วันศุกร์, กรกฎาคม 14, 2549

คำถามชวนคิด

๑. “กษัตริย์” เป็นสิ่งเดียวกับ “สถาบันกษัตริย์”?
๒. “กษัตริย์” หรือ “สถาบันกษัตริย์” เป็นสิ่งเดียวกับ “ชาติ” และ “ศาสนา” ?
๓. ข้อความคิดว่าด้วย “พลเมือง” หรือ “ประชาชน” ไม่มีอยู่จริงในประเทศไทย?

13 ความคิดเห็น:

Blogger Etat de droit กล่าวว่า...

คำถามชวนคิดที่โพสในบล็อกตอนนี้ เกิดจากข่าวปาฐกถาของพล.อ.เปรมที่ จปร เลยสงสัย เอามาถามกันต่อ

พล.อ.เปรม บอกว่า "ทหารเป็นของชาติและพระเจ้าอยู่หัว"

เห็นแบบนี้ ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมจึงคิดกันว่า ข้า"ราช"การ หรือ ผู้พิพากษาตัดสินคดีในพระปรมาภิไธย

ถ้าเอาข้อความคิดว่าด้วย "รัฐ" มาจับกับรัฐไทย น่าสงสัยว่า รัฐไทยแยกออกเด็ดขาดกับสถาบันกษัตริย์หรือยัง

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ต้องการแยก "รัฐ" ออกจากสถาบันกษัตริย์อย่างชัดเจน

แต่ก็ถูกดึงกลับไป

บางที รัฐไทยอาจเป็นรัฐเดียวในโลกที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแต่ "รัฐ" ไม่ได้แยกออกจากสถาบันกษัตริย์

ดังนั้น หากเราเขียนงานวิชาการ คงต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศคร่อมคำว่า "ประชาธิปไตย" ไว้เสมอเวลาจะกล่าวถึงประชาธิปไตยของไทย เพราะ "ประชาธิปไตย"ในบริบทของไทย ไม่เหมือนที่อื่นอย่างแท้จริง

7:38 หลังเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอยกเพลงพี่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย ที่ถูกใช้เป็นเพลงกึ่งทางการในทีวีเมื่อเดือนก่อน มาแสดงให้เห็นถึงมุมมองของ “พลเมือง” ไทยที่เชื่อ, หรือทำให้เชื่อ ถึงความสัมพันธ์ และความสำคัญของสถาบันกษัตริย์กับตัวพลเมือง ดังนี้

“เราทุกคนก็เหมือนก้อนดินแค่ก้อนหนึ่ง บอบบางไร้ค่าไร้ความหมาย
อ่อนแอเหมือนโคลน ไหลไปตามทางเรื่อยไป เมื่อน้ำแห้งไป ก็แตกระแหง
มีพลังเพียงแค่แรงหนึ่งที่ยึดเรา เหนี่ยวรั้ง เราไว้ให้กล้าแข็ง
รวมผู้คนมากมาย ให้ทรงพลังแข็งแรง รวมเม็ดดินเล็กๆให้เป็นแผ่นดิน...”


บทเพลงนี้แสดงความที่ชัดเจนอย่างยิ่งให้เห็นแนวคิด ที่ยอมรับ (หรือถูกทำให้ยอมรับ) ว่า ประชาชนพลเมืองทั้งหลายนั้น เป็นเพียง “ก้อนดิน” ที่ “ไร้ค่า” “อ่อนแอ ไร้ความหมาย” และ อยู่ไม่ได้ ไหลไป แตกระแหง หากขาดสถาบันกษัตริย์เสียแล้ว เพลงนี้จึงช่วยส่งเสริมให้ตอกย้ำในความเชื่อลงไปในหัวใจของราษฎรไทยให้มั่นคงยิ่ง

หรือถ้าเผื่อคุณไปแสดงท่าที “ไม่เชื่อมั่น” ต่อแนวคิดเช่นว่านี้ในเวบบอร์ดสาธารณะที่เปิดกว้าง คำประณามที่คุณจะได้รับอันหนึ่ง คือ หากไม่มีกษัตริย์แล้ว โครตเหง้าสักกะหลาดคุณจะมีแผ่นดินอยู่หรือ

ซึ่งผู้พูดหมายถึงกษัตริย์ในอดีตที่กอบกู้เอกราช หรือป้องกัน “ชาติ” มิให้ถูกรุกรานจากการล่าอาณานิคม แต่ผู้พูดละทิ้งในความสำคัญของทหาร ข้าราชการ พลเรือน ประชาชนในยุคนั้นสมัยนั้นไปเสียหมด เพราะพลเมืองเหล่านั้นเป็นแค่ “ก้อนดินที่ไร้ค่า” หากปราศจากเสียซึ่งกษัตริย์ การ “มีแผ่นดินอยู่” จึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์เสียเท่านั้น

ข้าราชการทั้งหลาย ถูกสั่งสอนให้เชื่อว่าเป็น “ข้าราชการของพระมหากษัตริย์” ดังนั้น ข้าราชการทั้งหลายจึงมีอุปทานลึกๆ เสมอว่าหน้าที่ของตนนั้น เหนือกว่าการรับใช้รัฐ และหน้าที่ของตนนั้นเหนือกว่าพลเมืองอื่นๆ เพราะตนเป็น “ผู้รับใช้” แห่งกษัตริย์

เราจึงได้ยิ้มหัวกับเรื่องบ้าๆ เช่น ความทุกข์ระทมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ไม่ได้นำตำแหน่งตนว่า “ข้าราชการ” (ก็กูอยากรับใช้กษัตริย์นี่ กูไม่อยากรับใช้รัฐเว้ย) การไม่มีครุฑ (ซึ่งเหมือนเป็นตราแผ่นดินของกษัตริย์) บนบัตรประชาชนรุ่นใหม่ การไม่ใส่คำว่า “ราชอาณาจักร” ลงในคำว่า “ไทย”

และ “การหมิ่น หรือไม่เชื่อมั่นในสถาบันกษัตริย์” จึงเป็นอาวุธชั้นดีในทางการเมืองเสมอมา

ต่อข้อถามของผู้ตั้งประเด็น

๑. “กษัตริย์” เป็นสิ่งเดียวกับ “สถาบันกษัตริย์”?
- คำตอบนี้ต้องรอการพิสูจน์อีกราว 40 ปี ตอนนี้ยังคงได้แต่คาดเดา

๒. “กษัตริย์” หรือ “สถาบันกษัตริย์” เป็นสิ่งเดียวกับ “ชาติ” และ “ศาสนา” ?
- ไม่ทั้งหมด แต่ “ชาติ” นั้นคือพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แน่ๆ

๓. ข้อความคิดว่าด้วย “พลเมือง” หรือ “ประชาชน” ไม่มีอยู่จริงในประเทศไทย?
- ไม่, ไม่มีอยู่จริง

1:45 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คำถามชวนคิด

๑. “กษัตริย์” เป็นสิ่งเดียวกับ “สถาบันกษัตริย์”?
๒. “กษัตริย์” หรือ “สถาบันกษัตริย์” เป็นสิ่งเดียวกับ “ชาติ” และ “ศาสนา” ?
๓. ข้อความคิดว่าด้วย “พลเมือง” หรือ “ประชาชน” ไม่มีอยู่จริงในประเทศไทย?

posted by Etat de droit at 10:02 ก่อนเที่ยง | 2 comments

ในมุมมองของผม...

1. กษัตริย์ คือ "ตัวแทน อันดับหนึ่ง" ที่ทำหน้าที่ของ สถาบันกษัตริย์ ทั้งโดนนิตินัยและพฤตินัย


2. กษัตริย์ ในปัจจุบัน โดย Implication ของคนไทยหลายๆคน (ส่วนใหญ่ของประเทศก็ว่าได้) ต่างมีมุมมองว่า กษัตริย์ (พระองค์นี้) (ไม่ใช่สถาบันกษัตริย์) คือตัวแทนของ "ชาติ" และ "ศาสนา" ไปนานแล้ว

ถามว่านานแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการรับข่าวสาร และพระราชกรณียกิจของคนนั้นๆ
ที่แน่ๆ เริ่มจากสมัย สฤษฎิ์

3. สถาบัน "ประชาชน" มีอยู่จริงในประเทศไทย
แต่เป็นสถาบันที่มีบทบาทน้อย ในทางปฏิบัติ

กระทั่งสิ่งที่ประชาชน ไปแสดงความเห็นของประชาชนเอง โดยวิธีการเลือกตั้ง ในระดับ Major election ที่ถึงแม้เป็น snap

เสียงทีประชาชนไปแสดงนั้น ก็ถูก "freeze" หรือ "Abort" ได้โดยง่าย เพียงอาศัยการแทรกแซงของสถาบันอื่นๆ ตามกลไกที่เอื้อำนวยและอยุ่ในมือ

ไม่ว่าจะไร้เหตุผล หรือ มีเหตุผลก็ตาม...


ปล.
ผมเคยเห็น หน่วยทหารแห่งหนึ่ง เขียนข้อความไว้ข้างตึกบัญชาการเล็กๆ ของตนเองว่า

"เพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และ ประชาชน"

ผมไม่รู้ว่า ในมุมมองของผู้เขียนข้อความนั้น
เขาเรียงลำดับความสำคัญของ ทั้ง 4 สถาบันนั้นไว้อย่างไร

แต่ บอกตามตรงว่า พอเห็นตอนแรก ก็ยังรู้สึกว่า นี่ยังดี ที่มันมี สถาบันอันหลังสุดอยู่

เพราะทั่วไปแล้ว ผมไม่เคยเห็นในที่อื่นมาก่อน...

8:33 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คำถามชวนคิด

๑. “กษัตริย์” เป็นสิ่งเดียวกับ “สถาบันกษัตริย์”?
๒. “กษัตริย์” หรือ “สถาบันกษัตริย์” เป็นสิ่งเดียวกับ “ชาติ” และ “ศาสนา” ?
๓. ข้อความคิดว่าด้วย “พลเมือง” หรือ “ประชาชน” ไม่มีอยู่จริงในประเทศไทย?

posted by Etat de droit at 10:02 ก่อนเที่ยง | 2 comments

ในมุมมองของผม...

1. ในปัจจุบัน กษัตริย์ คือ "ตัวแทน อันดับหนึ่ง" ที่ทำหน้าที่ของ สถาบันกษัตริย์ โดยพฤตินัย


2. กษัตริย์ ในปัจจุบัน โดย Implication ของคนไทยหลายๆคน (ส่วนใหญ่ของประเทศก็ว่าได้) ต่างมีมุมมองว่า กษัตริย์ (พระองค์นี้) (ไม่ใช่สถาบันกษัตริย์) คือตัวแทนของ "ชาติ" และ "ศาสนา" ไปนานแล้ว

ถามว่านานแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการรับข่าวสาร และพระราชกรณียกิจของคนนั้นๆ
ที่แน่ๆ เริ่มจากสมัย สฤษฎิ์

3. สถาบัน "ประชาชน" มีอยู่จริงในประเทศไทย
แต่เป็นสถาบันที่มีบทบาทน้อย ในทางปฏิบัติ

กระทั่งสิ่งที่ประชาชน ไปแสดงความเห็นของประชาชนเอง โดยวิธีการเลือกตั้ง ในระดับ Major election ที่ถึงแม้เป็น snap

เสียงทีประชาชนไปแสดงนั้น ก็ถูก "freeze" หรือ "Abort" ได้โดยง่าย เพียงอาศัยการแทรกแซงของสถาบันอื่นๆ ตามกลไกที่เอื้อำนวยและอยุ่ในมือ

ไม่ว่าจะไร้เหตุผล หรือ มีเหตุผลก็ตาม...

นั่นแสดงถึง ความปวกเปียกของสถาบันประชาชนในเมืองไทยที่ชัดเจน

ปล.
ผมเคยเห็น หน่วยทหารแห่งหนึ่ง เขียนข้อความไว้ข้างตึกบัญชาการเล็กๆ ของตนเองว่า

"เพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และ ประชาชน"

ผมไม่รู้ว่า ในมุมมองของผู้เขียนข้อความนั้น
เขาเรียงลำดับความสำคัญของ ทั้ง 4 สถาบันนั้นไว้อย่างไร

แต่ บอกตามตรงว่า พอเห็นตอนแรก ก็ยังรู้สึกว่า นี่ยังดี ที่มันมี สถาบันอันหลังสุดอยู่

เพราะทั่วไปแล้ว ผมไม่เคยเห็นในที่อื่นมาก่อน...

8:38 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้าเป็นได้ รบกวน ท่านเจ้าของบล๊อค ช่วยลบความเห็นแรกของผม (ที่ชื่อ หมี เฉยๆ) ออกด้วยครับ

เพราะดันเผลอกดส่งออกไป โดยยังไม่ทันอ่านข้อความให้ครบครับ

8:41 ก่อนเที่ยง  
Blogger Etat de droit กล่าวว่า...

ผมยอมรับว่าผมเฮิร์ทมากกับข้อความที่เปรมพูด

แม้จะไม่ใช่เรื่องเกินคาดคิดว่าเปรมจะพูดแบบนี้

แต่ฟังแล้วมันหดหู่น่ะครับ

4:27 ก่อนเที่ยง  
Blogger crazycloud กล่าวว่า...

ผมว่า คำถามที่นิติรัฐ สร้าง เป็นคำถามชวนคิด
ชวนคิดว่าทำไมปัญญาชนไทยถึงอ่อนด้อยเช่นนี้ ตรงๆนะ

ข้อความคิดว่าด้วยพลเมือง ที่ว่า คือ ข้อความคิดว่าด้วย พลเมือง แบบไหน แบบมังคุด หรือฝรั่ง

ในสังคมไทย แต่เดิม เรามีประชาธิปไตยอยู่แล้ว มีในวัด มีในหมู่บ้าน การประชุมของชาวบ้านในการจัดการปัญหา ผมรู้ และกล้าบอกว่ารู้ เพราะผมเติบโตในสังคมนั้น ในขณะที่เด็กเมืองล่อแต่เกมส์แฟมิลี่ สะสมแต่รูปลอก

ความเป็นประชาสังคม มีอยู่และสอดประสานกลมกลืนกับคติแบบตะวันออก คือการยกย่องสถาบันกษัตริย์ ในฐานะที่ทรงมีเมตตาบารมี ในขณะที่สังคมแบบตะวันตกสมัยใหม่ วางอยู่บนรากฐานแบบ ปัจเจกชนนิยม มนุษย์นิยม และกระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ที่ล้มเจ้าชั่วๆ ซึ่งกระบวนทัศน์เหล่านี้ เราก็รู้อยู่ว่าสร้างปัญหามากมาย จนน้ำจะท่วมโลกอยู่แล้ว

ความเป็นประชาสังคม มีอยู่แต่ถูกท้าทาย ทำลายลงด้วยระบอบทุน โดยเฉพาะสมัย ไอ้แม้ว นี่สาหัสนัก คุณจะตั้งคำถามอะไร หัดลงไปคลุกคลี ความเป็นจริงด้วย

ข้อความคิด เรื่อง พลเมือง ที่ว่า ก็อ่านมาจากตำราเล่มไหนล่ะ ครับ คุณท่าน

สำหรับสังคมไทย กษัตริย์ คือ ราก ที่มีแก่นของราก คือ ราชธรรมทั้งหลายตามคติพุทธ ผสมพราหมณ์

ปรีดี คือ ผู้ที่อยากเห็นสังคมก้าวหน้า แต่อ่อนล้าในเชิงความเข้าใจ ผมอ่านสมุดหน้าเหลือง มาตั้งแต่ปีสอง เห็นข้อเสนอในนั้นแล้วก็รู้สึกว่ามันก้าวหน้าลงคลองเกินไป

การปกครองประเทศ ผมเข้าใจว่า มนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคกันอยู่แล้ว แต่โลกแห่งจิต คือตัวบันดาลโครงสร้างทางสังคม แต่สำหรับ สถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย คือ โครงสร้างที่เอื้ออารีย์ต่อสังคม และสังคมไทยไม่ได้เรียกอะไรมากไปกว่า การมีคนดีปกครองบ้านเมือง ดังนั้น การวิพากษ์ กรุณาดูจังหวะก้าวด้วย

ถ้าคุณเอาแผนที่มาแปะไว้กระจกหน้ารถ แล้วขับรถ ผมว่า ตายห่าอย่างเดียว

ผมรู้ว่า ทุกคนปรารถนาดีต่อบ้านเมืองทั้งนั้น แต่กรุณาดูลมเหนือใต้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็ไม่เข้าท่าเหมือนกัน ผมว่าการปกครองที่ดีต้องก่อประโยชน์สุข ผมเองก็อยากเห็นสังคมไทยที่โตเหมือนกับคุณๆนั่นแหละ แต่เมื่อยังไม่โต ก็ต้องมีเครื่องมือมาประคบประหงมกันก่อน

รึว่า ตอนคุณๆเกิดมา หานมกินเองได้เลยหรือไร

มันก็ต้องค่อยๆไป แล้วผมคิดว่า เราไปกันได้ดี จนต่างชาติเรียกว่า Silk Revolution ในขณะที่ฝรั่งเศส เนปาล ตีกันตายห่า นั่นหรือ การก้าวที่ถูกต้อง

คุณทั้งหลาย ลองมาร่วมชุมนุม แล้วคุณจะรู้ว่า อิทธิพลของอำนาจมันเป็นอย่างไร

อย่าสำเร็จความใคร่รู้ เพียง ปริยัติ

สังคม ยังต้องการ นัก ปฏิบัติ เพื่อ นำไปสู่ ปฏิเวทสังคม คือ สังคมที่สำเร็จประโยชน์ร่วมกันด้วย

10:25 ก่อนเที่ยง  
Blogger Tier Etat กล่าวว่า...

ทหารเป็นของผู้มีอำนาจ บารมี
บารมีเป็นของ ผู้มีทหาร

แล้วทหารเป็นของใครในสังคมไทย ???

6:28 หลังเที่ยง  
Blogger Unknown กล่าวว่า...

เลิกเถียงกันเถอะ เรื่องคุณธรรม เรื่องความดี
มันวัดไม่ได้
สถาบันกษัตริย์เป็นช่องทางให้ทั้งคนดีและคนเลวใช้อำนาจ
ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด
ในอดีต มีทั้งกษัตริย์ชั่ว กษัตริย์ดี กษัตริย์ชั่วแต่ทำเป็นดูดี กษัตริย์ดีแต่มีเมียชั่วและกลัวเมีย(นี่ไม่ได้หมายถึงในไทยนะ)
ประชาชนจะทำยังไง

ปล.ผมเป็นคนดีนะ

2:40 หลังเที่ยง  
Anonymous บุญตา กล่าวว่า...

เห็นด้วยกับ คุณ Jack มากครับ ไม่ควรนำเรื่องนี้มาวิจารณ์เลยครับ

5:35 ก่อนเที่ยง  
Blogger Unknown กล่าวว่า...

www0719
nfl jerseys wholesale
ugg outlet
canada goose jackets
michael kors outlet
oakley sunglasses
spurs jerseys
ugg outlet
fitflops outlet
mont blanc pens
fitflops

11:36 ก่อนเที่ยง  
Blogger Unknown กล่าวว่า...

www0927

ralph lauren polo
louboutin shoes
moncler jackets
coach outlet
jordan 4
jordan uk
tory burch outlet
jordan shoes
christian louboutin outlet
coach outlet




3:28 ก่อนเที่ยง  
Blogger Unknown กล่าวว่า...

nike flyknit
yeezy boost 350 v2
michael kors outlet
adidas iniki
yeezy boost
cheap jordans
adidas yeezy
kobe 9
nmd
coach factory outlet

9:12 ก่อนเที่ยง  

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก