ศาลโมร็อกโกตัดสินจำคุกวิศวกรหนุ่มฐานเปิดเฟซบุ๊คโดยใช้ข้อมูลของเจ้าชาย
ในเฟซบุ๊ค เราเจอข้อมูลที่แสดงตนเป็นนิโกลาส์ ซาร์โกซี่ถึง ๘๐ คน (ประธานาธิบดีฝรั่งเศส) เป็นชาร์ลส์ เดอ โกลล์ ๖ คน (อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว) เป็นฟร็องซัวส์ มิตแตรองด์ ๔ คน (อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว) และเป็นโอซามา บิน ลาเดนอีก ๓ คน
การสร้างข้อมูลในเว็บไซต์เฟซบุ๊คโดยเอาชื่อและข้อมูลของบุคคลผู้มีชื่อเสียงมาใส่ อาจเป็นเรื่องปกติ บางคนทำลงไปเพื่อล้อเลียนสนุกสนาน บางคนทำลงไปด้วยหวังดีอยากประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลลผู้มีชื่อเสียงทั้งหลาย
แต่สำหรับโมร็อกโกนั้น การกระทำเช่นนี้ทำให้คุณติดคุกได้...
๕ กุมภาพันธ์ ตำรวจโมร็อกโกบุกเข้าจับกุมนายฟูอาด มูร์ทาดา วิศวกรคอมพิวเตอร์วัย ๒๖ ปี ในข้อหา “บังอาจ” ใช้ข้อมูลและรูปของเจ้าชายมูเลย์ ราชิด พระอนุชาคนสุดท้ายของกษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ ๖
เพื่อตรวจสอบว่านายฟูอาด มูร์ทาดา ไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายซึ่งจะทำอันตรายต่อราชวงศ์ ตำรวจจึงต้องควบคุมตัวเขา ไว้ในสถานที่ลับถึง ๓๖ ชั่วโมง ผู้ใกล้ชิดของนายฟูอาด มูร์ทาดา ยืนยันว่าเขาถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมและทรมาน
ฟูอาด มูร์ทาดา ให้การว่าตนสร้างไฟล์ในเฟซบุ๊คโดยใช้ข้อมูลและรูปภาพของเจ้าชายราชิด ก็เพราะมีความประทับใจในตัวเจ้าชายราชิดมาก หาได้กระทำลงไปเพื่อลบหลู่ดูหมิ่นแต่อย่างใด เขาแถลงในเว็บไซต์ว่า เขาขอโทษและแสดงความเสียใจต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะครอบครัวของเขา ฟูอาดยอมรับว่าตนกระทำลงไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ได้มีเจตนาร้าย เขาเป็นเพียงคนธรรมดาๆที่อยากมีงานที่ดีและมั่นคง มีชีวิตที่เรียบง่ายเท่านั้น
๒๒ กุมภาพันธ์ ศาลโมร็อกโกตัดสินให้จำคุกนายฟูอาด มูร์ทาดา เป็นเวลา ๓ ปี และปรับ ๑๐,๐๐๐ ดีร์แฮม (ประมาณ ๘๗๔ ยูโร หรือเกือบๆ ๔๒,๐๐๐ บาท)
องค์กร Amnesty ประณามการตัดสินของศาลโมร็อกโกว่า “นี่เป็นการจองจำความคิดเห็น” ในขณะที่องค์กรสื่อไร้พรมแดน (Reporteur sans frontière) ตำหนิบริษัท โมร็อกโก เทเลคอม ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายหลักของโมร็อกโก ด้วยเหตุที่บริษัทยอมเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้บริการให้กับทางการและช่วยตำรวจจับลูกค้าของตนเอง
บล็อกเกอร์ชาวโมร็อกโกทั้งหลาย ต่างร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์คดีของฟูอาดว่าเป็นคดีที่ไร้เหตุผลอย่างสิ้นเชิง พวกเขาเกรงว่าการปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่จะลุกลามมาสู่บล็อกเกอร์ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้จับกุมสื่อมวลชนหลายรายที่ “หมิ่น” และไม่เคารพพระมหากษัตริย์
ล่าสุด ผู้คนในวงการบล็อกและสื่อมวลชนได้ร่วมกันเปิดเว็บไซต์ http://www.helpfouad.com/ เพื่อสนับสนุน นายฟูอาด มูร์ทาดา ปัจจุบันเว็บไซต์นี้กลายเป็นเว็บไซต์ที่มีคนเข้ามากที่สุดในโมร็อกโก
และเมื่อวันที่ ๑ มีนาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้อินเตอร์เนตทั่วโลกได้รวมตัวกันชุมนุมตามเมืองใหญ่ๆ เช่น ราบัต ปารีส มอนทรีออล ลอนดอน บรัสเซลล์ อัมสเตอร์ดัม และวอชิงตัน เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายฟูอาด มูร์ทาดา
อ่านข่าวนี้แล้ว ก็ชวนให้คิดว่า ถ้าเรื่องแบบนี้เกิดที่ประเทศไทย จะเป็นอย่างไรหนอ?
ข้อมูลเพิ่มเติม
เว็บไซต์เฟซบุ๊ค
http://www.facebook.com/
เว็บไซต์สนับสนุนฟูอาด
http://www.helpfouad.com/
รวบรวมข่าวเกี่ยวกับคดีฟูอาดทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส
http://www.helpfouad.com/1157.html
ชมภาพบรรยากาศการประท้วงเมื่อวันที่ ๑ มีนาคมได้จาก youtube
http://www.youtube.com/watch?v=MOozV-_Z5Vg
http://www.youtube.com/watch?v=KyRWFJxf5nw&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=2WdqlAMi7zM&feature=related
ผู้เขียนเคยเขียนเกี่ยวกับกรณีหมิ่นพระมหากษัตริย์ในโมร็อกโกไว้สั้นๆ ในบล็อก http://etatdedroit.blogspot.com/2007/08/blog-post.html
การสร้างข้อมูลในเว็บไซต์เฟซบุ๊คโดยเอาชื่อและข้อมูลของบุคคลผู้มีชื่อเสียงมาใส่ อาจเป็นเรื่องปกติ บางคนทำลงไปเพื่อล้อเลียนสนุกสนาน บางคนทำลงไปด้วยหวังดีอยากประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลลผู้มีชื่อเสียงทั้งหลาย
แต่สำหรับโมร็อกโกนั้น การกระทำเช่นนี้ทำให้คุณติดคุกได้...
๕ กุมภาพันธ์ ตำรวจโมร็อกโกบุกเข้าจับกุมนายฟูอาด มูร์ทาดา วิศวกรคอมพิวเตอร์วัย ๒๖ ปี ในข้อหา “บังอาจ” ใช้ข้อมูลและรูปของเจ้าชายมูเลย์ ราชิด พระอนุชาคนสุดท้ายของกษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ ๖
เพื่อตรวจสอบว่านายฟูอาด มูร์ทาดา ไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายซึ่งจะทำอันตรายต่อราชวงศ์ ตำรวจจึงต้องควบคุมตัวเขา ไว้ในสถานที่ลับถึง ๓๖ ชั่วโมง ผู้ใกล้ชิดของนายฟูอาด มูร์ทาดา ยืนยันว่าเขาถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมและทรมาน
ฟูอาด มูร์ทาดา ให้การว่าตนสร้างไฟล์ในเฟซบุ๊คโดยใช้ข้อมูลและรูปภาพของเจ้าชายราชิด ก็เพราะมีความประทับใจในตัวเจ้าชายราชิดมาก หาได้กระทำลงไปเพื่อลบหลู่ดูหมิ่นแต่อย่างใด เขาแถลงในเว็บไซต์ว่า เขาขอโทษและแสดงความเสียใจต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะครอบครัวของเขา ฟูอาดยอมรับว่าตนกระทำลงไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ได้มีเจตนาร้าย เขาเป็นเพียงคนธรรมดาๆที่อยากมีงานที่ดีและมั่นคง มีชีวิตที่เรียบง่ายเท่านั้น
๒๒ กุมภาพันธ์ ศาลโมร็อกโกตัดสินให้จำคุกนายฟูอาด มูร์ทาดา เป็นเวลา ๓ ปี และปรับ ๑๐,๐๐๐ ดีร์แฮม (ประมาณ ๘๗๔ ยูโร หรือเกือบๆ ๔๒,๐๐๐ บาท)
องค์กร Amnesty ประณามการตัดสินของศาลโมร็อกโกว่า “นี่เป็นการจองจำความคิดเห็น” ในขณะที่องค์กรสื่อไร้พรมแดน (Reporteur sans frontière) ตำหนิบริษัท โมร็อกโก เทเลคอม ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายหลักของโมร็อกโก ด้วยเหตุที่บริษัทยอมเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้บริการให้กับทางการและช่วยตำรวจจับลูกค้าของตนเอง
บล็อกเกอร์ชาวโมร็อกโกทั้งหลาย ต่างร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์คดีของฟูอาดว่าเป็นคดีที่ไร้เหตุผลอย่างสิ้นเชิง พวกเขาเกรงว่าการปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่จะลุกลามมาสู่บล็อกเกอร์ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้จับกุมสื่อมวลชนหลายรายที่ “หมิ่น” และไม่เคารพพระมหากษัตริย์
ล่าสุด ผู้คนในวงการบล็อกและสื่อมวลชนได้ร่วมกันเปิดเว็บไซต์ http://www.helpfouad.com/ เพื่อสนับสนุน นายฟูอาด มูร์ทาดา ปัจจุบันเว็บไซต์นี้กลายเป็นเว็บไซต์ที่มีคนเข้ามากที่สุดในโมร็อกโก
และเมื่อวันที่ ๑ มีนาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้อินเตอร์เนตทั่วโลกได้รวมตัวกันชุมนุมตามเมืองใหญ่ๆ เช่น ราบัต ปารีส มอนทรีออล ลอนดอน บรัสเซลล์ อัมสเตอร์ดัม และวอชิงตัน เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายฟูอาด มูร์ทาดา
อ่านข่าวนี้แล้ว ก็ชวนให้คิดว่า ถ้าเรื่องแบบนี้เกิดที่ประเทศไทย จะเป็นอย่างไรหนอ?
ข้อมูลเพิ่มเติม
เว็บไซต์เฟซบุ๊ค
http://www.facebook.com/
เว็บไซต์สนับสนุนฟูอาด
http://www.helpfouad.com/
รวบรวมข่าวเกี่ยวกับคดีฟูอาดทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส
http://www.helpfouad.com/1157.html
ชมภาพบรรยากาศการประท้วงเมื่อวันที่ ๑ มีนาคมได้จาก youtube
http://www.youtube.com/watch?v=MOozV-_Z5Vg
http://www.youtube.com/watch?v=KyRWFJxf5nw&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=2WdqlAMi7zM&feature=related
ผู้เขียนเคยเขียนเกี่ยวกับกรณีหมิ่นพระมหากษัตริย์ในโมร็อกโกไว้สั้นๆ ในบล็อก http://etatdedroit.blogspot.com/2007/08/blog-post.html
2 ความคิดเห็น:
โอ้ว....... ติดคุกเพราะ "ความจงรักภักดี" ฤนี่???
อาจเห็นต่างมุม เพราะเห็นด้วยกับคำพิพากษาครับ
ไม่ใช่ประเด็นด้านหมิ่นเบื้องสูง แต่ผมมองว่า การแสดง Identity เป็นบุคคลอื่นใน Internet
สมควรถือเป็นอาชญากรรมในตัวของมันเอง
ไม่ว่ากระทำต่อใครก็ตาม...
ผมว่า การแสดงตนเป็นบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ท
ก่อความเสียหายให้แก่ทั้งผู้ที่ถูก "ขโมยอัตลักษณ์" และต่อสังคมด้วย
ยิ่งปัจจุบัน มีทั้ง Hi5 Multiply Facebook ฯลฯ
ที่สามารถแสดงตนเป็นผู้อื่นได้โดยปราศจากการควบคุม ผมว่าเป็นอันตราย
ลองคิดว่า ถ้าใครสักคนหลงรักเจ้าของบล๊อกสุดลิ่มทิ่มประตู
เลยสร้าง Multiply ของท่านขึ้นมา (Hi 5 คงไม่ได้ เจ้าของชิงเปิดไปก่อนแล้ว 555)
พร้อมประวัติ ข้อมูล และความเห็นอย่างละเอียด
คาดว่า เจ้าของบล๊อกคงไม่สบายใจ
และคนที่เข้ามาอ่าน ก็ไม่รู้ว่า "ข้อมูล" ส่วนไหนเป็นของเจ้าของบล๊อก
ส่วนไหนเป็นส่วนแฟนใจดีเขียนเติมให้ (เรียก Fan-Fic ได้ป้ะ)
ผมว่าเรื่องนี้อันตราย และไม่แปลก หากศาลจะลงโทษ
แต่บังเอิญกรณีนี้เป็นเจ้าชายเท่านั้นเอง
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก