ทำไมต้องให้เราอยู่แต่ห้องเรียน?
ไม่เข้าใจกับคำพูดที่ว่า "เป็นอาจารย์ก็ไปสอนหนังสือลูกศิษย์ให้ดี ไม่ใช่มาไล่นายกฯแบบนี้"
คนพูดรู้ได้อย่างไรว่าอาจารย์เหล่านั้นสอนหนังสือไม่ดี หรือทำหน้าที่ขาดตกบกพร่อง
คนพูดไม่คิดหรือว่าการแสดงออกของอาจารย์นับเป็นการสอนหนังสือชั้นดีอีกทางหนึ่ง
ที่น่าสงสัย หน้าที่ของอาจารย์มีเพียงประการเดียว คือ สอนหนังสือ อย่างนั้นหรือ? อาจารย์จะแสดงจุดยืนทางการเมือง ออกมาอธิบายวิชาการให้สังคม ไม่ได้อย่างนั้นหรือ? ทำไมต้องไล่ให้กลับเข้ามหาวิทยาลัยเสมอไป?
.............
ไม่เข้าใจกับความเห็นตามกระดานข่าวสาธารณะทำนองว่า "นักศึกษาออกมาทำอะไร ทำไมไม่กลับไปเรียนหนังสือ" หรือ "อย่ามาทำเป็นช่วยบ้านเมืองเลย เอาตัวเองให้รอด กลับไปเรียนให้จบ ๔ ปีเสียก่อนเถอะ"
คนคิดแบบนี้ไม่คิดบ้างหรือว่า มันคนละประเด็นกัน การแสดงออกทางการเมืองก็เป็นเรื่องหนึ่ง การเรียนหนังสือก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แล้วไปรู้ได้อย่างไรว่านักศึกษาเหล่านั้นไม่ได้ตั้งใจเรียนหนังสือ
ผมไม่ทราบว่ามีที่ไหนบังคับว่า นักศึกษามีหน้าที่เรียนอย่างเดียวเท่านั้น
วันหนึ่ง ถ้าเขาเห็นว่าเรื่องบางเรื่องไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องคัดค้าน เขาไม่มีสิทธิเสรีภาพกระทำอย่างนั้นหรือ
แล้วที่นักศึกษากระทำอยู่ก็เป็นวิถีทางตามรัฐธรรมนูญโดยแท้ มิได้เดินออกนอกกรอบแต่ประการใด
.................
ขอให้กำลังใจคณาจารย์และนักศึกษาที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพของตนเพื่อแสดงออกทางการเมือง
เห็นด้วยกับเนื้อหาหรือไม่เป็นอีกเรื่อง
แต่อย่างน้อย เขาเหล่านั้นก็ใช้สิทธิเสรีภาพอันพึงมีพึงได้ของตน และพิสูจน์ให้เห็นว่า "ความกล้าหาญอย่างมีเหตุมีผล" ยังมีจริงในสังคมไทยที่ไร้เดียงสาทางการเมือง
..................
- ทิ้งท้าย -
ฝากวรรคทองวรรคนี้ไปให้คุณสนธิและแนวร่วมถวายพระราชอำนาจ วรรคทองนี้เป็นวรรคสุดท้ายในบทความของเกษียร เตชะพีระในมติชนรายวัน ศุกร์ที่ ๑๐ ก.พ.
"ใช่หรือไม่ว่า ที่กำลังดังกังวานอยู่ตอนนี้คือเสียงเรียกร้องหา political tutelage (คนที่ช่วยกำกับดูแลทางการเมืองหรือ "พี่เลี้ยง" - เจ้าของบล็อก) กันอีก อันสะท้อนอาการ political immaturity (ไร้เดียงสาทางการเมือง ไม่บรรลุนิติภาวะทางการเมือง - เจ้าของบล็อก) เรื้อรัง แถมเป็น self-inflicted political immaturity (สภาวะไร้เดียงสาทางการเมืองที่กัดกร่อนกินจากภายในตัวของตัวเอง - เจ้าของบล็อก) มากกว่าอื่น?"
คนพูดรู้ได้อย่างไรว่าอาจารย์เหล่านั้นสอนหนังสือไม่ดี หรือทำหน้าที่ขาดตกบกพร่อง
คนพูดไม่คิดหรือว่าการแสดงออกของอาจารย์นับเป็นการสอนหนังสือชั้นดีอีกทางหนึ่ง
ที่น่าสงสัย หน้าที่ของอาจารย์มีเพียงประการเดียว คือ สอนหนังสือ อย่างนั้นหรือ? อาจารย์จะแสดงจุดยืนทางการเมือง ออกมาอธิบายวิชาการให้สังคม ไม่ได้อย่างนั้นหรือ? ทำไมต้องไล่ให้กลับเข้ามหาวิทยาลัยเสมอไป?
.............
ไม่เข้าใจกับความเห็นตามกระดานข่าวสาธารณะทำนองว่า "นักศึกษาออกมาทำอะไร ทำไมไม่กลับไปเรียนหนังสือ" หรือ "อย่ามาทำเป็นช่วยบ้านเมืองเลย เอาตัวเองให้รอด กลับไปเรียนให้จบ ๔ ปีเสียก่อนเถอะ"
คนคิดแบบนี้ไม่คิดบ้างหรือว่า มันคนละประเด็นกัน การแสดงออกทางการเมืองก็เป็นเรื่องหนึ่ง การเรียนหนังสือก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แล้วไปรู้ได้อย่างไรว่านักศึกษาเหล่านั้นไม่ได้ตั้งใจเรียนหนังสือ
ผมไม่ทราบว่ามีที่ไหนบังคับว่า นักศึกษามีหน้าที่เรียนอย่างเดียวเท่านั้น
วันหนึ่ง ถ้าเขาเห็นว่าเรื่องบางเรื่องไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องคัดค้าน เขาไม่มีสิทธิเสรีภาพกระทำอย่างนั้นหรือ
แล้วที่นักศึกษากระทำอยู่ก็เป็นวิถีทางตามรัฐธรรมนูญโดยแท้ มิได้เดินออกนอกกรอบแต่ประการใด
.................
ขอให้กำลังใจคณาจารย์และนักศึกษาที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพของตนเพื่อแสดงออกทางการเมือง
เห็นด้วยกับเนื้อหาหรือไม่เป็นอีกเรื่อง
แต่อย่างน้อย เขาเหล่านั้นก็ใช้สิทธิเสรีภาพอันพึงมีพึงได้ของตน และพิสูจน์ให้เห็นว่า "ความกล้าหาญอย่างมีเหตุมีผล" ยังมีจริงในสังคมไทยที่ไร้เดียงสาทางการเมือง
..................
- ทิ้งท้าย -
ฝากวรรคทองวรรคนี้ไปให้คุณสนธิและแนวร่วมถวายพระราชอำนาจ วรรคทองนี้เป็นวรรคสุดท้ายในบทความของเกษียร เตชะพีระในมติชนรายวัน ศุกร์ที่ ๑๐ ก.พ.
"ใช่หรือไม่ว่า ที่กำลังดังกังวานอยู่ตอนนี้คือเสียงเรียกร้องหา political tutelage (คนที่ช่วยกำกับดูแลทางการเมืองหรือ "พี่เลี้ยง" - เจ้าของบล็อก) กันอีก อันสะท้อนอาการ political immaturity (ไร้เดียงสาทางการเมือง ไม่บรรลุนิติภาวะทางการเมือง - เจ้าของบล็อก) เรื้อรัง แถมเป็น self-inflicted political immaturity (สภาวะไร้เดียงสาทางการเมืองที่กัดกร่อนกินจากภายในตัวของตัวเอง - เจ้าของบล็อก) มากกว่าอื่น?"
5 ความคิดเห็น:
เพิ่มเติม
หวังว่าน้าเหลี่ยมคงไม่ตอบนักข่าวด้วยลีลาแบบเดิมๆในกรณีนักศึกษาล่ารายชื่อถอดถอนในทำนองว่า
"ไอ้พวกนี้อยากดัง"
ด้วยความหวังดีต่อน้าเหลี่ยม
ผมภาวนาอยู่เนี่ยว่าน้าเหลี่ยมอย่าหล่นประโยคนี้มาเลยนะ
ผมจำได้ว่าเมื่อครั้งปรากฏการณ์พระราชกำหนดติดหนวด บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น อารมณ์ก็ประมาณนี้
"พวกอยู่หลังห้องสมุด"
"สำเร็จความใคร่ทางวิชาการบนหอคอยงาช้าง"
"ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด"
"ไม่เคยลงมือปฏิบัติ"
ฯลฯ
ผมว่าเรากำลังสับสนในบทบาทหน้าที่ของตนเอง การเรียกร้องให้ นักวิชาการลงไปจับปืนสู้กับผู้ก่อการร้ายในภาคใต้ จึงเป็นเรื่องไร้สาระพอๆกับการให้ผมไปยืนเป็นกองหน้าทีมนกกระเด้าลมแห่งเวทีพรีเมียร์ชิพ
แน่นอนเมื่อนั่งอยู่หน้าจอตู้ดูการถ่ายทอดสด ผมสามารถด่าเจอร์ราร์ดยามจ่ายบอลเสีย เหน็บแนมการ์เซียยามมันเล่นบอลยาก ถากถางปีเตอร์ เคร้าช์ ยามเทคตัวขึ้นโหม่งด้วยความแรงประหนึ่งเยี่ยวเด็ก
เดินไปตบกบาล (ผ่านจอตู้) ตราโอเร่ที่เสือกโชว์สเต็ปหน้าปากประตูตัวเอง
และดีดไข่ดันซิสเซ่ ที่ทะลึ่งยิงข้ามคาน ทั้งๆที่แค่เสือกเกือกไปแปะลูกด้วยความแรงประหนึ่งขี้มูกที่ถูกสั่งออกทางรูจมูกข้างซ้ายของผมมันก็เป็นสกอร์แล้ว
อย่าว่าแต่ผมเลย ขนาดโฆเซ่ มูริญโญ่ ก็ต้องให้เกียรตินักเตะของตัวเองยามปะทะแข้งอยู่ในฟอร์หญ้า เหตุเพราะถึงแม้เฮียเครียดจะไร้เทียมทานในการจัดทัพและเจนจัดในการวางแผนกลยุทธการเล่น แต่หากให้เขาใส่สตั๊ดที่ทำจากหนังลูกจิงโจ้ ลงไปโจ๊ะ พรึมๆ ด้วยตนเอง ก็เชื่อได้ว่าไม่เกินสิบนาทีก็คลานต่ำกลับมาที่ซุ้มม้านั่งสำรองเช่นกัน
แม้เขาจะมีสิทธิตะคอกใส่ริคาโด้ คาร์วัลโญ่ ยามเล่นเสียง่ายๆ ก็หาใช่เขาจะเล่นในตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็คได้ดีกว่าเซ็นเตอร์หัวฟูผู้นั้น
ที่ด่าได้ก็เพราะนั่นคือหน้าที่ของมูริญโญ่ ที่ด่าได้เพราะ โจว เหวิน ฟะ แห่งสแตมฟอร์ด บริดจ์ อยู่ในฐานะ "ผู้จัดการทีม"
และที่นักเตะทั้งหลายไม่ว่าจะอยู่ในระดับ "กาแลคติคกอส" หรือไม่ ต่างเชื่อฟังคำสั่งสอนของโค้ช หรือผู้จัดการทีมของตน ทั้งๆที่ไอ้แก่หัวหงอกที่ยืนสอนตนอยู่นั้น ทักษะฝีทีนเทียบไม่ได้แม้แต่เศษเสี้ยวอุจจาระเล็บของบรรดาแข้งพันล้านแต่อย่างใดนั้นก็เพราะ
เขาย่อมรู้ว่า ในด้านการออกแบบและรังสรรค์แผนการเล่น เทคนิค และแทคติคนั้น เขาเองก็เปรียบได้กับอุจจาระเล็บของบรรดาขรัวเฒ่าหัวหงอกผู้นั้นเช่นกัน
สมดุลในทีมที่ควรจะเป็นจึงไม่ใช่การตะโกนด่ากันไปมาระหว่างนักเตะ กับผู้จัดการทีม โดยต่างคนต่างเอา “ทีน” ของตัวเองไปเหยียบย่ำอยู่บนพื้นที่ของอีกฝ่ายหนึ่ง เหมือนดั่งที่ “มิโด้” กองหน้าทีมชาติอียิปต์ และทอตแนม ฮอตสปอร์ ได้แสดงกริยาไม่พอใจและกล่าวผรุสวาจาใส่เฮดโค้ชทีมชาติอียิปต์ด้วยความไม่พอใจที่เปลี่ยนตนออกมากลางครันระหว่างเกมส์ โดยคิดว่าสิ่งที่โค้ชทำนั้นไม่ถูกต้องและไม่ส่งผลดีต่อทีม (และคนที่ถูกเปลี่ยนลงไปแทนก็โหม่งประตูชัย ฮาๆๆๆ)
และก็คงไม่ใช่ การที่โค้ชหรือผู้จัดการนั่งวางแผนอยู่บนเตียงนอน ไม่เคยคุมลูกทีม ณ ข้างสนามซ้อม ไม่เคยใส่ใจที่จะรับรู้เรื่องราวส่วนตัว รวมทั้งศึกษาบุคลิกและแนวทางการเล่นของลูกน้องของตน จนเข้าใจผิดว่า นักเตะอย่างตราโอเร่คือนิวตูราม
นักเตะอย่างบรูโน่ เชย์รู คือ นิวซีดาน
นักเตะอย่าง ซิสโซโก้ คือ นิววิเอร่า (รายนี้ไม่แน่นะคร้าบบบบ ฮาๆๆๆ)
นักเตะอย่างบิสคาน คือ นิวโบบัน
และนักเตะอย่างปีเตอร์ เคร้าช์ คือ นิวเฮสกีย์ (เฮ้ย ???)
ตะบี้ตะบันเล่น 3 – 5 – 1 ทั้งๆที่ทีมของตัวเองมีศักยภาพดีที่สุดยามบรรเลงแข้งในระบบ 4 – 4 – 2
และไม่เคยที่จะมีปฏิสัมพันธ์ พูดคุย กับลูกน้องตัวเอง ทิฐิและคิดว่าตัวเองเป็นใหญ่ ไม่เคยมองว่านักเตะคือมนุษย์ที่มีลมหายใจ คิดแต่เพียงเป็นหมากตัวหนึ่งในเกมส์ เหมือนตัวเองกำลังเล่นวินนิ่ง อีเลฟเว่น มากกว่าการบัญชาการคนทั้ง 11 คนที่มีเลือดเนื้อ มีชีวิต มีความคิด และมีจิตใจของตัวเอง
แม้ในทีมผู้จัดการทีมคือพระเจ้า แม้นักเตะคนนั้นจะมีฝีแข้งระดับโคตรพระกาฬขนาดไหน หากมีเรื่องกับผู้จัดการทีม ก็มีอันเป็นไปทุกคน ทั้งนี้เป็นไปตามสุภาษิตว่า “ไม่มีใครใหญ่กว่าสโมสร” (ในเงื่อนไขว่าสโมสรถือหางผู้จัดการคนนั้น)
แต่ก็ไม่แน่นะครับ
หากละเหี่ยกับแนวการทำทีมและการบริหารทีมของผู้จัดการทีมจริงๆ จนสุดจะกลั้นเมื่อไหร่
ปรากฏการณ์ “เล่นไล่โค้ช” ก็พร้อมจะเกิดขึ้นเสมอๆ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย
ถ้าเร็วๆในกาลปัจจุบันนี้ ก็ดูได้จากการที่ “เดอะ แม๊กพายน์” นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ทำกับ ซูยี้ เอ๊ย “ซูอี้” แกรม ซูเนส สิครับ
ไม่เห็นต้องห้าหมื่นชื่อด้วยซ้ำไป
…………………………………..
ลากไปไกลเลยครับ ใครไม่เคยติดตามเกมส์ลูกหนัง โดยเฉพาะในเวทีพรีเมียร์ลีก ของอังกฤษ ต้องขออภัยด้วยนะครับ หากนึกภาพตามไม่ออก
กลับมาในกรณีที่เพื่อนผมเขียนข้างต้น ผมว่าน่าสนุกดีนะครับ หากเราจะลองแลกบทบาทกันดู ระหว่างนักการเมือง กับนักวิชาการ
ผมก็อยากเห็นลีลาการสอนของครูแม้วเหมือนกัน…โดยเฉพาะวิชากฎหมายปกครองและรัฐธรรมนูญ และนิติปรัชญาจริงเชียว(อย่าแก้เก้อว่าจบมาทางอาชญาวิทยาแล้วจะสอนปกครองกับรัฐธรรมนูญหรือนิติปรัชญาไม่ได้นะครับ ผมจำได้ว่าท่านเคยด่าอาจารย์คณะนิติศาสตร์ว่ารู้กฎหมายน้อยกว่าท่านนะ…ผมจำแม่น)
เอ………….
ไม่เอาดีกว่า เปลี่ยนท่านผู้นำมาเป็นนักศึกษาดีกว่า เพราะเห็นว่าตอนหลังเริ่มประชดประชันพลังนักศึกษาแล้วนี่หน่า
ดีเหมือนกันครับ คณาจารย์รัฐศาสตร์จุฬาเสนอตัวเลคเชอร์ให้ฟังแล้วนี่
เผื่อจะให้น้องอุ๊งอิ๊งช่วยติวก่อนสอบให้ด้วย…
หรือว่าจะเรียนทำโพยตอนสอบจากชายโอ๊คดีล่ะครับท่านผู้นำ
คำพูดของไอ้พวกปากไว พูดวันนี้พรุ่งนี้ลืม
หรือ เจออีกสถานการณ์ ก็เปลี่ยนจุดยืน สองมาตราฐาน
อย่างเก็บมาคิดให้หนักหัว หรือ เพิ่ม kb ใน blog เลยครับ
ดูง่าย ๆ
คน ๆ เดียวกันจะพูดกับคณะครู และนักเรียนโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ที่มาเชียร์นายกหรือไม่?
"เป็นอาจารย์ก็ไปสอนหนังสือลูกศิษย์ให้ดี ไม่ใช่มาเชียร์นายกฯแบบนี้"
คุณคิดว่า เขาจะพูดไหมครับ?
ผมเห็นด้วยกับคุณนะครับ ว่า อาจารย์ควรสอนนอกห้องด้วย
ให้เด็กมันสนใจเหตุบ้านการเมืองด้วย
ต้องอธิบายข้อมูลทั้งสองฝ่าย ให้เด็กคิดดู
เหมือนที่เราควรเสพสื่อหลาย ๆ ฝ่าย
มองดูเขา แล้วมองดูพวกเรากันดีกว่า
ว่าเรามีจุดยืนหรือยัง?
ไม่ต้องเลือกฝ่ายก็ได้ (เผื่อไปตอบคำถามข้อ ๑ ข้างล่าง)
ไม่ต้องเป็นขาว หรือ ดำ
เป็นเทา ก็ได้ แล้วแต่เทาแก่ เทาอ่อน
ถ้าไอ้ฝ่ายขาว (ซึ่งก็ไม่ความว่าขาวสะอาดนะครับ)
มันเริ่มทำอะไร ประหลาด ๆ ก็อย่าไปตามมัน ถอยออกมาเป็นเทาอ่อน ๆ
"เป็นนักเรียน ก็เรียนไปสิ เรียนให้จบ ๆ มายุ่งเรื่องการบ้านการเมืองเขาทำไม"
๕๕๕ เจอแบบนี้ ต้องรีบเอาข่าว "ไม่เอาทักษิณเอาใคร? ถามผิด ถามใหม่ได้" ของน้องตาลเลขา ฯ สนนท. ให้ดูครับคุณนิติรัฐ แล้วก็แถมท้ายให้อีกหน่อยว่า
"อ้าว..ก็เพราะว่ามีแต่ผู้ใหญ่อย่างพวกน้า ๆ (ที่พูดประโยคนี้) ในสังคมนี้ไง พวกหนูถึงต้องลุกขึ้นสนใจการบ้านการเมืองกันสักที บ้านเมืองจะได้ไม่เสียหายไปกว่านี้ (ฮา ฮา)
goyard
yeezy shoes
fila
yeezy boost 350
ysl
balenciaga sneakers
balenciaga shoes
Kanye West shoes
fitflops
lebron 16
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก