ไม่เข้าใจ – โปรดจับตา
พระราชดำรัสวันนี้ บางช่วงก็พอเดาๆได้บ้างว่าหมายถึงอะไร แต่ก็อีกนั่นแหละ ทุกฝ่ายก็ตีความเข้าข้างตนเองหมด ก็ในเมื่อพระราชดำรัสศักดิ์สิทธิ์ออกปานนั้น ใครๆก็อยากให้เข้าทางตนเอง เลยไม่รู้ว่าฝ่ายไหนกันแน่ที่เข้าใจถูก
ได้แต่หวังว่า หลังจากพระราชดำรัสนี้แล้ว จะไม่เกิดปรากฏการณ์แต่ละกลุ่ม “ผูกขาดความเป็นเจ้าของพระราชดำรัส” ว่าพระราชดำรัสนี้เป็นคุณแก่ฝ่ายตนเอง และหวังอีกเช่นกันว่า จะไม่เกิดปรากฏการณ์ “สภาวะแตะต้องมิได้ของพระราชดำรัส”
มีข้อสังเกตให้เก็บไปคิดกันต่อ (ถ้าเกรงภัย ไม่ต้องคิดดังก็ได้)
๑. หมายกำหนดการศาลปกครองสูงสุดเข้าเฝ้าฯถวายเสื้อครุย ทำไมถึงประจวบเหมาะเช่นนี้?
๒. เนื้อความในพระราชดำรัส ชัดเจนหรือไม่? ถ้าชัดเจน หมายถึงอะไร? ถ้าไม่ชัดเจน ทำไมไม่ชัดเจน แล้วไม่ชัดเจน จะเกิดปัญหาตามมาอีกหรือเปล่า ใครจะเป็นคนบอกได้ในท้ายที่สุด?
๓. “ข้าพเจ้าเองก็ในใจมีคำตัดสินอยู่ แต่บอกท่านไม่ได้ เพราะไม่มีสิทธิ์ที่จะบอก ท่านเองก็ไม่มีสิทธิ์ แต่ท่านต้องมีการตัดสินอยู่ในใจว่าที่เขา เพื่อนของศาลรัฐธรรมนูญเขาจะตัดสินถูกหรือไม่ถูก ต้องมีอยู่ในใจ
แต่ว่า เขาจะตัดสินอย่างไรก็ตาม เดือดร้อนทั้งนั้น เสียหายทั้งนั้นคำตัดสินของเขาจะเดือดร้อน และเสียหายสำหรับท่านเองทั้งนั้น ข้าพเจ้าก็เดือดร้อน แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกว่าเดือดร้อน ไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก แต่รู้ในใจว่า เขาจะตัดสินอย่างไรก็ตาม รู้ในใจว่าเขาทำถูกหรือผิด ส่วนใหญ่ก็นึกว่าคงต้องทำผิดแน่ เมื่อเขารู้สึกว่าถ้าเขาทำผิดเรามีหน้าที่ที่จะวิจารณ์ในใจ แต่ละท่านต้องวิจารณ์ว่า ที่เพื่อนศาลอื่นทำถูกหรือผิดต้องมี ต้องวิจารณ์ อย่างน้อยในใจของท่าน หรือนอกจากนั้นก็ มีความเห็นบ้างเพราะถ้าหากว่าเขาตัดสินมาอย่างไร จะเสื่อมเสียกับบ้านเมืองทั้งนั้น จะตัดสินทางไหนก็ตาม ก็เป็นคำตัดสินที่จะผิด ผิดพลาดทั้งนั้น ฉะนั้นจะต้องมีการวิจารณ์ แต่ท่านวิจารณ์เป็นทางการไม่ได้ท่านต้องวิจารณ์เป็นส่วนตัว อาจจะไม่เปล่งออกมา”
พระราชดำรัสท่อนนี้ หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่า ศาลปกครองไม่เกี่ยวเรื่องยุบพรรคก็จริง แต่ก็ไปกระซิบบอกศาลรัฐธรรมนูญเสียหน่อย ไหนๆประธานศาลปกครองสูงสุดก็เป็นหนึ่งในองค์คณะตุลาการรัฐธรรมนูญแล้ว อย่างนั้นหรือ?
๔. คุณเห็นด้วยหรือไม่กับ Intervention ทางตุลาการ? ภายใน ๑ ปี มีปรากฏการณ์ทำนองนี้สองครั้งแล้ว เมษาปีที่แล้วหนหนึ่ง (เพิกถอนเลือกตั้ง) พฤษภาปีนี้ อีกรอบ (ยุบพรรค) ก่อนหน้านั้น แทบไม่เคยปรากฏเหตุการณ์ Intervention ทางตุลาการเลย (ผมคิดว่าสองครั้งนี้น่าจะเป็นสองครั้งแรกเลยทีเดียว) Intervention ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นไปในทางตรง เช่น เรียกคู่กรณีมาสงบศึก เป็นต้น หรือนี่เป็นรูปแบบใหม่ของการ Intervention การเมือง โดยยืมมืออำนาจตุลาการ?
........
มีเรื่องเล่าให้ฟังเล่นๆ
สหราชอาณาจักร พระราชินีอลิซาเบธไม่สามารถออกมากล่าวสุนทรพจน์ได้พร่ำเพรื่อ ในทางปฏิบัติสุนทรพจน์ที่ออกสู่สาธารณะอย่างเป็นทางการ มีปีละครั้ง คือ คริสต์มาส และต้องให้คณะรัฐมนตรีตรวจดูก่อนด้วย นอกจากนี้พระราชินีอลิซาเบ็ธจะกล่าวสุนทรพจน์โดยอ่านตามโพย ไม่ได้พูดสดๆโดยไม่มีสคริปต์
ในเบลเยียม รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ไม่มีกรณีใดที่พระราชดำรัสและพระราชหัตถเลขาจะหลุดพ้นไปจากการตรวจสอบของรัฐมนตรี
......
นับแต่นี้ การเมืองไทยน่าจับตาทุกฝีก้าว โปรดอย่ากระพริบตา
ประชามติรัฐธรรมนูญจะมีหรือไม่มี
แล้วจะมีรัฐประหารอีกรอบเพื่อล้างไพ่ใหม่หมด แบบถอยคนละก้าว หรือไม่
ผมเดาเอาเองว่า ไม่เกินปลายปีนี้ ปัญหาน่าจะจบ
แต่จบที่ว่า...
เกรงว่าจะจบแบบแนวเป่านกหวีดแบบเดิมๆ
เป่าแล้ว ประชาชนก็เป็นไพร่แบบเดิม
ได้แต่หวังว่า หลังจากพระราชดำรัสนี้แล้ว จะไม่เกิดปรากฏการณ์แต่ละกลุ่ม “ผูกขาดความเป็นเจ้าของพระราชดำรัส” ว่าพระราชดำรัสนี้เป็นคุณแก่ฝ่ายตนเอง และหวังอีกเช่นกันว่า จะไม่เกิดปรากฏการณ์ “สภาวะแตะต้องมิได้ของพระราชดำรัส”
มีข้อสังเกตให้เก็บไปคิดกันต่อ (ถ้าเกรงภัย ไม่ต้องคิดดังก็ได้)
๑. หมายกำหนดการศาลปกครองสูงสุดเข้าเฝ้าฯถวายเสื้อครุย ทำไมถึงประจวบเหมาะเช่นนี้?
๒. เนื้อความในพระราชดำรัส ชัดเจนหรือไม่? ถ้าชัดเจน หมายถึงอะไร? ถ้าไม่ชัดเจน ทำไมไม่ชัดเจน แล้วไม่ชัดเจน จะเกิดปัญหาตามมาอีกหรือเปล่า ใครจะเป็นคนบอกได้ในท้ายที่สุด?
๓. “ข้าพเจ้าเองก็ในใจมีคำตัดสินอยู่ แต่บอกท่านไม่ได้ เพราะไม่มีสิทธิ์ที่จะบอก ท่านเองก็ไม่มีสิทธิ์ แต่ท่านต้องมีการตัดสินอยู่ในใจว่าที่เขา เพื่อนของศาลรัฐธรรมนูญเขาจะตัดสินถูกหรือไม่ถูก ต้องมีอยู่ในใจ
แต่ว่า เขาจะตัดสินอย่างไรก็ตาม เดือดร้อนทั้งนั้น เสียหายทั้งนั้นคำตัดสินของเขาจะเดือดร้อน และเสียหายสำหรับท่านเองทั้งนั้น ข้าพเจ้าก็เดือดร้อน แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกว่าเดือดร้อน ไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก แต่รู้ในใจว่า เขาจะตัดสินอย่างไรก็ตาม รู้ในใจว่าเขาทำถูกหรือผิด ส่วนใหญ่ก็นึกว่าคงต้องทำผิดแน่ เมื่อเขารู้สึกว่าถ้าเขาทำผิดเรามีหน้าที่ที่จะวิจารณ์ในใจ แต่ละท่านต้องวิจารณ์ว่า ที่เพื่อนศาลอื่นทำถูกหรือผิดต้องมี ต้องวิจารณ์ อย่างน้อยในใจของท่าน หรือนอกจากนั้นก็ มีความเห็นบ้างเพราะถ้าหากว่าเขาตัดสินมาอย่างไร จะเสื่อมเสียกับบ้านเมืองทั้งนั้น จะตัดสินทางไหนก็ตาม ก็เป็นคำตัดสินที่จะผิด ผิดพลาดทั้งนั้น ฉะนั้นจะต้องมีการวิจารณ์ แต่ท่านวิจารณ์เป็นทางการไม่ได้ท่านต้องวิจารณ์เป็นส่วนตัว อาจจะไม่เปล่งออกมา”
พระราชดำรัสท่อนนี้ หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่า ศาลปกครองไม่เกี่ยวเรื่องยุบพรรคก็จริง แต่ก็ไปกระซิบบอกศาลรัฐธรรมนูญเสียหน่อย ไหนๆประธานศาลปกครองสูงสุดก็เป็นหนึ่งในองค์คณะตุลาการรัฐธรรมนูญแล้ว อย่างนั้นหรือ?
๔. คุณเห็นด้วยหรือไม่กับ Intervention ทางตุลาการ? ภายใน ๑ ปี มีปรากฏการณ์ทำนองนี้สองครั้งแล้ว เมษาปีที่แล้วหนหนึ่ง (เพิกถอนเลือกตั้ง) พฤษภาปีนี้ อีกรอบ (ยุบพรรค) ก่อนหน้านั้น แทบไม่เคยปรากฏเหตุการณ์ Intervention ทางตุลาการเลย (ผมคิดว่าสองครั้งนี้น่าจะเป็นสองครั้งแรกเลยทีเดียว) Intervention ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นไปในทางตรง เช่น เรียกคู่กรณีมาสงบศึก เป็นต้น หรือนี่เป็นรูปแบบใหม่ของการ Intervention การเมือง โดยยืมมืออำนาจตุลาการ?
........
มีเรื่องเล่าให้ฟังเล่นๆ
สหราชอาณาจักร พระราชินีอลิซาเบธไม่สามารถออกมากล่าวสุนทรพจน์ได้พร่ำเพรื่อ ในทางปฏิบัติสุนทรพจน์ที่ออกสู่สาธารณะอย่างเป็นทางการ มีปีละครั้ง คือ คริสต์มาส และต้องให้คณะรัฐมนตรีตรวจดูก่อนด้วย นอกจากนี้พระราชินีอลิซาเบ็ธจะกล่าวสุนทรพจน์โดยอ่านตามโพย ไม่ได้พูดสดๆโดยไม่มีสคริปต์
ในเบลเยียม รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ไม่มีกรณีใดที่พระราชดำรัสและพระราชหัตถเลขาจะหลุดพ้นไปจากการตรวจสอบของรัฐมนตรี
......
นับแต่นี้ การเมืองไทยน่าจับตาทุกฝีก้าว โปรดอย่ากระพริบตา
ประชามติรัฐธรรมนูญจะมีหรือไม่มี
แล้วจะมีรัฐประหารอีกรอบเพื่อล้างไพ่ใหม่หมด แบบถอยคนละก้าว หรือไม่
ผมเดาเอาเองว่า ไม่เกินปลายปีนี้ ปัญหาน่าจะจบ
แต่จบที่ว่า...
เกรงว่าจะจบแบบแนวเป่านกหวีดแบบเดิมๆ
เป่าแล้ว ประชาชนก็เป็นไพร่แบบเดิม
19 ความคิดเห็น:
มองอีกสองมุม
มุมแรก ไม่ยุบพรรค ทหารออกมาอีกรอบ ล้างไพ่ใหม่ ประนีประนอม เลือกตั้ง นักการเมืองเข้าสู่สนาม แต่ทักษิณไปพักก่อนสักสามปี ห้าปี เข้าสู่งวงจรเดิม นักการเมืองเป็นได้แค่นักเลือกตั้ง อย่าสะเออะมาชิงอำนาจนำ ย้อนกลับไปแบบสมัยเปรม-ชาติชาย-ชวน
มุมสอง เมื่อพระราชดำรัสศักดิ์สิทธิ์มาก ไม่มีใครกล้าเถียง ไม่มีใครกล้าบอกไม่เห็นด้วย เมื่อพระราชดำรัสไปผูกกับศาล เกิดศาลตัดสินไปทางใดก็ตาม ทุกคนต้องสงบ หุบปากให้หมด หากศาลบอกให้ยุบพรรค จะมาแสดงพลังคัดค้านไม่ได้ อาจเจอข้อหาทั้งสอง "หมิ่น" (หมิ่นศาล และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ)ใครจะมาตู่ว่าพระราชดำรัสบอกไม่ให้ยุบพรรคไม่ได้นะ เพราะในพระราชดำรัสไม่ได้บอกไว้ชัด
ถ้ามุมนี้เท่ากับว่า พระราชดำรัสนี้ไปสร้าง "พลัง" ให้กับคำตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญไปโดยปริยาย ไม่ว่าคำตัดสินนั้นจะยุบพรรคหรือไม่ก็ตาม
ถ้าศาลบ้าพลัง ออกมุมสองจริง (เหมือนตอนเพิกถอนเลือกตั้ง ๒ เมษา ที่บ้าพลังเกินไปจนวุ่นมาถึงทุกวันนี้)งานนี้คงไม่มีตุลาการ "ภิวัตน์" แต่จะ "วิบัติ" แทน
ผมเดาว่าหวยน่าจะออกมุมหนึ่ง
แต่เดาไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะ พลิกไปมาได้ตลอด ในเมื่อมันคลุมเครือ อึมครึม ไม่ชัดเจนแบบนี้ทุกครั้ง
".. หึ หึ .."
(( แอบคิดอยู่เบาๆตั้งแต่เมื่อคืนแล้วขรับ ))
ธงแรกธงเดิมที่ทราบ คือ ยุบพรรค ท.
ถึงกับเขียน รธน. เฉพาะกิจ ตั้ง ศ.รธน. เฉพาะกิจ
มาเพื่อฟื้นคดียุบพรรคล้วนๆ
แต่พอกระแส "บารมีทรงธรรม" เริ่มตก
ธงที่สองที่ทราบ คือ ยุบแม่งโหมะเลย
รีเซ็ทระบบการเมืองใหม่
แต่เมื่อกระแสตกถึงขีดสุด
บารมีส่งกลิ่น คุณธรรมสีตก พอเพียงกลายเป็นพอทน
แม้แต่คนเป่านกหวีดเอง ก็เริ่มถูกตั้งคำถาม
ไม่รู้ธงเหมือนกัน
แต่คาดว่า เสียงนกหวีดพยายามบอกว่า มีหรือไม่มีพรรคแล้วจะเดือดร้อน หลายๆครั้ง
คิดว่าน่าจะเป็นสัญญากลับธง (ตอนนี้ยังทัน)
แต่... สังหรณ์ใจว่า...
ผลจะออกมาเสมอ คือ ตัดสินว่า
"ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้"
ไม่ได้บอกว่าถูกว่าผิด แต่...
ไม่มีอำนาจ
คีย์คือ การสิ้นผลของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
หลายฉบับที่ต้องอ้างในคดีนี้ ตายตกไปพร้อม รธน.แล้ว
และตามหลัก พรบ. ป. รธน. ไม่สามารถอยู่ได้
หากไม่มี รธน. ที่ให้อำนาจ ไว้ให้มันเกาะ
ดังนั้น เกมนี้จะออกมาเพื่อให้นกหวีดที่สองทำงาน
คือ Reset ให้การทำ CDE เป็นโมฆะ
เหลี่ยมกลับมา แมลงสาปกลับมา
ย้อนเวลาไปวันที่ 2 เมษา ใหม่
....
เรื่องนี้ถ้าจะโทษ คือโทษในความอ่อนหัด
ที่ให้ตุลาการจาก "ศาลยุติธรรม" เป็นแกนในศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งพวกนี้ทำงานกันชักช้าน่าเบื่อ
พิจารณาคดีราวกับศาลอาญา
สืบพยานแล้วสืบพยานอีก
ล่อเข้าไปจะปี ออกคำวินิจฉัยไม่ได้
ถ้าออกคำวินิจฉัยมาตั้งแต่สัก พ.ย.-ธ.ค. 49
ยุบพรรค ท. ไปพรรคเดียวก็จบแล้ว
เพราะกระแสกำลังแรง
หรือถ้าออกมาสัก ก.พ. - เม.ย. 50
ยุบมันสองพรรค ตอนที่คนกำลังสิ้นศรัทธาระบบการเมือง
ก็ยังทัน...
แต่มาตอนนี้เหรอ
คนอยากเลือกตั้งกันใหม่
อยากไล่ไอ้ รบ. เต่าทรงธรรมนี้เต็มทน
ไม่ว่าจะยุบกี่พรรค โดนตื้บแหงๆ
อย่าลืมว่าคนเป่านกหวีด เซนส์เรื่องนี้เขาไวนะ
เขาคงไม่เชื่ออย่างในผู้จัดการหรอก ว่าพวกที่จะมาประท้วงยุบพรรค แม้วจ้างมาทั้งนั้น
เขาคงรู้ว่ากระแสของคนจริงๆ ส่วนใหญ่จะรู้สึกอย่างไร
ไม่งั้นไม่ออกมาหรอก หึหึหึ
อ่านประกอบการพิจารณา คำสัมภาษณ์ล่าสุดของอักขราทร และประเวศ
อักขราทร จุฬารัตน์ ประธานศาลปกครองสูงสุด
"ผู้สื่อข่าวถามว่าพระราชดำรัสฯ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวทางการวินิจฉัยคดียุบพรรคหรือไม่ นายอักขราทร กล่าวว่า ไม่ หากเปลี่ยนแปลงก็หมายความว่าเริ่มไม่มีหลักมีเกณฑ์ การตัดสินชี้ขาดคดีสำคัญหรือไม่สำคัญ ต้องเป็นไปตามหลักกฎหมาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยบ้านเมือง ทำให้มีความละเอียดชัดเจนขึ้น
"พระองค์ทรงตรัสว่าต้องให้คนที่ไม่รู้สามารถเข้าใจได้ โดยเหตุในคำพิพากษาจะต้องมีความชัดเจน อธิบายเป็นที่เข้าใจได้ โดยตุลาการรัฐธรรมนูญจะต้องตอบทุกประเด็นปัญหา แม้กระทั่งประเด็นเรื่องของการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปีด้วย" รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กล่าว
ต่อข้อถามว่าในหลักเกณฑ์เดิมมีปัจจัยความวุ่นวายด้วยหรือไม่ นายอักขราทร กล่าวว่า ความวุ่นวายเกิดขึ้นได้มาก สิ่งที่ต้องตัดสินไปด้วยเหตุนี้คงไม่ได้ การแก้ปัญหาความวุ่นวายเป็นหน้าที่คนอื่น เจ้าหน้าที่บ้านเมืองต้องไปดูแล ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าการวินิจฉัยไปผูกพันกับความวุ่นวาย ความเป็นธรรมเท่านั้นที่ต้องเป็นหลักสำคัญ ส่วนเรื่องการลงมติตุลาการรัฐธรรมนูญจะมีการหารือหรือไม่นั้น ได้มีการหารือกันอยู่ทุกวัน เพราะเป็นกรอบของงานที่ทำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องมีการพบปะกันจนถึงวันที่ 30 พ.ค.
"ผมไม่มั่นใจว่าหลังผลการตัดสินออกมาในวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ จะไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ แต่มั่นใจการทำหน้าที่ของเราให้ชัดเจนและดีที่สุด ก็หวังแต่เพียงว่าทุกคนจะเข้าใจในสิ่งที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้าทำหน้าที่ด้วยความสุจริต กล้าหาญ ซื่อตรงอย่างที่พระองค์ตรัสแล้ว เป็นไปโดยหลักกฎหมายที่คิดว่าถูกต้องและส่วนใหญ่คิดว่าถูกต้อง จะเป็นอื่นไม่ได้" นายอักขราทร กล่าว
ประเวศ วะสี
"ไม่อยากพูดอะไร แต่ขอพูดเป็นหลักการว่า เรื่องความยุติธรรม ทุกคนจะคุ้นเคยแต่ความยุติธรรมที่อาศัยการตัดสิน แต่มีความยุติธรรมอีกแบบหนึ่ง ยกตัวอย่างเมืองซินซินเนติ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ตำรวจคนขาวไปตีคนดำ และเกิดเรื่องประท้วง คนดำลุกฮือขึ้น ปะทะกัน เรื่องส่งไปฟ้องศาลว่าใครผิดใครถูก ศาลบอกว่า ศาลมีอำนาจตัดสิน แต่ขอไม่ตัดสิน เพราะถ้าตัดสินข้างใดข้างหนึ่งให้แพ้หรือชนะ ก็ไม่หยุดขัดแย้งกัน ฉะนั้น ยังไม่ตัดสิน ให้ไปใช้กระบวนการทำความเข้าใจกันเพื่อสลายคลายความขัดแย้งที่ไปสู่ความรุนแรง เรียกว่า "ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์"
"เป็นวิธีหนึ่ง ศาลมีอำนาจตัดสิน แต่บอกยังไม่ตัดสินวันนี้ เพราะตัดสินไปก็ไม่หยุดขัดแย้งกัน แต่มีอำนาจจะตัดสินได้ในวันหนึ่งได้ ผมไม่ได้ชี้แนะหรือเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญทำแบบนี้ เพียงแต่เล่าตัวอย่างว่า วิธีหนึ่งที่เขาใช้กัน คือความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ กำลังเป็นที่สนใจกันในโลกมากขึ้นๆ เพราะความยุติธรรมไม่ได้มีแต่การตัดสิน เพราะบางเรื่องตัดสินไม่ได้แก้ปัญหาได้
"
ที่มา เว็บไซต์ไทยรัฐ
Hi,
I've landed on your blog via reading Fa Diao Kan. Just want to point out that you may confuse the Queen's 'Thorne Speech' with the Christmas speech. The first, the Thorne Speech (aka, the official Queen Speech) is generally delivered at the opening of Parliament when the new government is formed or when it begins its second term. This is a parliamentary speech where the queen reads out the government's policy direction. This speech is not scheduled but generally it is in October (on a few occassions it was done in early November). The Christmas speech, televised annually, is different. It's non parliamentary and usually served as a channel for the queen to pass on the crown's well wishing to the Brits and the people of the Commonwealth nations.
Good blogging here. Please blog more about the poverty of Thai law. I'll make a revisit. Best wishes, Sawarin.
ยุบทั้งสองพรรคไปเลยค่ะ ถ้าเลือกตั้งใหม่ก็เจอแต่พวกหน้าเดิมๆ อีก ตอนนี้เบื่อพวกนี้สุดๆ เลยเห็นออกโทรทัศน์ก็จะอาเจียน หน้าก็เดิมๆ บริหารก็คงจะเดิมๆ
พูดแต่ละคำก็เดิมๆ ก็รู้กันอยู่ว่าพรรคการเมืองสมัยนี้ก็เหมือนกับบริษัทฯ หนึ่ง หาผลประโยชน์เข้าพรรคเข้าพวก คนเดือดร้อนก็พวกประชาชนคนธรรมดา
ยากที่จะเดา ใบสั่งภาษาจ้าว ต้องให้คนรับใช้อ่านถึงจะเขัาใจ
ไม่เข้าใจเลย
แล้วทำไมเราต้องสนใจ ให้ราคาอีก
20 กย เขาก็เซนต์ รับรู้ เห็นชอบ
แอบลุ้นอะไรอยู่เหรอ?
ตม ต้องเข้าใจ บริบทแบบไทยๆ
ถึงเราไม่ยอมรับอย่างไร แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นตัวละครการเมืองที่สำคัญ มีบทบาทที่สำคัญ
การเพิกเฉยต่อเขามีสองขั้ว
ขั้วแรก ไม่สนใจ โดยอ้างเหตุผลแบบรอแยลลิสต์ว่าเพราะอยู่เหนือการเมือง อย่าเอามายุ่ง (แต่เรื่องไหนได้ประโยชน์ล่ะ ลากมายุ่งจัง)
ขั้วสอง ไม่สนใจ แบบไม่ให้น้ำหนักใดๆเลย แบบที่ ตมคิด
ผมคิดว่า หาก ตม คิดแบบขั้วสอง จะทำให้เราประเมินสถานการณ์การเมืองพลาดได้
ผมกลับเห็นว่า เราไม่ควรตัดสถาบันออกจากการเมือง จริงอยู่ ทางกฎหมาย ทางอุดมคติ ผมก็ปรารถนาให้เป็นเช่นนั้น แต่ในเมื่อปัจจุบันเป็นเช่นนี้อยู่ ก็จำเป็นต้องนำมาประเมินด้วย ในฐานะตัวแปรหนึ่ง
เห็นด้วยกับเจ้าของบล็อกนะครับ
แต่จาก "บริบท" ในบ้านเราทุกวันนี้ ผมออกจะสงสัยอยู่ว่า "ประเมิน" ไปแล้ว ... ไงต่อ (ฟะ)
เพราะดูมันจะไม่มีช่องทางให้ชาวบ้านร้านตลาด ขับตัวอะไรได้เลย แม้เราจะประเมินแล้วว่ามันเป็นอย่างนั้น หรือ อย่างนี้
จำได้ว่าสมัยเด็กๆ ตอนอ่านเรื่องราว 2519 ทำความเข้าใจกับมันยากมากเลยว่ามันเกิดอะไรขึ้น จนต้องเอาไปให้พ่อแม่ช่วยอธิบาย
มาวันนี้ บอกตามตรงว่าเข้าใจถ่องแท้แล้วว่า ได้ที่กระทืบกันตายช่วงนั้นน่ะ บรรยากาศมันเป็นยังไง
ก็ไม่ต้องมี รธน แล้ว
ไม่ต้องมีมันแล้ว ปชต
ไม่ต้องมีหรอก พรรคการเมือง
เชิญท่านดูแล ปกครองประเทศไปเลย ถวายอำนาจ Absolute ไปให้เลย
เพราะท่าน ปรีชาสามารถ มากนี่นา
เข้ามาเสริมคุณ ตม ว่า
ไม่ได้หรอกครับ ให้ท่านปกครอง Absolute ไปเลย
เพราะ คนเค้ากลัวท่านเหนื่อยครับ (แหวะ)
ตัวยุ่ง
เอ่อ ..... บางท่าน แสดงความเห็นที่รุนแรงมาก ใครที่อยู่ในสถานการณ์อย่างพระมหากษัตริย์ ที่ห่วงใยบ้านเมือง ก็คงจะไม่อยู่นิ่งในหลาย ๆ เหตุการณ์
และเป็นธรรมดา การตัดสินใจบางอย่าง ก็อาจจะไม่ถูก ...คือ ไม่ถูกใจ ทุกท่าน และเป็นธรรมดา ที่ตัดสินใจทำอะไรลงไปแล้ว ก็อาจจะถูกบ้าง ผิดบ้าง โดยเฉพาะคนที่เป็นคนเชียร์มวย หรือ มองย้อนหลังไป ก็อาจจะพูดได้ว่า ทำไม ไม่ต่อยแบบนั้น ไม่ทำแบบนั้น ฯลฯ ซึ่งมันง่ายมาก
หากประมุข จะอยู่เฉย ๆ ก็ทำได้ และหากจะทำเช่นนั้น ก็ทำได้ แต่ก็จะมีคนตำหนิ ติฉันว่า ไม่มีน้ำใจ ไม่ห่วงใยบ้านเมืองได้
ผมว่า สถานการณ์แบบยากลำบากนี่ มันยากจริง ๆ เฮ้อ
เห็นด้วยกับคุณ pol_us ครับ ^_^
อยากเสริมสักนิดด้วยครับ ว่าไม่ว่าเราจะมีความคิดแนวไหน แต่ต้องบอกตัวเองเสมอว่าอย่าให้ความคิดมันพัฒนา กลายเป็นความรุนแรง เลยเถิด มากเกินไป
ไม่งั้นก็ไม่ต่างอะไรกับ ตุลา 2519
ไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็ตาม ...
ถึงคุณ POL_US
ถูกใจ หรือ ไม่ถูกใจผมไม่รู้ซินะ
แต่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย สรุป เราควรเชื่อฟัง คนๆหนึ่ง คนกลุ่มหนึ่ง ที่ ปักธงไว้แล้ว หรือ เชื่อกฏหมาย
มัวแต่ห่วงใยบางคน อย่าไปห่วง เลย เขาสบายกว่าเราเยอะ
ห่วงประชาชนทั้งประเทศ และ ห่วงชาติกันดีกว่า
สิ้นชาติ ทุกสถาบันก็อยู่ไม่ได้
สวัสดีครับ อาจาย์ ปิยบุตร,
ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยที่เข้าบล๊อกของอาจารย์โดยไม่ได้รับอนุญาต และต้องขอติดต่อกับอาจารย์ผ่านทางการแสดงความเห็นในบล๊อกส่วนตัวของอาจารย์ และ ลักษณะการติดต่อไม่เป็นทางการนัก
ผมเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นคณะจัดทำหนังสืองานวันรพีปีนี้ เนื่องจากว่า หนังสือรพีปีนี้จะจัดทำในหัวข้อเกี่ยวกับปัญหากฎหมายในปัจจุบัน จึงอยากจะขอรบกวนขอบทความจากอาจารย์เกี่ยวกับเรื่อง "กรณียุบพรรค" หรือเรื่องอื่นตามแต่อาจารย์จะเห้นสมควร เพื่อลงในหนังสือดังกล่าว โดยมีกำหนดปิดต้นฉบับวันที่ 25มิถุนายน (แต่อาจเลื่อนเป็นวันที่ 10 กรกฎาคมได้ หากปิดต้นฉบับไม่ทัน)หากอาจารย์สะดวกหรือไม่ อย่างไร ขอความกรุณาตอบกลับด้วยครับ
และหากไม่เป็นการรบกวนเกินไปนักอยากจะขอe-mailของอาจารย์ได้ไหมครับ
นนทวุฒิ ราชกาวี
puzzle01st@gmail.com
นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลเรื่องยุบพรรค โดยศาลเถื่อนออกมาแล้ว ไม่รู้ใครถูกใจหรือไม่ อย่างไร ยุบพรรค ไทยรักไทย แต่ไม่ยุบพรรคแมลงสาบ ปชป. แปลกดี เหตุการณ์ก็คล้าย ๆ กัน หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เลวพอ ๆ กัน อีกคนหนึ่งตาย อีกคนหนึ่งรอด ทั้งที่มันเป็นงูกินหาง หยิบเล็บเจ็บเนื้อแท้ ๆ
ปล. ท่าน ตม. ครับ ผมก็ยึดความถูกต้อง ผสมผสานกับประโยชน์สูงสุดนั่นแหละ ผมเชื่อว่า บ้านเมืองมันอยู่รอดด้วย องคาพยพ ที่ต้องเดินไปด้วยกัน และขึ้นอยู่กับความจำเป็นในแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปเสมอ
ผมเคยไม่ชอบคุณ ส. มาก ๆ ด้วยเหตุผลประการหนึ่ง คือ คุณ ส. วิจารณ์ ร.๕ ว่า ทำไม ไม่ทำแบบนั้น ไม่ทำแบบนี้ ทั้ง ๆ ที่ถ้าดำเนินรัฐประศาสโนบายแบนที่ท่านพูด เราจะไม่สูญแผ่นดินไทย ฯลฯ
ท่านก็พูดไปได้ซิ เพราะท่านเล่นวิเคราะห์ย้อนหลัง องค์ประกอบต่าง ๆ มันแน่นอนตายตัวแล้ว ใครก็พูดได้ ตอนหลัง ๆ คุณ ส. เริ่มมีเหตุผลและตรรกะที่ดี หลายอย่าง คงเป็นเพราะอายุสูงขึ้น ก็เป็นไปได้
ผมก็เช่นกันครับ หากจะเทียบกับคนที่ผ่านร้อนผ่านมาหนาวมาก เช่น คุณ ตม. ที่อาจจะแก่ และมีประสบการณ์เหนือกว่าผม ก็จะมองแตกต่างกันไปได้ เป็นเรื่องปกติครับ ผมมองของผมแบบนี้แหละครับ ขออภัยที่ไม่เห็นพ้องตรงกันนะครับ
ฟังพี่พลพูดแล้วคิดถึงคนเล่นหวยนะครับ
พอหวยออกมาแล้วก็ตีความต่างๆ นาๆ
ทำไมไม่ซื้อตัวนี้นะ ทำไมลืมกลับเลข
ทำไมซื้อแต่สองตัวล่าง ไม่ซื้อสองตัวบนด้วยนะ ฯลฯ
แหม่ มาตีเลขหลังหวยออกอย่างนี้ ใครๆ ก็ทำได้
ผมว่ากำลังคิดมากไปหรือเปล่าครับ ถ้าหากจะแทรกแซงตุลาการฯ จริงทำไมต้องออกทีวีป่าวประกาศให้เข้ารู้ทั่วบ้านทั่วเมือง คุณอยู่ในแวดวงนักกฎหมายน่าจะเคยได้ยิน ในสมัยคดี "ซุกหุ้น" ประธานศาลรัฐธรรมนูญในเวลานั้น "แต่งชุดขาว" ไปเมืองนนท์ฯ เข้าใจว่าถึงสองครั้ง
พระราชดำรัสในคืนนั้น ผมว่าก็แค่ทรงเตือนว่า ไม่ว่าจะตัดสินออกหัวหรือก้อยก็โดนด่าทั้งนั้น ฉะนั้น ต้องเคร่งครัดต่อกฎหมายเพียงอย่างเดียว ผู้พิพากษาถึงจะเอาตัวรอดได้ มิได้มีลับลมคมในมากมาย
ถ้าจะว่าแทรกแซง ก็น่าจะเป็นแทรกแซงมวลชนเสียมากกว่า
หลัง 19 กันยา มักจะคิดวิเคราะห์กันแต่ว่าสถาบันอยู่เบื้องหลังเสียไปหมดทุกอย่าง ไม่ผิดหรอกที่จะคิด แต่ต้องระมัดระวังมากกว่าครับ
ถ้าคุณสนใจการแทรกแซงตุลาการ ผมว่ามีประเด็นหนึ่งที่น่าคิดมาก นั่นคือก่อนการเลือกตั้งสว. ครั้งแรก ที่มีปัญหากับคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ที่ กกต. เที่ยวตัดสิทธิคนอื่นไปทั่ว แล้วเขาก็ไปร้องศาลจังหวัดกันแทบทุกจังหวัด จนศาลต้องเชิญผู้พิพากษาที่รับคดีพวกนี้มาประชุมที่ศาลฎีกา ปิดห้องประชุมลับกัน วางแนวทางวินิจฉัยให้ออกมาเหมือนกันทุกศาล
แต่ก็ไม่เคยมีใครติดว่าเป็นการแทรกแซงตุลาการ ซึ่งมีอิสระในการพิจารณาอรรถคดี เพราะเป็นการกระทำเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองใช่ไหม... ไอ้ข้อยกเว้นที่ให้ทำได้นี่หละน่าคิด... ว่ามันจะมีขอบเขตสักแค่ไหน
พลยูเอสตำรวจบ้าพลังประจำคณะนิติศาสตร์
ชอบสั่งให้ลูกน้องตำรวจเดินให้ดู
บางทีชอบสั่งให้ทำโน้นนี่ไร้สาระ
ฟังลูกน้องเก่าแกเล่ามา
อย่ามาด่าเผด็จการเลย ไอ้ตำรวจโรคจิต
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก