่อนไขและข้อจำกัดอันนี้ ทำนองเดียวกันกับการที่เราต้องเข้าใจว่า สิ่งใดเป็นกฎหมายที่มีอยู่ (lex lata) และสิ่งใดเป็นกฎหมายที่ควรจะเป็น (lex ferrenda) บางครั้งมันต้องยอมรับเงื่อนไขและข้อจำกัดนี้จริงๆ เพื่อมิให้อะไรๆ มัน "เร็ว" ไป จนเกิดอาการกระตุก หรือสะดุด หรือสำลักความเจริญ หรือที่เรียกกันว่า "แบบไทยๆนั่นแหล่ะ"
อะไรๆที่มันเป็นหลักการมันก็ต้องทนทานต่อการสั่นคลอนและการพิสูจน์นั่นแหล่ะ โยกคลอนไปบ้าง แต่หลักฐานยังแน่นอยู่ ก็ยากจะล้มได้
ศิลาแปดศอกตอกเป็นหลักไงเพื่อน
ดีกว่าเป็นผักตบที่ลอยล่อง รอวันเน่าตาย
คิดๆแล้วก็ให้นึกถึงที่พี่กล้าแกเขียนไว้เรื่อง "คำนึงของต้นกล้า" ว่ะ ขออนุญาตเอามาแปะนะครับพี่
--------------------
ต้นกล้าชำแรกใบขึ้นจากพื้นดิน พบว่าท้องฟ้านั้นสวยงามและกว้างใหญ่ ไร้ของเขต หากเปลี่ยว เหงา และเหน็บหนาว ยิ่งกว่าพื้นดินที่อุ่นนุ่มที่มืดแต่ปลอดภัยที่มันเคยอยู่มา
ต้นกล้าได้รับคำสั่งสอนว่า เกิดเป็นต้นไม้ควรเอาอย่างต้นอ้อ ต้นหญ้า หรือต้นไผ่ อย่าเป็นอย่างต้นไทรต้นสัก
ต้นไม้ใหญ่เช่นไทรสัก เมื่อมีพายุมาแม้เพียงเบาบางอาจทานทนได้ หากรุนแรงขึ้นจนทนไม่ไหว ก็จะเป็นอันหักโค่น หรือถอนรากถอนโคน
แต่ต้นอ้อ ต้นหญ้า แม้ลมแรงเพียงใดก็ลู่ไปได้ลม ไม่หักโค่น เมื่อลมสงบลงแล้ว ก็ตั้งตัวตรงขึ้นหายใจกับแสงอาทิตย์ต่อไป
หรือต้นไผ่ ซึ่งอ่อนไหวไปได้เมื่อต้องลม แต่เมื่อเกาะกันเป็นกลุ่มก็แข็งแรงพอต่อโต้ได้ไม่ต่างกับไม้ใหญ่
ชีวิตต้นไม้ที่ดี ต้องโอนลู่ไปตามลมได้เหมือนต้นหญ้า ต้นอ้อ ต้นไผ่ ฉะนี้...
=======================================
ต้นกล้านึกถามว่า ความเป็นต้นไม้ มีจุดมุ่งหมายเช่นใด
แม้ต้นอ้อ ต้นหญ้า กอไผ่ โพ สัก ไทร ล้วนแต่มีวันตายทั้งนั้น จะช้าจะเร็ว
แม้เป็นต้นอ้อต้นหญ้า มิตายเพราะแรงลม แต่ก็อาจถูกคนเหยียบช้างย่ำ
ใช่ว่าอยู่เป็นอมตะเสียเมื่อไร หากเมื่อตายแล้วก็สิ้นไป ไม่เหลือร่องรอย แค่หญ้าต้นหนึ่ง
ต้นสักต้นไทร แม้จะตายได้เพราะแรงลมอันแรง แต่การตายของมันก็ยังเหลือตอที่หนาและหนักหรือหลุมรากไว้ให้ผู้คนผ่านไปผ่านมา จำได้ว่ามันเคยอยู่ตรงนี้
หรือก่อนตายก็เป็นร่มเงาให้คนได้ หรือแม้แต่เป็นหลักให้หมาเยี่ยวรด
จริงอยู่ ที่ไม้ใหญ่มีกิ่งก้านใบที่โอนลู่ได้ไปตามแรงลมที่บางเบา แต่หากลมร้ายลมแรงพอที่จะทำลายแก่นกิ่ง มันก็เลือกที่จะยืนสู้ ว่าลมจะสงบก่อน หรือมันจะโค่นก่อน
หากมันโค่น มันจะเสียใจหรือ ที่แพ้เพราะการยืนต้น ยืนยันในแก่นชีพของตน?
เรามีชีวิตเพื่ออะไรกันหนอ
Vivre c'est prouver qu'on vit ?
(เพียงมีชีวิต พิสูจน์ได้แล้วหรือว่าเรามีชีวิตอยู่)
อยู่อย่างยืนยาว หรืออยู่อย่างภาคภูมิ แม้สักวันจะหักโค่นเมื่อเจอลมแรง
การโน้มตัวลงเพื่อรอด จนลำต้นติดเปื้อนโคลนเลน เพียงเพื่อมีชีวิต นั่นคือชีวิตหรือ
=======================================
เจ้าต้นกล้าไม่อาจตอบได้ แต่มันมองรากของตัวเอง ว่ามันคือพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีรากแก้ว มิใช่รากหญ้า
ถ้ามันจะเป็นไม้ใหญ่ที่แข็งแรงต้านลม หรือเกะกะสายตารอเวลาคนมาโค่นทิ้ง
ความผิดประการเดียวหากจะหาโทษ คือผิดที่มันเกิดมาเป็นเช่นนี้เอง.
อ่านแล้ว เขียนดีมากเลยนะคะ
^_^
เรียน น้องป๊อก
พี่ว่านะ เรื่องนี้ ไม่เป็นไรหรอก ป๊อก ทุกอย่างต้องใช้เวลาพัฒนาการ แล้วก็ไม่มีอะไร สมบูรณ์แบบไปหมด ทุกอย่าง ต้อง trade - off อีกอย่าง กฎหมายที่แข็งตัวเกินไป ก็ยากที่จะแก้ไขปัญหาทางสังคมได้
เรายังยอมรับเลยว่า อำนาจตุลาการ ไม่อาจเข้าไปแทรกแซงอำนาจบริหารได้ในกรณีที่เป็นการกระทำในทางการเมืองโดยแท้จริง อันนี้ ก็เป็นเครื่องแสดงให้เห็นแล้วว่า กฎหมายไม่ใช่เครื่องมือแก้ไขปัญหาได้ทุกกรณีเสมอไป เรื่องทางการเมือง ก็ควรแก้ไขด้วยกระบวนการทางการเมือง และความรับผิดชอบทางการเมือง แต่ทางกระบวนการทางเมืองมันแก้ไขกันเองไม่ได้ การที่จะมีการแทรกแซง โดยองค์กรที่มีอำนาจและบารมี เหนือกว่า และเกิดผลดีโดยรวม ก็ยังจำเป็นอยู่สำหรับสังคมไทย แต่ขอให้เกิดน้อยครั้งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สำหรับพี่แล้ว อะไรที่จะยอมให้บ้านเมือง ที่บรรพบุรุษได้สละเลือดเนื้อสร้างกันไว้ ให้คนปัจจุบันได้เสวยสุข ที่ประกอบด้วยคนหลายหมู่เหล่า ที่จะต้องดำรงชีวิตร่วมกัน ไปได้ดี ก็คงจะต้องยอม ๆ กันไป เรื่องคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญเรื่องนี้ จึงขอละเว้นไม่วิพากษ์วิจารณ์ เพราะถ้าไม่มีการตัดสินแบบนี้ ปัญหาก็คงยืดเยื้อกันไปไม่หยุดหย่อน บ้านเมืองที่ไม่ความสงบสุข ย่อมไม่เป็นผลดีต่อใครเลย
ด้วยเหตุนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องนี้ พี่กลับไม่คิดมากนะครับ เพราะอย่างน้อย มันก็แก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ระดับหนึ่ง แต่ยังกังวลไม่น้อยว่า หากมีการเลือกตั้งใหม่ เกิดว่า ทรท. ยังชนะ การเลือกตั้งอยู่ ยังมีจะมีปัญหาหรือไม่
เหมือนดัง ปริเยศว่า .... อีกหน่อยคงต้องมาขบคิดกันว่า จะแก้ไขปัญหาช่องว่างระหว่างนักกฎหมาย กับ นักวิชาการอื่น ๆ รวมทั้ง นักปฏิบัติกันอย่างไร หลายคนที่ไม่ได้เป็นนักกฎหมาย อ่านงานของนักกฎหมาย ก็จะงง ไม่เข้าใจ เลยพาลว่า นักกฎหมายเขียนอะไร ปัญญาอ่อน ชะมัด ในขณะที่นักกฎหมาย ก็มองว่า คนที่ไม่ใช่นักกฎหมาย มันพูดอะไร ไม่ตรงประเด็น เหตุผลข้าง ๆ คู ๆ เลือดซิบ ๆ ที่สีข้าง อะไรทำนองนั้น ไม่รู้ว่าการเรียนรวมกันแบบสมัยก่อน ในหลักสูตร ธรรมศาสตร์บัณฑิต จะแก้ไขปัญหาช่องว่างนี้ได้หรือไม่
สุดท้ายคือ การแสดงความเห็น ในกลุ่ม bloggang ที่พี่เขียนอยู่ ก็มีการแสดงความเห็นในเชิงที่หยาบคาย โดยคนที่ครูบาอาจารย์ ต่อเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่อง คุณไชยันต์ ฉีกบัตรเลือกตั้ง ซึ่งได้มีการแสดงความเห็นว่า เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ไม่ได้น่านับถืออะไร ทำให้มีลูกศิษย์ลูกหาของคุณไชยันต์ ออกมาตอบโต้ จำนวนมาก
ครั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาของคุณไชยันต์ เชื่อมโยงไปถึงเหตุการณ์ และ กฎหมายที่ห้ามฉีกบัตรเลือกตั้ง โดยกล่าวว่า คนที่แสดงความเห็นกฎหมายห้ามฉีกบัตรฯ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ .... เป็นความเห็นของคนปัญญาอ่อน ........... ซึ่งแน่นอนที่สุด คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องนี้ ไม่ได้กล่าวถึง การฉีกบัตรเลือกตั้งสักนิดเดียว ... ไม่ทราบเขาเชื่อมโยงเรื่องราวกันได้อย่างไร
อันนี้ คือ ตัวอย่าง ของคนใจแคบ ที่ไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของความแตกต่างทางความคิด ที่แต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน และเป็นเอกสิทธิ์ ที่แต่ละคนจะคิดเห็นแตกต่างกันได้ คนที่มีเหตุผล จึงพึงเคารพความเห็นของคนอื่น ส่วนตนจะเห็นด้วย หรือเห็นต่าง ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวไป
โดยสรุป น้องป๊อก จะมีความคิดเห็นอย่างไร จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัว ที่ต้องเคารพกัน แต่พี่ฝากข้อคำนึงเรื่องการบูรณาการทางความคิดหลายแขนงวิชาไว้ด้วยนะครับ เพราะเราในฐานะกฎหมาย ก็ไม่อาจจะอยู่โดดเดี่ยวได้โดยปราศจากศาสตร์แขนงอื่น ๆ ครับ
ด้วยความเคารพในความเห็นและมิตรภาพครับ
"ความเงียบของนักกฎหมายมหาชน"
เยี่ยมมาก
การที่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า "มั่ว"
มีนัยที่ต้องตีความ แต่นั่นก็อีกนั่นแหละ สำหรับ ชาล้นถ้วย คงไม่ต้องเติมอะไรเข้าไปอีก เพราะเดี๋ยวหกเลอะเทอะ
ขอให้ยืนยันในหลักนิติรัฐไปตลอดนะ อย่างน้อยก็ไม่ถ่วงบ้าน ถ่วงเมือง
และคำว่า "มั่ว" ของนายเหตุผล ดูจะแสดงความ "มั่ว"ที่ข้าพเจ้าไม่อยากอธิบายถึงนัยทางการเมือง และทางกฎหมาย ให้เสียเวลา เพราะข้าพเจ้าเริ่มใกล้คุกเข้าไปทุกวัน
และท้ายที่สุด สำหรับบทความ ความเงียบของนักผมมีความรู้สึกว่าเจ้าของบทความจะขาดอะไรไปบ้าง จึงขอนำมาโพสแบบจะ จะ
.................
นักกฎหมายกระป๋องปลา กับ นักกฎหมายปลากระป๋อง
ในปัจจุบันมีนักกฎหมายบางคนชอบเรียกตัวเองว่าเป็น "นักกฎหมายมหาชน" หรือ สื่อบางสื่อชอบเรียกนักกฎหมายบางกลุ่มว่า "นักกฎหมายมหาชน" ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้น "นักกฎหมายมหาชนมีจริงหรือเปล่า" คือคำถามที่ต้องวิสัชชนาให้ได้ก่อน
กฎหมายแท้จริงแล้ว คือ ระบบของกฎเกณฑ์ที่ไม่อาจแยกขาด หรือแยกย่อย ออกเป็นสาขาต่างๆได้ ระบบแห่งกฎเกณฑ์ คือระบบที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทั้งในแง่ของส่วนตน ส่วนรวม ส่วนข้ามรัฐ รอดรัฐ ส่วนเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง ศาสนา ชีวิต ความเป็นอยู่
ความคิดในการแบ่งแยกสาขาของกฎหมาย กระทั่งแบ่งแยก "คน" ในฐานะ นักกฎหมายออกเป็น "ประเภท" หรือ "พันธ์"ต่างๆโดยยึดถือ "ประเภทของกฎหมาย" จึงเป็นความคิดที่ "อ่อนหัด" เพราะระบบแห่งกฎเกณฑ์ไม่อาจแบ่งแยกได้ เช่น หากคุณถูกรถของหน่วยงานราชการชนจนบาดเจ็บ หากคุณจะเรียกค่าเสียหาย คุณต้องไปดู กฎหมายละเมิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าคุณจะเอาข้าราชการที่ขับรถชนคุณเข้าคุก คุณก็ต้องไปดูกฎหมายอาญา ถ้าคุณจะดำเนินคดี ก็ต้องไปใช้วิธีพิจารณาความของศาลปกครอง หรือ ศาลอาญา
ผมกำลังจะบอกคุณว่า "นักกฎหมายมหาชน" ไม่มีหรอก มีแต่ "นักกฎหมาย" ที่กำลังใช้กฎหมายอันเป็นร่างแหของกฎเกณฑ์ที่เชื่อมร้อยโยงใยอย่างเป็นระบบ
.....................................
นอกจากเราไม่อาจแบ่งแยก "กฎหมาย" ออกเป็น "พันธุ์" ได้แล้ว "กฎหมาย" ก็ไม่อาจแยกขาดจากรากเหง้าของมัน คือ "บริบท" ที่เป็นฐานที่มาของกฎหมาย เพราะกฎหมายไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ก่อน แต่กฎหมายพัฒนามาจาก "สิ่งที่มีอยู่ก่อน" คือ "ปัญหาในบริบท" ซึ่งความขัดแย้งต่างๆบีบคั้น บีบเค้น ให้มนุษย์ร่วมคิด ร่วมกำหนด กรอบแห่งการดำรงอยู่ร่วมกัน
ด้วยเหตุนี้ หากนักกฎหมายผู้ใด หรือ ผู้ที่เรียกตนว่าเป็น "นักกฎหมาย" พันธุ์ใด ใช้กฎหมายโดยตัดขาดจากบริบทสังคมแล้ว นักกฎหมายผู้นั้นก็อาจเข้าสู่ ภาวะ "บูดเน่า" ที่อาจดันกระป๋อง หรือ เปลือกแห่งถ้อยคำให้ปูดปูน
อย่าลืมว่า เราซื้อปลากระป๋อง มากิน ปลา ไม่ได้กิน กระป๋อง แต่นั่นอย่างเพิ่งด่วยสรุปว่า กระป๋องไม่มีคุณูปการในการรักษาปลาให้หอมอร่อยนะ แต่เมื่อวันใดที่ปลาในกระป๋องมันเน่า เราจะทำอย่างไรกับกระป๋องดี เราต้องกลับมาตรวจสอบกระป๋องว่ามันพังเพราะอะไร พังเพราะปลา หรือ พังเพราะกระป๋อง
........................................
สำหรับ ระบบแห่งกฎเกณฑ์ในบ้านเรา ต้องยอมรับว่า เหมือน กระป๋องใส่ปลาเน่า
เน่าจนกัดกร่อนกระป๋องให้ผุลงวันแล้ววันเล่า ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นนักกฎหมายออกมาให้ความเห็นในสองแนว
แนวแรก คือ นักกฎหมายกระป๋องปลา พวกนี้ติดกับหลักการและตรรกะ ติดกับเปลือกของกฎหมาย ขอให้กระป๋องสวยไว้ก่อน ส่วนปลาจะเน่าอย่างไรข้าไม่สน ข้ามีหน้าที่เดินหน้ารักษากระป๋องอย่างเดียว ขอให้กระป๋องปลาสวยไว้ก่อน แต่พวกนี้ยังดีกว่า นักกฎหมายปลาเน่า อย่างเนติบริกรเยอะ แต่อย่างว่า นักกฎหมายกระป๋องปลาดูจะทำหน้าที่ของตนได้ดีมาก ดีจนกระทั่งออกปกป้อง นักกฎหมายปลาเน่า
แนวสอง คือ นักกฎหมายปลากระป๋อง พวกนี้ไม่ใช่ไม่สนใจกระป๋องปลานะ ! แต่ที่ผ่านมา กระป๋องปลา เป็นแต่กระป๋อง แต่ไม่ได้มีสภาวะที่จะเปลี่ยนปลาเน่าเป็นปลาดีน่ากินได้ นอกจากนี้ปลาเน่ายังส่งกลิ่นเหม็นสร้างความเดือดร้อนไปทั่ว จึงถึงเวลาสักทีที่จะต้อง สังคยนา ปลาเน่าตัวอ้วนในกระป๋องสักที ทั้งที่รู้ว่า อาจมีปลาเน่าตัวใหม่เข้าอยู่ในกระป๋องก็ตาม
ทั้งนักกฎหมายกระป๋องปลา และ นักกฎหมายปลากระป๋อง ต่างๆก็มีจุดร่วมกัน คือ การรักษา นิติรัฐ รักษา ระบบกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายให้กลายเป็นหลักการสำคัญ
แต่จุดที่ต่างกันอย่างชัดเจน คือ นักกฎหมายกระป๋องปลา มุ่งรักษา กระป๋อง ดุจดวงใจ โดยไม่สนใจ ว่า ปลามันจะเน่า มันจะเหม็น ประชาชนจะคลื่อนเหียนอาเจียน ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวหรือไม่ ขอให้ข้ารักษากระป๋องให้ดีที่สุดไว้ก่อน และเขาเหล่านั้น ก็ทำหน้าที่ได้ไม่เลวเลยทีเดียว
ในขณะที่นักกฎหมายปลากระป๋อง มุ่งรักษา ปลา และ กระป๋อง ไปบนพื้นฐานที่เป็นไปได้ ที่ผ่านมา ปลาเน่า ทำลายกระป๋องไปจนยับเยิน จนบุบบี้ไปหมดแล้ว ดังนั้นสิ่งต้องทำ คือ กำจัด ปลาเน่าไปโดยเร็ว อย่างน้อยที่สุด เมื่อปลาเน่าออกไปแล้ว ค่อยมาดำเนินการต่อว่า จะซ่อมกระป๋องอย่างไร ไม่ให้ ปลาเน่าเข้ามาในกระป๋องได้อีก หรือ จะเปลี่ยน ปลาเน่าเป็น ปลาร้ากระป๋องที่หอมอร่อยได้อย่างไร
..................................
อย่าลืมว่า คน กิน "ปลากระป๋อง" ไม่ได้กิน "กระป๋องปลา" แม้ว่า "กระป๋องปลา" จะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ "ปลากระป๋อง" ก็ตาม แต่มันถึงเวลาตั้งนานแล้วที่จะเทปลาเน่า ออกจากปลากระป๋อง ส่วน กระป๋องใบใหม่ จะซ่อม แซม สร้าง อย่างไร ค่อยว่ากันใหม่
มิใช่ มัวนั่งคิดแต่เรื่อง "กระป๋องปลา"
แล้วถ้าภายในกระป๋อง
มีแต่คราบสนิมเกาะกรังเต็มไปหมด
ต้องทนกินปลากระป๋อง
ในกระป๋องที่มีสนิม
แบบนั้นเข้าไป
จะเกิดอะไรขึ้น ?
หาเรื่องอีก ไอ้ควายนี่มีเขาไว้ทำร้ายคนอย่างเดียว
คำว่า "มั่ว" จะมีนัยต้องตีความอะไร มั่ว ก็คือ มั่ว
(ถ้าจะตีความก็ลองอธิบายมา อย่าอวดรู้ อวดดี อ่อนหัดชะมัด)เถียงแบบไร้เหตุผล เพราะมัน ก็คือ หนึ่งใน "ไอ้มั่ว" (แต่ไม่ยอมรับ...โคตรตุ๊ด)
หัดตักน้ำใส่กระโหลกชะโงกดูเงาซะ ว่าตัวมันเองนี่แหละที่เป็นทั้งปลาทั้งกระป๋อง แถมเป็นยี่ห้อที่ไม่มีใครรู้จัก แต่อยากดัง สร้างชื่อ สร้างยี่ห้อ จนเหม็นเน่าไปทุกอณู
ดีอย่างที่มันไม่ได้เป็นเนติบริกรขั้วใหม่ เพราะมันเลวร้ายกว่า คือถูกไอ้พวกเนติกรขั้วใหม่หลอกใช้อีกที ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร เรียกไอ้โง่ หรือ ไอ้บ้า แล้วกัน
สุดท้ายก็แค่ไอ้บ้าพลัง ไร้สาระ เชิญเอาเขาควายมาขวิดต่อได้เลย แต่ว่าอยากจะพูดแทนใครต่อใครว่า "อย่าได้เข้ามาโพสความเห็นโง่ ๆ ถมน้ำลายใส่หน้าตัวเองอีกเลย ไม่มีใครเค้าต้อนรับหรอก น่าจะรู้ตัวได้แล้ว"
กระทู้มันเองยังไม่มีใครเค้า เล่นด้วย ไม่มีใครคบวะ
หวังว่ากระทู้นี้คงเป็นกระทู้หยาบคายสุดท้าย สำหรับบล็อคที่มีคุณค่าบล็อคนี้
"ศาสตรา ออกไป" "ศาสตรา ออกไป"
แน่จริง ควักเซนปัญญาอ่อนมาใช้ แล้วอย่ายึดติด อย่าโกธร อย่าโมโห แท้จริงไม่มีรูป แท้จริงไม่มีเสียง แท้จริงไม่มีข้อความใด ๆ ไม่ได้โดนด่า อย่าเอามายึดติดละกันนะ
บุญรักษา ปัญญาอ่อน ฮา ฮา ฮา
คุณศรัทธาจะฟื้นฝอยหาตะเข็บทำไมอีกครับ
บ่างช่างยุตัวจริงคงเป็นคุณนี่ละ
ผมอ่านคำวินิจฉัยกลางแล้ว ความยาวถึง 54 หน้า อ่านด้วยความรวดเร็ว เอาเป็นว่า ไม่ขอกล่าวถึงข้อกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น ที่มาโพสคอมเมนท์ เพราะผมชอบเหตุผลของการวินิจฉัยเหตุแห่งคำร้องข้อ 1. มากที่สุด มันโดนใจครับ มันตรงใจผม เนื่องจากผมเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกโดนบังคับให้ไปเลือกตั้ง ซึ่งในชีวิตการใช้สิทธิการเลือกตั้งของผมเอง ไม่ว่าจะเป็นเลือก สส. สว. หรือ ผู้ว่า ฯ กทม. ผมเลือก no vote ทุกครั้งครับ (เคยได้คุยและเผยความลับเรื่องนี้กับเจ้าของบล็อครู้ จนถูกสอนสั่งมาแล้ว)
ศาสตราออกไป ศาสตราออกไป
ศาสตราออกไป ศาสตราออกไป
ศาสตราออกไป ศาสตราออกไป
ศาสตราออกไป ศาสตราออกไป
ศาสตราออกไป ศาสตราออกไป
ศาสตราออกไป ศาสตราออกไป
ศาสตราออกไป ศาสตราออกไป
ศาสตราออกไป ศาสตราออกไป
ผมขอเสนอเจ้าของบล๊อกว่า พวกยัดเยียดสังคมด้วยการเอาข้อความจากบล๊อกตัวเองมาโพสต์ยัดลงบล๊อกคนอื่นนี่ ลบทิ้งเสียดีไหมครับ ? ผมเข้ามาในบล๊อกนี้เพราะอยากอ่านความเห็นของคุณ และนักวิชาการเพื่อนฝูงคุณนะครับ ส่วนบล๊อกไหนที่ไม่มีคนเข้า ก็เพราะไม่มีใครอยากไปอ่านเรื่องหยาบคายเหลวไหล ก็ยังไม่รู้สึกตัว เอามายัดเยียดให้คนอ่านอีกครับ
ส่วนที่อ้างอิงข้อความจากบล๊อกคนอื่นมายาวๆ ก็ขอด้วยแล้วกันนะครับ ถ้าอยากอ้างอิงก็เอามาบางท่อน แล้วให้คนตามไปอ่านในบล๊อกนั้นเอาเองแล้วกันครับ
ไม่งั้นต่อไปมันจะเป็นช่องทางให้พวกอยากดังแต่ขายไม่ออก แอบเอาสินค้ามายัดเยียดผ่านบ้านคนอื่นครับ
โปรดพิจารณานะครับ
ขอบคุณครับสำหรับคำด่าทอ
ผมดีใจจังที่มีคนด่า และไล่
เพราะอะไร นะหรือ เพราะพวกคุณมองภาพว่าผมเป็นคนเลวไง คุณเลยไล่ผม ออกไป ออกไป ออกไป
ผมดีใจที่มีคนมองภาพว่าใครเลว แล้วกล้าที่จะไล่
มันเป็นพัฒนาการขั้นหนึ่งที่เกิดขึ้นในโลกบล็อกแห่งความลวง ที่มีคนกล้าลุกขึ้นมาไล่คนที่ถูกมองว่าเลว
ดีใจ ดีใจ
เมฆบ้า ออกไป ออกไป ออกไป
เมฆบ้า ออกไป ออกไป ออกไป
ขอภาษาอังกฤษ
Crazycloud Get out
Crazycloud Get out
Crazycloud Get out
มาช่วยไล่ ฮา ฮา ฮา
สนุก สนุก สนุก
ขำๆ ขำๆ ขำๆ
เด็กๆงงครับ
ทัศนะคติของผมกับเรื่องกฎหมายและการปกครองชักจะเพี้ยน
ขึ้นไปทุกขณะเมื่ออยู่ท่ามกลางกระแสของผู้ใหญ่สองฝ่าย
ปัญหานี้ไม่น่าจะยากหากแต่ละคนทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด
ในทัศนคติของผมแล้ว คงจะจัดการปัญหาได้ยากยิ่งขึ้นหากคน
ที่ทำหน้าที่หนึ่งไปยุ่งกับอีกหน้าที่ด้วยความไม่พร้อม ทั้งที่คน
ทำหน้าที่เดิมก็ทำหน้าที่ของตนเองดีอยู่แล้ว
แต่ปัญหามันยิ่งแก้ยากกว่าเมื่อคนที่ทำหน้าที่หนึ่งเห็นแล้วว่าอีกคนไม่
คิดจะทำหน้าที่ของตนเอง ซ้ำยังอยากล่วงล้ำหน้าที่คนแรกอีก
ยิ่งพูดยิ่งงงนะครับ แต่เคยอ่านอะไรบางอย่าง เขากล่าวกันว่า
คนเลวจะชนะ ถ้าคนดีไม่ทำอะไร
www1027
coach factory outlet
christian louboutin
true religion
air max 90
ralph lauren polo
michael kors outlet
hermes belt
supreme clothing
louboutin shoes
jordan shoes
nike 97
adidas yeezy
yeezy boost 350
yeezy boost 350
nike vapormax
air jordan
kd 11
bape hoodie
nike x off white
nmd
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก