เนื่องมาจากบล็อกตอนพระราชอำนาจ
ก่อนอื่นต้องขอบคุณ Pol_us ที่นำบล็อกตอน “พระราชอำนาจกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ที่ผมเขียนขึ้นไปเผยแพร่ในบล็อกของเขา บังเอิญว่าผมโพสตอนนี้ลงในบล็อกของผมแล้วมันหายไปดื้อๆเลย กู้กลับมาก็ไม่ได้ ดีที่ได้ความรอบคอบของปิ่น ปรเมศวร์ช่วยนำไปโพสเก็บไว้ในบล็อกของเขา ประกอบกับ Pol_us นำไปเผยแพร่อีก ทำให้ข้อเขียนของผมยังอยู่ในโลกไซเบอร์สเปซ
ผมอ่านคนที่มาแสดงความเห็นในบล็อกของ Pol_us แล้ว มีคนที่ใช้นามว่า “เซนเซอร์” เข้ามาวิจารณ์งานของผม
เป็นธรรมดา เมื่อมีผู้ใดมาวิจารณ์แล้วเราคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็จำเป็นต้องอรรถาธิบายกลับไป ผมลองไปโพสในบล็อกของ Pol_us แล้ว แต่ทางพันทิปอนุญาตให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่โพสได้ ผมเลยต้องกลับรังของผมเพื่อมาอธิบายให้คุณเซนเซอร์ เข้าใจ
รบกวนพี่ Pol_us หรือใครที่รู้จักคุณเซนเซอร์ ช่วยบอกให้คุณเซนเซอร์ เข้ามาอ่านคำชี้แจงของผมด้วย
...............
-๑-
ข้อวิจารณ์ของคุณเซนเซอร์
เป็นบทความที่มีจุดอ่อนในแนวความคิดและข้อเท็จจริงอยู่อย่างมากครับผมจะพูดถึงเฉพาะที่เป็นข้อเขียนของบทความนี้ จะยกเฉพาะที่อยู่ในบทความนี้ เพื่อให้สั้นๆหน่อย เพราะถ้าจะแสดงความเห็นเรื่องนี้จริงๆคงต้องยาวมากๆ
1. จากบทความ "ข้อแรก ผมพูดถึงระบอบไม่ใช่ตัวบุคคล ขอให้ท่านสร้างจินตภาพว่าเมืองไทยปกครองในระบอบนี้โดยอย่าพึ่งดูว่าใครเป็นกษัตริย์ ใครเป็นนายกฯ"
- เริ่มต้นของบทความก็ตั้งสมมติฐานที่ไม่ตรงกับสภาพและข้อเท็จจริงแล้ว ในความเห็นของผมกล่าวได้ว่าบทความนี้จบตั้งแต่ตอนนี้แล้ว
2. "หากพระมหากษัตริย์ยังมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยอีกและพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว"
- ผู้เขียนยกมาก็ดีแล้ว ผมมีคำถามว่า แล้วถ้าเกิน 30 วัน จะตีความว่าอย่างไร และควรใช้หลักการใดบ้างในการตีความ
3. อย่างไรก็ตาม แม้เราจะยอมรับว่าพระราชอำนาจในธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญนั้นมีจริงในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่พระราชอำนาจเช่นว่าก็ไม่อาจหลุดจากกรอบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้
- พระองค์ท่านเคยมีพระราชดำรัสในโอกาส 5 ธันวา ครั้งหนึ่งแล้วว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ถ้าผู้เขียนต้องการศึกษาด้านนี้อย่างจริงจัง ก็ควรไปหาเทปมาดู แล้วขบคิดพิจารณาหาข้อมูลเพิ่มเติม แล้วจะรู้ว่าลึกซึ้งกว่าที่เคยเข้าใจ
4. The King Can Do No Wrong
บทนี้ เป็นบทที่แย่ที่สุดของผู้เขียน โดยเฉพาะ "ต่อไปการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงคงไม่ต้องวิ่งฝ่ายการเมืองแต่วิ่งฝ่ายอื่นแทนกระมัง"แสดงให้เห็นแนวความคิดของผู้เขียนว่าคงจะนิยมการวิ่งบอกได้แต่ว่า ทุกครั้งที่ทรงใช้"อำนาจ" ทรง"รับผิดชอบ" เสมออาจเกินกว่าที่ผู้เขียนบทความจะเข้าใจ
โดย: <เซ็นเซอร์> วันที่: 8 ตุลาคม 2548 เวลา:17:30:07 น.
-๒-
ตอบคุณเซ็นเซอร์
๑. ผมออกตัวเช่นนั้นก่อน ก็เพราะ ต้องการอธิบายว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต้องเป็นเช่นไร
ผมเข้าใจดีว่าของไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะ แต่ที่มันเฉพาะมันไม่ได้จะอยู่ตลอดกาลนะครับ หากเป็นเฉพาะองค์ปัจจุบันที่มีพระบารมีมาก ถ้าสำรวจนับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ก็จะพบว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในแต่ละรัชกาล ก็ไม่เหมือนกัน
ที่ผมออกตัวแบบนี้ไปก่อน ก็เพื่อให้เข้าใจว่าโดยหลักแล้วระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ควรเป็นเช่นไร
ส่วนที่คุณเซนเซอร์บอกว่า “ในความเห็นของผมกล่าวได้ว่าบทความนี้จบตั้งแต่ตอนนี้แล้ว” ก็เป็นดุลพินิจของคุณเอง ผมไม่ขอก้าวล่วง
๒. ผมไม่เข้าใจที่คุณเซนเซอร์ถาม
ตัวบทมาตรา ๙๔ ก็เขียนชัดแล้วว่าถ้าในหลวงไม่ลงพระปรมาภิไธยและส่งคืนภายใน ๓๐ วัน นายกฯก็ประกาศใช้ได้
ถ้าเกิน ๓๐ วันดังที่คุณเซนเซอร์ถาม นายกฯ ก็ต้องประกาศใช้กฎหมายได้สิครับ ไม่เห็นต้องตีความอะไรเลย คุณลองอ่านมาตรา ๙๔ ดีๆละกัน ช้าๆอย่ารีบ อย่าใจร้อนรีบมาตอบโต้ผม คุณก็จะรู้เอง
อ่านดีๆนะครับ
มาตรา ๙๔
“... เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว”
ผมเน้นตัวหนาไว้เลย เพื่อให้คุณเซนเซอร์อ่านให้เคลียร์
๓. ผมไม่เคยบอกว่าในหลวงตรัสว่าพระองค์ทรงอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ แต่ผมเขียนบทความเพื่อสื่อไปยัง “นักจงรักภักดีเฉพาะกิจ” ทั้งหลาย ที่พยายามเอาพระองค์มาแอบอ้างเพื่อหวังผลอื่นๆ โดยยกว่าพระองค์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ
ผมย้อนไปดูในบทความที่ผมเขียน ไม่มีตรงไหนที่ผมบอกว่าพระองค์ยืนยันว่าพระองค์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ
จึงไม่จำเป็นที่ต้องไปหาเทปพระราชดำรัส ๕ ธันวา (จริงๆต้อง ๔ ธันวานะครับ) อย่างที่คุณบอก
๔. ผมขอคำอธิบายให้ชัดเจนสักนิดว่าที่คุณเซนเซอร์บอกว่าตอนนี้แย่ที่สุดนั้นแย่อย่างไร ขอความกรุณาชี้แจงให้กระจ่าง การบอกว่าสิ่งใดแย่ควรมีเหตุผลประกอบ การกล่าวหาว่าโดยไม่แสดงเหตุผลก็คล้ายกับกล่าวหาแล้วไม่รับผิดชอบนั่นเอง
ถ้าใช้ตรรกะเดียวกับคุณเซนเซอร์ ผมก็อาจกล่าวเช่นกันว่า ข้อวิจารณ์ของคุณในตอนนี้แย่ที่สุด
ช่วยอธิบายให้ผมทราบด้วยว่าที่ผมเขียนหลัก The King Can Do No Wrong นั้นมีข้อบกพร่องตรงไหน ผมจะได้มาชี้แจงคุณถูก
การตัดบางวรรคในงานของผมมา แล้วเหมาเอาว่าผมนิยมการวิ่งเต้น เป็นการกล่าวหาที่ตื้นเขินที่สุดเท่าที่ผมพบเห็น ผมวิจารณ์ว่ามีการวิ่งเต้นไม่จำเป็นที่ผมต้องเห็นดีเห็นงามกับการวิ่งเต้น ก็เพราะผมวิจารณ์ยิ่งแสดงว่าผมไม่เห็นด้วยกับการวิ่งเต้น ไม่เข้าใจตรรกะการให้เหตุผลของคุณในข้อนี้มากๆ
เช่นกัน ผมไม่เคยบอกเลยว่าพระองค์ไม่รับผิดชอบ นี่เป็นการตีความของคุณเอาเอง
แต่ที่ผมเน้นคือ เราควรต้องป้องกันพระองค์ออกจากการรับผิดชอบทางการเมือง
รบกวนคุณเซ็นเซอร์ช่วยมาตอบด้วย
รอคอยคำตอบของคุณเซนเซอร์อยู่
ด้วยมิตรภาพ
ผมอ่านคนที่มาแสดงความเห็นในบล็อกของ Pol_us แล้ว มีคนที่ใช้นามว่า “เซนเซอร์” เข้ามาวิจารณ์งานของผม
เป็นธรรมดา เมื่อมีผู้ใดมาวิจารณ์แล้วเราคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็จำเป็นต้องอรรถาธิบายกลับไป ผมลองไปโพสในบล็อกของ Pol_us แล้ว แต่ทางพันทิปอนุญาตให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่โพสได้ ผมเลยต้องกลับรังของผมเพื่อมาอธิบายให้คุณเซนเซอร์ เข้าใจ
รบกวนพี่ Pol_us หรือใครที่รู้จักคุณเซนเซอร์ ช่วยบอกให้คุณเซนเซอร์ เข้ามาอ่านคำชี้แจงของผมด้วย
...............
-๑-
ข้อวิจารณ์ของคุณเซนเซอร์
เป็นบทความที่มีจุดอ่อนในแนวความคิดและข้อเท็จจริงอยู่อย่างมากครับผมจะพูดถึงเฉพาะที่เป็นข้อเขียนของบทความนี้ จะยกเฉพาะที่อยู่ในบทความนี้ เพื่อให้สั้นๆหน่อย เพราะถ้าจะแสดงความเห็นเรื่องนี้จริงๆคงต้องยาวมากๆ
1. จากบทความ "ข้อแรก ผมพูดถึงระบอบไม่ใช่ตัวบุคคล ขอให้ท่านสร้างจินตภาพว่าเมืองไทยปกครองในระบอบนี้โดยอย่าพึ่งดูว่าใครเป็นกษัตริย์ ใครเป็นนายกฯ"
- เริ่มต้นของบทความก็ตั้งสมมติฐานที่ไม่ตรงกับสภาพและข้อเท็จจริงแล้ว ในความเห็นของผมกล่าวได้ว่าบทความนี้จบตั้งแต่ตอนนี้แล้ว
2. "หากพระมหากษัตริย์ยังมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยอีกและพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว"
- ผู้เขียนยกมาก็ดีแล้ว ผมมีคำถามว่า แล้วถ้าเกิน 30 วัน จะตีความว่าอย่างไร และควรใช้หลักการใดบ้างในการตีความ
3. อย่างไรก็ตาม แม้เราจะยอมรับว่าพระราชอำนาจในธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญนั้นมีจริงในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่พระราชอำนาจเช่นว่าก็ไม่อาจหลุดจากกรอบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้
- พระองค์ท่านเคยมีพระราชดำรัสในโอกาส 5 ธันวา ครั้งหนึ่งแล้วว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ถ้าผู้เขียนต้องการศึกษาด้านนี้อย่างจริงจัง ก็ควรไปหาเทปมาดู แล้วขบคิดพิจารณาหาข้อมูลเพิ่มเติม แล้วจะรู้ว่าลึกซึ้งกว่าที่เคยเข้าใจ
4. The King Can Do No Wrong
บทนี้ เป็นบทที่แย่ที่สุดของผู้เขียน โดยเฉพาะ "ต่อไปการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงคงไม่ต้องวิ่งฝ่ายการเมืองแต่วิ่งฝ่ายอื่นแทนกระมัง"แสดงให้เห็นแนวความคิดของผู้เขียนว่าคงจะนิยมการวิ่งบอกได้แต่ว่า ทุกครั้งที่ทรงใช้"อำนาจ" ทรง"รับผิดชอบ" เสมออาจเกินกว่าที่ผู้เขียนบทความจะเข้าใจ
โดย: <เซ็นเซอร์> วันที่: 8 ตุลาคม 2548 เวลา:17:30:07 น.
-๒-
ตอบคุณเซ็นเซอร์
๑. ผมออกตัวเช่นนั้นก่อน ก็เพราะ ต้องการอธิบายว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต้องเป็นเช่นไร
ผมเข้าใจดีว่าของไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะ แต่ที่มันเฉพาะมันไม่ได้จะอยู่ตลอดกาลนะครับ หากเป็นเฉพาะองค์ปัจจุบันที่มีพระบารมีมาก ถ้าสำรวจนับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ก็จะพบว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในแต่ละรัชกาล ก็ไม่เหมือนกัน
ที่ผมออกตัวแบบนี้ไปก่อน ก็เพื่อให้เข้าใจว่าโดยหลักแล้วระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ควรเป็นเช่นไร
ส่วนที่คุณเซนเซอร์บอกว่า “ในความเห็นของผมกล่าวได้ว่าบทความนี้จบตั้งแต่ตอนนี้แล้ว” ก็เป็นดุลพินิจของคุณเอง ผมไม่ขอก้าวล่วง
๒. ผมไม่เข้าใจที่คุณเซนเซอร์ถาม
ตัวบทมาตรา ๙๔ ก็เขียนชัดแล้วว่าถ้าในหลวงไม่ลงพระปรมาภิไธยและส่งคืนภายใน ๓๐ วัน นายกฯก็ประกาศใช้ได้
ถ้าเกิน ๓๐ วันดังที่คุณเซนเซอร์ถาม นายกฯ ก็ต้องประกาศใช้กฎหมายได้สิครับ ไม่เห็นต้องตีความอะไรเลย คุณลองอ่านมาตรา ๙๔ ดีๆละกัน ช้าๆอย่ารีบ อย่าใจร้อนรีบมาตอบโต้ผม คุณก็จะรู้เอง
อ่านดีๆนะครับ
มาตรา ๙๔
“... เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว”
ผมเน้นตัวหนาไว้เลย เพื่อให้คุณเซนเซอร์อ่านให้เคลียร์
๓. ผมไม่เคยบอกว่าในหลวงตรัสว่าพระองค์ทรงอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ แต่ผมเขียนบทความเพื่อสื่อไปยัง “นักจงรักภักดีเฉพาะกิจ” ทั้งหลาย ที่พยายามเอาพระองค์มาแอบอ้างเพื่อหวังผลอื่นๆ โดยยกว่าพระองค์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ
ผมย้อนไปดูในบทความที่ผมเขียน ไม่มีตรงไหนที่ผมบอกว่าพระองค์ยืนยันว่าพระองค์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ
จึงไม่จำเป็นที่ต้องไปหาเทปพระราชดำรัส ๕ ธันวา (จริงๆต้อง ๔ ธันวานะครับ) อย่างที่คุณบอก
๔. ผมขอคำอธิบายให้ชัดเจนสักนิดว่าที่คุณเซนเซอร์บอกว่าตอนนี้แย่ที่สุดนั้นแย่อย่างไร ขอความกรุณาชี้แจงให้กระจ่าง การบอกว่าสิ่งใดแย่ควรมีเหตุผลประกอบ การกล่าวหาว่าโดยไม่แสดงเหตุผลก็คล้ายกับกล่าวหาแล้วไม่รับผิดชอบนั่นเอง
ถ้าใช้ตรรกะเดียวกับคุณเซนเซอร์ ผมก็อาจกล่าวเช่นกันว่า ข้อวิจารณ์ของคุณในตอนนี้แย่ที่สุด
ช่วยอธิบายให้ผมทราบด้วยว่าที่ผมเขียนหลัก The King Can Do No Wrong นั้นมีข้อบกพร่องตรงไหน ผมจะได้มาชี้แจงคุณถูก
การตัดบางวรรคในงานของผมมา แล้วเหมาเอาว่าผมนิยมการวิ่งเต้น เป็นการกล่าวหาที่ตื้นเขินที่สุดเท่าที่ผมพบเห็น ผมวิจารณ์ว่ามีการวิ่งเต้นไม่จำเป็นที่ผมต้องเห็นดีเห็นงามกับการวิ่งเต้น ก็เพราะผมวิจารณ์ยิ่งแสดงว่าผมไม่เห็นด้วยกับการวิ่งเต้น ไม่เข้าใจตรรกะการให้เหตุผลของคุณในข้อนี้มากๆ
เช่นกัน ผมไม่เคยบอกเลยว่าพระองค์ไม่รับผิดชอบ นี่เป็นการตีความของคุณเอาเอง
แต่ที่ผมเน้นคือ เราควรต้องป้องกันพระองค์ออกจากการรับผิดชอบทางการเมือง
รบกวนคุณเซ็นเซอร์ช่วยมาตอบด้วย
รอคอยคำตอบของคุณเซนเซอร์อยู่
ด้วยมิตรภาพ
6 ความคิดเห็น:
เดี๋ยวจัดให้ .... อิ อิ ....
1. ข้อนี้คุณได้มาย้ำวิธีคิดของคุณชัดเจนขึ้น อย่างที่ว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข "ต้องเป็น"เช่นไร
- มีสูตรสำเร็จเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือครับ แต่ละประเทศมีองค์ประกอบต่างๆไม่เหมือนกัน การจะนำวิธีการหรือแนวคิดหรือทฤษฎีของที่ใดที่หนึ่งมาใช้เป็นกรอบคงไม่เหมาะนะครับ ถ้าคุณเอากรอบของคุณลง ข้อนี้เป็นประเด็นที่ถกกันได้ยาวเลยว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศไทย"ควรเป็น"อย่างไร (ตามประโยครองสุดท้ายของคุณ) ซึ่งผมคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังไม่ได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้เท่าที่ควร จึงได้เกิดปัญหาที่กำลังเป็นอยู่และทำให้ตีความกันไป
2. ผมไม่ใช่นักกฏหมายรัฐธรรมนูญครับ ผมอ่านตามที่คุณเขียนมานั่นแหละครับ ในบทความเดิมของคุณ คุณใส่คำว่า"และ"เพ่ิมมา ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปมาก แต่มาตรา 99 ที่คุณยกมา ไม่มีคำว่า"และ" ซึ่งอ่านแล้วจึงเข้าใจชัดเจนครับ
คราวหน้าคุณควรจะตรวจทานข้อความที่เขียนด้วยนะครับ
3. ใช่ครับ คุณไม่เคยบอกว่า "ในหลวงตรัส" หรือ "พระองค์ยืนยันว่าพระองค์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ"
ลองไปทบทวนบทความของคุณดูอีกทีนะครับว่า สื่อออกมาอย่างไรในบทความนั้น
4. The King Can Do No Wrong แปลว่า ผู้ที่รับผิดชอบต้องดำเนินการให้เรียบร้อยถูกต้อง ก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้า ถ้าไม่เรียบร้อยหรือไม่ถูกต้อง ก็ต้องรับผิดชอบ
เข้าใจได้ง่ายๆเท่านี้แหละครับ
แล้วย้อนไปดูนะครับว่าที่ผ่านมา เป็นไปตามนั้นหรือเปล่า
เท่าที่ผมเห็น ก็เห็นว่ามีแต่การเล่นสำนวนกันไปมาหลังจากทำให้ทางตัน ทั้งๆที่มีผู้เตือนไว้แล้ว
เท่าที่ผมเห็น ก็เห็นว่ามีแต่คนกล้าทำ แต่ไม่มีคนกล้ารับผิดชอบ
ครับ
ผมกลับไปอ่านบทความตอน The King Can Do No Wrong ของคุณอีกครั้งหนึ่ง อ่านหลายเที่ยวเลยครับ แล้วมาอ่านที่ผมโพสต์ความเห็นเรื่องนี้ไว้ตามข้างบน จึงขอเข้ามาเพิ่มเติมความเห็นประเด็นนี้ เพราะรู้สึกว่าข้างบนนั้นผมจะตอบสั้นไปหน่อย
"คำกล่าวอ้างของนักการเมืองผู้กลายมาเป็นนักเขียน “เบสต์ เซลเลอร์” ที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจโดยแท้ในการแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่ง จึงนับเป็นความเห็นที่ไร้เดียงสาที่สุดเท่าที่ผมเคยพบเห็น
หากเรายืนยันให้เป็นไปตามที่นักการเมืองผู้กลายมาเป็นนักเขียน “เบสต์ เซลเลอร์” และเจ้าของสื่อคนหนึ่งที่อ้างตนเป็นผู้จงรักภักดีกล่าวไว้ ต่อไปการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงคงไม่ต้องวิ่งฝ่ายการเมืองแต่วิ่งฝ่ายอื่นแทนกระมัง"
ขอยกข้อความข้างบนมานะครับ
ที่ผมไม่เข้าใจคือ ทำไมจึงคุณจึงโยงสองย่อหน้านั้นเข้าด้วยกันล่ะครับ ไม่เข้าใจตรรกะของคุณน่ะครับ เพราะอ่านเท่าไรก็ไม่เข้าใจ
ความเห็นของผมนะครับ
ที่มีผู้กล่าวว่าพระมหากษัตริย์มีอำนาจโดยแท้ในการแต่งตั้ง ผมว่าเขาไม่ได้กล่าวเกินข้อเท็จจริงนะ
เพราะผมคิดว่าการใช้อำนาจ(ไม่เฉพาะกรณีของพระมหากษัตริย์)แล้วประชาชนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับ ก็นับได้ว่าเป็นการใช้อำนาจโดยถูกต้องของสังคมนั้น ถ้าผู้ใดใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องก็จะเกิดแรงต่อต้านจากสังคม (หมายถึงสังคมในปัจจุบันนะครับ ซึ่งได้พัฒนาการมีส่วนร่วมขึ้นมาในระดับหนึ่ง ไม่ได้หมายถึงสังคมที่ประชาชนยังไม่มีแรงต่อต้าน) ประเด็นคือ ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญของเรายังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควรเกี่ยวกับพระราชอำนาจ ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่สังคมน่าจะนำมาถกกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เหมาะสมกับสังคมของเรา
ส่วนเรื่องการวิ่งนั้น ไม่เข้าใจจริงๆว่าเพราะอะไรคุณจึงเขียนมาอย่างนั้น อ่านเท่าไรก็เชื่อมต่อกันไม่ได้ และฟังดูคล้ายกับคุณคิดว่า การวิ่งเพื่อตำแหน่งเป็นสรณะ ดังนั้นถ้าอำนาจอยู่ที่พระมหากษัตริย์ บรรดานักวิ่งก็คงจะไปวิ่ง และจะทำให้ระคายเบื้องพระยุคลบาท แต่ยังไงผมก็เห็นว่าควรตัดย่อหน้านี้ออกไป เพราะว่าถ้าคุณเป็นผู้ที่เมื่อพูดแล้วสังคมฟังและเชื่อคุณ ถ้าคุณหลุดออกไปอย่างนี้ บรรดาผู้ที่คิดจะวิ่งก็ยิ่งมั่นใจว่าต้องวิ่งกัน ปัจจุบันนี้ก็แย่พอแล้วนะ(ผมว่า)
ดังนั้น ผมจึงคิดว่าทั้งสองย่อหน้าในบทความนั้นทำให้คุณค่าของบทความของคุณด้อยไปมาก
ท้ายนี้ ผมได้ไปอ่านที่คุณเขียนเกี่ยวกับ พรก.ฉุกเฉิน มีหลายประเด็นน่าสนใจดีและได้ความรู้ดีครับ ผมยังอ่านไม่จบ ไว้จะมาอ่านต่อนะครับ
ปล. ไม่ทราบว่าคุณเคยเขียนเกี่ยวกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสหรือเปล่า (เขามีหรือเปล่าครับ) อยากอ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้เหมือนกันว่าที่อื่นเขาเป็นอย่างไร
ผมว่าข้อวิจารณ์ของ คุณSensor ออกจะดูเสียดสีมากเกินไปนะ
การเมืองไทยตอนนี้ อิหลักอิเหลื่อ และเริ่มเข้าสู่ความสุดขั้วเกินงาม
สถานการณ์เห็นได้จากการใช้อำนาจ ได้เห็นการต่อต้านอำนาจ ทั้งสองฝ่ายเข้าห่ำหั่นกัน ผ่านสงครามทางสมอง
ผมนึกถึงภาพพระสองวัดสวดแข่งให้ประชาชนฟัง โดยถือตาลปัตรบังหน้า
ตาลปัตรแท้จริงมีไว้ใช้พัดให้เกิดลมเย็น (เอนก นาวิกมูลไว้)ไม่ใช่เอาไว้บังหน้า
ผมอ่านของ นิติรัฐแล้ว ได้ความสรุปที่ตรงประเด็นว่า "อย่าเอาตาลปัตรไปทำอย่างอื่น" อย่าเอาไปบังหน้า เอาไปป้ายสี เติมแสง ให้บิดเบี้ยว ไม่ว่าจะพระวัดก็ตาม
การอ่านบางครั้ง หากตั้งธงไว้ก่อน ด้วยมิจฉา ไม่ต้องอ่านก็ได้ครับ วิจารณ์เลย ก็พอเดารู้ว่าจะออกมาในทิศทางใด
ความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ (เกิดขึ้นจริงรึเปล่าก็ยังไม่ทราบ) เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ คำถามในเชิงกฎหมาย หากคุณเอากฎหมายอาญาไปถามคณบดีนิติศาสตร์ที่จบเฉพาะทางด้านแพ่ง ก็คงยังตอบไม่ได้ในทันที ต้องไปค้น ไปคว้า
ผมไปธรรมศาสตร์แทบจะทุกอาทิตย์ เห็นเมืองไทยรายสัปดาห์มาจัด คนเยอะมาก เสียงปรบมือยังดังกึกก้อง เมื่อหลวงพ่อธิขึ้นเทศน์ โดยใช้ตาลปัตรบังหน้า กระบวนการใส่เสื้อเหลือง กระบวนการรักในหลวงแบบมีวาระซ่อนเร้น มีการขายของที่ระลึกอีกด้วย
ผมว่าอย่าให้มันสุดขั้ว อย่าให้มันเกินงาม ผมเชื่อมั่นว่า "นิติรัฐ" ไม่ใช่นักสุดขั้วนิยม แน่นอน และเห็นค้านว่าบทความดังกล่าวมีน้ำหนักและเหตุผลพอเพียง และคู่ควรประดับไว้ในสมอง เป็นปัญญาครับ
และขอยกคำของ คุณบุญชิต ที่ว่า "วิจารณ์อย่างีมสติ และตำหนิอย่างมีเมตตา"
ด้วยความรัก จาก นาย Unsensor Crazycloud
เฮ้อ .... เมืองไทย ปัญหาเยอะจนไม่น่าอยู่เท่าไหร่นะครับ..... ปัญหาจากการมีอคติสุด ๆ ปัญหาจากการความหลง ความไม่รู้ฯ และไม่ฟังคนอื่น.......
อย่าเข้าใจผิด ผมไม่เคยคิดหนีทุนฯ หรอกนะครับ อย่างไรเสีย ประเทศไทย คือ บ้านของเรา ... ที่อื่นจะดีอย่างไร ก็ไม่ใช่บ้านของเรา
ผมเป็นข้าราชการ พูดประเด็นนี้ไม่ได้มากครับ ... แต่แน่ ๆ ผมเห็นด้วยกับแนวคิดที่ต้องเคารพเทอดทูนสถาบันฯ แต่ผมก็ไม่อยากเห็นปัญหาการแข่งขันอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์ฯ กับรัฐสภา หรือฝ่ายบริหาร ที่เกิดขึ้นในอังกฤษฯ สมัยก่อนฯ
www0927
clarks outlet
christian louboutin
coach handbags
clarks shoes
coach outlet
oakley sunglasses
prada shoes
hermes belt
ugg outlet
birken stock
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก