วันพุธ, มีนาคม 01, 2549

ใครก็ได้ ช่วยตอบผมที

ผมไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้ชุมนุม ถือว่าผมไม่รักชาติหรือครับ

ผมไม่เห็นด้วยกับระบอบทักษิณ ถือว่าผมไม่รักชาติหรือครับ

อ้าว แล้วตกลง "รักชาติ" นี่จะต้องรักใครกันแน่เนี่ย

รักกลุ่มผู้ชุมนุม พวกทักษิณก็บอกผมไม่รักชาติ

รักทักษิณ พวกกลุ่มผู้ชุมนุมก็ว่าผมไปอยู่กับทรราชย์

ถ้าผมรักทั้งทักษิณ ทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมล่ะ จะกลายเป็นคนรักชาติแบบโคตรๆๆๆมะ แล้วจะไม่กลายเป็นพวกลิ้นสองแฉกหรือ

แล้วถ้าผมไม่รักทั้งทักษิณ ไม่รักทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมล่ะ จะไม่กลายเป็นคนไม่รักชาติแบบโคตรๆๆๆๆหรือ

ว้า แย่จัง ไม่รักทักษิณ กองเชียร์ทักษิณก็จ้องเหยียบ หาว่าพวกป่วนเมือง ไม่เคารพกติกา

แย่ไปอีก ไม่รักกลุ่มผู้ชุมนุม ก็โดนผู้ชุมนุมจ้องเหยียบ หาว่าพวกขี้ขลาด บ้านเมืองมีภัยยังไปหดหัวอยู่ในกระดอง รับเงินทักษิณมามั่ง

.................

มิตรรักบล็อกเกอร์ครับ

รู้สึกเหมือนผมมั้ยว่า...

ไอ้ที่โดนกองเชียร์ทักษิณด่าว่าเสียๆหายๆ นี่เป็นเรื่องปกติ เพราะเราไปวิจารณ์เขา เขาก็ต้องไม่พอใจเป็นธรรมดา

แต่การโดนแนวร่วมที่ต่อต้านทักษิณมาอัดด้วยเหตุที่ว่าเราไม่เห็นด้วยในบางประการเกี่ยวกับการชุมนุม แบบนี้มันยากจะทำใจเหลือเกิน เพราะ ผมคิดเสมอว่าคนที่วิพากษ์ระบอบทักษิณได้เป็นฉากๆ ว่าทักษิณหยาบคาย ว่าทักษิณเป็นพวกไปให้ถึงเป้าโดยไม่สนใจว่าวิธีการจะสกปรกเพียงใด ว่าทักษิณไม่เคารพกฎหมาย ว่าทักษิณไม่ฟังคนอื่น ฯลฯ เขาเหล่านั้นย่อมไม่นิยมแนวทางอย่างที่ทักษิณทำ เขาต้องเป็นคนใจกว้าง รับฟังความเห็นผู้อื่น

เอาเข้าจริงผมอาจไร้เดียงสาไปเองก็ได้ที่คิดว่าคนด่าทักษิณก็ต้องไม่เหมือนทักษิณ

นิธิบอกไว้ในมติชนสุดสัปดาห์เล่มล่าสุดว่า วัฒนธรรมคนอย่างทักษิณกระจายอยู่ทั่วไป

คุณว่าจริงมั้ยครับ

10 ความคิดเห็น:

Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริงครับ...แป่ว :)

ผมรักชาติ
ผม(หลง)รักบล็อก
ผม(แอบ)รักความเห็นต่าง
ผม(ยัง)รักประชาธิปไตย...แล้วก็

ผมรักคุณ..ฮิ้ว

ผมเห็นด้วย (บางมุม)
ผมเห็นต่าง (บางเรื่อง)
ผมเห็นแง่งาม
ผมเห็นแง่ร้าย..แล้วก็

ผมคิดว่า ผมเห็นด้วยก๊ะคุณ...

4:30 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การมีจุดยืนไม่ใช่เรื่องผิดครับ
สำหรับผมเพียงแต่อยาก "ฟังเหตุผล"
แม้จะชอบหรือไม่ชอบกับเหตุผลนั้นก็ไม่เป็นไร
แต่ที่บางครั้งมันคุยกันไม่รู้เรื่อง มุ่งแต่เอาความสะใจ ใช้อารมณ์ ที่สำคัญตั้งธงมาจากบ้านโดยไม่ยอมรับความเห็นต่างเลย
อีกอย่าง "ชาติ" ของคนหลายคนโดยเฉพาะนักการเมือง อาจแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ "ชาติ"
ในความหมายของประชาธิปไตย
ผมไม่รัก"ชาติ"ของทักษิณหรอกครับ
เพราะมันไม่น่า "รัก"

5:48 ก่อนเที่ยง  
Blogger LekParinya กล่าวว่า...

"ทักษิณนี่ดีนะ ติดดิน กินก๋วยเตี๋ยวเนื้อด้วย"
"กูไม่ชอบไอ้สนธิ มันพูดมาก"
"ฉันไม่ชอบไอ้ทักษิณ หน้าตามันยียวน"
"สนธิมันก็เลว ทักษิณมันก็เลว"
"เอ้ย รักพ่ออย่าทะเลาะกัน"
"คุณทักษิณไม่มีความชอบธรรม เพราะ..."
"สนธิมันติดหนี้ ฉันได้ยินมา"
"ฯลฯ"
ปัจจัย ที่ทำให้คนรัก คนเกลียด คนวิจารณ์ และเลือกข้าง มีพันแปดร้อยประการครับ

หากคุณรู้ว่าตัวเอง ว่าคุณทำอะไรอยู่
และทำอยู่ เพราะอะไร และสามารถอธิบายเห็นผลเป็นฉาก ๆ
เปิดรับฟังข้อมูลรอบด้าน และยอมรับความเห็นแย้ง
หรือสามารถอธิบายผู้เห็นแย้งได้ว่าทำไมเราเห็นไม่เหมือนกันได้
หาก จุดยืนที่อยากเห็นประเทศที่รักของเราดีขึ้น เหมือนกันแล้วนั้น

เท่าที่อ่านบทความคุณ
ผมไม่ห่วงคุณเลยครับ
และผมว่า คุณไม่เห็นจะต้องเดือดร้อนอะไรกับคำวิจารณ์เลยด้วยครับ

6:36 ก่อนเที่ยง  
Blogger ratioscripta กล่าวว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วกับเรื่องราวของนิ้ว แต่ละนิ้ว

พระเจ้าได้ทรงเรียกนิ้วทุกนิ้วมาเข้าประชุมเพื่อจัดตำแหน่งของนิ้วต่างๆ

นิ้วแรกมีนิสัยเกเร และชอบกลั่นแกล้งนิ้วอื่นที่อ่อนแอกว่า จึงไม่มีใครชอบและอยากคบด้วย พระเจ้าจึงทรงตั้งชื่อนิ้วนี้ว่า "นิ้วโป้ง" พระองค์ทรงจัดให้นิ้วโป้งอยู่ไกลจากนิ้วอื่นๆ มากที่สุด และทรงเสกให้นิ้วโป้งเป็นนิ้วที่สั้นที่สุดเพื่อไม่ให้รังแกผู้อื่นได้อีกต่อไป

นิ้วต่อไป มีนิสัยถือตนว่าตัวเองมีอำนาจ ชอบใช้อำนาจสั่งโน่นสั่งนี่ พระเจ้าจึงทรงตั้งชื่อนิ้วนี้ว่า "นิ้วชี้" และทรงวางนิ้วชี้ไว้อยู่ข้างๆ นิ้วโป้ง เพื่อนิ้วโป้งจะได้เกรงกลัวจนไม่กล้าเกเรหรือกลั่นแกล้งใครอีก

นิ้วต่อไปมีนิสัยรักความยุติธรรม มีความกล้าหาญและรักความถูกต้อง พระเจ้าจึงทรงเสกให้นิ้วนี้เป็นนิ้วที่ยาวที่สุดเพื่อที่จะคอยดูแลนิ้วอื่นๆได้และได้วางไว้ข้างๆ นิ้วชี้เพื่อคอยเตือนสตินิ้วชี้ให้รู้จักใช้อำนาจที่มีอย่างยุติธรรม และด้วยนิสัยรักความยุติธรรมนี่เอง พระเจ้าจึงทรงตั้งชื่อนิ้วนี้ว่า "นิ้วกลาง"

นิ้วต่อไป เป็นนิ้วแห่งความรักและคำสัญญา มีนิสัยอ่อนโยน ซื่อสัตย์และมั่นคงในความรักด้วยนิสัยคล้ายผู้หญิงนี่เอง พระเจ้าจึงทรงตั้งชื่อนิ้วนี้ว่า "นิ้วนาง" และจัดวางนิ้วนางให้อยู่ข้างๆ นิ้วกลาง เพื่อนิ้วกลางจะได้คอยดูแลนิ้วนางที่อ่อนโยนได้

นิ้วสุดท้าย "นิ้วก้อย" นิ้วก่อยเป็นนิ้วแห่งมิตรภาพ เพราะฉะนั้นนิ้วนี้เป็นนิ้วที่เล็กที่สุด ฉะนั้น จึงมักโดนนิ้วโป้งจอมเกเรแกล้งอยู่เป็นประจำ พระเจ้าจึงทรงจับนิ้วก้อยไปวางไว้ข้างๆ นิ้วนาง ซึ่งไกลากนิ้วโป้งมากที่สุด

บางทีพระเจ้าก็บอกอะไรเราจากนิ้วของเราเอง พระองค์เสกนิ้วโป้งให้สั้นๆ ดูน่าเกลียด เพื่อจะเตือนเราว่า ถ้าเราเป็นคนเกเร นิสัยไม่ดี ถึงแม้ว่าเราจะดูดีอย่างไร เราก็จะเป็นคนน่าเกลียดในสายตาคนอื่น ไม่มีใครอยากจะสมาคมด้วยพระองค์จับนิ้วชี้ไว้ข้างๆ นิ้วโป้งเหมือนจะเตือนเราว่า บางทีคนที่เกเรมากๆ ก็อาจต้องให้คนที่มีอำนาจเหนือเขาหรือคนที่เขาเคารพเชื่อฟังดูแลเข้า จึงจะทำให้เขาหยุดนิสัยเสียนั้นได้พระองค์ทรงจัดนิ้วชี้ไว้ข้างนิ้วกลาง เพื่อเตือนเราเอีกว่า ถ้าเรามีอำนาจอยู่ในมือ เราก็ต้องใช้มันอย่างถูกต้องและยุติธรรมพระองค์ทรงสร้างนิ้วก้อยและนิ้วนางไว้อยู่ข้างกัน เพื่อบอกเราว่า...มิตรภาพที่ดีนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของความรัก และไม่มีความรักแท้จริงใดๆ ในโลกที่ปราศจากมิตรภาพและการให้อภัยเช่นกัน....

ด้วยเหตุผลของเรื่องราวดังกล่าวข้างต้น

ผมขอมอบ "นิ้วกลาง" ให้ท่านผู้นำครับ ก็เพราะคนจะเป็นผู้นำได้ ต้องมีความยุติธรรม และคอยดูแลเพื่อนร่วมชาติให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขนี่หน่า

..........

ผมก็รักในความต่าง หากเหมือนกันหมดคงแห้งแล้งแย่ ดนตรีคงไม่เกิดในโลก เพราะทุกเส้นเสียงมีโน๊ตตัวเดียวกันทั้งหมด

ผมรักในความต่างเพราะความต่าง ทำให้กูไม่เหมือนมึง ฮาๆๆๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในมิตรภาพของผมกับเจ้าของบล็อก ฮาๆๆๆ (อีกที...บ้าไปแล้ว)

8:55 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

แล้วเราจะทำยังไงกับวัฒนธรรมคนแบบทักษิณดี?

เฮ้ออออ (ถอนใจยาวๆหนึ่งที)

ปล ขอบคุณที่มาเม้นไดค่า

10:38 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ไม่อยากมีเพื่อนแบบสนธิ เพราะเป็นเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด

ไม่อยากมีท่านผู้นำแบบทักษิณ ในรูปแบบที่ชอบระบาดในหมู่ผู้นำกลุ่มประเทศอุษาคเนย์

แค่นี้แหละ....ไม่อยาก

1:30 หลังเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

มันคงเป็นเรื่องธรรมชาติ ที่ทุกคนมีความคิดเห็นต่างกัน แต่ทุกคนในทางกลับกัน ก็อย่างให้คนอื่นรอบข้างคิดเหมือนเรา ว่าไปก็แปลกเหมือนกันนะความคิดคนเรา
ที่สำคัญถ้าเรามีความเห็นที่แตกต่าง แต่มีเหตุผล จะไปสนใจ ทำไมว่าใครจะว่าเราอย่างเสียหาย แค่ยึดถือยึดมั่นในสิ่งที่ตัวคิดว่าดี และเป็นประโยชน์กับส่วนรวมดีกว่า
ฉันก็เป็นคนหนึ่ง ที่ไม่ชอบทักษิณ และก็ไม่ชอบวิธีบางอย่างที่ใช้ต่อต้านคุณทักษิณ รับไม่ได้ ที่สนธิใช้วาจาปั่นหัวคน ฉันไม่รักใคร หรือ เห็นด้วยกับใครเป็นพิเศษ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ฉันจะไม่รักประเทศชาติใช่ไหม

3:59 หลังเที่ยง  
Blogger Dawdle Man กล่าวว่า...

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ผมไม่เชื่อ concept ของชาติไม่ว่านิยามไหน

สังคมไทยนิยมใช้ความคิดแบบสองขั้ว ขาว-ดำ ให้ความสำคัญของอารมณ์ที่ขาดสติ มากกว่าเหตุผลในการตัดสินใจ เรื่องราวต่างๆ และอ้าง "ชาติ" มาเป็นเกราะกำบังเพื่อเสริมความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายตน

สำหรับผม ผมเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า อวิชชา

4:31 หลังเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สังคมไทยแบบองค์รวม
กับองค์รวมแบบไทยๆ
บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินได้ฟังคำว่า “องค์รวม” สอดแทรกอยู่ในการพูดจาของบรรดาบุคคลสำคัญในวงการต่างๆ อีกทั้งยังได้พบถ้อยคำนี้เป็นประจำตามหน้าหนังสือพิมพ์ เอกสาร และบทความต่างๆ จนทำให้รู้สึกได้ว่า ศัพท์คำนี้คงต้องมีความสำคัญกับสังคมไทยยิ่งนัก
สำหรับผู้คนส่วนใหญ่แล้ว แม้จะพอรู้ว่าคำ“องค์รวม”มีความสำคัญ แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องแปลกใหม่และเข้าใจยากอยู่ดี ยิ่งไปกว่านี้ ยังมักจะถูกใช้ประกอบกับศัพท์แปลกๆ ใหม่ๆ อื่นอีก อาทิ “กระบวนทัศน์” “บูรณาการ” “เติมเต็ม” และ “ยั่งยืน” ซึ่งก็ยิ่งสร้างความสับสนงงงวยให้กับคำว่า “องค์รวม” มากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม ตลอดหลายปีมานี้ คำคำนี้ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งในระบบการเมืองภาครัฐและในการเมืองภาคประชาชน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็แสดงออกว่า ได้นำแนวคิดองค์รวมนี้มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมไทยแล้วทั้งสิ้น
แต่เป็นที่น่าประหลาดใจว่า หากแนวคิดองค์รวมนี้ถูกต้อง เหตุใดปัญหาต่างๆ ภายในสังคมไทยจึงมิได้ส่อเค้าว่าลดลงเลย แต่กลับเพิ่มมากขึ้นหรือรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยมา และหากเชื่อมั่นว่าแนวคิดนี้มีนัยะสำคัญต่ออนาคตของประชาชนไทยอย่างแท้จริงแล้ว เหตุใดจึงไม่มีความพยายามอธิบายเรื่อง“องค์รวม”นี้ให้ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศได้เข้าใจกันอย่างจริงจัง ว่า“องค์รวม”คำนี้มีความหมายอย่างไร และเหมาะสมสำหรับสังคมไทยแค่ไหน

ที่มาของ”องค์รวม”
คำว่า “องค์รวม”เป็นคำที่แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษคือ holism หรือ holistic ซึ่งมีความหมายตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซ์ฟอร์ดว่า “แนวโน้มตามธรรมชาติในการสร้างองคาพยพ (wholes) ที่มีคุณสมบัติมากกว่าผลรวมขององค์ประกอบ”
ทฤษฎีองค์รวมเป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับทฤษฎีแบบแยกส่วน (reductionism) ที่เชื่อว่าสามารถแยกองคาพยพออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อศึกษา ความรู้ความเข้าใจทั้งหมดเกี่ยวกับองคาพยพเกิดจากการสรุปรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน
ในช่วงหลายร้อยปีมานี้ ด้วยผลสำเร็จของวิทยาศาสตร์เชิงกายภาพ ทฤษฎีแบบแยกส่วนได้กลายเป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับเชื่อถือมากกว่าทฤษฎีองค์รวม และได้ให้กำเนิดแก่ศาสตร์แทบทุกแขนงที่เรารู้จักกันในวันนี้
ส่วนทฤษฎีองค์รวมนั้น ได้กลับมามีความสำคัญอีกครั้งในช่วงศตวรรษที่ ๒๐ นี้เอง จากการค้นพบทฤษฎีควันตัมฟิสิกส์ ที่สอดรับกับทฤษฎีองค์รวม และในช่วง ๕๐ ปีมานี้ ก็ทวีบทบาทความสำคัญยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่ในการค้นพบความรู้ใหม่ๆ ในศาสตร์แขนงต่างๆ เท่านี้ แต่ยังนำไปสู่การผสมผสานศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน รวมถึงการให้กำเนิดศาสตร์แขนงใหม่ๆ ขึ้นมาอีกด้วย เช่น ทฤษฎีระบบ และทฤษฎีไร้ระเบียบ เป็นต้น
เพิ่งมาในช่วง ๑๐ กว่าปีนี้เอง ที่มีผู้นำทฤษฎีองค์รวมเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากวงการวิชาการ จากนั้นก็แพร่ไปสู่กลุ่มนักกิจกรรมในองค์กรพัฒนาเอกชน และเข้าสู่ภาครัฐ ในช่วงสามปีมานี้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยก็ได้ช่วยเผยแพร่คำว่า “องค์รวม” ให้เป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไป แม้จะมิได้มีการพยายามอธิบายความหมายที่แท้จริงของคำคำนี้ให้เป็นที่ประจักษ์แต่อย่างใดก็ตาม

แนวคิดองค์รวม ต่างกับแนวคิดแยกส่วนอย่างไร
ปฐมเหตุที่ทำให้แนวคิดองค์รวมแตกต่างกับแนวคิดแบบแยกส่วนโดยสิ้นเชิง เริ่มต้นจากการนิยามความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับความเป็นจริง
แนวคิดแบบแยกส่วนนั้น เริ่มต้นจากความเชื่อที่ว่า ปัจเจกสามารถแยกแยะอัตวิสัยหรือความรู้สึกนึกคิดของตนออกจากภาววิสัยหรือความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ภายนอก นอกเหนืออิทธิพลจากความรู้สึกนึกคิดของผู้ใดผู้หนึ่งมีสภาพเป็นเอกพจน์เป็นสากล
ในขณะเดียวกัน ความเป็นจริงทั้งหลายก็สามารถนำมาแยกแยะออกเป็นส่วนๆ ได้ และด้วยการเฝ้าสังเกตอย่างเป็นกลาง ความเป็นจริงในแต่ละส่วนก็จะปรากฏ และเมื่อรวมส่วนความเป็นจริงเหล่านี้เข้าด้วยกัน ปัจเจกก็สามารถเข้าถึงความเป็นจริงทั้งหมดได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
หลังจากเกิดความเข้าใจในความเป็นจริงครบถ้วนแล้ว ปัจเจกก็สามารถควบคุมจัดการทุกสิ่งให้เป็นไปได้ตามต้องการ โดยมีขอบเขตของความรู้และความเป็นจริงเป็นตัวกำหนด เช่น เมื่อเข้าถึงความเป็นจริงของส่วนหนึ่งส่วนใดแล้ว ก็ควบคุมจัดการส่วนนั้นได้ เมื่อรู้เกี่ยวกับทุกส่วนครบแล้ว ก็สามารถคุมจัดการทั้งหมดได้
เมื่อสภาวะของความเป็นจริงมีลักษณะสมบูรณ์เป็นเอกพจน์และเป็นสากล การควบคุมจัดการจึงต้องรวมศูนย์ขึ้นตรงต่อผู้ที่มีความรู้สูงสุด ผู้ที่ทำหน้าที่คิดแทนจัดการแทนผู้ที่มีความรู้น้อยกว่า และเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการจัดการ เช่นกันกับความเป็นจริง การจัดการจึงมีแนวทางเดียวและเป็นสากล หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นสูตรสำเร็จ
การรวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคม เป็นไปเพื่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ ด้วยการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างกัน และเพื่อการรวบรวมข้อมูลความเป็นจริงของแต่ละส่วนป้อนสู่ศูนย์กลางการจัดการ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับปัจเจกจึงมีลักษณะขึ้นตรงต่อผู้ที่มีความรู้มากกว่าในแนวดิ่ง
ยิ่งไปกว่านี้ แนวคิดแบบแยกส่วนก็มองปัจเจกในฐานะความเป็นจริงที่เป็นเอกพจน์ เป็นสากล ปราศจากอัตวิสัย เพราะความแตกต่างหลากหลายของอัตลักษณ์ เป็นเพียงสิ่งปนเปื้อนที่ทำให้ความเป็นจริงนั้นขุ่นมัว จึงจำเป็นต้องตัดออกและทำลายเสีย คงเหลือไว้แต่เอกภาพของความเป็นกลาง
แนวคิดองค์รวมนั้นเชื่อว่า ความเป็นจริงที่ปัจเจกรับรู้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเป็นจริงทั้งหมดที่ดำรงอยู่ กล่าวคือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะการรับรู้ความเป็นจริงของปัจเจกจำต้องอาศัยระบบประสาทสัมผัสที่มีขอบเขตความสามารถจำกัด ดังนั้นความเป็นจริงที่รับรู้จึงมีสภาพจำกัดไปด้วย
ไม่เพียงความเป็นจริงที่ปัจเจกรับรู้จะเป็นเพียงความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังแยกออกจากอัตวิสัยของปัจเจกไม่ได้อีกด้วย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปัจเจกไม่สามรถเป็นกลางได้ เหตุเพราะปัจเจกนั้นเองคือที่มาแห่งความเป็นจริง สิ่งที่เราเข้าใจว่าคือความเป็นจริงที่ดำรงอยู่อย่างอิสระ แท้จริงเป็นเพียงข้อมูลความเป็นจริงบางส่วนที่รับรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัสเข้าสู่สมอง เพื่อตีความและประกอบขึ้นใหม่เป็นภาพเสมือนจริงเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ความเป็นอัตลักษณ์จึงมีผลต่อภาพความเป็นจริงที่เราสร้างขึ้น ตั้งแต่ ประสบการณ์ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม สังคม เป้าหมาย ฯลฯ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรา ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อความเป็นจริงที่เราสร้างขึ้นทั้งสิ้น เมื่ออัตลักษณ์อัตวิสัยของปัจเจกเปลี่ยนไป ความเป็นจริงก็เปลี่ยนไปด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง ความเป็นจริงก็มิอาจถูกตัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ ได้ เพราะการดำรงอยู่ของแต่ละส่วนนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับส่วนรวมทั้งหมด การแยกส่วนจึงส่งผลให้ทั้งส่วนที่ถูกแยกและส่วนรวมที่ถูกพรากส่วนออกไป ขาดความครบถ้วนสมบูรณ์ลงทันที ตัวอย่างเช่น หากตัดแขนของนายวิลาศออกมา ความเป็นนายวิลาศก็ไม่สมบูรณ์ และความเป็นแขนของนายวิลาศก็ไม่สมบูรณ์
ดังนั้นความรู้ที่ได้จากการมองแบบแยกส่วนเพื่อทำการศึกษา จึงเป็นเพียงการศึกษาชิ้นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ทั้งสิ้น และเมื่อประกอบความรู้จากส่วนที่ไม่สมบูรณ์เข้าด้วยกัน ผลรวมจึงเป็นเพียงสภาพความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น
แน่นอน การได้รับข้อมูลความรู้ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของสรรพสิ่ง ทุกชีวิตจึงจำเป็นต้องติดต่อแลกเปลี่ยนกันเพื่อคัดสรรและรวบรวมความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์จากแต่ละปัจเจก มาปะติดปะต่อเข้าด้วยกันเป็นภาพรวมที่เสมือนจริงมากที่สุด
ดังนั้น ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องที่สุดตามแนวคิดองค์รวมแล้ว ความเป็นจริงก็คือ สิ่งที่ปัจเจกร่วมกันสร้างขึ้น ผู้ที่มีอัตลักษณ์อัตวิสัยใกล้เคียงกัน ก็ร่วมกันสร้างความเป็นจริงชุดหนึ่ง ที่มีความแตกต่างกับความเป็นจริงชุดอื่นที่กลุ่มอื่นที่มีอัตลักษณ์อัตวิสัยคล้ายกันสร้างขึ้น ฉะนั้น ความเป็นจริงจึงเป็นพหูพจน์ไม่ใช่เอกพจน์ มีสภาพเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ มิใช่สิ่งสากล
นอกจากนี้ ความเป็นจริงที่ปัจเจกร่วมกันสร้างขึ้นนี้ ก็ยังแปรเปลี่ยนไปตามการปฏิสัมพันธ์ของปัจเจกอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้การมีโทรศัพท์มือถือใช้กันอย่างแพร่หลาย นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ทำให้การไม่ตรงต่อเวลาของกลุ่มวัยรุ่นทั่วโลกไม่ใช่ความผิดอีกต่อไป ตราบใดที่ยังสามารถติดต่อกันได้ด้วยโทรศัพท์มือถือ สำหรับกลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้แล้ว การไม่มาตามนัดไม่ใช่ความผิดที่หนักหนา ทว่าการลืมเปิดโทรศัพท์มือถือ หรือการปล่อยให้แบตเตอรี่หมดต่างหากที่ถือเป็นความผิดอันใหญ่หลวง
วัตถุประสงค์หลักในการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นสังคมคือ การรวบรวมและคัดสรรข้อมูลเพื่อสร้างความเป็นจริงร่วมกัน โดยมีการร่วมกันทำงานเป็นวัตถุประสงค์รอง เพราะหากไม่ทราบความเป็นจริงเสียแล้ว การกระทำทั้งหลายก็เท่ากับสูญเปล่า การรวมตัวแบบองค์รวมนั้น เกิดขึ้นทั่วไปในธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ๕% ของดีเอ็นเอ ในสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ทำหน้าที่ผลิตโปรตีนซึ่งถือเป็นงานหลักของดีเอ็นเอ แต่ ๙๕% ของดีเอ็นเอ กลับทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ระหว่างกัน หรืออีกนัยหนึ่ง ร่วมกันกำหนดรหัสของดีเอ็นเอ
แม้แต่ในสังคมชนบททั่วโลก รวมทั้งของไทยเอง เดิมทีผู้คนก็ใช้เวลาส่วนน้อยกับการเพาะปลูกและการหาเลี้ยงชีพ แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการพูดคุยติดต่อ และร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมกันในชุมชน
ความแตกต่างหลากหลายเป็นสิ่งที่จำเป็นในสังคมแบบองค์รวม เพราะยิ่งมีความแตกต่างหลากหลายมากเท่าไร ความเป็นจริงที่ปัจเจกร่วมกันสร้างก็ยิ่งสมบูรณ์ครบถ้วนมากขึ้น สังคมแบบองค์รวมจึงประกอบไปด้วยชุมชนต่างๆ ที่แตกต่างหลากหลาย ทับซ้อนกันไปมา โดยต่างก็มีอิสระในการกำหนดและจัดการตามความเป็นจริงของตน และด้วยการติดต่อสื่อสารกันอย่างเสรี ก็เกิดกลายเป็นเครือข่ายที่สลับซับซ้อนเพื่อร่วมกันคัดสรรปรับปรุงความเป็นจริงของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้นไปอีก ก่อเกิดเป็นเอกภาพบนพื้นฐานของความแตกต่างหลากหลาย


ความแตกต่างระหว่างแนวคิดแบบแยกส่วน กับ แนวคิดองค์รวม
แนวคิดแบบแยกส่วน แนวคิดองค์รวม
ปัจเจก เป็นกลาง ไม่เป็นกลาง

ความเป็นจริง -เป็นอิสระจากปัจเจก - ปัจเจกร่วมกันสร้าง
-เปลี่ยนแปลงไม่ได้ -เปลี่ยนแปลงได้
-ครบถ้วนสมบูรณ์ -ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
-เป็นเอกพจน์ - เป็นพหูพจน์
-เป็นสากล -เฉพาะตัวเฉพาะกลุ่ม


การจัดการ -รวมศูนย์ -ร่วมกัน
-สูตรสำเร็จ -หลากหลายตามความ
เหมาะสม
-คิดแทนทำแทน -คิดเองทำเอง

สังคม -ร่วมกันเพื่อทำงาน -ร่วมกันเพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยน
-เชื่อมโยงทางตั้งเป็นรูปปีรามิด -ทับซ้อนกันไปมาเป็นเครือข่าย
ที่สลับซับซ้อน

เอกภาพ -เกิดจากความเหมือน -เกิดจากความแตกต่าง


สังคมไทยแบบองค์รวม
เช่นเดียวกันกับสังคมมนุษย์ทั่วไป สังคมไทยเป็นสังคมแบบองค์รวมมาช้านานแล้ว เพราะเอกภาพของความเป็นไทยนั้นอยู่บนพื้นฐานของอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลาย แม้แต่เอกสารทางราชการก็ยืนยันความเป็นองค์รวมนี้
เอกสารราชการในช่วงต้นของรัชกาลที่ ๕ ระบุว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของ แขก ฝรั่ง จาม ไทย ไทยตอนบน ไทยตอนล่าง มลายู ไปยาลใหญ่ ไปยาลใหญ่นี้คือการยอมรับว่าสังคมไทยประกอบด้วยอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลายนั่นเอง
จากช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงปัจจุบัน ความเป็นองค์รวมของสังคมไทยก็ถูกแปรเปลี่ยนเป็นแบบแยกส่วนมากขึ้น แม้จะยังคงรักษาสภาพความเป็นองค์รวมอยู่ได้ก็ตาม การนำเข้าแนวคิดรัฐนิยมและทุนนิยมที่มีรากฐานจากแนวคิดแบบแยกส่วน ได้เข้ามายึดครองพื้นที่หลายส่วนของสังคมไทย ทำให้นิยามของคำว่า”พระมหากษัตริย์” ต้องเปลี่ยนแปลงกลายเป็น “ประมุขของปวงชนชาวไทย” เท่านั้น
กระแสทุนนิยมโลกาภิวัตน์ที่พัดผ่านเข้ามา ก็ยิ่งเร่งรัดกระบวนการแปรรูปสังคมไทยให้เป็นแบบแยกส่วนมากขึ้นไปอีก จนในวันนี้ พื้นที่ของความเป็นองค์รวมก็ลดน้อยลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน มาวันนี้ อัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลายของผู้คนกำลังถูกทำให้เหลือเป็นเพียงการเป็นทรัพยากรของชาติเท่านั้น

องค์รวมแบบไทยๆ
เป็นที่น่าประหลาดใจที่ในพื้นที่ของสังคมที่การใช้คำว่า “องค์รวม” เรามักจะพบว่าพื้นที่เหล่านี้มีการจัดการแบบรวมศูนย์ มีสูตรสำเร็จในการทำงาน มีการคิดแทนทำแทนสมาชิก ให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายมากกว่าการแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างสมาชิก มองเห็นความแตกต่างหลากหลายว่ากลายเป็นปัญหา ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปตามแนวคิดแบบแยกส่วนทั้งสิ้น
แต่ในพื้นที่อื่นๆ พื้นที่ที่แทบไม่ได้ยินได้เห็นคำว่า “องค์รวม”เลยนั้น เรากลับพบว่าพื้นที่เหล่านี้มีการคัดสรรความเป็นจริงร่วมกัน คิดกันเองทำกันเอง สื่อสารกันเองอย่างเสรีตามความพอใจ ฯลฯ ที่ล้วนเป็นองค์ประกอบของแนวคิดองค์รวมทั้งสิ้น พื้นที่ทางสังคมเหล่านี้ได้แก่ ในครอบครัว แวดวงเพื่อนฝูงญาติมิตร กลุ่มเพื่อนร่วมงาน สภากาแฟ โต๊ะแชร์ พื้นที่นอกห้องประชุม แช็ตรูม ฯลฯ ซึ่งรวมกันแล้วคือพื้นที่สังคมแบบองค์รวม ที่แท้จริงยังคงดำรงอยู่ในสังคมไทยนั่นเอง

บทสรุป
ทุกครั้งที่มีการตั้งคำถามว่า “จะคิดแบบองค์รวม ต้องทำอย่างไร” เรามักจะได้รับคำตอบเป็น ๒ ลักษณะ คำตอบแบบแรกคือ เป็นวาทกรรมที่ฟังอย่างไรก็ไม่เข้าใจ อีกแบบคือเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน มีทั้งแผนงานเป็นขั้นเป็นตอน รวมทั้งรายละเอียดแบบแผนและวิธีปฏิบัติ ซึ่งเมื่อปฏิบัติไปแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็แทบไม่แตกต่างจากสิ่งที่เคยคิดเคยทำมา
แท้จริงแล้ว คำตอบอยู่ที่ตัวผู้ถามตลอดมา ทุกครั้งที่ท่านยิ้มและทักทายกัน ทุกครั้งที่ท่านพูดคุยแลกเปลี่ยนและร่วมกิจกรรมกับเพื่อนร่วมโลกในฐานะคนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ทุกครั้งที่ท่านช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้กันและกันโดยมิต้องขออนุญาต รอคอยคำสั่ง หรือขอความช่วยเหลือจากบรรดาผู้มีอำนาจ การกระทำเหล่านี้ล้วนเป็นการคิดการทำแบบองค์รวมทั้งสิ้น
หากท่านเห็นว่าการคิดการทำแบบองค์รวมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ ก็โปรดช่วยกันคิดช่วยกันทำให้มากขึ้น สังคมของเราและท่านจะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

9:17 ก่อนเที่ยง  
Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สังคมไทยแบบองค์รวม
กับองค์รวมแบบไทยๆ
บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินได้ฟังคำว่า “องค์รวม” สอดแทรกอยู่ในการพูดจาของบรรดาบุคคลสำคัญในวงการต่างๆ อีกทั้งยังได้พบถ้อยคำนี้เป็นประจำตามหน้าหนังสือพิมพ์ เอกสาร และบทความต่างๆ จนทำให้รู้สึกได้ว่า ศัพท์คำนี้คงต้องมีความสำคัญกับสังคมไทยยิ่งนัก
สำหรับผู้คนส่วนใหญ่แล้ว แม้จะพอรู้ว่าคำ“องค์รวม”มีความสำคัญ แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องแปลกใหม่และเข้าใจยากอยู่ดี ยิ่งไปกว่านี้ ยังมักจะถูกใช้ประกอบกับศัพท์แปลกๆ ใหม่ๆ อื่นอีก อาทิ “กระบวนทัศน์” “บูรณาการ” “เติมเต็ม” และ “ยั่งยืน” ซึ่งก็ยิ่งสร้างความสับสนงงงวยให้กับคำว่า “องค์รวม” มากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม ตลอดหลายปีมานี้ คำคำนี้ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งในระบบการเมืองภาครัฐและในการเมืองภาคประชาชน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็แสดงออกว่า ได้นำแนวคิดองค์รวมนี้มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมไทยแล้วทั้งสิ้น
แต่เป็นที่น่าประหลาดใจว่า หากแนวคิดองค์รวมนี้ถูกต้อง เหตุใดปัญหาต่างๆ ภายในสังคมไทยจึงมิได้ส่อเค้าว่าลดลงเลย แต่กลับเพิ่มมากขึ้นหรือรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยมา และหากเชื่อมั่นว่าแนวคิดนี้มีนัยะสำคัญต่ออนาคตของประชาชนไทยอย่างแท้จริงแล้ว เหตุใดจึงไม่มีความพยายามอธิบายเรื่อง“องค์รวม”นี้ให้ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศได้เข้าใจกันอย่างจริงจัง ว่า“องค์รวม”คำนี้มีความหมายอย่างไร และเหมาะสมสำหรับสังคมไทยแค่ไหน

ที่มาของ”องค์รวม”
คำว่า “องค์รวม”เป็นคำที่แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษคือ holism หรือ holistic ซึ่งมีความหมายตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซ์ฟอร์ดว่า “แนวโน้มตามธรรมชาติในการสร้างองคาพยพ (wholes) ที่มีคุณสมบัติมากกว่าผลรวมขององค์ประกอบ”
ทฤษฎีองค์รวมเป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับทฤษฎีแบบแยกส่วน (reductionism) ที่เชื่อว่าสามารถแยกองคาพยพออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อศึกษา ความรู้ความเข้าใจทั้งหมดเกี่ยวกับองคาพยพเกิดจากการสรุปรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน
ในช่วงหลายร้อยปีมานี้ ด้วยผลสำเร็จของวิทยาศาสตร์เชิงกายภาพ ทฤษฎีแบบแยกส่วนได้กลายเป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับเชื่อถือมากกว่าทฤษฎีองค์รวม และได้ให้กำเนิดแก่ศาสตร์แทบทุกแขนงที่เรารู้จักกันในวันนี้
ส่วนทฤษฎีองค์รวมนั้น ได้กลับมามีความสำคัญอีกครั้งในช่วงศตวรรษที่ ๒๐ นี้เอง จากการค้นพบทฤษฎีควันตัมฟิสิกส์ ที่สอดรับกับทฤษฎีองค์รวม และในช่วง ๕๐ ปีมานี้ ก็ทวีบทบาทความสำคัญยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่ในการค้นพบความรู้ใหม่ๆ ในศาสตร์แขนงต่างๆ เท่านี้ แต่ยังนำไปสู่การผสมผสานศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน รวมถึงการให้กำเนิดศาสตร์แขนงใหม่ๆ ขึ้นมาอีกด้วย เช่น ทฤษฎีระบบ และทฤษฎีไร้ระเบียบ เป็นต้น
เพิ่งมาในช่วง ๑๐ กว่าปีนี้เอง ที่มีผู้นำทฤษฎีองค์รวมเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากวงการวิชาการ จากนั้นก็แพร่ไปสู่กลุ่มนักกิจกรรมในองค์กรพัฒนาเอกชน และเข้าสู่ภาครัฐ ในช่วงสามปีมานี้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยก็ได้ช่วยเผยแพร่คำว่า “องค์รวม” ให้เป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไป แม้จะมิได้มีการพยายามอธิบายความหมายที่แท้จริงของคำคำนี้ให้เป็นที่ประจักษ์แต่อย่างใดก็ตาม

แนวคิดองค์รวม ต่างกับแนวคิดแยกส่วนอย่างไร
ปฐมเหตุที่ทำให้แนวคิดองค์รวมแตกต่างกับแนวคิดแบบแยกส่วนโดยสิ้นเชิง เริ่มต้นจากการนิยามความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับความเป็นจริง
แนวคิดแบบแยกส่วนนั้น เริ่มต้นจากความเชื่อที่ว่า ปัจเจกสามารถแยกแยะอัตวิสัยหรือความรู้สึกนึกคิดของตนออกจากภาววิสัยหรือความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ภายนอก นอกเหนืออิทธิพลจากความรู้สึกนึกคิดของผู้ใดผู้หนึ่งมีสภาพเป็นเอกพจน์เป็นสากล
ในขณะเดียวกัน ความเป็นจริงทั้งหลายก็สามารถนำมาแยกแยะออกเป็นส่วนๆ ได้ และด้วยการเฝ้าสังเกตอย่างเป็นกลาง ความเป็นจริงในแต่ละส่วนก็จะปรากฏ และเมื่อรวมส่วนความเป็นจริงเหล่านี้เข้าด้วยกัน ปัจเจกก็สามารถเข้าถึงความเป็นจริงทั้งหมดได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
หลังจากเกิดความเข้าใจในความเป็นจริงครบถ้วนแล้ว ปัจเจกก็สามารถควบคุมจัดการทุกสิ่งให้เป็นไปได้ตามต้องการ โดยมีขอบเขตของความรู้และความเป็นจริงเป็นตัวกำหนด เช่น เมื่อเข้าถึงความเป็นจริงของส่วนหนึ่งส่วนใดแล้ว ก็ควบคุมจัดการส่วนนั้นได้ เมื่อรู้เกี่ยวกับทุกส่วนครบแล้ว ก็สามารถคุมจัดการทั้งหมดได้
เมื่อสภาวะของความเป็นจริงมีลักษณะสมบูรณ์เป็นเอกพจน์และเป็นสากล การควบคุมจัดการจึงต้องรวมศูนย์ขึ้นตรงต่อผู้ที่มีความรู้สูงสุด ผู้ที่ทำหน้าที่คิดแทนจัดการแทนผู้ที่มีความรู้น้อยกว่า และเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการจัดการ เช่นกันกับความเป็นจริง การจัดการจึงมีแนวทางเดียวและเป็นสากล หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นสูตรสำเร็จ
การรวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคม เป็นไปเพื่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ ด้วยการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างกัน และเพื่อการรวบรวมข้อมูลความเป็นจริงของแต่ละส่วนป้อนสู่ศูนย์กลางการจัดการ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับปัจเจกจึงมีลักษณะขึ้นตรงต่อผู้ที่มีความรู้มากกว่าในแนวดิ่ง
ยิ่งไปกว่านี้ แนวคิดแบบแยกส่วนก็มองปัจเจกในฐานะความเป็นจริงที่เป็นเอกพจน์ เป็นสากล ปราศจากอัตวิสัย เพราะความแตกต่างหลากหลายของอัตลักษณ์ เป็นเพียงสิ่งปนเปื้อนที่ทำให้ความเป็นจริงนั้นขุ่นมัว จึงจำเป็นต้องตัดออกและทำลายเสีย คงเหลือไว้แต่เอกภาพของความเป็นกลาง
แนวคิดองค์รวมนั้นเชื่อว่า ความเป็นจริงที่ปัจเจกรับรู้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเป็นจริงทั้งหมดที่ดำรงอยู่ กล่าวคือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะการรับรู้ความเป็นจริงของปัจเจกจำต้องอาศัยระบบประสาทสัมผัสที่มีขอบเขตความสามารถจำกัด ดังนั้นความเป็นจริงที่รับรู้จึงมีสภาพจำกัดไปด้วย
ไม่เพียงความเป็นจริงที่ปัจเจกรับรู้จะเป็นเพียงความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังแยกออกจากอัตวิสัยของปัจเจกไม่ได้อีกด้วย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปัจเจกไม่สามรถเป็นกลางได้ เหตุเพราะปัจเจกนั้นเองคือที่มาแห่งความเป็นจริง สิ่งที่เราเข้าใจว่าคือความเป็นจริงที่ดำรงอยู่อย่างอิสระ แท้จริงเป็นเพียงข้อมูลความเป็นจริงบางส่วนที่รับรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัสเข้าสู่สมอง เพื่อตีความและประกอบขึ้นใหม่เป็นภาพเสมือนจริงเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ความเป็นอัตลักษณ์จึงมีผลต่อภาพความเป็นจริงที่เราสร้างขึ้น ตั้งแต่ ประสบการณ์ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม สังคม เป้าหมาย ฯลฯ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรา ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อความเป็นจริงที่เราสร้างขึ้นทั้งสิ้น เมื่ออัตลักษณ์อัตวิสัยของปัจเจกเปลี่ยนไป ความเป็นจริงก็เปลี่ยนไปด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง ความเป็นจริงก็มิอาจถูกตัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ ได้ เพราะการดำรงอยู่ของแต่ละส่วนนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับส่วนรวมทั้งหมด การแยกส่วนจึงส่งผลให้ทั้งส่วนที่ถูกแยกและส่วนรวมที่ถูกพรากส่วนออกไป ขาดความครบถ้วนสมบูรณ์ลงทันที ตัวอย่างเช่น หากตัดแขนของนายวิลาศออกมา ความเป็นนายวิลาศก็ไม่สมบูรณ์ และความเป็นแขนของนายวิลาศก็ไม่สมบูรณ์
ดังนั้นความรู้ที่ได้จากการมองแบบแยกส่วนเพื่อทำการศึกษา จึงเป็นเพียงการศึกษาชิ้นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ทั้งสิ้น และเมื่อประกอบความรู้จากส่วนที่ไม่สมบูรณ์เข้าด้วยกัน ผลรวมจึงเป็นเพียงสภาพความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น
แน่นอน การได้รับข้อมูลความรู้ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของสรรพสิ่ง ทุกชีวิตจึงจำเป็นต้องติดต่อแลกเปลี่ยนกันเพื่อคัดสรรและรวบรวมความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์จากแต่ละปัจเจก มาปะติดปะต่อเข้าด้วยกันเป็นภาพรวมที่เสมือนจริงมากที่สุด
ดังนั้น ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องที่สุดตามแนวคิดองค์รวมแล้ว ความเป็นจริงก็คือ สิ่งที่ปัจเจกร่วมกันสร้างขึ้น ผู้ที่มีอัตลักษณ์อัตวิสัยใกล้เคียงกัน ก็ร่วมกันสร้างความเป็นจริงชุดหนึ่ง ที่มีความแตกต่างกับความเป็นจริงชุดอื่นที่กลุ่มอื่นที่มีอัตลักษณ์อัตวิสัยคล้ายกันสร้างขึ้น ฉะนั้น ความเป็นจริงจึงเป็นพหูพจน์ไม่ใช่เอกพจน์ มีสภาพเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ มิใช่สิ่งสากล
นอกจากนี้ ความเป็นจริงที่ปัจเจกร่วมกันสร้างขึ้นนี้ ก็ยังแปรเปลี่ยนไปตามการปฏิสัมพันธ์ของปัจเจกอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้การมีโทรศัพท์มือถือใช้กันอย่างแพร่หลาย นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ทำให้การไม่ตรงต่อเวลาของกลุ่มวัยรุ่นทั่วโลกไม่ใช่ความผิดอีกต่อไป ตราบใดที่ยังสามารถติดต่อกันได้ด้วยโทรศัพท์มือถือ สำหรับกลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้แล้ว การไม่มาตามนัดไม่ใช่ความผิดที่หนักหนา ทว่าการลืมเปิดโทรศัพท์มือถือ หรือการปล่อยให้แบตเตอรี่หมดต่างหากที่ถือเป็นความผิดอันใหญ่หลวง
วัตถุประสงค์หลักในการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นสังคมคือ การรวบรวมและคัดสรรข้อมูลเพื่อสร้างความเป็นจริงร่วมกัน โดยมีการร่วมกันทำงานเป็นวัตถุประสงค์รอง เพราะหากไม่ทราบความเป็นจริงเสียแล้ว การกระทำทั้งหลายก็เท่ากับสูญเปล่า การรวมตัวแบบองค์รวมนั้น เกิดขึ้นทั่วไปในธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ๕% ของดีเอ็นเอ ในสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ทำหน้าที่ผลิตโปรตีนซึ่งถือเป็นงานหลักของดีเอ็นเอ แต่ ๙๕% ของดีเอ็นเอ กลับทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ระหว่างกัน หรืออีกนัยหนึ่ง ร่วมกันกำหนดรหัสของดีเอ็นเอ
แม้แต่ในสังคมชนบททั่วโลก รวมทั้งของไทยเอง เดิมทีผู้คนก็ใช้เวลาส่วนน้อยกับการเพาะปลูกและการหาเลี้ยงชีพ แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการพูดคุยติดต่อ และร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมกันในชุมชน
ความแตกต่างหลากหลายเป็นสิ่งที่จำเป็นในสังคมแบบองค์รวม เพราะยิ่งมีความแตกต่างหลากหลายมากเท่าไร ความเป็นจริงที่ปัจเจกร่วมกันสร้างก็ยิ่งสมบูรณ์ครบถ้วนมากขึ้น สังคมแบบองค์รวมจึงประกอบไปด้วยชุมชนต่างๆ ที่แตกต่างหลากหลาย ทับซ้อนกันไปมา โดยต่างก็มีอิสระในการกำหนดและจัดการตามความเป็นจริงของตน และด้วยการติดต่อสื่อสารกันอย่างเสรี ก็เกิดกลายเป็นเครือข่ายที่สลับซับซ้อนเพื่อร่วมกันคัดสรรปรับปรุงความเป็นจริงของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้นไปอีก ก่อเกิดเป็นเอกภาพบนพื้นฐานของความแตกต่างหลากหลาย


ความแตกต่างระหว่างแนวคิดแบบแยกส่วน กับ แนวคิดองค์รวม
แนวคิดแบบแยกส่วน แนวคิดองค์รวม
ปัจเจก เป็นกลาง ไม่เป็นกลาง

ความเป็นจริง -เป็นอิสระจากปัจเจก - ปัจเจกร่วมกันสร้าง
-เปลี่ยนแปลงไม่ได้ -เปลี่ยนแปลงได้
-ครบถ้วนสมบูรณ์ -ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
-เป็นเอกพจน์ - เป็นพหูพจน์
-เป็นสากล -เฉพาะตัวเฉพาะกลุ่ม


การจัดการ -รวมศูนย์ -ร่วมกัน
-สูตรสำเร็จ -หลากหลายตามความ
เหมาะสม
-คิดแทนทำแทน -คิดเองทำเอง

สังคม -ร่วมกันเพื่อทำงาน -ร่วมกันเพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยน
-เชื่อมโยงทางตั้งเป็นรูปปีรามิด -ทับซ้อนกันไปมาเป็นเครือข่าย
ที่สลับซับซ้อน

เอกภาพ -เกิดจากความเหมือน -เกิดจากความแตกต่าง


สังคมไทยแบบองค์รวม
เช่นเดียวกันกับสังคมมนุษย์ทั่วไป สังคมไทยเป็นสังคมแบบองค์รวมมาช้านานแล้ว เพราะเอกภาพของความเป็นไทยนั้นอยู่บนพื้นฐานของอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลาย แม้แต่เอกสารทางราชการก็ยืนยันความเป็นองค์รวมนี้
เอกสารราชการในช่วงต้นของรัชกาลที่ ๕ ระบุว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของ แขก ฝรั่ง จาม ไทย ไทยตอนบน ไทยตอนล่าง มลายู ไปยาลใหญ่ ไปยาลใหญ่นี้คือการยอมรับว่าสังคมไทยประกอบด้วยอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลายนั่นเอง
จากช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงปัจจุบัน ความเป็นองค์รวมของสังคมไทยก็ถูกแปรเปลี่ยนเป็นแบบแยกส่วนมากขึ้น แม้จะยังคงรักษาสภาพความเป็นองค์รวมอยู่ได้ก็ตาม การนำเข้าแนวคิดรัฐนิยมและทุนนิยมที่มีรากฐานจากแนวคิดแบบแยกส่วน ได้เข้ามายึดครองพื้นที่หลายส่วนของสังคมไทย ทำให้นิยามของคำว่า”พระมหากษัตริย์” ต้องเปลี่ยนแปลงกลายเป็น “ประมุขของปวงชนชาวไทย” เท่านั้น
กระแสทุนนิยมโลกาภิวัตน์ที่พัดผ่านเข้ามา ก็ยิ่งเร่งรัดกระบวนการแปรรูปสังคมไทยให้เป็นแบบแยกส่วนมากขึ้นไปอีก จนในวันนี้ พื้นที่ของความเป็นองค์รวมก็ลดน้อยลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน มาวันนี้ อัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลายของผู้คนกำลังถูกทำให้เหลือเป็นเพียงการเป็นทรัพยากรของชาติเท่านั้น

องค์รวมแบบไทยๆ
เป็นที่น่าประหลาดใจที่ในพื้นที่ของสังคมที่การใช้คำว่า “องค์รวม” เรามักจะพบว่าพื้นที่เหล่านี้มีการจัดการแบบรวมศูนย์ มีสูตรสำเร็จในการทำงาน มีการคิดแทนทำแทนสมาชิก ให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายมากกว่าการแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างสมาชิก มองเห็นความแตกต่างหลากหลายว่ากลายเป็นปัญหา ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปตามแนวคิดแบบแยกส่วนทั้งสิ้น
แต่ในพื้นที่อื่นๆ พื้นที่ที่แทบไม่ได้ยินได้เห็นคำว่า “องค์รวม”เลยนั้น เรากลับพบว่าพื้นที่เหล่านี้มีการคัดสรรความเป็นจริงร่วมกัน คิดกันเองทำกันเอง สื่อสารกันเองอย่างเสรีตามความพอใจ ฯลฯ ที่ล้วนเป็นองค์ประกอบของแนวคิดองค์รวมทั้งสิ้น พื้นที่ทางสังคมเหล่านี้ได้แก่ ในครอบครัว แวดวงเพื่อนฝูงญาติมิตร กลุ่มเพื่อนร่วมงาน สภากาแฟ โต๊ะแชร์ พื้นที่นอกห้องประชุม แช็ตรูม ฯลฯ ซึ่งรวมกันแล้วคือพื้นที่สังคมแบบองค์รวม ที่แท้จริงยังคงดำรงอยู่ในสังคมไทยนั่นเอง

บทสรุป
ทุกครั้งที่มีการตั้งคำถามว่า “จะคิดแบบองค์รวม ต้องทำอย่างไร” เรามักจะได้รับคำตอบเป็น ๒ ลักษณะ คำตอบแบบแรกคือ เป็นวาทกรรมที่ฟังอย่างไรก็ไม่เข้าใจ อีกแบบคือเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน มีทั้งแผนงานเป็นขั้นเป็นตอน รวมทั้งรายละเอียดแบบแผนและวิธีปฏิบัติ ซึ่งเมื่อปฏิบัติไปแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็แทบไม่แตกต่างจากสิ่งที่เคยคิดเคยทำมา
แท้จริงแล้ว คำตอบอยู่ที่ตัวผู้ถามตลอดมา ทุกครั้งที่ท่านยิ้มและทักทายกัน ทุกครั้งที่ท่านพูดคุยแลกเปลี่ยนและร่วมกิจกรรมกับเพื่อนร่วมโลกในฐานะคนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ทุกครั้งที่ท่านช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้กันและกันโดยมิต้องขออนุญาต รอคอยคำสั่ง หรือขอความช่วยเหลือจากบรรดาผู้มีอำนาจ การกระทำเหล่านี้ล้วนเป็นการคิดการทำแบบองค์รวมทั้งสิ้น
หากท่านเห็นว่าการคิดการทำแบบองค์รวมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ ก็โปรดช่วยกันคิดช่วยกันทำให้มากขึ้น สังคมของเราและท่านจะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

1:58 หลังเที่ยง  

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก