ยุบพรรคในตุรกี
ผมอ่านข่าวในคมชัดลึก เขาเอาเรื่องยุบพรรคตุรกีมารายงาน
http://www.komchadluek.net/2008/03/26/x_pol_k001_195765.php?news_id=195765
ผมไม่รู้ว่าคนเขียนข่าวนี้มีวัตถุประสงค์อะไร
ถ้าคนเขียน ต้องการชิ่งไปหาพลังประชาชนแล้วล่ะก็ ผมว่าคนละเรื่องเลย
มองในแง่ดี เขาไม่รู้เรื่องตุรกี มองในแง่ร้าย เขาอาจรายงานข่าวมาไม่ครบ เพื่อเอาบางส่วนมาชิ่งใส่พลังประชาชน (ซึ่งก็น่าจะใช่ เพราะเปิดหัวมาย่อหน้าแรกก็เอาเรื่องแบร์ลุสโคนี่มาเทียบกับทักษิณ)
ผมอ่านข่าวนี้พบในหนังสือพิมพ์ที่นี่ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม เสียดายที่ไม่ได้เอามาเล่าให้ฟังทันที แต่เมื่ออ่านเจอในคมชัดลึกแล้ว ก็ต้องลุกมาอธิบายให้เข้าใจเสียหน่อย
เรื่องมีอยู่ว่า ตุรกี หลังจากการปฏิวัติอย่างถึงรากถึงโคนในสมัย มุสตาฟา เคมาล อัลตาเติร์ก ราวๆปี ๑๙๒... กว่าๆ ตุรกี ก็เปลี่ยนไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
เขาเรียกกันเล่นๆว่า การปฏิรูปแบบ เคมาลิสต์ ตามชื่อของ มุสตาฟา เคมาล อัลตาเติร์กมีหลักพื้นฐานอยู่ ๖ ประการ คือ สาธารณรัฐ ประชานิยม (อันนี้ไม่เหมือนของเรานะ ของเขาหมายถึงการเพิ่มสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค) รัฐฆราวาส ปฎิวัติปฎิรูป ชาตินิยม อำนาจรัฐนิยม (อันนี้หมายถึงรัฐเป็นผู้เล่นหลักในการเปลี่ยนแปลง)
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ก็เช่น ประกาศให้ตุรกีเป็นสาธารณรัฐ ยกเลิกสุลต่าน ยกเลิกตำแหน่งกาหลิบ เปลี่ยนปฏิทินอิสลามให้มาใช้ตามสากล ปฏิรูปการศึกษาให้สอดรับกับประเทศอื่นๆ ร่างประมวลแพ่งและอาญาใหม่ โดยเอาของฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลีมาดู เปลี่ยนตัวอักษรในภาษาตุรกี ให้สตรีมีสิทธิเลือกตั้ง ยกเลิกกฎหมายอิสลาม ในบัตรประชาชนไม่ต้องระบุศาสนา
สำคัญที่สุด คือ ประกาศให้ตุรกีเป็นรัฐฆราวาสโดยสมบูรณ์แบบ แยกศาสนาออกจากการเมืองและรัฐ รัฐตุรกีจะเป็นกลางทางศาสนา ไม่มีโรงเรียนอิสลาม ไม่มีการสอนวิชาศาสนา สตรีห้ามสวมผ้าลุมหัว
สาเหตุที่ตุรกีต้องประกาศตนเป็นรัฐฆราวาส ก็ไม่ต่างอะไรกับหลายๆประเทศในยุโรป ที่ศาสนาจักรเข้ามามีบทบาทแทรกแซงการเมืองจนวุ่นวายไปหมด
กล่าวได้ว่า ความเป็นรัฐฆราวาส เป็นเรื่องอ่อนไหวและแตะต้องไม่ได้ของตุรกีเลยทีเดียว...
มาถึงปัจจุบัน ปี ๒๐๐๒ พรรคยุติธรรมและการพัฒนาของนายกฯ เอโดร์กาน หรือพรรค AKP ได้เสียงข้างมากถล่มทลาย เป็นรัฐบาล ก็เริ่มเกิดความกังลกันขึ้น เพราะ พรรคนี้มีแนวทางอนุรักษ์นิยม อิสลามนิยม
กลางปีที่แล้ว มีเดินขบวนกันยกใหญ่ เพื่อขับไล่ ปธน ออก เพราะเรื่องกระทำการกระทบหลักรัฐฆราวาส
เดือน กพ ปีนี้ รัฐบาลผลักดันให้สภาออกกฎหมายยกเลิกการห้ามเอาผ้าคลุมหัวของสตรีมุสลิม ก็เลยเกิดประท้วงกันขึ้น
สส ฝ่ายค้าน ยื่นเรื่องไปถึงอัยการ อัยการทำสำนวนร้อยกว่าหน้า เสนอต่อศาล รธน เพื่อให้สั่งยุบพรรคของนายกฯนี้ ในข้อหามีพฤติกรรมหลายประการที่ขัดกับหลักรัฐฆราวาส โดยเฉพาะเรื่องออกกฎหมายยกเลิกการห้ามเอาผ้าคลุมหัวของสตรีมุสลิม
ปัญหามีอยู่ว่า คือการเผชิญหน้ากันสองสิ่ง ระหว่าง พรรครัฐบาลนี้ได้เสียงข้างมากเด็ดขาด พึ่งได้รับเลือกกลับเข้ามาใหม่ไม่นาน กับ การกระทำของพรรคไปกระทบเอากับหลักรัฐฆราวาสซึ่งเป็นอุดมการณ์หลักของตุรกี
ฝ่ายรัฐบาลก็อ้างว่าตนมีเสียงข้างมาก ฝ่ายต่อต้านก็อ้าง ใช่ เสียงข้างมากก็จริง แต่ไม่ใช่ทำเรื่องที่กระทบหลักพื้นฐานแบบนี้
นายกฯบอกว่า คำฟ้องนี้เป็นคำฟ้องที่ชนกับเจตจำนงแห่งชาติ เพราะ พรรคเราได้เสียงข้างมาก การเมืองในระบอบ ปชต ของยุโรป สนามสู้กันหลักๆอยู่ที่รัฐสภา ไม่ใช่ศาล
ตอนนี้ก็รอศาล รธน ตัดสินอยู่
อนึ่ง ศาล รธน เคยยุบพรรคมา ๒๔ พรรค นับแต่ปี ๑๙๖๒ ได้แก่ พรรคมีอุดมการณ์ มีการกระทำกระทบหลักรัฐฆราวาส พรรคที่สนับสนุนชาวเคิร์ด พรรคซ้ายจัด
หากเอามาเปรียบเทียบกับไทย จริงอยู่ ข้อเหมือนอาจอยู่ที่ พรรคที่อาจถูกยุบเป็นพรรคเสียงข้างมาก คนเลือกมาเยอะ
แต่ข้อแตกต่าง ซึ่งผมว่าต้องเน้นเป็นพิเศษ มิฉะนั้นจะกลายเป็นพูดข่าวครึ่งเดียว คือ เหตุแห่งการยุบพรรคตุรกี เขามี รธน เขียนรับรองหลักการพื้นฐานไว้ชัด ๖ ประการ ซึ่งพรรคการเมืองกระทำการละเมิดไม่ได้ (ก็เหมือนๆกับเรา ที่ห้ามแตะเรื่องความเป็นราชอาณาจักร กับรัฐเดี่ยว) หากล้ำเส้นไป ก็อาจโดนยุบพรรคได้
แต่ของเรา เหตุแห่งการยุบพรรคที่เอามาเล่นคืออะไร คือเรื่องกรรมการบริการพรรคทำผิด กม เลือกตั้ง โดนใบแดง แล้ว "ให้ถือว่า" กระทำการอันได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิถีทางที่ไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย
บ้ามั้ยครับ....
อย่างไรเสีย การยุบพรรคของตุรกี ก็เป็นไปตามหลักกติกาทั่วๆไป ที่ยุบเพราะเรื่องอุดมการณ์ เรื่องกระทำการกระทบหลักการพื้นฐานของรัฐ เหมือนในหลายๆประเทศที่ยุบพรรคแนวๆนาซี ฟาสซิสต์
ความเห็นผม...
ผมไม่อยากให้มีการยุบพรรคใดๆเลย ปล่อยเป็นไปตามธรรมชาติดีที่สุด จะขวาจัด ซ้ายจัด จะบ้าบอแค่ไหน ก็ต้องเปิดให้เขาได้มีโอกาสแสดงความเห็น
แต่ก็ต้องเข้าใจยุโรป ต้องเอาเรื่องยุบพรรคมาใส่ เพราะ เขากลัว ปวศ ซ้ำรอย เหมือน พรรคนาซีครองอำนาจ หรือ พรรคโหดๆขึ้นมาเป็นรัฐบาลจ้องจะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทำสงคราม
ผมกำลังค้นเรื่องยุบพรรคการเมืองในต่างประเทศอยู่
ไปเจอรายงานของ คณะกรรมการประชาธิปไตยโดยกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่า คณะกรรมการเวนิส ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่ง สังกัด Conseil de l'Europe รายงานนี้เผยแพร่ในปี ๑๙๙๘
เขาไปสำรวจรัฐธรรมนูญหลายประเทศ เรื่องข้อห้ามของพรรคการเมือง และการยุบพรรคผมสรุปคร่าวๆ (ส่วนจะเขียนละเอียดเมื่อไร รอสักหน่อยนะครับ จะพยายามเจียดเวลาจากวิทยานิพนธ์มาเรียบเรียง)
ข้อห้ามของพรรคการเมือง อาจแบ่งได้ ๓ กลุ่ม
กลุ่มแรก
เรื่องอุดมการณ์ เป้าหมายของพรรค เช่น ห้ามอุดมการณ์ฟาสซิสต์ นาซี เหยียดผิว เชื้อชาติ ศาสนา แบ่งแยกดินแดน หรือกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง เกลียดชัง ในบางประเทศ ใช้คำกว้างๆ ว่า กระทบต่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งเปิดให้ศาลใช้ดุลพินิจเป็นกรณีไป (ไม่เหมือนของเรา มาตรา ๒๓๗ ใช้คำว่า ให้ถือว่า)
กลุ่มสอง
เรื่องรูปแบบ เช่น ชื่อพรรค สัญลักษณ์พรรค ห้ามไปในทางศาสนา หรืออย่างแคนาดา ห้ามชื่อพรรคมีคำว่า อินเดเพนเดนท์
กลุ่มสาม
เรื่องการจัดองค์กรในพรรคเช่น ระเบียบพรรคต้องเป็น ปชต สมาชิกต้องเป็นคนสัญชาติของรัฐนั้น
ส่วนมาตรการบังคับ หรือ แซงชั่น นั้น ก็มีสามรูปแบบ
หนึ่ง ไม่มีมาตรการลงโทษใดๆ
สอง ไม่อนุญาตให้จดทะเบียน เช่น บางประเทศการจัดตั้งพรรคการเมือง ต้องไปขอจดทะเบียนก่อน เจ้าหน้าที่ก็อาจไม่อนุญาตให้จด แต่หลายประเทศในยุโรป ตั้งพรรคได้เลย ไม่ต้องจดทะเบียน เพราะ ถือเป็นเสรีภาพในการรวมกลุ่มกัน
สาม ยุบพรรค ก็แบ่งเป็นให้ศาล รธน ยุบ หรือ ศาลยุติธรรม ยุบ แล้วแต่ประเทศ
ในทางปฏิบัติหลังสงครามโลก มียุบพรรคกันมาก พวกพรรคแนวๆฟาสซิสต์ นาซี แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยปรากฎ
http://www.komchadluek.net/2008/03/26/x_pol_k001_195765.php?news_id=195765
ผมไม่รู้ว่าคนเขียนข่าวนี้มีวัตถุประสงค์อะไร
ถ้าคนเขียน ต้องการชิ่งไปหาพลังประชาชนแล้วล่ะก็ ผมว่าคนละเรื่องเลย
มองในแง่ดี เขาไม่รู้เรื่องตุรกี มองในแง่ร้าย เขาอาจรายงานข่าวมาไม่ครบ เพื่อเอาบางส่วนมาชิ่งใส่พลังประชาชน (ซึ่งก็น่าจะใช่ เพราะเปิดหัวมาย่อหน้าแรกก็เอาเรื่องแบร์ลุสโคนี่มาเทียบกับทักษิณ)
ผมอ่านข่าวนี้พบในหนังสือพิมพ์ที่นี่ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม เสียดายที่ไม่ได้เอามาเล่าให้ฟังทันที แต่เมื่ออ่านเจอในคมชัดลึกแล้ว ก็ต้องลุกมาอธิบายให้เข้าใจเสียหน่อย
เรื่องมีอยู่ว่า ตุรกี หลังจากการปฏิวัติอย่างถึงรากถึงโคนในสมัย มุสตาฟา เคมาล อัลตาเติร์ก ราวๆปี ๑๙๒... กว่าๆ ตุรกี ก็เปลี่ยนไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
เขาเรียกกันเล่นๆว่า การปฏิรูปแบบ เคมาลิสต์ ตามชื่อของ มุสตาฟา เคมาล อัลตาเติร์กมีหลักพื้นฐานอยู่ ๖ ประการ คือ สาธารณรัฐ ประชานิยม (อันนี้ไม่เหมือนของเรานะ ของเขาหมายถึงการเพิ่มสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค) รัฐฆราวาส ปฎิวัติปฎิรูป ชาตินิยม อำนาจรัฐนิยม (อันนี้หมายถึงรัฐเป็นผู้เล่นหลักในการเปลี่ยนแปลง)
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ก็เช่น ประกาศให้ตุรกีเป็นสาธารณรัฐ ยกเลิกสุลต่าน ยกเลิกตำแหน่งกาหลิบ เปลี่ยนปฏิทินอิสลามให้มาใช้ตามสากล ปฏิรูปการศึกษาให้สอดรับกับประเทศอื่นๆ ร่างประมวลแพ่งและอาญาใหม่ โดยเอาของฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลีมาดู เปลี่ยนตัวอักษรในภาษาตุรกี ให้สตรีมีสิทธิเลือกตั้ง ยกเลิกกฎหมายอิสลาม ในบัตรประชาชนไม่ต้องระบุศาสนา
สำคัญที่สุด คือ ประกาศให้ตุรกีเป็นรัฐฆราวาสโดยสมบูรณ์แบบ แยกศาสนาออกจากการเมืองและรัฐ รัฐตุรกีจะเป็นกลางทางศาสนา ไม่มีโรงเรียนอิสลาม ไม่มีการสอนวิชาศาสนา สตรีห้ามสวมผ้าลุมหัว
สาเหตุที่ตุรกีต้องประกาศตนเป็นรัฐฆราวาส ก็ไม่ต่างอะไรกับหลายๆประเทศในยุโรป ที่ศาสนาจักรเข้ามามีบทบาทแทรกแซงการเมืองจนวุ่นวายไปหมด
กล่าวได้ว่า ความเป็นรัฐฆราวาส เป็นเรื่องอ่อนไหวและแตะต้องไม่ได้ของตุรกีเลยทีเดียว...
มาถึงปัจจุบัน ปี ๒๐๐๒ พรรคยุติธรรมและการพัฒนาของนายกฯ เอโดร์กาน หรือพรรค AKP ได้เสียงข้างมากถล่มทลาย เป็นรัฐบาล ก็เริ่มเกิดความกังลกันขึ้น เพราะ พรรคนี้มีแนวทางอนุรักษ์นิยม อิสลามนิยม
กลางปีที่แล้ว มีเดินขบวนกันยกใหญ่ เพื่อขับไล่ ปธน ออก เพราะเรื่องกระทำการกระทบหลักรัฐฆราวาส
เดือน กพ ปีนี้ รัฐบาลผลักดันให้สภาออกกฎหมายยกเลิกการห้ามเอาผ้าคลุมหัวของสตรีมุสลิม ก็เลยเกิดประท้วงกันขึ้น
สส ฝ่ายค้าน ยื่นเรื่องไปถึงอัยการ อัยการทำสำนวนร้อยกว่าหน้า เสนอต่อศาล รธน เพื่อให้สั่งยุบพรรคของนายกฯนี้ ในข้อหามีพฤติกรรมหลายประการที่ขัดกับหลักรัฐฆราวาส โดยเฉพาะเรื่องออกกฎหมายยกเลิกการห้ามเอาผ้าคลุมหัวของสตรีมุสลิม
ปัญหามีอยู่ว่า คือการเผชิญหน้ากันสองสิ่ง ระหว่าง พรรครัฐบาลนี้ได้เสียงข้างมากเด็ดขาด พึ่งได้รับเลือกกลับเข้ามาใหม่ไม่นาน กับ การกระทำของพรรคไปกระทบเอากับหลักรัฐฆราวาสซึ่งเป็นอุดมการณ์หลักของตุรกี
ฝ่ายรัฐบาลก็อ้างว่าตนมีเสียงข้างมาก ฝ่ายต่อต้านก็อ้าง ใช่ เสียงข้างมากก็จริง แต่ไม่ใช่ทำเรื่องที่กระทบหลักพื้นฐานแบบนี้
นายกฯบอกว่า คำฟ้องนี้เป็นคำฟ้องที่ชนกับเจตจำนงแห่งชาติ เพราะ พรรคเราได้เสียงข้างมาก การเมืองในระบอบ ปชต ของยุโรป สนามสู้กันหลักๆอยู่ที่รัฐสภา ไม่ใช่ศาล
ตอนนี้ก็รอศาล รธน ตัดสินอยู่
อนึ่ง ศาล รธน เคยยุบพรรคมา ๒๔ พรรค นับแต่ปี ๑๙๖๒ ได้แก่ พรรคมีอุดมการณ์ มีการกระทำกระทบหลักรัฐฆราวาส พรรคที่สนับสนุนชาวเคิร์ด พรรคซ้ายจัด
หากเอามาเปรียบเทียบกับไทย จริงอยู่ ข้อเหมือนอาจอยู่ที่ พรรคที่อาจถูกยุบเป็นพรรคเสียงข้างมาก คนเลือกมาเยอะ
แต่ข้อแตกต่าง ซึ่งผมว่าต้องเน้นเป็นพิเศษ มิฉะนั้นจะกลายเป็นพูดข่าวครึ่งเดียว คือ เหตุแห่งการยุบพรรคตุรกี เขามี รธน เขียนรับรองหลักการพื้นฐานไว้ชัด ๖ ประการ ซึ่งพรรคการเมืองกระทำการละเมิดไม่ได้ (ก็เหมือนๆกับเรา ที่ห้ามแตะเรื่องความเป็นราชอาณาจักร กับรัฐเดี่ยว) หากล้ำเส้นไป ก็อาจโดนยุบพรรคได้
แต่ของเรา เหตุแห่งการยุบพรรคที่เอามาเล่นคืออะไร คือเรื่องกรรมการบริการพรรคทำผิด กม เลือกตั้ง โดนใบแดง แล้ว "ให้ถือว่า" กระทำการอันได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิถีทางที่ไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย
บ้ามั้ยครับ....
อย่างไรเสีย การยุบพรรคของตุรกี ก็เป็นไปตามหลักกติกาทั่วๆไป ที่ยุบเพราะเรื่องอุดมการณ์ เรื่องกระทำการกระทบหลักการพื้นฐานของรัฐ เหมือนในหลายๆประเทศที่ยุบพรรคแนวๆนาซี ฟาสซิสต์
ความเห็นผม...
ผมไม่อยากให้มีการยุบพรรคใดๆเลย ปล่อยเป็นไปตามธรรมชาติดีที่สุด จะขวาจัด ซ้ายจัด จะบ้าบอแค่ไหน ก็ต้องเปิดให้เขาได้มีโอกาสแสดงความเห็น
แต่ก็ต้องเข้าใจยุโรป ต้องเอาเรื่องยุบพรรคมาใส่ เพราะ เขากลัว ปวศ ซ้ำรอย เหมือน พรรคนาซีครองอำนาจ หรือ พรรคโหดๆขึ้นมาเป็นรัฐบาลจ้องจะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทำสงคราม
ผมกำลังค้นเรื่องยุบพรรคการเมืองในต่างประเทศอยู่
ไปเจอรายงานของ คณะกรรมการประชาธิปไตยโดยกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่า คณะกรรมการเวนิส ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่ง สังกัด Conseil de l'Europe รายงานนี้เผยแพร่ในปี ๑๙๙๘
เขาไปสำรวจรัฐธรรมนูญหลายประเทศ เรื่องข้อห้ามของพรรคการเมือง และการยุบพรรคผมสรุปคร่าวๆ (ส่วนจะเขียนละเอียดเมื่อไร รอสักหน่อยนะครับ จะพยายามเจียดเวลาจากวิทยานิพนธ์มาเรียบเรียง)
ข้อห้ามของพรรคการเมือง อาจแบ่งได้ ๓ กลุ่ม
กลุ่มแรก
เรื่องอุดมการณ์ เป้าหมายของพรรค เช่น ห้ามอุดมการณ์ฟาสซิสต์ นาซี เหยียดผิว เชื้อชาติ ศาสนา แบ่งแยกดินแดน หรือกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง เกลียดชัง ในบางประเทศ ใช้คำกว้างๆ ว่า กระทบต่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งเปิดให้ศาลใช้ดุลพินิจเป็นกรณีไป (ไม่เหมือนของเรา มาตรา ๒๓๗ ใช้คำว่า ให้ถือว่า)
กลุ่มสอง
เรื่องรูปแบบ เช่น ชื่อพรรค สัญลักษณ์พรรค ห้ามไปในทางศาสนา หรืออย่างแคนาดา ห้ามชื่อพรรคมีคำว่า อินเดเพนเดนท์
กลุ่มสาม
เรื่องการจัดองค์กรในพรรคเช่น ระเบียบพรรคต้องเป็น ปชต สมาชิกต้องเป็นคนสัญชาติของรัฐนั้น
ส่วนมาตรการบังคับ หรือ แซงชั่น นั้น ก็มีสามรูปแบบ
หนึ่ง ไม่มีมาตรการลงโทษใดๆ
สอง ไม่อนุญาตให้จดทะเบียน เช่น บางประเทศการจัดตั้งพรรคการเมือง ต้องไปขอจดทะเบียนก่อน เจ้าหน้าที่ก็อาจไม่อนุญาตให้จด แต่หลายประเทศในยุโรป ตั้งพรรคได้เลย ไม่ต้องจดทะเบียน เพราะ ถือเป็นเสรีภาพในการรวมกลุ่มกัน
สาม ยุบพรรค ก็แบ่งเป็นให้ศาล รธน ยุบ หรือ ศาลยุติธรรม ยุบ แล้วแต่ประเทศ
ในทางปฏิบัติหลังสงครามโลก มียุบพรรคกันมาก พวกพรรคแนวๆฟาสซิสต์ นาซี แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยปรากฎ
4 ความคิดเห็น:
cแก้ไปเถอะครับ รัฐธรรมนูญฉบับปืนจ่อหัวเนี้ย
ยังไงผลโพลออกมาแล้ว ประชาชนทั้งประเทศต้องการอะไร รบกวนมือไม้ที่มองไม่เห็นเกรงใจกันบ้างนะครับ อย่าน่าเกลียดมากเกินไป (แค่ตอนนี้ก็น่าเกลียดฉิบหายแล้ว) อายๆกันบ้างก็ดี
จ่าจู๊ดว่ะ กรูยังอ่านของเมิงเป็นประจำ เขียนมาเยอะๆ
อาจารย์คะ
ตอนนี้ได้ยินชื่ออาจารย์ทุกวัน เพราะคุณปลื้มนำเอาบทความของอาจารย์มาอ่านให้ฟัง จะปลื้มดีมั้ยเนื่ยเค้าเอามาเพื่อเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ดีเหมือนกันนะ ได้รัฐธรรมนูญฉบับพลังประชนมาดีเหมือนกันจะได้สส. ส้นเท้าแบบการุณ โหสกุล เข้ามาเยอะๆ ให้มันสะใจเลย
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลคือผมต้องการข้อมูลของตุรกีมากเพราะต้องนำไปทำรายงานไม่ทราบว่าท่านมีเนื้อหาของตุรกีอีกไหมครับรบกวนบอกผมด้วยเดือดร้อนจริงๆหรือใครมีก็ได้ช่วยส่งมาให้ผมที ที่
dee-s@hotmail.com จักขอบคุณมากครับ
เรียนอาจารย์ ปิยบุตรค่ะ
หนูเป็นนักศึกษาปริญญาโทที่ มธ.ค่ะ ได้อ่านบทความทางวิชาการ เรื่องกรณีการยุบพรรคในต่างประเทศของอาจารย์ และได้อ่านบทความฉบับนี้แล้ว เห็นว่าอาจารย์น่าจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกรณีปัญหาการยุบพรรคโดยตรง จึงใคร่ขอความกรุณาให้อาจารย์แนะนำบทความหรือหนังสือต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวให้ได้ไหมคะ
จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
ขอบคุณค่ะ
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก