พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน : บูรณาการอำนาจในสไตล์ทักษิณ (๑)
คลื่นลมที่พัดพามาพร้อมกับ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอ่อนแรงไปได้หลายวันแล้ว แต่วันนี้คลื่นลมนั้นคงจะกลับมาพัดใหม่อีกระลอก เพราะรัฐบาลต้องเอา พ.ร.ก. ฉบับนี้เข้าสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
เพื่อไม่ให้เป็นการตกรถไฟเหมือนเมื่อคราวที่แล้วที่ผมมัวแต่หลงแสง สี เสียงของมหานครแห่งความสุข จนปล่อยให้ ratio scripta, ปิ่น ปรเมศวร์, ปริเยศ, บุญชิต, พล ยูเอส และคนอื่นๆถกเถียงกันอย่างเมามันส์ถึงขนาดที่บล็อกบางบล็อกท่วมท้นไปด้วยความเห็นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
งานนี้ผมจึงต้องขอกลับมาเคาะแป้นพิมพ์ร่วมแจมกะเขาบ้าง
เหตุผลสำคัญอีกข้อหนึ่งที่ผมตัดสินใจลุกมาเขียนเรื่อง พ.ร.ก. คือ สุนทรพจน์ของนายกฯที่กล่าวในงานวันครบรอบ ๖๐ ปีวันสันติภาพ ณ มธ. ว่าอีก ๖๐ ปีข้างหน้าจะมีคนมาจัดงานยกย่องตนว่าเป็นผู้รักษาสันติภาพบ้างดังเช่นปรีดีและเสรีไทย ฟังแล้วก็น่าคลื่นเหียนอาเจียนและจะยิ่งอยากสำรอกออกมาดังๆ เมื่อย้อนไปมองดู พ.ร.ก. ฉบับนี้
อาจกล่าวได้ว่า กลับมาคราวนี้ทั้งที ผมขอเล่นของหนัก ๔๕ ดีกรีไปเลย
...............
-๑-
ภาพรวมและสาระสำคัญของ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
นายกรัฐมนตรี และเนติบริกร ๑ และ ๒ ออกแถลงข่าวต่างกรรมต่างวาระกันหลายครั้ง พอสรุปได้ว่ารัฐบาลจำเป็นต้องออก พ.ร.ก. ฉบับนี้ เพราะ
หนึ่ง กฎหมายที่มีอยู่เดิมซึ่งเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาภาคใต้รวม ๗ ฉบับนั้น ไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ๗ ฉบับที่ว่าก็ได้แก่ รัฐธรรมนูญ, กฎอัยการศึก, ประมวลกฎหมายอาญา, ประมวลกฎหมาย วิ.อาญา, พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ, พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พ.ร.บ.สถานการณ์ฉุกเฉิน ๒๔๙๕
สอง รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าเป็นหมวดหมู่ และยกเลิกพ.ร.บ.สถานการณ์ฉุกเฉิน ๒๔๙๕
สาม โอนอำนาจรวมศูนย์ที่นายกรัฐมนตรีเพื่อความคล่องตัวและง่ายต่อการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน
สี่ เหตุการณ์ระเบิดที่ยะลาเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายในรูป พ.ร.ก. แทนที่จะออกในรูป พ.ร.บ.
พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมีสาระสำคัญ ดังนี้
หนึ่ง ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างไรเรียกว่า “สถานการณ์ฉุกเฉิน” มีนิยามอยู่ในมาตรา ๔ สถานการณ์ฉุกเฉินกินเวลาได้ไม่เกิน ๓ เดือน หากไม่พอต่อได้อีกเป็นคราวๆ คราวละไม่เกิน ๓ เดือน
สอง เมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว อำนาจต่างๆโอนมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี และยังมีอำนาจเพิ่มอีกตามมาตรา ๙ โดยมีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินมีหน้าที่ให้คำแนะนำ
สาม ในกรณีที่ร้ายแรง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างร้ายแรงได้ ผลก็คือ นอกจากอำนาจอื่นๆรวมศูนย์ที่ตัวนายกฯ และมีอำนาจเพิ่มตามมาตรา ๙ แล้ว มาตรา ๑๑ ยังเพิ่มอำนาจพิเศษให้อีก
สี่ มาตรการ กฎ ระเบียบ คำสั่งที่เกิดจาก พ.ร.ก. นี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายศาลปกครอง
ห้า พ.ร.ก. ยกเว้นความรับผิดให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งทางแพ่ง อาญา และวินัย หากเจ้าหน้าที่ทำไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ
ว่าสั้นๆ พ.ร.ก. นี้ไม่มีอะไรมากไปกว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อประกาศแล้วอำนาจไปรวมอยู่ที่นายกฯและมีอำนาจเพิ่มตามมาตรา ๙ ในกรณีฉุกเฉินร้ายแรงก็มีอำนาจเพิ่มอีกตามมาตรา ๑๑
หมายเหตุ อย่าพึ่งทำหน้างงกับการอ้างเลขมาตราใน พ.ร.ก.นี้ เรื่องของเรื่อง ผมเกรงว่าบล็อกของผมจะยาวจนเกินไป ผมจึงอ้างแต่เลขมาตรา ส่วนเนื้อความ หากท่านอยากรู้ กรุณาคลิก http://www.lawreform.go.th/
.................
-๒-
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในระบบกฎหมายฝรั่งเศส
ทำไมต้องยกกฎหมายฝรั่งเศสขึ้นมาว่ากันอีกแล้ว แน่ละ... เราไม่ใช่เมืองขึ้นฝรั่งเศส และผมก็ไม่ใช้พวกขี้ข้าฝรั่งเศสที่เห็นเขามีอะไรแล้วเราต้องเอาตามหมด แบบประเภททำงานวิจัยที่ว่า ของไทยไม่มี แต่ฝรั่งเศสมี ไทยมันห่วย ดังนั้นเอาตามฝรั่งเศสดีกว่า
คนไทยยังชอบกินวิสกี้ ผสมโซดา น้ำแข็งฉันใด คนฝรั่งเศสก็ยังชอบจิบไวน์ฉันนั้น
เหตุผลที่ผมจำต้องนั่งค้นคว้ากฎหมายฝรั่งเศสเป็นเวลาหลายวัน เพราะคุณทักษิณออกทีวีกับคุณอานันท์ แล้วพูดว่า กฎหมายลักษณะนี้ประเทศที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตยก็มีกันทั้งนั้น แถมยังออกวิทยุเช้าวันเสาร์อ้างเอาสัญญาประชาคมของรุสโซมาสร้างความชอบธรรมให้กับ พ.ร.ก. นี้อีก
ผมเลยอดรนทนไม่ได้ คันไม้คันมือ ไปค้นกฎหมายฝรั่งเศสที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ถามว่า ทำไมต้องฝรั่งเศส ง่ายนิดเดียวครับ ผมเรียนอยู่ที่ฝรั่งเศส มันก็ง่ายต่อการเข้าถึงและเข้าใจข้อมูล แค่นั้นเอง
จากการค้นคว้า ผมพบว่าฝรั่งเศสมีเครื่องมือทางกฎหมายอยู่ ๔ ชิ้น
หนึ่ง การใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดีในสถานการณ์วิกฤตของชาติ
รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๖ กำหนดให้อำนาจนี้แก่ประธานาธิบดีได้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
๑.) เกิดสถานการณ์ที่สถาบันแห่งสาธารณรัฐ เอกราชของชาติ บูรณภาพแห่งอาณาเขตของสาธารณรัฐ หรือการบังคับการตามพันธกรณีระหว่างประเทศถูกคุกคามอย่างร้ายแรงและทันทีทันใด
๒.) จนทำให้การดำเนินการตามปกติขององค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องหยุดชะงักลง
๓.) ประธานาธิบดีต้องปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ก่อน การประกาศใช้อำนาจ
๔.) ประธานาธิบดีจะต้องแถลงการณ์การใช้มาตรการดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
๕.) มาตรการดังกล่าวจะต้องดำเนินไปในระยะเวลาจำกัดที่สุดและเป็นไปเฉพาะเท่าที่มีความจำเป็นเพื่อให้การดำเนินการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็นไปตามปกติ
เมื่อประธานาธิบดีตัดสินใจประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ดังกล่าวแล้ว ผลก็คือ อำนาจทุกประการรวมศูนย์อยู่ที่ตัวประธานาธิบดี ประธานาธิบดีมีอำนาจกระทำการใดๆก็ได้เพื่อแก้วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น อีกนัยหนึ่ง คือ เป็น “เผด็จการชั่วคราว” นั่นเอง
การใช้อำนาจนี้มีการควบคุมตรวจสอบหรือไม่?
ศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักไว้ในคำพิพากษาในคดี Rubin de servens เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๑๙๖๒ รวมสองประเด็น ดังนี้
๑.) การตัดสินใจประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ของประธานาธิบดี เป็นการกระทำทางรัฐบาล ซึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรตุลาการ
๒.) มาตรการต่างๆที่ใช้ในช่วงเวลาที่ประกาศการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรตุลาการ ทั้งนี้แล้วแต่กรณี เช่น มาตรการที่มีสถานะเทียบเท่ากับคำสั่งทางปกครองหรือกฎก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาลปกครอง ในคดีนี้ มาตรการที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองเพิกถอน คือ คำสั่งของประธานาธิบดีที่ให้จัดตั้งศาลทหารพิเศษในแอลจีเรีย ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา ๓๔ กำหนดว่าการจัดตั้งศาลต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ ดังนั้น คำสั่งที่ให้จัดตั้งศาลในกรณีนี้จึงมีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ซึ่งศาลปกครองไม่มีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติ
กล่าวให้ถึงที่สุด ศาลปกครองบอกว่าการประกาศใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดี ศาลปกครองเข้าไปตรวจสอบไม่ได้ แต่มาตรการต่างๆที่ใช้ในระหว่างสถานการณ์พิเศษ ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบ หากมาตรการนั้นมีสถานะเป็นกฎหรือคำสั่งทางปกครอง
สอง การประกาศกฎอัยการศึก
เดิมฝรั่งเศสมีกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก อยู่ ๒ ฉบับ คือ รัฐบัญญัติลงวันที่ ๙ ส.ค. ๑๘๔๙ และรัฐบัญญัติลงวันที่ ๓ เม.ย. ๑๘๗๘ ต่อมารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ๑๙๕๘ ได้รับรองไว้อีกครั้งในมาตรา ๓๖ เพื่อสร้างความชอบธรรมทางรัฐธรรมนูญ
การประกาศกฎอัยการศึกทำได้เมื่อมีภยันตรายอันใกล้จะถึงอันเนื่องมาจากสงครามหรือการกบฏโดยใช้กำลังอาวุธ ทั้งนี้การประกาศกฎอัยการศึกดังกล่าวต้องทำในรูปพระราชกฤษฎีกาในคณะรัฐมนตรี หากระยะเวลาที่ใช้กฎอัยการศึกเกิน ๑๒ วัน ต้องนำกฎอัยการศึกนั้นกลับมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว อำนาจต่างๆโอนมาอยู่ที่ทหาร ข้อพิพาททางอาญาอยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร และเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการใช้มาตรการที่อาจกระทบสิทธิและเสรีภาพได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่ามาตรการต่างๆที่ใช้ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึกจะหลุดพ้นจากการควบคุมโดยศาลปกครอง ศาลปกครองยังยืนยันเสมอมาว่าตนมีอำนาจในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของมาตรการเหล่านั้น เพียงแต่ว่าศาลปกครองจะลดระดับความเข้มข้นในการควบคุมลงมา และจะเพิกถอนเฉพาะมาตรการที่เกินสมควรแก่เหตุอย่างร้ายแรงเท่านั้น
สาม การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
รัฐบัญญัติลงวันที่ ๓ เม.ย. ๑๙๕๕ กำหนดว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีภยันตรายอย่างใกล้ชิดซึ่งกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือกรณีภัยพิบัติจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ โดยต้องประกาศในรูปพระราชกฤษฎีกาในคณะรัฐมนตรี หากระยะเวลาของสถานการณ์ฉุกเฉินเกิน ๑๒ วัน ต้องนำประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นกลับมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว อำนาจต่างๆโอนมาอยู่ที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจในการออกมาตรการที่อาจไปกระทบสิทธิและเสรีภาพได้มากขึ้น และอาจยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายได้
เช่นเดียวกัน มาตรการต่างๆในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ภายใต้การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของศาลปกครอง โดยศาลปกครองเฉพาะมาตรการที่เกินสมควรแก่เหตุอย่างร้ายแรงเท่านั้น
สี่ ทฤษฎีว่าด้วยสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่ง
ทฤษฎีนี้พัฒนามาโดยแนวคำพิพากษาของศาลปกครองตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ศาลปกครองบอกว่ากรณีใดจะถือเป็นสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่งก็ต่อเมื่อ
๑.) เป็นสถานการณ์ที่ยกเว้นเป็นอย่างยิ่งจริงๆ เช่น ภาวะสงคราม ภัยธรรมชาติ โรคระบาด การนัดหยุดงานในอาณาบริเวณกว้างและเป็นเวลานานจนทำให้การบริการสาธารณะสะดุดลง เป็นต้น
๒.) สถานการณ์เช่นว่านั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ฝ่ายปกครองไม่อาจปฏิบัติตามหลักความชอบด้วยกฎหมายได้ดังเช่นสถานการณ์ปกติ
๓.) ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้มาตรการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในสถานการณ์ยกเว้นดังกล่าวนั้น ต้องคุ้มค่าเพียงพอ เช่น ทำไปเพื่อความมั่นคงของชาติหรือเพื่อความต่อเนื่องของบริการสาธารณะ
ผลของสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่ง คือ หลักความชอบด้วยกฎหมายไม่นำมาใช้ในบางกรณี เช่น เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งไปโดยไม่เรียกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงก่อนตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ในสถานการณ์ปกติ คำสั่งนี้ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่ง ศาลปกครองอาจบอกว่าเป็นกรณีสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่ง การออกคำสั่งดังกล่าวย่อมไม่อาจปฏิบัติตามกฎหมายได้ดังสถานการณ์ปกติ จึงไม่เพิกถอนคำสั่งนั้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่อาจออกมาตรการบางประการที่เป็นการกระทบสิทธิและเสรีภาพได้มากกว่าปกติอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม มาตรการต่างๆย่อมใช้เพื่อความจำเป็น และใช้ได้เฉพาะในช่วงเวลาที่สถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่งยังคงดำรงอยู่ หากสถานการณ์คลี่คลายหรือหายเป็นปกติแล้ว เจ้าหน้าที่ต้องกลับไปยึดหลักความชอบด้วยกฎหมายดังเดิม
ศาลปกครองเข้ามามีบทบาทควบคุมในส่วนที่ว่ามีสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่งจริงหรือไม่ หากมีอยู่จริงการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่เป็นข้อพิพาทในคดีนั้นก็อาจไม่ตกอยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมาย
จะเห็นได้ว่า ระบบกฎหมายฝรั่งเศสสร้างเครื่องมือทางกฎหมายให้หลากหลายไปตามแต่ละสถานการณ์ ในแต่ละเครื่องมือนั้นก็มีความเข้มข้นต่างกันไป กล่าวคือ
กรณีการใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดีตามมาตรา ๑๖ ต้องเป็นกรณีวิกฤตร้ายแรงระดับชาติ อำนาจโอนมาที่ประธานาธิบดีคนเดียว ศาลปกครองควบคุมได้เฉพาะมาตรการต่างๆที่ทำไประหว่างนั้น แต่ไม่มีอำนาจควบคุมการตัดสินใจประกาศใช้มาตรา ๑๖
กรณีการประกาศกฎอัยการศึก ต้องเป็นเรื่องสงคราม ทหารมีอำนาจ ศาลปกครองคุมได้แต่ตัวมาตรการต่างๆที่ใช้ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก
กรณีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเรื่องทั่วๆไป พลเรือนมีอำนาจ ศาลปกครองคุมได้แต่ตัวมาตรการต่างๆที่ใช้ในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
และเข้มข้นน้อยที่สุด คือ ทฤษฎีว่าด้วยสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่ต้องมีการประกาศใช้ล่วงหน้า เพียงแต่ศาลจะหยิบยกทฤษฎีนี้มาประกอบการพิจารณาก็ต่อเมื่อมีคดีมาสู่ศาล และเจ้าหน้าที่ยกทฤษฎีนี้ขึ้นอ้างเพื่องดเว้นการใช้หลักความชอบด้วยกฎหมายในบางกรณี อีกนัยหนึ่ง คือ ทฤษฎีนี้พัฒนามาเพื่อเป็นข้อยกเว้นของหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง
กล่าวโดยสรุป ระบบกฎหมายฝรั่งเศสยอมรับว่าในบางสถานการณ์เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องมีเครื่องมือเพิ่มเป็นกรณีพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหา และเครื่องมือเช่นว่านั้นย่อมกระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้มากขึ้นกว่ากรณีปกติ อีกนัยหนึ่ง คือ ในสถานการณ์พิเศษนั้น ดุลยภาพระหว่างการใช้อำนาจกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพย่อมแตกต่างจากสถานการณ์ปกติ โดยระดับความเข้มข้นของ “หลักความชอบด้วยกฎหมาย” และ “การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ” ย่อมลดลงจากเดิม
เรียกได้ว่า ไอ้แบบเดิมที่ต้องขาวหมดจด กฎหมายก็ยอมหรี่ตาลงให้เหลือพอเป็นสีเทาๆได้บ้าง แต่ให้ถึงขั้นเป็นสีดำเลย คงไม่ได้
เอาเข้าจริง การใช้อำนาจเพื่อแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ไม่ปกติก็เป็นไปเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนและความมั่นคงของประเทศ ซึ่งอีกด้านหนึ่งก็ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม การยกเว้นหรือลดระดับความเข้มข้นของ “หลักความชอบด้วยกฎหมาย” ดังกล่าว ก็ไม่ได้หมายความว่า มาตรการต่างๆที่เจ้าหน้าที่กระทำลงไปจะหลุดพ้นจากการควบคุมโดยองค์กรตุลาการ ระบบกฎหมายฝรั่งเศสยอมรับแต่เพียงการลดหรือละเว้นกระบวนการควบคุม ก่อน การใช้อำนาจ แต่ไม่ยอมรับเป็นอันขาดหากจะละเว้นการควบคุม หลัง การใช้อำนาจ
หลักนิติรัฐเรียกร้องว่า เจ้าหน้าที่กระทำการบางอย่างบางประการต้องมีกฎหมายให้อำนาจและเมื่อทำไปแล้วต้องชอบด้วยกฎหมาย ข้อความที่ว่ามานี้จะกลายเป็นหมัน หากไม่มีองค์กรตุลาการควบคุมว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหรือไม่ ดังนั้น หลักนิติรัฐจึงเรียกร้องต่อไปอีกว่า ความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของเจ้าหน้าที่นั้นต้องถูกควบคุมโดยองค์กรตุลาการ หากรัฐใดปราศจากการควบคุมโดยองค์กรตุลาการแล้วไซร้ อย่าหมายเรียกรัฐนั้นว่าเป็นนิติรัฐ
เมื่อเปรียบเทียบระบบกฎหมายฝรั่งเศสแล้ว แฟนานุแฟนพึงไตร่ตรองดูเถิดว่าที่นายกฯบอกว่ากฎหมายทำนองนี้มีในทุกประเทศที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตย จริงหรือ?
ผมตอบได้ว่า...
จริง
แต่ ... จริงเพียงครึ่งเดียว
...............
ตอนหน้า ผมจะมาพิจารณาถึงเนื้อหาบางประเด็นใน พ.ร.ก. ที่ล่อแหลมและหมิ่นเหม่ต่อหลักนิติรัฐและความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
เพื่อไม่ให้เป็นการตกรถไฟเหมือนเมื่อคราวที่แล้วที่ผมมัวแต่หลงแสง สี เสียงของมหานครแห่งความสุข จนปล่อยให้ ratio scripta, ปิ่น ปรเมศวร์, ปริเยศ, บุญชิต, พล ยูเอส และคนอื่นๆถกเถียงกันอย่างเมามันส์ถึงขนาดที่บล็อกบางบล็อกท่วมท้นไปด้วยความเห็นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
งานนี้ผมจึงต้องขอกลับมาเคาะแป้นพิมพ์ร่วมแจมกะเขาบ้าง
เหตุผลสำคัญอีกข้อหนึ่งที่ผมตัดสินใจลุกมาเขียนเรื่อง พ.ร.ก. คือ สุนทรพจน์ของนายกฯที่กล่าวในงานวันครบรอบ ๖๐ ปีวันสันติภาพ ณ มธ. ว่าอีก ๖๐ ปีข้างหน้าจะมีคนมาจัดงานยกย่องตนว่าเป็นผู้รักษาสันติภาพบ้างดังเช่นปรีดีและเสรีไทย ฟังแล้วก็น่าคลื่นเหียนอาเจียนและจะยิ่งอยากสำรอกออกมาดังๆ เมื่อย้อนไปมองดู พ.ร.ก. ฉบับนี้
อาจกล่าวได้ว่า กลับมาคราวนี้ทั้งที ผมขอเล่นของหนัก ๔๕ ดีกรีไปเลย
...............
-๑-
ภาพรวมและสาระสำคัญของ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
นายกรัฐมนตรี และเนติบริกร ๑ และ ๒ ออกแถลงข่าวต่างกรรมต่างวาระกันหลายครั้ง พอสรุปได้ว่ารัฐบาลจำเป็นต้องออก พ.ร.ก. ฉบับนี้ เพราะ
หนึ่ง กฎหมายที่มีอยู่เดิมซึ่งเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาภาคใต้รวม ๗ ฉบับนั้น ไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ๗ ฉบับที่ว่าก็ได้แก่ รัฐธรรมนูญ, กฎอัยการศึก, ประมวลกฎหมายอาญา, ประมวลกฎหมาย วิ.อาญา, พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ, พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พ.ร.บ.สถานการณ์ฉุกเฉิน ๒๔๙๕
สอง รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าเป็นหมวดหมู่ และยกเลิกพ.ร.บ.สถานการณ์ฉุกเฉิน ๒๔๙๕
สาม โอนอำนาจรวมศูนย์ที่นายกรัฐมนตรีเพื่อความคล่องตัวและง่ายต่อการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน
สี่ เหตุการณ์ระเบิดที่ยะลาเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายในรูป พ.ร.ก. แทนที่จะออกในรูป พ.ร.บ.
พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมีสาระสำคัญ ดังนี้
หนึ่ง ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างไรเรียกว่า “สถานการณ์ฉุกเฉิน” มีนิยามอยู่ในมาตรา ๔ สถานการณ์ฉุกเฉินกินเวลาได้ไม่เกิน ๓ เดือน หากไม่พอต่อได้อีกเป็นคราวๆ คราวละไม่เกิน ๓ เดือน
สอง เมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว อำนาจต่างๆโอนมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี และยังมีอำนาจเพิ่มอีกตามมาตรา ๙ โดยมีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินมีหน้าที่ให้คำแนะนำ
สาม ในกรณีที่ร้ายแรง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างร้ายแรงได้ ผลก็คือ นอกจากอำนาจอื่นๆรวมศูนย์ที่ตัวนายกฯ และมีอำนาจเพิ่มตามมาตรา ๙ แล้ว มาตรา ๑๑ ยังเพิ่มอำนาจพิเศษให้อีก
สี่ มาตรการ กฎ ระเบียบ คำสั่งที่เกิดจาก พ.ร.ก. นี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายศาลปกครอง
ห้า พ.ร.ก. ยกเว้นความรับผิดให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งทางแพ่ง อาญา และวินัย หากเจ้าหน้าที่ทำไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ
ว่าสั้นๆ พ.ร.ก. นี้ไม่มีอะไรมากไปกว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อประกาศแล้วอำนาจไปรวมอยู่ที่นายกฯและมีอำนาจเพิ่มตามมาตรา ๙ ในกรณีฉุกเฉินร้ายแรงก็มีอำนาจเพิ่มอีกตามมาตรา ๑๑
หมายเหตุ อย่าพึ่งทำหน้างงกับการอ้างเลขมาตราใน พ.ร.ก.นี้ เรื่องของเรื่อง ผมเกรงว่าบล็อกของผมจะยาวจนเกินไป ผมจึงอ้างแต่เลขมาตรา ส่วนเนื้อความ หากท่านอยากรู้ กรุณาคลิก http://www.lawreform.go.th/
.................
-๒-
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในระบบกฎหมายฝรั่งเศส
ทำไมต้องยกกฎหมายฝรั่งเศสขึ้นมาว่ากันอีกแล้ว แน่ละ... เราไม่ใช่เมืองขึ้นฝรั่งเศส และผมก็ไม่ใช้พวกขี้ข้าฝรั่งเศสที่เห็นเขามีอะไรแล้วเราต้องเอาตามหมด แบบประเภททำงานวิจัยที่ว่า ของไทยไม่มี แต่ฝรั่งเศสมี ไทยมันห่วย ดังนั้นเอาตามฝรั่งเศสดีกว่า
คนไทยยังชอบกินวิสกี้ ผสมโซดา น้ำแข็งฉันใด คนฝรั่งเศสก็ยังชอบจิบไวน์ฉันนั้น
เหตุผลที่ผมจำต้องนั่งค้นคว้ากฎหมายฝรั่งเศสเป็นเวลาหลายวัน เพราะคุณทักษิณออกทีวีกับคุณอานันท์ แล้วพูดว่า กฎหมายลักษณะนี้ประเทศที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตยก็มีกันทั้งนั้น แถมยังออกวิทยุเช้าวันเสาร์อ้างเอาสัญญาประชาคมของรุสโซมาสร้างความชอบธรรมให้กับ พ.ร.ก. นี้อีก
ผมเลยอดรนทนไม่ได้ คันไม้คันมือ ไปค้นกฎหมายฝรั่งเศสที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ถามว่า ทำไมต้องฝรั่งเศส ง่ายนิดเดียวครับ ผมเรียนอยู่ที่ฝรั่งเศส มันก็ง่ายต่อการเข้าถึงและเข้าใจข้อมูล แค่นั้นเอง
จากการค้นคว้า ผมพบว่าฝรั่งเศสมีเครื่องมือทางกฎหมายอยู่ ๔ ชิ้น
หนึ่ง การใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดีในสถานการณ์วิกฤตของชาติ
รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๖ กำหนดให้อำนาจนี้แก่ประธานาธิบดีได้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
๑.) เกิดสถานการณ์ที่สถาบันแห่งสาธารณรัฐ เอกราชของชาติ บูรณภาพแห่งอาณาเขตของสาธารณรัฐ หรือการบังคับการตามพันธกรณีระหว่างประเทศถูกคุกคามอย่างร้ายแรงและทันทีทันใด
๒.) จนทำให้การดำเนินการตามปกติขององค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องหยุดชะงักลง
๓.) ประธานาธิบดีต้องปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ก่อน การประกาศใช้อำนาจ
๔.) ประธานาธิบดีจะต้องแถลงการณ์การใช้มาตรการดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
๕.) มาตรการดังกล่าวจะต้องดำเนินไปในระยะเวลาจำกัดที่สุดและเป็นไปเฉพาะเท่าที่มีความจำเป็นเพื่อให้การดำเนินการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็นไปตามปกติ
เมื่อประธานาธิบดีตัดสินใจประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ดังกล่าวแล้ว ผลก็คือ อำนาจทุกประการรวมศูนย์อยู่ที่ตัวประธานาธิบดี ประธานาธิบดีมีอำนาจกระทำการใดๆก็ได้เพื่อแก้วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น อีกนัยหนึ่ง คือ เป็น “เผด็จการชั่วคราว” นั่นเอง
การใช้อำนาจนี้มีการควบคุมตรวจสอบหรือไม่?
ศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักไว้ในคำพิพากษาในคดี Rubin de servens เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๑๙๖๒ รวมสองประเด็น ดังนี้
๑.) การตัดสินใจประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ของประธานาธิบดี เป็นการกระทำทางรัฐบาล ซึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรตุลาการ
๒.) มาตรการต่างๆที่ใช้ในช่วงเวลาที่ประกาศการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรตุลาการ ทั้งนี้แล้วแต่กรณี เช่น มาตรการที่มีสถานะเทียบเท่ากับคำสั่งทางปกครองหรือกฎก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาลปกครอง ในคดีนี้ มาตรการที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองเพิกถอน คือ คำสั่งของประธานาธิบดีที่ให้จัดตั้งศาลทหารพิเศษในแอลจีเรีย ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา ๓๔ กำหนดว่าการจัดตั้งศาลต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ ดังนั้น คำสั่งที่ให้จัดตั้งศาลในกรณีนี้จึงมีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ซึ่งศาลปกครองไม่มีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติ
กล่าวให้ถึงที่สุด ศาลปกครองบอกว่าการประกาศใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดี ศาลปกครองเข้าไปตรวจสอบไม่ได้ แต่มาตรการต่างๆที่ใช้ในระหว่างสถานการณ์พิเศษ ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบ หากมาตรการนั้นมีสถานะเป็นกฎหรือคำสั่งทางปกครอง
สอง การประกาศกฎอัยการศึก
เดิมฝรั่งเศสมีกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก อยู่ ๒ ฉบับ คือ รัฐบัญญัติลงวันที่ ๙ ส.ค. ๑๘๔๙ และรัฐบัญญัติลงวันที่ ๓ เม.ย. ๑๘๗๘ ต่อมารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ๑๙๕๘ ได้รับรองไว้อีกครั้งในมาตรา ๓๖ เพื่อสร้างความชอบธรรมทางรัฐธรรมนูญ
การประกาศกฎอัยการศึกทำได้เมื่อมีภยันตรายอันใกล้จะถึงอันเนื่องมาจากสงครามหรือการกบฏโดยใช้กำลังอาวุธ ทั้งนี้การประกาศกฎอัยการศึกดังกล่าวต้องทำในรูปพระราชกฤษฎีกาในคณะรัฐมนตรี หากระยะเวลาที่ใช้กฎอัยการศึกเกิน ๑๒ วัน ต้องนำกฎอัยการศึกนั้นกลับมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว อำนาจต่างๆโอนมาอยู่ที่ทหาร ข้อพิพาททางอาญาอยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร และเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการใช้มาตรการที่อาจกระทบสิทธิและเสรีภาพได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่ามาตรการต่างๆที่ใช้ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึกจะหลุดพ้นจากการควบคุมโดยศาลปกครอง ศาลปกครองยังยืนยันเสมอมาว่าตนมีอำนาจในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของมาตรการเหล่านั้น เพียงแต่ว่าศาลปกครองจะลดระดับความเข้มข้นในการควบคุมลงมา และจะเพิกถอนเฉพาะมาตรการที่เกินสมควรแก่เหตุอย่างร้ายแรงเท่านั้น
สาม การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
รัฐบัญญัติลงวันที่ ๓ เม.ย. ๑๙๕๕ กำหนดว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีภยันตรายอย่างใกล้ชิดซึ่งกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือกรณีภัยพิบัติจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ โดยต้องประกาศในรูปพระราชกฤษฎีกาในคณะรัฐมนตรี หากระยะเวลาของสถานการณ์ฉุกเฉินเกิน ๑๒ วัน ต้องนำประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นกลับมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว อำนาจต่างๆโอนมาอยู่ที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจในการออกมาตรการที่อาจไปกระทบสิทธิและเสรีภาพได้มากขึ้น และอาจยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายได้
เช่นเดียวกัน มาตรการต่างๆในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ภายใต้การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของศาลปกครอง โดยศาลปกครองเฉพาะมาตรการที่เกินสมควรแก่เหตุอย่างร้ายแรงเท่านั้น
สี่ ทฤษฎีว่าด้วยสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่ง
ทฤษฎีนี้พัฒนามาโดยแนวคำพิพากษาของศาลปกครองตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ศาลปกครองบอกว่ากรณีใดจะถือเป็นสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่งก็ต่อเมื่อ
๑.) เป็นสถานการณ์ที่ยกเว้นเป็นอย่างยิ่งจริงๆ เช่น ภาวะสงคราม ภัยธรรมชาติ โรคระบาด การนัดหยุดงานในอาณาบริเวณกว้างและเป็นเวลานานจนทำให้การบริการสาธารณะสะดุดลง เป็นต้น
๒.) สถานการณ์เช่นว่านั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ฝ่ายปกครองไม่อาจปฏิบัติตามหลักความชอบด้วยกฎหมายได้ดังเช่นสถานการณ์ปกติ
๓.) ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้มาตรการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในสถานการณ์ยกเว้นดังกล่าวนั้น ต้องคุ้มค่าเพียงพอ เช่น ทำไปเพื่อความมั่นคงของชาติหรือเพื่อความต่อเนื่องของบริการสาธารณะ
ผลของสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่ง คือ หลักความชอบด้วยกฎหมายไม่นำมาใช้ในบางกรณี เช่น เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งไปโดยไม่เรียกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงก่อนตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ในสถานการณ์ปกติ คำสั่งนี้ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่ง ศาลปกครองอาจบอกว่าเป็นกรณีสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่ง การออกคำสั่งดังกล่าวย่อมไม่อาจปฏิบัติตามกฎหมายได้ดังสถานการณ์ปกติ จึงไม่เพิกถอนคำสั่งนั้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่อาจออกมาตรการบางประการที่เป็นการกระทบสิทธิและเสรีภาพได้มากกว่าปกติอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม มาตรการต่างๆย่อมใช้เพื่อความจำเป็น และใช้ได้เฉพาะในช่วงเวลาที่สถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่งยังคงดำรงอยู่ หากสถานการณ์คลี่คลายหรือหายเป็นปกติแล้ว เจ้าหน้าที่ต้องกลับไปยึดหลักความชอบด้วยกฎหมายดังเดิม
ศาลปกครองเข้ามามีบทบาทควบคุมในส่วนที่ว่ามีสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่งจริงหรือไม่ หากมีอยู่จริงการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่เป็นข้อพิพาทในคดีนั้นก็อาจไม่ตกอยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมาย
จะเห็นได้ว่า ระบบกฎหมายฝรั่งเศสสร้างเครื่องมือทางกฎหมายให้หลากหลายไปตามแต่ละสถานการณ์ ในแต่ละเครื่องมือนั้นก็มีความเข้มข้นต่างกันไป กล่าวคือ
กรณีการใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดีตามมาตรา ๑๖ ต้องเป็นกรณีวิกฤตร้ายแรงระดับชาติ อำนาจโอนมาที่ประธานาธิบดีคนเดียว ศาลปกครองควบคุมได้เฉพาะมาตรการต่างๆที่ทำไประหว่างนั้น แต่ไม่มีอำนาจควบคุมการตัดสินใจประกาศใช้มาตรา ๑๖
กรณีการประกาศกฎอัยการศึก ต้องเป็นเรื่องสงคราม ทหารมีอำนาจ ศาลปกครองคุมได้แต่ตัวมาตรการต่างๆที่ใช้ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก
กรณีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเรื่องทั่วๆไป พลเรือนมีอำนาจ ศาลปกครองคุมได้แต่ตัวมาตรการต่างๆที่ใช้ในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
และเข้มข้นน้อยที่สุด คือ ทฤษฎีว่าด้วยสถานการณ์ยกเว้นเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่ต้องมีการประกาศใช้ล่วงหน้า เพียงแต่ศาลจะหยิบยกทฤษฎีนี้มาประกอบการพิจารณาก็ต่อเมื่อมีคดีมาสู่ศาล และเจ้าหน้าที่ยกทฤษฎีนี้ขึ้นอ้างเพื่องดเว้นการใช้หลักความชอบด้วยกฎหมายในบางกรณี อีกนัยหนึ่ง คือ ทฤษฎีนี้พัฒนามาเพื่อเป็นข้อยกเว้นของหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง
กล่าวโดยสรุป ระบบกฎหมายฝรั่งเศสยอมรับว่าในบางสถานการณ์เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องมีเครื่องมือเพิ่มเป็นกรณีพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหา และเครื่องมือเช่นว่านั้นย่อมกระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้มากขึ้นกว่ากรณีปกติ อีกนัยหนึ่ง คือ ในสถานการณ์พิเศษนั้น ดุลยภาพระหว่างการใช้อำนาจกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพย่อมแตกต่างจากสถานการณ์ปกติ โดยระดับความเข้มข้นของ “หลักความชอบด้วยกฎหมาย” และ “การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ” ย่อมลดลงจากเดิม
เรียกได้ว่า ไอ้แบบเดิมที่ต้องขาวหมดจด กฎหมายก็ยอมหรี่ตาลงให้เหลือพอเป็นสีเทาๆได้บ้าง แต่ให้ถึงขั้นเป็นสีดำเลย คงไม่ได้
เอาเข้าจริง การใช้อำนาจเพื่อแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ไม่ปกติก็เป็นไปเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนและความมั่นคงของประเทศ ซึ่งอีกด้านหนึ่งก็ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม การยกเว้นหรือลดระดับความเข้มข้นของ “หลักความชอบด้วยกฎหมาย” ดังกล่าว ก็ไม่ได้หมายความว่า มาตรการต่างๆที่เจ้าหน้าที่กระทำลงไปจะหลุดพ้นจากการควบคุมโดยองค์กรตุลาการ ระบบกฎหมายฝรั่งเศสยอมรับแต่เพียงการลดหรือละเว้นกระบวนการควบคุม ก่อน การใช้อำนาจ แต่ไม่ยอมรับเป็นอันขาดหากจะละเว้นการควบคุม หลัง การใช้อำนาจ
หลักนิติรัฐเรียกร้องว่า เจ้าหน้าที่กระทำการบางอย่างบางประการต้องมีกฎหมายให้อำนาจและเมื่อทำไปแล้วต้องชอบด้วยกฎหมาย ข้อความที่ว่ามานี้จะกลายเป็นหมัน หากไม่มีองค์กรตุลาการควบคุมว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหรือไม่ ดังนั้น หลักนิติรัฐจึงเรียกร้องต่อไปอีกว่า ความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของเจ้าหน้าที่นั้นต้องถูกควบคุมโดยองค์กรตุลาการ หากรัฐใดปราศจากการควบคุมโดยองค์กรตุลาการแล้วไซร้ อย่าหมายเรียกรัฐนั้นว่าเป็นนิติรัฐ
เมื่อเปรียบเทียบระบบกฎหมายฝรั่งเศสแล้ว แฟนานุแฟนพึงไตร่ตรองดูเถิดว่าที่นายกฯบอกว่ากฎหมายทำนองนี้มีในทุกประเทศที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตย จริงหรือ?
ผมตอบได้ว่า...
จริง
แต่ ... จริงเพียงครึ่งเดียว
...............
ตอนหน้า ผมจะมาพิจารณาถึงเนื้อหาบางประเด็นใน พ.ร.ก. ที่ล่อแหลมและหมิ่นเหม่ต่อหลักนิติรัฐและความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
25 ความคิดเห็น:
เตรียมใจรับ blog ระเบิดยังครับ
มันกลับมาแล้ววววววว
ชัดเจน ตรงประเด็น ดุเด็ดเผ็ดมัน ตามสไตล์นิติรัฐ
รออ่านเว้ย
เอ้าเขียนเร็วๆจะได้ไปกินเหล้ากัน เดี๋ยวก็กลับกรุงฝรั่งแล้วยังไงก็หาตัวไม่เจอ
รออ่านต่อค่ะ ...
สวัสดีครับ ดุดันจริงๆ ผมให้ 50 ดีกรีเลย เอ้า :)
http://bierbauch1.blogspot.com/
(Narin,German)
Waiting for your article krab!
ยุงเริ่มชุมแล้วว่ะ
ตอนสองร่างไว้แล้ว แต่รอขัดเกลาให้สวยงามอีกสักหน่อย
แต่ตอนนี้คันไม้คันมืออยากเขียนเรื่อง "พระราชอำนาจ" มาก อาจรอกลับไปฝรั่งเศสจะลงมือเขียน
วันนี้หดหู่เล็กน้อยที่ธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ที่จัดอภิปรายเรื่อง "พระราชอำนาจ" อภิปรายน่ะไม่ผิดหรอก เพราะเราเป็นสถานที่สาธารณะ แต่ตัวคนที่มาอภิปรายน่ะสิ
ประมวล
สนธิ
ผมว่ามีวาระซ่อนเร้น
ถ้าเชิญอย่าง ธานินทร์ บวรศักดิ์ ยังมีประเด็นทางวิชาการหน่อย
เฮ้อ
เอาสั้นๆละกัน
ระวังไว้หน่อยก็ดี อำนาจให้ไปมากๆเกิดไม่คืนล่ะยุ่งนะครับ
ทิ้งท้ายนิดนึง ที่ผมดีใจวันนี้คือ สุรยุทธ จุลานนท์ องคมนตรีไม่ยอมมา เพราะป๋าเปรมบอกว่ามาแล้วไม่เหมาะ
ผมว่านี่เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่ข้างบนส่งลลงมาว่า อย่านึกว่ากูไม่รู้นะเว้ย ว่าพวกมึงกำลังเอากูเป็นเครื่องมือ
สายตาเฉียบคมสมคำร่ำลือจริงๆ ครับ...
เขียนไวๆ นะป๊อก พี่รออ่านอยู่
pattaya
เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว อำนาจต่างๆ โอนมาอยู่ที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือน
==>
เมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว อำนาจต่างๆ โอนมาอยู่ที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือน
:)
ตอน 2 ร่างแล้วรึค่ะ
ตอน 1 ยังอ่านไม่จบเลย
(*@*)อ็อดๆ
อ่านจบและ
มาเลยกล้าเขียนยาวๆ ก็กล้าอ่านยาวๆ (ว่ะ)
ตอน 2 จะยาวกว่านี้ก็ได้
เก่งจิงก็ว่ามาเลย...
เขียนเรื่อง พระราชอำนาจ เถอะ
อยากอ่านๆ
ศุกร์ที่แล้วดู
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ของสนธิ
มีละครโรงใหญ่จากพระเอกสนธิ
และนางเอกสโรชา (ร้องไห้ออกทีวีด้วยอ่ะ )
เซ็งอย่างแรง
เดินทางกลับฝรั่งเศสโดยสวัสดิภาพเว้ยเพื่อน
หวังว่าเมื่อมรึงกลับสู่อาณาจักรแห่งวิชาการของมึงแล้ว มึงจะผลิตบล็อกตอนใหม่ๆมันๆ ออกมาอย่างไม่หยุดหย่อน
ทำนองการเข้าเบรคสนุ้กเกอร์ของมึง
แหม รู้สึกช่วงหลังๆนี่ แม่นขึ้นเยอะนะนิติรัฐ กินอะไรมา
แล้วจะรอคอยการกลับมาสอยคิวกับมึงอีกหน
คราวหน้ากูจะเปิดสมาชิกไว้รอมึง พร้อมกับคิวด้ามใหม่
รอสอยหมูนิติรัฐซะกะหน่อย
เดินทางโดยสวัสดิภาพนะนิติรัฐ
นี่ก็กะว่าจะทุบขวดเหล้าให้แตก แล้วพวกเรา 3 คน จะตามไปกินกันที่ฝรั่งเศสเลย 55
เดินทางโดยสวัสดิภาพค่ะ ^__^
นี่คุณนิติรัฐค่ะ
ไหนบอกว่าอยู่ฝรั่งเศสแล้วจะเขียนได้ไง ไปตั้งนานแล้วเน๊อ...
นี่ไม่ได้เปิดดูเลยใช่มั๊ยเนี่ย
รอตอน 2 อยู่นะ
เหมือนกินข้าวแล้วทิ้งช่วงไว้ มันขาดตอน เดี๋ยวมันจะอิ่มซะก่อนนะตัว
เฮ้ย หายไปไหนเนี่ย ไม่ติดต่อเลยวุ้ย ตอนนี้พี่ไม่มีเพื่อนกินเหล้าแล้ว
^
^
ว่าไปแล้วช่วงนี้อยากหาพี่แอลใส่ตัวจริง วันไหนไปนั่งดื่มบรรยากาศกันดีกว่ามะคะ
ชวนๆกันไปหลายๆคน ฮิฮิร้ว!
เอาแบบว่าให้คนไกลที่อยู่ต่างทวีปอิจฉาเล่นๆ (หรือไม่อิจฉาหว่า)
ลองติดต่อ ราติโอ้ดูดิ ให้ประชาสัมพันธ์ให้ แล้วเดี๋ยวถ่ายรูปลงในบล็อก จะได้แกล้งพวกอยู่เมืองนอกให้เหงาเล่น อิ อิ
hello
now i haven't internet but i write new blog, so i wait new internet. i think this week.
มาโฆษณาครับ
http://boonnkrieng.blogspot.com/
เป็นเวลานานที่ฉันมองหาวิธีสร้างรายได้บนอินเทอร์เน็ตและเพื่อนของฉันคนหนึ่งทุ่มเทให้กับวิธีการที่เขาใช้มาเป็นเวลานาน แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับฉันที่จะค้นหาแหล่งข้อมูลที่คุณสามารถสร้างรายได้ หากคุณเล่นในคาสิโนออนไลน์อยู่แล้วคุณควรเลือกเว็บไซต์ที่ดีที่สุด - https://sbobet-sports.com/mobile-sbobet/ แน่นอนว่าเราสามารถต่อต้านทรัพยากรนี้ได้ด้วยไซต์ที่คล้ายกันจำนวนมาก ง่ายต่อการลงทะเบียนและเกมที่หลากหลายจะไม่ปล่อยให้ผู้เล่นคนใดสนใจ บทวิจารณ์เชิงบวกจำนวนมากและลูกค้าที่พึงพอใจนับพันคือการประเมินไซต์นี้ของฉัน
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก