หมิ่นพระมหากษัตริย์ กรณีล่าสุดจากโมร็อกโก
โมร็อกโก เป็นประเทศหนึ่งที่ผมตั้งใจจะไปเยือนให้ได้ อยากไปตะลุยประเทศอิสลามสักครั้งในชีวิต ที่เล็งไว้ ก็อยากไปมาร์ราเกซ เอสสวิรา และเฟส มีคนบอกว่าขอวีซ่าท่องเที่ยวได้ง่ายด้วย
วันนี้เข้าไปอ่านหนังสือพิมพ์ Le Monde พบข่าวน่าสนใจเกี่ยวกับโมร็อกโก เก็บมาฝากกัน
...............
เหลืออีกไม่ถึงหนึ่งเดือน จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่สัญญาณจากวังยังดูเหมือนว่าจะตีกรอบให้เสรีภาพของสื่อมวลชนมีข้อจำกัดอยู่ อาเหม็ด เบ็นเชมซี ผู้อำนวยการหนุ่มวัย ๓๓ ปี ของนิตยสารรายสัปดาห์ Tel Quel (ตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส) และ Nichane (ตีพิมพ์เป็นภาษาอาหรับ) อาจถูกลงโทษจากการตีพิมพ์บทบรรณาธิการในนิตยสารของเขา
คดีของเบนเชมซีจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในวันที่ ๒๔ สิงหาคมนี้ ด้วยข้อหาตีพิมพ์บทความที่ “ขาดการเคารพสักการะต่อองค์พระมหากษัตริย์” ซึ่งมีโทษจำคุก ๕ ปี
เบนเชมซีเขียนบทบรรณาธิการ มีเนื้อหาเป็นการวิจารณ์พระราชดำรัสของกษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ ๖ เกี่ยวกับการปฏิรูปโมร็อกโกให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เขาใช้ชื่อบทบรรณาธิการว่า “แกจะพาฉันไปไหนล่ะ พี่ชาย?” (ชื่อนี้ล้อเลียนมาจากเพลงยอดฮิตในช่วงปี ๗๐ ที่ว่า “Où tu m'emmènes, mon frère ?” ชื่อบทบรรณาธิการต้องการสื่อว่า โมฮัมเหม็ดที่ ๖ จะนำพาโมร็อกโกไปสู่ประชาธิปไตยจริงหรือ) เบนเชมซี วิจารณ์กษัตริย์องค์อธิปัตย์โดยตรง ต่อกรณีการผูกขาดอำนาจของพระองค์ และไม่สนับสนุนประชาธิปไตยอย่างจริงใจ
เขาถูกตำรวจจับกุมและสืบสวนนานร่วม ๒๐ ชั่วโมง ก่อนถูกส่งฟ้อง ในขณะที่รัฐบาลก็สั่งยึดนิตยสารทั้งสองฉบับ ด้วยเหตุผลที่ว่า “หมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ และขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” เบนเชมซี่กล่าวว่า “ถ้าผมต้องการสื่อสารถึงพระมหากษัตริย์ ผมไม่ลืมหรอกที่จะแสดงความเคารพสักการะอย่างนอบน้อม แต่นี่ผมต้องการพูดถึงพระองค์ในฐานะมนุษย์ ในฐานะ “ผู้บังคับบัญชาของความเชื่อทั้งหลาย” ลองดูที่วังสิ พวกรายล้อมพระองค์นั่นแหละที่มีแต่ทำให้พระองค์หลงลืมตนมากขึ้น ในขณะที่เจตนาของผม คือ การวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ต้องการหมิ่นประมาทพระองค์เลย”
รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสาร กล่าวว่า “นักข่าวพวกนี้กระทำการละเมิดต่อจรรยาบรรณพื้นฐานของวิชาชีพสื่อมวลชน ในโมร็อกโก พวกเขามีสิทธิพูดถึงพระราชดำริ หรือพระราชดำรัสได้ แต่ต้องทำโดยปราศจากการทำให้พระองค์เสื่อมเสียและไม่สง่างาม”
.......................
ผมลองสำรวจการเมืองและกฎหมายรัฐธรรมนูญของโมร็อกโกแล้ว พบว่า โมร็อกโกมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีสองสภา สภาผู้แทนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม พึ่งมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและจำกัดอำนาจทางการเมืองของกษัตริย์ในปี ๑๙๙๖ แต่ในความเป็นจริง พระมหากษัตริย์ยังมีอำนาจแทรกแซงทางการเมืองอยู่มาก เช่น รัฐมนตรี ๔ กระทรวงหลัก ได้แก่ มหาดไทย ยุติธรรม ต่างประเทศ และศาสนา เป็น “สายตรง” จากวัง แม้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะไม่ได้กำหนดไว้ก็ตาม นอกจากนี้พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาติ และศาสนาอิสลาม เป็นจอมทัพของชาติ และมีกองกำลังส่วนพระองค์ คำขวัญประจำชาติ คือ “พระเจ้า ปิตุภูมิ และกษัตริย์”
โมฮัมเหม็ดที่ ๖ ครองราชย์เมื่อปี ๑๙๙๙ ต่อจากฮัสซันที่ ๒ พระราชบิดา พระองค์มีความตั้งใจจะปฏิรูปโมร็อกโกให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ตามแนวทางของฆวน คาร์ลอสของสเปน เมื่อขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ได้ส่งสัญญาณด้วยการสั่งปล่อยนักโทษการเมืองออกจากคุก และให้ผู้ลี้ภัยทางการเมืองกลับเข้าประเทศได้ แต่นักวิชาการและสื่อมวลชนบางส่วนยังมองว่า แม้จะมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่ากษัตริย์องค์ก่อน แต่โดยสาระสำคัญแล้ว พระองค์ยังคงสงวนพระราชอำนาจไว้อยู่ เพียงแต่ไม่ได้ปรากฏโดยตรง หากผ่านกลไกต่างๆของพระองค์นั่นเอง
นอกจากนี้ พระองค์พยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ให้เป็น “มนุษย์” มากขึ้นและลด “ความลึกลับ ความศักดิ์สิทธิ์ ความเข้าไม่ถึง” ลง เช่น ให้โอกาสประชาชนเข้าร่วมพระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระองค์ การเยี่ยมเยียนประชาชน หรือ การอนุญาตให้เรียกสมญานามว่า “ M 6” (M คือ Mohammed)
ก่อนหน้านั้น ในปี ๒๐๐๓ บรรณาธิการนิตยสาร Demain ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก ๓ ปี ในข้อหา “กระทำการอันกระทบต่อระบอบกษัตริย์ หมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นอันตรายต่อบูรณภาพของดินแดน” แต่โมฮัมเหม็ดที่ ๖ ได้พระราชทานอภัยโทษให้
.....................
แม้เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นในเรื่องสถาบันกษัตริย์ในโมร็อกโก ยังเป็นเรื่อง “ต้องห้าม” และ “อ่อนไหว” เหมือนไทย แต่เราจะเห็นความแตกต่างประการหนึ่ง คือ สื่อมวลชน ปัญญาชน ยังร่วมใจกันต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อย่างน้อยพวกเขาก็ชิงพื้นที่จากสื่อสาธารณะ (เน้นว่า “สาธารณะ” ไม่ใช่ “ใต้ดิน”) นำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในอีกด้านได้บ้าง มิใช่มีแต่ข่าวสาร “เทิดพระเกียรติ” เพียงถ่ายเดียว
วันนี้เข้าไปอ่านหนังสือพิมพ์ Le Monde พบข่าวน่าสนใจเกี่ยวกับโมร็อกโก เก็บมาฝากกัน
...............
เหลืออีกไม่ถึงหนึ่งเดือน จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่สัญญาณจากวังยังดูเหมือนว่าจะตีกรอบให้เสรีภาพของสื่อมวลชนมีข้อจำกัดอยู่ อาเหม็ด เบ็นเชมซี ผู้อำนวยการหนุ่มวัย ๓๓ ปี ของนิตยสารรายสัปดาห์ Tel Quel (ตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส) และ Nichane (ตีพิมพ์เป็นภาษาอาหรับ) อาจถูกลงโทษจากการตีพิมพ์บทบรรณาธิการในนิตยสารของเขา
คดีของเบนเชมซีจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในวันที่ ๒๔ สิงหาคมนี้ ด้วยข้อหาตีพิมพ์บทความที่ “ขาดการเคารพสักการะต่อองค์พระมหากษัตริย์” ซึ่งมีโทษจำคุก ๕ ปี
เบนเชมซีเขียนบทบรรณาธิการ มีเนื้อหาเป็นการวิจารณ์พระราชดำรัสของกษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ ๖ เกี่ยวกับการปฏิรูปโมร็อกโกให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เขาใช้ชื่อบทบรรณาธิการว่า “แกจะพาฉันไปไหนล่ะ พี่ชาย?” (ชื่อนี้ล้อเลียนมาจากเพลงยอดฮิตในช่วงปี ๗๐ ที่ว่า “Où tu m'emmènes, mon frère ?” ชื่อบทบรรณาธิการต้องการสื่อว่า โมฮัมเหม็ดที่ ๖ จะนำพาโมร็อกโกไปสู่ประชาธิปไตยจริงหรือ) เบนเชมซี วิจารณ์กษัตริย์องค์อธิปัตย์โดยตรง ต่อกรณีการผูกขาดอำนาจของพระองค์ และไม่สนับสนุนประชาธิปไตยอย่างจริงใจ
เขาถูกตำรวจจับกุมและสืบสวนนานร่วม ๒๐ ชั่วโมง ก่อนถูกส่งฟ้อง ในขณะที่รัฐบาลก็สั่งยึดนิตยสารทั้งสองฉบับ ด้วยเหตุผลที่ว่า “หมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ และขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” เบนเชมซี่กล่าวว่า “ถ้าผมต้องการสื่อสารถึงพระมหากษัตริย์ ผมไม่ลืมหรอกที่จะแสดงความเคารพสักการะอย่างนอบน้อม แต่นี่ผมต้องการพูดถึงพระองค์ในฐานะมนุษย์ ในฐานะ “ผู้บังคับบัญชาของความเชื่อทั้งหลาย” ลองดูที่วังสิ พวกรายล้อมพระองค์นั่นแหละที่มีแต่ทำให้พระองค์หลงลืมตนมากขึ้น ในขณะที่เจตนาของผม คือ การวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ต้องการหมิ่นประมาทพระองค์เลย”
รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสาร กล่าวว่า “นักข่าวพวกนี้กระทำการละเมิดต่อจรรยาบรรณพื้นฐานของวิชาชีพสื่อมวลชน ในโมร็อกโก พวกเขามีสิทธิพูดถึงพระราชดำริ หรือพระราชดำรัสได้ แต่ต้องทำโดยปราศจากการทำให้พระองค์เสื่อมเสียและไม่สง่างาม”
.......................
ผมลองสำรวจการเมืองและกฎหมายรัฐธรรมนูญของโมร็อกโกแล้ว พบว่า โมร็อกโกมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีสองสภา สภาผู้แทนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม พึ่งมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและจำกัดอำนาจทางการเมืองของกษัตริย์ในปี ๑๙๙๖ แต่ในความเป็นจริง พระมหากษัตริย์ยังมีอำนาจแทรกแซงทางการเมืองอยู่มาก เช่น รัฐมนตรี ๔ กระทรวงหลัก ได้แก่ มหาดไทย ยุติธรรม ต่างประเทศ และศาสนา เป็น “สายตรง” จากวัง แม้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะไม่ได้กำหนดไว้ก็ตาม นอกจากนี้พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาติ และศาสนาอิสลาม เป็นจอมทัพของชาติ และมีกองกำลังส่วนพระองค์ คำขวัญประจำชาติ คือ “พระเจ้า ปิตุภูมิ และกษัตริย์”
โมฮัมเหม็ดที่ ๖ ครองราชย์เมื่อปี ๑๙๙๙ ต่อจากฮัสซันที่ ๒ พระราชบิดา พระองค์มีความตั้งใจจะปฏิรูปโมร็อกโกให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ตามแนวทางของฆวน คาร์ลอสของสเปน เมื่อขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ได้ส่งสัญญาณด้วยการสั่งปล่อยนักโทษการเมืองออกจากคุก และให้ผู้ลี้ภัยทางการเมืองกลับเข้าประเทศได้ แต่นักวิชาการและสื่อมวลชนบางส่วนยังมองว่า แม้จะมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่ากษัตริย์องค์ก่อน แต่โดยสาระสำคัญแล้ว พระองค์ยังคงสงวนพระราชอำนาจไว้อยู่ เพียงแต่ไม่ได้ปรากฏโดยตรง หากผ่านกลไกต่างๆของพระองค์นั่นเอง
นอกจากนี้ พระองค์พยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ให้เป็น “มนุษย์” มากขึ้นและลด “ความลึกลับ ความศักดิ์สิทธิ์ ความเข้าไม่ถึง” ลง เช่น ให้โอกาสประชาชนเข้าร่วมพระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระองค์ การเยี่ยมเยียนประชาชน หรือ การอนุญาตให้เรียกสมญานามว่า “ M 6” (M คือ Mohammed)
ก่อนหน้านั้น ในปี ๒๐๐๓ บรรณาธิการนิตยสาร Demain ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก ๓ ปี ในข้อหา “กระทำการอันกระทบต่อระบอบกษัตริย์ หมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นอันตรายต่อบูรณภาพของดินแดน” แต่โมฮัมเหม็ดที่ ๖ ได้พระราชทานอภัยโทษให้
.....................
แม้เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นในเรื่องสถาบันกษัตริย์ในโมร็อกโก ยังเป็นเรื่อง “ต้องห้าม” และ “อ่อนไหว” เหมือนไทย แต่เราจะเห็นความแตกต่างประการหนึ่ง คือ สื่อมวลชน ปัญญาชน ยังร่วมใจกันต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อย่างน้อยพวกเขาก็ชิงพื้นที่จากสื่อสาธารณะ (เน้นว่า “สาธารณะ” ไม่ใช่ “ใต้ดิน”) นำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในอีกด้านได้บ้าง มิใช่มีแต่ข่าวสาร “เทิดพระเกียรติ” เพียงถ่ายเดียว
16 ความคิดเห็น:
http://www.sameskybooks.org/webboard/show.php?Category=sameskybooks&No=20198
เชิญที่นี่หน่อยครับ
freemind
ไม่ up ตั้งนาน กลับมาก็สาระเข้มข้นจริงๆ
Internet ถือเป็นใต้ดินรึเปล่าครับ?
ถ้าไม่ต้องการข่าว “เทิดพระเกียรติ”
ก็ใช้ Internet น่าจะได้?
ทุกวันนี้การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ "เจ้า" ถ้าไม่ใช่ความเห็นในทางที่ "โปรเจ้า" ก็อย่างหวังว่าจะได้อยู่บนสื่อสาธารณะเลย โดนบล็อคเวป โดนลบกระทู้ออกหมด ต้องหลบๆ ซ่อนๆ กันต่อไป
ตราบใดที่สถาบันยังเป็นที่รักและเคารพอย่างเช่นทุกวันนี้ ก็อย่าหวังว่าจะได้พูดอะไรเกี่ยวกับสถาบันเลย ยิ่งในแง่ลบด้วยแล้วไม่ต้องพูดถึง
ไม่ร้อน ไม่ต่อต้าน ไม่สนับสนุนนะครับ แต่ "คัน" ขอแสดงทรรศนะกลางๆ
สถาบันกษัตริย์ เป็นเรื่อง "อ่อนไหว" และ "ต้องห้าม" ในบางสังคม ผมเห็นด้วยและรับได้กับทรรศนะของผู้เขียน และไม่เดือดร้อน กับความ "อ่อนไหว" ความ "ต้องห้าม" เพราะ สิ่งนั้นมีอยู่ เปนเช่นนั้นเอง ที่สำคัญสิ่งนี้ผูกอยู่กับวัฒนธรรมที่ฝังรากลึก และ ความดำรงอยู่ของรัฐชาติ อย่างน้อยดีกรีไม่แรงน้อยกว่าประเด็นศาสนาเลย ใช่หรือไม่ ? ความดำรงอยู่อันนี้อย่ามองโดยทฤษฎีทางรัฐศาสตร์หรือกฎหมายนะ มองจากมิติทางสังคม หรือประสบการณ์จริงๆ ในโลก ดีกว่า ด้วยดีกรีที่ว่าไม่น้อยกว่าศาสนา อย่าแตะเลยครับ ไปคิดเรื่องอื่นน่าจะมีประโยชน์กว่า
จากเหตุผลที่ว่า ถ้ามีการ "หมิ่น" ที่ หมายความว่า "หมิ่น" จริงๆ เกิดขึ้น มันกระทบกับอะไรบ้าง ก็น่าจะรู้ อย่างงั้นก็สมควรโดน (อะไรกระทบอะไร ผลเป็นยังไง ปัญญาขนาดปิยะบุตร น่าจะเข้าใจได้ ถ้าไม่บ้าทฤษฎี หรือบ้าพลังอคติเกินไป)
อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่ากลัว และเป็นเทรนที่ไม่เคยตกยุคตกสมัย คือ การใช้ สถาบันฯ เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่น่ากลัวอย่างยิ่ง การ "โปร" ที่มีวัตถุประสงค์น่ากลัวนี้ น่ารังเกียจยิ่งนัก ผมก็รังเกียจด้วยคน
สถาบันฯ แสลงกับ ปชต. หรือเปล่า? ไม่ใช่หรอก เป็นการกระทำของคนล้อมรอบมากกว่า ถ้า ปชช. มีหัวใจ ปชต. แล้วจะกลัวอะไร
การวิพากษ์ไม่ได้ไม่งั้นเดี๋ยวโดน ไม่ได้หมายความว่าขาดสิทธิเสรีภาพ แต่หมายความว่าอุตริมากกว่า ผมว่า
ผมไม่แน่ใจนักว่ากรณีหมิ่นกษัตริย์ที่คิดว่าเป็นปัญหานั้น สื่อมวลชน หรือคนทั่วไปจะเห็นว่าเป็นปัญหาด้วยหรือไม่ เพราะบางทีในสังคมของประเทศนี้อาจจะอยู่ในโครงสร้างทางความคิดที่ไม่ให้ตั้งคำถามกับสถาบันกษัตริย์ที่เพิ่งถูกสร้างขึ้นมาใหม่ก็ได้ (ถ้าจำไม่ผิด ตอนปี2500 ในงานฉลองกึ่งพุทธกาลที่กษัตริย์ไม่ยอมเข้าร่วม หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวถึงกับใช้คำว่า "ตายโหง")
ประเด็นของผมจึงอยู่ที่ว่า การที่สื่อมวลชน หรือคนทั่วไปไม่พยายามเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น(โดยเฉพาะเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์) นั้น อาจเป็นเพราะว่าเขาไม่คิด(และอาจไม่เคยคิดเลย) ว่าการที่สถาบันกษัตริย์วิพากวิจารณ์ไม่ได้นั้นจะเป็นปัญหา
การที่จะทำให้มีการท้าทายเพื่อเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นผมคิดว่าคงต้องตั้งคำถามว่า "จะทำอย่างไรให้สื่อ และคนทั่วไปคิดว่าการขาดเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห้นเป็นสิ่งที่เป้นปัญหา"
ใครที่บอกว่าสถาบันไม่มีปัญหา
แต่คนรอบข้างมีปัญหา มองเรื่องนี้ได้แปลกมากมาก
เป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้วว่า ตราบใดที่ สถาบันยังคงแตะต้องไม่ได้ หรือ"ได้รับความเคารพ"ในความหมายที่คุณพูดมา ก็เป็นไปไม่่ได้อย่างสิ้นเชิงที่ จะไม่มีใครใช้ หรืออิงสถาบันเป็นเครื่องมือ ในเมื่อรู้อยู๋ว่ามันเป็นเครื่องมือทีมีประสิทธิภาพ่
ตราบใดที่ยังมีสถานะของความแตะต้องไม่ได้
ทุกคนที่ต้องการจะมีอำนาจแบบแตะต้องไม่ได้
เช่นเดียวกับที่สถาบันมี ก็จะวิ่งไปเกาะสถาบัน อ้างถึง ทำเป็นรักเหลือเกิน
สถาบันเองไม่รู้งั้นหรือ คุณคิดว่าเค้าโง่่ขนาดนั้นหรือ ?
ไม่หรอก ถ้าคุณเป็นเค้า คุณก็จะต้องการสถานะแบบนี้
เพื่อที่จะได้มีคนอยากมาเป็นเครือข่ายต่างหาก
ถ้าสถาบันเป็นเหมือนเจ้าในประเทศอื่นๆที่เค้าเป็นประชาธิปไตยจริงๆ
ไม่ได้เป็นแต่ชื่อ ไม่มีใครอ้างเจ้ามาทำร้ายคนอื่นได้หรอก
สรุปคือ ความเคารพที่ว่านี่แหละ เป็นบ่อเกิดของสิ่งอื่นๆที่คุณไม่ชอบ เป็นไปไม่ได้ที่จะปลูกทุเรียนแล้วหวังว่ามันจะออกลูกเป็นมะม่วง
สถาบันแสลงกับประชาธิปไตยหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า บทบาท ของสถาบันเป็นอย่างไร สถานะทางอำนาจเป็นแบบไหน ไม่ใช่อ้างลอยๆ ว่าไม่เป็น
ฮ่าๆๆๆ...ในหลวงสำหรับผมก็คนธรรมดานี่แหล่ะครับ แต่เป็นคนดีไงเลยรักและเคารพท่าน
คนรอบข้างต่างหากที่ควรว่า
ว่าแต่...ไม่เข้าใจคำว่าสถาบันโด่ๆ...ทำไมต้องใช้คำนี้ โรงเรียนผมก็เป็นสถาบันนะครับ ครอบครัวผมก็เป็นสถาบัน จะเขียนอะไรก็ให้มันเต็มๆ...ไม่ได้ปัญญาอ่อนถึงขนาดไม่เข้าใจหรอก แต่ถ้าใช้ว่าสถาบันกษัตริย์มันผิดตรงไหน ครั้งต่อๆไปใช้ สถาบันฯ แบบนี้ก็ได้
เพราะขาดความรู้มากกว่านะ
ทำให้ขาดความเข้าใจและเข้าใจคนอื่นยาก
การปกครองแบบโมรอก
โคนะ เขาปรับมาจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรืออาจเทียบได้ว่าเหมือนก่อน พ.ศ. 2475 ของเรา พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจทุกอย่าง...แน่ล่ะหมายถึงการเมืองด้วย ซึ่งก็คล้ายกับอีกหลายประเทศในตะวันออกกลางนั่นล่ะ
เพราะฉะนั้น จึง ต่างจากระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในยุโรปหรือ เมืองไทย
แต่เรื่องพระมหากษัตริย์ เป็นเรื่องจาตประเพณีของแต่ละสังคมด้วย ต้องทำความเข้าใจก่อน ไม่งั้นหลงเอาความชเอความคิดของตัวเองไปครอบ มีปัญหาจะยุ่งและยิ่งไม่รู้เรื่อง หมดความสนุกไปอีก ไปยุ่งกับเรื่องที่ไม่ควรจะยุ่ง
สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันที่ควรแก่การยกย่องไม่ใช่เอามาดูถูกกันแบบนี้ครับ
ความสุขของ พระมหากษัตริย์
หนึ่งปีที่ผ่านมา......
เราใส่ เสื้อเหลือง
เราใส่ สาย รัดข้อมือสีเหลือง
คนนับแสน ไปนั่งรอเป็น
ชั่วโมงๆหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม
เพื่อจะได้เห็นพระพักตร์ของพระ บาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงไม่กี่ นาที
วันนั้น ในขณะที่ทั้งโลกเริ่ม
เชื่อศรัทธาในระบบการปกครองโดยมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุข เราได้
แสดงให้โลกได้เห็นว่ามีประเทศเล็กๆ
ประเทศหนึ่งที่คนทั้งชาติยังซื่อ สัตย์
จงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีและพระ
มหากษัตริย์อันทรงเป็นที่รักยิ่งของ
คน ไทย
.....สิบสองปีที่ผ่านมา......
พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง
พระประชวรหนักด้วยโรคหัวใจเพราะ
ทรงงานหนักเกิน ไป
ในขณะ เดียวกันสมเด็จพระ
ราชชนนีก็ทรงพระประชวรหนัก อยู่
ณ โรงพยาบาลศิริราชเช่น กัน
เรายังจำรูปในหนังสือพิมพ์
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ
พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม พระราช
ชนนีไม่กี่วันหลังจากการผ่าตัดใหญ่
ถวายพระ หัตถ์ข้างหนึ่งกุมอยู่ที่พระ
อุระ และในพระหัตถ์อีกข้างหนึ่งทรงถือ
ม้วนแผนที่ กรุงเทพฯเพราะน้ำกำลัง
ท่วม กรุงอยู่
ยังจำกันได้ ไหม?
...34 ปีที่ผ่านมา.....
วัน ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516
เป็นครั้งแรกในรัชกาลที่เกิด วิกฤติ
ด้านการเมืองรุนแรงที่สุด
วันนั้นนิสิตนักศึกษาและ
ประชาชนนับหมื่นนับแสนเดินขบวน
ประท้วงรัฐบาล เหตุการณ์ร้ายแรงยิ่ง
ขึ้น ตำรวจทหารยิงประชาชน ในขณะที่
นิสิตนัก ศึกษาก็เผาสถานที่ราชการ
เกิดกลียุคทุกหย่อมหญ้า คนไทยฆ่า
คนไทยด้วยกัน เอง
คืนนั้น สถานีโทรทัศน์ทุกช่องถ่ายทอดสดจากพระราชวังสวน จิตรลดาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวทรงมีพระราชดำรัสกันคนไทยทุกคน ว่า “คนไทยจะฆ่าคนไทยด้วยกันไม่ได้ ทุกอย่างต้องสงบโดยฉับ พลัน”
และ ทุกอย่างก็สงบโดยฉับพลัน
หลังจากนั้นไม่นานมีฝรั่งคนหนึ่ง มาถามผม ว่า “เป็นไปได้อย่างไร ที่คนๆ เดียวจะมีอำนาจเหนือคนทั้ง ประเทศได้อย่างนั้น?”
ผมไม่ได้ ตอบ แต่ตอนนั้น
ใจผมคิดถึงประโยค ที่ มรว. คึก
ฤทธิ์ ปราโมชฯ ได้ให้ สัมภาษณ์กับ
สถานีโทรทัศน์ BBC ว่า พระองค์
ทรงเป็น 'SOUL OF THE NATION'
หรือ “จิตวิญญาณของคนไทยทั้งชาติ”
ยังจำกัน ได้ ไหม?
แล้ววันนี้เรากำลังทำอะไรกันอยู่?
เราสร้างค่านิยมผิดๆ ว่าคนที่ประสบ
ความสำเร็จคือคนที่มีเงินมากที่ สุด
เราโกง ทุก ครั้งที่มีโอกาส
เราเรียก ร้องประชาธิปไตยโดยคิดถึงแต่ “ สิทธิ” แต่ลืมคำว่า “ หน้าที่”
เรากำลัง ฆ่ากันเองทุกวันในภาคใต้
เรา สร้าง “กฎหมู่” ให้เหนือ “กฎหมาย”
เราเดิน ขบวนประท้วงในทุกอย่างที่เรา
ไม่เห็นด้วย
เราก้าว ร้าวต่อกัน เราแตกแยกกัน
และทั้งโลกกำลัง จับตามองเราอยู่
เราเคยหยุดคิดกันบ้างไหมว่า
พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวของเราจะทรงเสียพระทัย เพียงใด?
80 ชันษา ของ พระองค์
ท่าน หากเปรียบ กับคนธรรมดาก็
สมควรที่จะได้พักเต็มที่ ได้รับการดูแล
และ ระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่สมควรที่
จะตรากตรำทำงานหนัก หรือกระทบ
กระเทือนใจ แต่ อย่างใด
แต่กลับ เป็นว่า ในปีที่
ครบ 80 ชันษา ของ พระองค์
ท่านยังต้องทรงงานอยู่ตลอด
เวลา ทั้งๆ ที่ทรงต้องอยู่ภาย
ใต้การถวาย การ ดูแลของคณะแพทย์
พระองค์ต้องรับ ทุกข์
ของคนไทยทั้งชาติ
ความสุข ของพระมหากษัตริย์
พระองค์ นี้ ไม่ใช่จะประทับอยู่ใน
พระราชวังใหญ่โตสวยงาม แห่
ล้อมด้วยข้าราช บริพาร
หากแต่ ความสุขของพระ
มหากษัตริย์พระองค์นี้คือ เมื่อ
ประชาชนของพระองค์ท่านรักสามัคคี
กัน รู้จักความพอเพียง และมีสติ-
เพียงเท่านี้เอง
แล้ววันนี้เรากำลังทำอะไรกันอยู่?
หรือนี่คือการ แสดงความกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์ของ เรา?
ช่วย Forward เตือนสติคน ทั้งประเทศ ด้วย..
long live The king
สถาบันพระมหากษัตริย์คือสิ่งที่เราควรยกย่องไว้เหนือสิ่งอื่นใดไม่ควรเอามาทำแบบนี้
fake rolex watches
nike hyperdunk
balenciaga shoes
longchamp bags
lebron 16
kobe 11
nike react
christian louboutin
nike huarache
cheap jordans
www1027
coach factory outlet
christian louboutin
true religion
air max 90
ralph lauren polo
michael kors outlet
hermes belt
supreme clothing
louboutin shoes
jordan shoes
nike air max 270
adidas gazelle
off white clothing
nike air max 95
reebok shoes
off white shoes
lebron shoes
hermes birkin
christian louboutin
ferragamo belts
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก