ตอบ Crazy cloud เรื่องไอทีวี
บล็อกตอนก่อน Crazy cloud เข้ามาแสดงความเห็นแย้ง ผมฉงนใจอยู่เหมือนกันที่ Crazy cloud โต้แย้งด้วยเหตุผลกฎหมาย เห็นเมื่อก่อนอ้างแต่คุณธรรม ความเลวชั่ว ความจำเป็น (ต้องขอมาตรา ๗) แต่ความฉงนใจเช่นว่าก็มีความดีใจอยู่ด้วย เพราะ ผมชอบบรรยากาศวิชาการแบบนี้มากกว่าโต้ด้วยการผรุสวาทกันไปมา
ผมก็เซ็งไม่น้อยกว่าคุณหรอกตอนชินคอร์ปมาซื้อไอทีวี จากที่เคยดูๆมาก็เลิกดูไปเลย แต่ที่คุยกันตรงนี้ ณ วันนี้ เป็นประเด็นกฎหมาย ซึ่งการใช้กฎหมาย ให้เหตุผลทางกฎหมายต้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย ไม่ใช่เพราะเป็นอะไรก็ตามที่ทักษิณๆ ก็ผิดหมด เลวหมด
ผมยอมรับนับถือว่า Crazy cloud เป็นคนกล้า กล้าออกมาสู้กับทักษิณอย่างเปิดเผย (แม้ผมไม่เห็นด้วยในหลายเรื่องกับ Crazy cloud ก็ตาม) แต่ความกล้านั้น ไม่ใช่เพียงแค่กล้ามาด่า ออกมาบอกว่ามันเลว มันชั่ว มันผิด หากเรื่องใดที่ไม่ผิดจริงๆ ก็ต้องกล้าบอกว่าไม่ผิดด้วย ไม่ใช่ใช้กฎหมายหรือให้ความเห็นทางกฎหมายแบบดูหน้าคน
แบบนี้ไม่ต่างอะไรกับคณะรัฐประหารที่เรื่องหนึ่งกูไม่อ้างกฎหมายแต่อ้างคุณธรรม สมานฉันท์ ความจำเป็นต่างๆนานา (เช่น ตอนทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ การจำกัดสิทธิเสรีภาพ การเขียนรัฐธรรมนูญรับรองความชอบด้วยกฎหมายให้ คปค การใช้กฎหมายย้อนหลังเล่นงานนักการเมือง การตั้งบอร์ดที่มีแต่พวกตนเอง การตั้งกรรมการตรวจสอบที่มีสภาวะไม่เป็นกลาง ฯลฯ กรณีเหล่านี้ไม่เห็นต่อมความรู้สึกเรื่องรักกฎหมายทำงานเลย) แต่พออีกเรื่อง กูอ้างกฎหมายได้ คราวนี้กูรักกฎหมายสุดใจขาดดิ้น
ผู้มีใจเป็นธรรม และเคยอ่านงานของผมมาก่อนอยู่บ้าง คงตัดสินได้ว่าก่อนหน้านั้น ก่อนมีขบวนการพันธมิตรฯ ผมวิจารณ์ทักษิณอยู่บ่อยครั้ง ไม่ใช่ว่าผมไม่เคยแตะต้องทักษิณเลย แม้จนถึงวันนี้สิ่งที่ทักษิณทำไปในหลายๆเรื่องผมก็ยังยืนยันว่าไม่เห็นด้วย (เช่น ฆ่าตัดตอน) และหมิ่นเหม่ต่อความถูกต้อง ความเหมาะสมอยู่ (เช่น ภาษีกรณีขายชินคอร์ป) แต่ผมเห็นว่าต้องจัดการตามกระบวนการ ไม่ใช่ใช้ปืนแบบนี้
ดังนั้น หากจะโต้ว่า ผมรู้ความระยำของทักษิณหรือไม่ รู้ความระยำของทุนแบบทักษิณหรือไม่? ผมตอบว่ารู้และก็วิจารณ์มาตลอด และถ้าผมขอถามกลับไปบ้างว่า คุณรู้ความระยำของรัฐประหารหรือไม่ ตั้งแต่รัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ การจำกัดสิทธิเสรีภาพ การเขียนรัฐธรรมนูญรับรองความชอบด้วยกฎหมายให้ คปค การใช้กฎหมายย้อนหลังเล่นงานนักการเมือง การตั้งบอร์ดที่มีแต่พวกตนเอง การตั้งกรรมการตรวจสอบที่มีสภาวะไม่เป็นกลาง ฯลฯ กรณีทั้งหลายเหล่านี้มันถูกต้องตามระบบกฎหมายหรือไม่ แล้วคุณเคยออกมาวิจารณ์บ้างหรือไม่
ขอตอบ Crazy cloud ไล่เรียง ดังนี้
๑. หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง ไม่จริงเสมอไปที่สิ่งใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องถูกยกเลิกเพิกถอน ไม่ใช่ว่าอะไรไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถูกยกเลิกเพิกถอนทุกกรณี การเพิกถอนในชั้นฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่มีดุลพินิจโดยพิจารณาตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี เช่น หากเพิกถอนแล้วส่งผลร้ายแรงตามมาจนยากเกินเยียวยา หรือกระทบต่อหลักความมั่นคงแห่งนิติฐานะและความสุจริตของคู่กรณีและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ส่วนการเพิกถอนในชั้นศาล แม้การกระทำทางปกครองจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็อาจไม่เพิกถอนก็ได้ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า “การย้ายฐานทางกฎหมาย” หมายความว่า การกระทำทางปกครองไม่ชอบเพราะมาจากฐานทางกฎหมายที่ไม่ชอบ ปรากฏว่าศาลเห็นว่ามีฐานทางกฎหมายอื่นที่ชอบด้วยกฎหมายมาทดแทนได้ ก็อาจย้ายฐานทางกฎหมายใหม่ให้แก่การกระทำทางปกครองแทนที่จะเพิกถอนการกระทำทางปกครองนั้น นอกจากนี้ศาลยังอาจเพิกถอนโดยกำหนดให้มีผลไปข้างหน้าก็ได้ ตาม มาตรา ๗๒ พรบ ศาลปกครอง
ที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้น เพื่อแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็อาจอยู่ในระบบกฎหมายได้ ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
๒. ต้องไม่ลืมว่าภารกิจของ กม ปกครอง ไม่ใช่มีแต่การคุ้มครองประโยชน์ของรัฐหรือบริการสาธารณะเท่านั้น แต่ยังต้องคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และประโยชน์ของเอกชนด้วย อีกนัยหนึ่ง คือ ต้องหาดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของรัฐกับสิทธิของประชาชนให้ได้ การใช้และตีความกฎหมายปกครองที่มุ่งเน้นไปแต่ประโยชน์สาธารณะแต่เพียงถ่ายเดียว ย่อมไม่ถูกต้องตามนิติวิธีของกฎหมายปกครอง
กรณีไอทีวี ในส่วนของประโยชน์สาธารณะ คือ หนึ่ง เรื่องเนื้อหาสาระของรายการในไอทีวี เมื่อยืนยันกันแล้วว่า ต้องมีสาระร้อยละ ๗๐ ไอทีวียอมปรับก็ถือว่าประโยชน์สาธารณะในส่วนนี้บรรลุ สอง เรื่องค่าสัมปทานที่ก่อนนั้นขอลดไป ตอนนี้บอกว่าไม่ให้ลด ไอทีวียอมจ่ายย้อนหลัง ก็ถือว่าประโยชน์สาธารณะในส่วนนี้ (เม็ดเงินที่เข้าสู่รัฐ) บรรลุไปแล้ว ส่วนค่าปรับ (ขอย้ำอีกครั้งว่าศาลปกครองไม่เคยพูดเรื่องค่าปรับเลย ให้คู่สัญญาไปว่ากันตามสัญาเอง) หากมายืนยันประโยชน์สาธารณะอีกเพื่อเรียกค่าปรับมโหฬาร เอกชนก็เสียเปรียมหาศาล ไม่ได้คุ้มครองสิทธิของเอกชนเลย แล้วทั้งไอทีวีและ สปน เองก็ไม่เคยคิดมาก่อนด้วยว่า ที่ตกลงเรื่องผังแะลลดสัมปทานตอนนั้น จะกลายเป็นผิดสัญญาตอนนี้ เมื่อสุจริตทั้งคู่ ก็ต้องคุ้มครองผู้สุจริตด้วย
๓. ใน กม ปกครอง ไม่ได้มีเฉพาะหลักความชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังมีหลักการคุ้มครองความมั่นคงแห่งนิติฐานะซึ่งสำคัญไม่แพ้กันอีกด้วย หลักนี้เรียกร้องว่า เอกชนที่อยู่ใต้อำนาจรัฐต้องได้รับหลักประกันจากรัฐในความมั่นคงของการกระทำต่างๆของรัฐ รัฐต้องประกันความมั่นคงของสถานะทางกฎหมายแก่ประชาชนในระดับหนึ่ง รัฐต้องคุ้มครองความเชื่อถือไว้วางใจของคนทั่วไปที่มีต่อกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ เช่น วันนี้สภาออก ก.ม. มาฉบับหนึ่งบอกว่า เปิดสถานบันเทิงได้ถึงตี 2 ชูวิทย์รีบเปิดทันที 10 แห่งทั่วกทม. 3 เดือนต่อมายกเลิกก.ม.นี้ บอกห้ามเปิดแล้ว ชูวิทก็เสียหาย เพราะเขาไว้เนื่อเชื่อใจว่าในเวลานั้นสถานะทางก.ม.ของเขาเป็นยังไง
ในกรณีของกฎหมายปกครอง เช่น คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่ง ถ้าเรายึดหลัก “ความชอบด้วยกฎหมาย” เป็นสำคัญ เราก็ต้องบอกว่า ในเมื่อมันไม่ชอบด้วยกฎหมายมันก็ต้องไม่ดำรงอยู่ในระบบกฎหมาย ต้องเพิกถอนไปให้พ้นๆซะ แต่เราต้องไม่ลืมคิดถึงตัวผู้รับคำสั่งอีกด้านหนึ่ง ในเมื่อตอนออกคำสั่งมาเขาได้ประโยชน์จากคำสั่งนี้ เขาเชื่อโดยสุจริตใจว่าคำสั่งนี้ชอบด้วยกฎหมาย ก็รับเอาประโยชน์จากคำสั่งไปเต็มที่ วันดีคืนดีมาเพิกถอนคำสั่งนี้ไป ประโยชน์ที่เขาได้รับมาก็หายไปหมด เราก็ต้องลากเอาหลัก “ความมั่นคงแห่งนิติฐานะ” เข้ามาช่วยคุ้มครองความเชื่อถือไว้วางใจที่ผู้รับคำสั่งมีต่อตัวคำสั่งนั้น จะเห็นได้ว่า มาตรา 51 และ 52 ของ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 เขียนไว้ชัดว่า ฝ่ายปกครองมีดุลพินิจจะเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นได้ (หลักความชอบด้วยกฎหมาย) แต่เมื่อเพิกถอนแล้วต้องเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่ได้ประโยชน์จากคำสั่งนั้นด้วย (ความมั่นคงแห่งนิติฐานะ)
อีกตัวอย่าง การยกเลิกคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายที่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่ง กรณีนี้ถ้าเรายึด หลัก “ความชอบด้วยกฎหมาย” เราก็ต้องคงคำสั่งนั้นไว้ ในเมื่อมันชอบด้วยกฎหมายแล้วจะไปเลิกทำไมล่ะ ถ้ามามองในมุมของ “ความมั่นคงแห่งนิติฐานะ” เราก็จะคงคำสั่งนั้นไว้เช่นกัน ในเมื่อชอบด้วยกฎหมายแถมยังให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งก็ไม่เห็นจำเป็นต้องไปยกเลิก แต่บางทีอาจมีกรณีที่ “ประโยชน์สาธารณะ” เรียกร้องให้จำเป็นต้องยกเลิกคำสั่งนั้นเสีย มาตรา 53 วรรค 2 และ 3 ก็กำหนดไว้ว่ากรณีนี้ฝ่ายปกครองอาจยกเลิกคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายและให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งได้ถ้าหากว่าการคงอยู่ของคำสั่งนั้นจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะอย่างร้ายแรง เมื่อยกเลิกไปแล้วก็ต้องเยียวยาความเสียหายที่เกิดแก่ผู้รับคำสั่งด้วย
๔. ดังนั้น เราไม่อาจพิจารณากรณีไอทีวีด้วยหลักความชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่คำนึงหลักความมั่นคงแห่งนิติฐานะ และหลักคุ้มครองความเชื่อถือไว้วางใจของผู้สุจริต เช่นกัน เราไม่อาจพิจารณากรณีไอทีวีด้วยประโยชน์สาธารณะ ประโยชน์ของรัฐเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ประโยชน์ของประชาชนประกอบกันด้วย
๕. ไอทีวี ผิดสัญญาหรือไม่? ต้องเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า ศาลปกครองไม่ได้บอกเลยว่าไอทีวีผิดสัญญา ศาลพิพากษาแค่ว่าคำวินิจฉัยของอนุญาโตฯไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ในความเห็นผม ไอทีวีไม่ผิดสัญญา เพราะ ดำเนินตามที่อนุญาโตฯชี้ขาด ไอทีวี และ สปน ก็ตกลงกันแล้วว่าจะใช้อนุญาโตฯ อนุญาโตฯชี้แล้วจะปฏิบัติตาม ณ วันที่ไอทีวีและ สปน ตกลงกันเรื่องผัง และลดค่าสัมปทาน ทั้งคู่ไม่รู้มาก่อนเลยว่า ในท้ายที่สุด ศาลจะตัดสินให้คำวินิจฉัยอนุญาโตฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อศาลตัดสินให้คำวินิจฉัยอนุญาโตฯไม่ชอบ ทั้งคู่ก็กลับไปปฏิบัติตามสัญญาเดิม ผังแบบ ๗๐ ต่อ ๓๐ เหมือนเดิม ค่าสัมปทานเท่าเดิม ที่ค้างจ่าย เพราะ คิดว่าได้ส่วนลด ก็เอามาจ่ายเสียใหม่
ส่วนกรณีสัญญาทางปกครองควรมีอนุญาโตฯหรือไม่นั้น ยังเถียงกันได้ นักกฎหมายมหาชนส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนให้มี แต่กฎหมายอนุญาโตฯปัจจุบันให้มีได้ และสัญญาไอทีวีนี้ก็เกิดขึ้นก่อนตั้งนานแล้ว ก่อนมีศาลปกครอง เมื่อคู่สัญญาตกลงกันให้มีอนุญาโตฯ ก็ต้องเคารพเจตนารมณ์ของคู่สัญญา
เมื่อคู่สัญญาปฏิบัติตามที่อนุญาโตฯชี้ขาด แล้วจะเรียกผิดสัญญาได้อย่างไร?
ส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยให้มีอนุญาโตฯในสัญญาทางปกครองเหมือนกัน เพราะทำให้วุ่นวายตามมาแบบกรณีนี้เป็นต้น แต่ถ้าอยากแก้ไข ก็เสนอร่าง พรบ แก้ออกมา คณะรัฐประหารอำนาจเต็มมือขนาดนี้ กล้าทำหรือเปล่า ผมก็อยากดูเหมือนกันคณะรัฐประหารพอเพียง รังเกียจทุน จะกล้าทำหรือเปล่า รบกวนคุณ Crazy cloud ผู้มีโอกาสเข้าไปช่วยงานคณะรัฐประหาร ช่วยผลักดันให้ด้วย
ส่วนกรณีนี้ มันเกิดมาแล้ว ต้องคุ้มครองคนสุจริต คุณจะให้ปรับผังใหม่ บอกของเก่าผิด คุณจะให้จ่ายค่าสัมปทานย้อนหลัง เขาก็ยอมจ่ายให้แล้ว แต่จะมาเอาค่าปรับแบบมโหฬารได้ไง ในเมื่อวันนั้นทั้ง สปน และไอทีวี ไม่ได้คิดเลยว่าผิดสัญญา
๕. เมื่อไอทีวีไม่ได้ผิดสัญญา แล้วรัฐจะยกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวโดยไอทีวีไม่ยินยอมได้หรือไม่ สัญญาทางปกครองยอมให้ทำได้ เพราะ รัฐมีเอกสิทธิ์เหนือคู่สัญญาบางประการ เช่น การยกเลิกสัญญาฝ่ายเดียว การแก้ไขสัญญาฝ่ายเดียว โดยต้องอ้างเหตุผลเพื่อประโยชน์สาธารณะ เมื่อยกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวแล้ว ก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้คู่สัญญา
กรณีไอทีวี สปน ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกสัญญาฝ่ายเดียว แต่อ้างว่าไอทีวีผิดสัญญา (ซึ่งศาลปกครองก็ไม่ได้บอกว่าไอทีวีผิดสัญญาเลย บอกแค่ว่าคำวินิจฉัยของอนุญาโตฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย) เมื่อไอทีวีคู่สัญญาสู้ว่าตนไม่ผิดสัญญา แสดงว่าประเด็นผิดสัญญาหรือไม่ ยังไม่ยุติ ดังนั้นจะใช้เหตุนี้มายกเลิกสัญญาไม่ได้
๖. อย่างไรก็ตาม สปน อาจอ้างว่าไอทีวีจะผิดสัญญาในส่วนเนื้อหาหรือไม่ ไม่รู้ แต่ผิดสัญญาที่เรื่องค่าปรับ ประเด็นนี้ก็ยังไม่ยุติว่าไอทีวีต้องจ่ายค่าปรับเป็นแสนล้านตามที่ สปน เรียกหรือไม่ เพราะ ศาลปกครองเองก็ไม่ได้พูดถึงเลยว่าไอทีวีต้องจ่ายค่าปรับ แต่ให้คู่สัญญาดำเนินกันไปตามสัญญาเอง ซึ่ง สปน บ้าจี้เรียกค่าปรับแสนล้าน
๗. การคำนวณค่าปรับของ สปน ผมเห็นว่าน่าเกลียดไปหน่อย ประเด็นแรก ไอทีวีผิดสัญญาจริงหรือไม่ ยังเถียงกันได้อีก ถ้าไม่ผิด ก็ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ ประเด็นสอง สมมติว่าไอทีวีผิดสัญญา ต้องจ่ายค่าปรับ การคำนวณค่าปรับก็ต้องนับจากวันที่ศาลพิพากษา
ไม่ใช่ย้อนหลังไป เพราะ ระหว่างที่ยังไม่มีคดีมาถึงศาล คู่สัญญาจะไปรู้ได้อย่างไรว่าผิดสัญญา ก็ในเมื่อทั้งคู่ยินยอมให้ตั้งอนุญาโตฯและยอมผูกมัดตามที่อนุญาโตฯชี้ นี่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังอย่างหนึ่งซึ่งเป็นของถนัดของคณะรัฐประหารชุดนี้ในการปราบปรามศัตรู
๘. ผมไม่เคยบอกว่าไอทีวีวิเศษ ทำดีทำชอบมาตลอด ประเด็นผมอยู่ที่คดีนี้เท่านั้น ที่ต้องให้ความเป็นธรรมแก่เอกชนคู่สัญญาด้วย ไม่งั้นระบบพังหมด ความระยำของไอทีวีก็ต้องไปว่ากันอีกเรื่อง จะดำเนินการอย่างไรตามกระบวนการก็ว่าไป ไม่ใช่ช่องเปิด กูจะทุบมันให้ตายแบบนี้ ดังนั้นที่โต้แย้งมาว่าไอทีวีผิด กฎหมายต่างด้าว อะไรต่อมิอะไรนั้น ก็ไปทำมาอีกเรื่อง ไม่ใช่ใช้กรณีสัญญาไอทีวีกับ สปน จัดการ
๙. จริงๆแล้ว ถ้ารัฐบาลเห็นว่าไอทีวีนี่มันเละเทะไปหมด ไม่สนองตอบภารกิจที่ตั้งมาแต่แรก ไม่บรรลุบริการสาธารณะ รัฐบาลก็ใช้เอกสิทธิ์ที่ตนมีเหนือกว่าคู่สัญญา บอกเลิกสัญญาได้เลย แต่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ไอทีวีด้วย เพราะ สัญญาทางปกครองของไทย ถือหลักว่า คู่สัญญาฝ่ายรัฐมีเอกสิทธิ์บางประการ เช่น การบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวโดยอ้างเหตุผลบริการสาธารณะ การแก้ไขสัญญาฝ่ายเดียว เป็นต้น เมื่อบอกเลิกแล้ว ก็เปิดประมูลกันใหม่เสีย แต่ผมเชื่อว่ารัฐไม่กล้าใช้เอกสิทธิ์บอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียว (อาจเกรงว่านักลงทุนจะกระเจิง ไม่ก็ไม่อยากจ่ายค่าเสียหายให้)
๑๐. อันนี้ฝากความหวังไว้กับ Crazy cloud ถ้า Crazy cloud ประกาศตนว่าอยู่ข้างคนจน ผมก็ยินดีและสนับสนุน แต่ผมขอให้ Crazy cloud ดำเนินกลยุทธแบบเพิ่มอำนาจให้ประชานบ้าง ไม่ใช่ลงแรงไปแทบตาย สุดท้ายไปเพิ่มอำนาจให้ทหาร ขุนนาง ขุนศึก
ผมตอบกันด้วยเหตุด้วยผลแบบนี้ ขอความกรุณาโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์ด้วยเหตุผลกันต่อ จะได้เกิดปัญญาตามมา หวังว่าคงไม่โกรธและผรุสวาทแบบที่เคย และหวังอีกว่าจะมาตอบประเด็นกฎหมาย ไม่ใช่มาสูตรเดิม คือ อ้างว่าคนมันชั่วจำเป็นต้องจัดการ
แต่ถ้าคำตอบครั้งนี้ของผม จะทำให้ Crazy cloud โกรธ ก็ขออภัย และผมก็ทำใจไว้แล้ว ถ้าหากบล็อกตอนนี้จะลุกเป็นไฟ และบานปลาย จนทำให้เกิดการฟาดงวงฟาดงาแบบที่เคยเป็นมา
ขอบคุณที่ร่วมสร้างสรรค์บรรยากาศวิชาการ
ผมก็เซ็งไม่น้อยกว่าคุณหรอกตอนชินคอร์ปมาซื้อไอทีวี จากที่เคยดูๆมาก็เลิกดูไปเลย แต่ที่คุยกันตรงนี้ ณ วันนี้ เป็นประเด็นกฎหมาย ซึ่งการใช้กฎหมาย ให้เหตุผลทางกฎหมายต้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย ไม่ใช่เพราะเป็นอะไรก็ตามที่ทักษิณๆ ก็ผิดหมด เลวหมด
ผมยอมรับนับถือว่า Crazy cloud เป็นคนกล้า กล้าออกมาสู้กับทักษิณอย่างเปิดเผย (แม้ผมไม่เห็นด้วยในหลายเรื่องกับ Crazy cloud ก็ตาม) แต่ความกล้านั้น ไม่ใช่เพียงแค่กล้ามาด่า ออกมาบอกว่ามันเลว มันชั่ว มันผิด หากเรื่องใดที่ไม่ผิดจริงๆ ก็ต้องกล้าบอกว่าไม่ผิดด้วย ไม่ใช่ใช้กฎหมายหรือให้ความเห็นทางกฎหมายแบบดูหน้าคน
แบบนี้ไม่ต่างอะไรกับคณะรัฐประหารที่เรื่องหนึ่งกูไม่อ้างกฎหมายแต่อ้างคุณธรรม สมานฉันท์ ความจำเป็นต่างๆนานา (เช่น ตอนทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ การจำกัดสิทธิเสรีภาพ การเขียนรัฐธรรมนูญรับรองความชอบด้วยกฎหมายให้ คปค การใช้กฎหมายย้อนหลังเล่นงานนักการเมือง การตั้งบอร์ดที่มีแต่พวกตนเอง การตั้งกรรมการตรวจสอบที่มีสภาวะไม่เป็นกลาง ฯลฯ กรณีเหล่านี้ไม่เห็นต่อมความรู้สึกเรื่องรักกฎหมายทำงานเลย) แต่พออีกเรื่อง กูอ้างกฎหมายได้ คราวนี้กูรักกฎหมายสุดใจขาดดิ้น
ผู้มีใจเป็นธรรม และเคยอ่านงานของผมมาก่อนอยู่บ้าง คงตัดสินได้ว่าก่อนหน้านั้น ก่อนมีขบวนการพันธมิตรฯ ผมวิจารณ์ทักษิณอยู่บ่อยครั้ง ไม่ใช่ว่าผมไม่เคยแตะต้องทักษิณเลย แม้จนถึงวันนี้สิ่งที่ทักษิณทำไปในหลายๆเรื่องผมก็ยังยืนยันว่าไม่เห็นด้วย (เช่น ฆ่าตัดตอน) และหมิ่นเหม่ต่อความถูกต้อง ความเหมาะสมอยู่ (เช่น ภาษีกรณีขายชินคอร์ป) แต่ผมเห็นว่าต้องจัดการตามกระบวนการ ไม่ใช่ใช้ปืนแบบนี้
ดังนั้น หากจะโต้ว่า ผมรู้ความระยำของทักษิณหรือไม่ รู้ความระยำของทุนแบบทักษิณหรือไม่? ผมตอบว่ารู้และก็วิจารณ์มาตลอด และถ้าผมขอถามกลับไปบ้างว่า คุณรู้ความระยำของรัฐประหารหรือไม่ ตั้งแต่รัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ การจำกัดสิทธิเสรีภาพ การเขียนรัฐธรรมนูญรับรองความชอบด้วยกฎหมายให้ คปค การใช้กฎหมายย้อนหลังเล่นงานนักการเมือง การตั้งบอร์ดที่มีแต่พวกตนเอง การตั้งกรรมการตรวจสอบที่มีสภาวะไม่เป็นกลาง ฯลฯ กรณีทั้งหลายเหล่านี้มันถูกต้องตามระบบกฎหมายหรือไม่ แล้วคุณเคยออกมาวิจารณ์บ้างหรือไม่
ขอตอบ Crazy cloud ไล่เรียง ดังนี้
๑. หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง ไม่จริงเสมอไปที่สิ่งใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องถูกยกเลิกเพิกถอน ไม่ใช่ว่าอะไรไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถูกยกเลิกเพิกถอนทุกกรณี การเพิกถอนในชั้นฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่มีดุลพินิจโดยพิจารณาตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี เช่น หากเพิกถอนแล้วส่งผลร้ายแรงตามมาจนยากเกินเยียวยา หรือกระทบต่อหลักความมั่นคงแห่งนิติฐานะและความสุจริตของคู่กรณีและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ส่วนการเพิกถอนในชั้นศาล แม้การกระทำทางปกครองจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็อาจไม่เพิกถอนก็ได้ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า “การย้ายฐานทางกฎหมาย” หมายความว่า การกระทำทางปกครองไม่ชอบเพราะมาจากฐานทางกฎหมายที่ไม่ชอบ ปรากฏว่าศาลเห็นว่ามีฐานทางกฎหมายอื่นที่ชอบด้วยกฎหมายมาทดแทนได้ ก็อาจย้ายฐานทางกฎหมายใหม่ให้แก่การกระทำทางปกครองแทนที่จะเพิกถอนการกระทำทางปกครองนั้น นอกจากนี้ศาลยังอาจเพิกถอนโดยกำหนดให้มีผลไปข้างหน้าก็ได้ ตาม มาตรา ๗๒ พรบ ศาลปกครอง
ที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้น เพื่อแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็อาจอยู่ในระบบกฎหมายได้ ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
๒. ต้องไม่ลืมว่าภารกิจของ กม ปกครอง ไม่ใช่มีแต่การคุ้มครองประโยชน์ของรัฐหรือบริการสาธารณะเท่านั้น แต่ยังต้องคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และประโยชน์ของเอกชนด้วย อีกนัยหนึ่ง คือ ต้องหาดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของรัฐกับสิทธิของประชาชนให้ได้ การใช้และตีความกฎหมายปกครองที่มุ่งเน้นไปแต่ประโยชน์สาธารณะแต่เพียงถ่ายเดียว ย่อมไม่ถูกต้องตามนิติวิธีของกฎหมายปกครอง
กรณีไอทีวี ในส่วนของประโยชน์สาธารณะ คือ หนึ่ง เรื่องเนื้อหาสาระของรายการในไอทีวี เมื่อยืนยันกันแล้วว่า ต้องมีสาระร้อยละ ๗๐ ไอทีวียอมปรับก็ถือว่าประโยชน์สาธารณะในส่วนนี้บรรลุ สอง เรื่องค่าสัมปทานที่ก่อนนั้นขอลดไป ตอนนี้บอกว่าไม่ให้ลด ไอทีวียอมจ่ายย้อนหลัง ก็ถือว่าประโยชน์สาธารณะในส่วนนี้ (เม็ดเงินที่เข้าสู่รัฐ) บรรลุไปแล้ว ส่วนค่าปรับ (ขอย้ำอีกครั้งว่าศาลปกครองไม่เคยพูดเรื่องค่าปรับเลย ให้คู่สัญญาไปว่ากันตามสัญาเอง) หากมายืนยันประโยชน์สาธารณะอีกเพื่อเรียกค่าปรับมโหฬาร เอกชนก็เสียเปรียมหาศาล ไม่ได้คุ้มครองสิทธิของเอกชนเลย แล้วทั้งไอทีวีและ สปน เองก็ไม่เคยคิดมาก่อนด้วยว่า ที่ตกลงเรื่องผังแะลลดสัมปทานตอนนั้น จะกลายเป็นผิดสัญญาตอนนี้ เมื่อสุจริตทั้งคู่ ก็ต้องคุ้มครองผู้สุจริตด้วย
๓. ใน กม ปกครอง ไม่ได้มีเฉพาะหลักความชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังมีหลักการคุ้มครองความมั่นคงแห่งนิติฐานะซึ่งสำคัญไม่แพ้กันอีกด้วย หลักนี้เรียกร้องว่า เอกชนที่อยู่ใต้อำนาจรัฐต้องได้รับหลักประกันจากรัฐในความมั่นคงของการกระทำต่างๆของรัฐ รัฐต้องประกันความมั่นคงของสถานะทางกฎหมายแก่ประชาชนในระดับหนึ่ง รัฐต้องคุ้มครองความเชื่อถือไว้วางใจของคนทั่วไปที่มีต่อกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ เช่น วันนี้สภาออก ก.ม. มาฉบับหนึ่งบอกว่า เปิดสถานบันเทิงได้ถึงตี 2 ชูวิทย์รีบเปิดทันที 10 แห่งทั่วกทม. 3 เดือนต่อมายกเลิกก.ม.นี้ บอกห้ามเปิดแล้ว ชูวิทก็เสียหาย เพราะเขาไว้เนื่อเชื่อใจว่าในเวลานั้นสถานะทางก.ม.ของเขาเป็นยังไง
ในกรณีของกฎหมายปกครอง เช่น คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่ง ถ้าเรายึดหลัก “ความชอบด้วยกฎหมาย” เป็นสำคัญ เราก็ต้องบอกว่า ในเมื่อมันไม่ชอบด้วยกฎหมายมันก็ต้องไม่ดำรงอยู่ในระบบกฎหมาย ต้องเพิกถอนไปให้พ้นๆซะ แต่เราต้องไม่ลืมคิดถึงตัวผู้รับคำสั่งอีกด้านหนึ่ง ในเมื่อตอนออกคำสั่งมาเขาได้ประโยชน์จากคำสั่งนี้ เขาเชื่อโดยสุจริตใจว่าคำสั่งนี้ชอบด้วยกฎหมาย ก็รับเอาประโยชน์จากคำสั่งไปเต็มที่ วันดีคืนดีมาเพิกถอนคำสั่งนี้ไป ประโยชน์ที่เขาได้รับมาก็หายไปหมด เราก็ต้องลากเอาหลัก “ความมั่นคงแห่งนิติฐานะ” เข้ามาช่วยคุ้มครองความเชื่อถือไว้วางใจที่ผู้รับคำสั่งมีต่อตัวคำสั่งนั้น จะเห็นได้ว่า มาตรา 51 และ 52 ของ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 เขียนไว้ชัดว่า ฝ่ายปกครองมีดุลพินิจจะเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นได้ (หลักความชอบด้วยกฎหมาย) แต่เมื่อเพิกถอนแล้วต้องเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่ได้ประโยชน์จากคำสั่งนั้นด้วย (ความมั่นคงแห่งนิติฐานะ)
อีกตัวอย่าง การยกเลิกคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายที่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่ง กรณีนี้ถ้าเรายึด หลัก “ความชอบด้วยกฎหมาย” เราก็ต้องคงคำสั่งนั้นไว้ ในเมื่อมันชอบด้วยกฎหมายแล้วจะไปเลิกทำไมล่ะ ถ้ามามองในมุมของ “ความมั่นคงแห่งนิติฐานะ” เราก็จะคงคำสั่งนั้นไว้เช่นกัน ในเมื่อชอบด้วยกฎหมายแถมยังให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งก็ไม่เห็นจำเป็นต้องไปยกเลิก แต่บางทีอาจมีกรณีที่ “ประโยชน์สาธารณะ” เรียกร้องให้จำเป็นต้องยกเลิกคำสั่งนั้นเสีย มาตรา 53 วรรค 2 และ 3 ก็กำหนดไว้ว่ากรณีนี้ฝ่ายปกครองอาจยกเลิกคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายและให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งได้ถ้าหากว่าการคงอยู่ของคำสั่งนั้นจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะอย่างร้ายแรง เมื่อยกเลิกไปแล้วก็ต้องเยียวยาความเสียหายที่เกิดแก่ผู้รับคำสั่งด้วย
๔. ดังนั้น เราไม่อาจพิจารณากรณีไอทีวีด้วยหลักความชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่คำนึงหลักความมั่นคงแห่งนิติฐานะ และหลักคุ้มครองความเชื่อถือไว้วางใจของผู้สุจริต เช่นกัน เราไม่อาจพิจารณากรณีไอทีวีด้วยประโยชน์สาธารณะ ประโยชน์ของรัฐเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ประโยชน์ของประชาชนประกอบกันด้วย
๕. ไอทีวี ผิดสัญญาหรือไม่? ต้องเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า ศาลปกครองไม่ได้บอกเลยว่าไอทีวีผิดสัญญา ศาลพิพากษาแค่ว่าคำวินิจฉัยของอนุญาโตฯไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ในความเห็นผม ไอทีวีไม่ผิดสัญญา เพราะ ดำเนินตามที่อนุญาโตฯชี้ขาด ไอทีวี และ สปน ก็ตกลงกันแล้วว่าจะใช้อนุญาโตฯ อนุญาโตฯชี้แล้วจะปฏิบัติตาม ณ วันที่ไอทีวีและ สปน ตกลงกันเรื่องผัง และลดค่าสัมปทาน ทั้งคู่ไม่รู้มาก่อนเลยว่า ในท้ายที่สุด ศาลจะตัดสินให้คำวินิจฉัยอนุญาโตฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อศาลตัดสินให้คำวินิจฉัยอนุญาโตฯไม่ชอบ ทั้งคู่ก็กลับไปปฏิบัติตามสัญญาเดิม ผังแบบ ๗๐ ต่อ ๓๐ เหมือนเดิม ค่าสัมปทานเท่าเดิม ที่ค้างจ่าย เพราะ คิดว่าได้ส่วนลด ก็เอามาจ่ายเสียใหม่
ส่วนกรณีสัญญาทางปกครองควรมีอนุญาโตฯหรือไม่นั้น ยังเถียงกันได้ นักกฎหมายมหาชนส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนให้มี แต่กฎหมายอนุญาโตฯปัจจุบันให้มีได้ และสัญญาไอทีวีนี้ก็เกิดขึ้นก่อนตั้งนานแล้ว ก่อนมีศาลปกครอง เมื่อคู่สัญญาตกลงกันให้มีอนุญาโตฯ ก็ต้องเคารพเจตนารมณ์ของคู่สัญญา
เมื่อคู่สัญญาปฏิบัติตามที่อนุญาโตฯชี้ขาด แล้วจะเรียกผิดสัญญาได้อย่างไร?
ส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยให้มีอนุญาโตฯในสัญญาทางปกครองเหมือนกัน เพราะทำให้วุ่นวายตามมาแบบกรณีนี้เป็นต้น แต่ถ้าอยากแก้ไข ก็เสนอร่าง พรบ แก้ออกมา คณะรัฐประหารอำนาจเต็มมือขนาดนี้ กล้าทำหรือเปล่า ผมก็อยากดูเหมือนกันคณะรัฐประหารพอเพียง รังเกียจทุน จะกล้าทำหรือเปล่า รบกวนคุณ Crazy cloud ผู้มีโอกาสเข้าไปช่วยงานคณะรัฐประหาร ช่วยผลักดันให้ด้วย
ส่วนกรณีนี้ มันเกิดมาแล้ว ต้องคุ้มครองคนสุจริต คุณจะให้ปรับผังใหม่ บอกของเก่าผิด คุณจะให้จ่ายค่าสัมปทานย้อนหลัง เขาก็ยอมจ่ายให้แล้ว แต่จะมาเอาค่าปรับแบบมโหฬารได้ไง ในเมื่อวันนั้นทั้ง สปน และไอทีวี ไม่ได้คิดเลยว่าผิดสัญญา
๕. เมื่อไอทีวีไม่ได้ผิดสัญญา แล้วรัฐจะยกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวโดยไอทีวีไม่ยินยอมได้หรือไม่ สัญญาทางปกครองยอมให้ทำได้ เพราะ รัฐมีเอกสิทธิ์เหนือคู่สัญญาบางประการ เช่น การยกเลิกสัญญาฝ่ายเดียว การแก้ไขสัญญาฝ่ายเดียว โดยต้องอ้างเหตุผลเพื่อประโยชน์สาธารณะ เมื่อยกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวแล้ว ก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้คู่สัญญา
กรณีไอทีวี สปน ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกสัญญาฝ่ายเดียว แต่อ้างว่าไอทีวีผิดสัญญา (ซึ่งศาลปกครองก็ไม่ได้บอกว่าไอทีวีผิดสัญญาเลย บอกแค่ว่าคำวินิจฉัยของอนุญาโตฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย) เมื่อไอทีวีคู่สัญญาสู้ว่าตนไม่ผิดสัญญา แสดงว่าประเด็นผิดสัญญาหรือไม่ ยังไม่ยุติ ดังนั้นจะใช้เหตุนี้มายกเลิกสัญญาไม่ได้
๖. อย่างไรก็ตาม สปน อาจอ้างว่าไอทีวีจะผิดสัญญาในส่วนเนื้อหาหรือไม่ ไม่รู้ แต่ผิดสัญญาที่เรื่องค่าปรับ ประเด็นนี้ก็ยังไม่ยุติว่าไอทีวีต้องจ่ายค่าปรับเป็นแสนล้านตามที่ สปน เรียกหรือไม่ เพราะ ศาลปกครองเองก็ไม่ได้พูดถึงเลยว่าไอทีวีต้องจ่ายค่าปรับ แต่ให้คู่สัญญาดำเนินกันไปตามสัญญาเอง ซึ่ง สปน บ้าจี้เรียกค่าปรับแสนล้าน
๗. การคำนวณค่าปรับของ สปน ผมเห็นว่าน่าเกลียดไปหน่อย ประเด็นแรก ไอทีวีผิดสัญญาจริงหรือไม่ ยังเถียงกันได้อีก ถ้าไม่ผิด ก็ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ ประเด็นสอง สมมติว่าไอทีวีผิดสัญญา ต้องจ่ายค่าปรับ การคำนวณค่าปรับก็ต้องนับจากวันที่ศาลพิพากษา
ไม่ใช่ย้อนหลังไป เพราะ ระหว่างที่ยังไม่มีคดีมาถึงศาล คู่สัญญาจะไปรู้ได้อย่างไรว่าผิดสัญญา ก็ในเมื่อทั้งคู่ยินยอมให้ตั้งอนุญาโตฯและยอมผูกมัดตามที่อนุญาโตฯชี้ นี่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังอย่างหนึ่งซึ่งเป็นของถนัดของคณะรัฐประหารชุดนี้ในการปราบปรามศัตรู
๘. ผมไม่เคยบอกว่าไอทีวีวิเศษ ทำดีทำชอบมาตลอด ประเด็นผมอยู่ที่คดีนี้เท่านั้น ที่ต้องให้ความเป็นธรรมแก่เอกชนคู่สัญญาด้วย ไม่งั้นระบบพังหมด ความระยำของไอทีวีก็ต้องไปว่ากันอีกเรื่อง จะดำเนินการอย่างไรตามกระบวนการก็ว่าไป ไม่ใช่ช่องเปิด กูจะทุบมันให้ตายแบบนี้ ดังนั้นที่โต้แย้งมาว่าไอทีวีผิด กฎหมายต่างด้าว อะไรต่อมิอะไรนั้น ก็ไปทำมาอีกเรื่อง ไม่ใช่ใช้กรณีสัญญาไอทีวีกับ สปน จัดการ
๙. จริงๆแล้ว ถ้ารัฐบาลเห็นว่าไอทีวีนี่มันเละเทะไปหมด ไม่สนองตอบภารกิจที่ตั้งมาแต่แรก ไม่บรรลุบริการสาธารณะ รัฐบาลก็ใช้เอกสิทธิ์ที่ตนมีเหนือกว่าคู่สัญญา บอกเลิกสัญญาได้เลย แต่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ไอทีวีด้วย เพราะ สัญญาทางปกครองของไทย ถือหลักว่า คู่สัญญาฝ่ายรัฐมีเอกสิทธิ์บางประการ เช่น การบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวโดยอ้างเหตุผลบริการสาธารณะ การแก้ไขสัญญาฝ่ายเดียว เป็นต้น เมื่อบอกเลิกแล้ว ก็เปิดประมูลกันใหม่เสีย แต่ผมเชื่อว่ารัฐไม่กล้าใช้เอกสิทธิ์บอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียว (อาจเกรงว่านักลงทุนจะกระเจิง ไม่ก็ไม่อยากจ่ายค่าเสียหายให้)
๑๐. อันนี้ฝากความหวังไว้กับ Crazy cloud ถ้า Crazy cloud ประกาศตนว่าอยู่ข้างคนจน ผมก็ยินดีและสนับสนุน แต่ผมขอให้ Crazy cloud ดำเนินกลยุทธแบบเพิ่มอำนาจให้ประชานบ้าง ไม่ใช่ลงแรงไปแทบตาย สุดท้ายไปเพิ่มอำนาจให้ทหาร ขุนนาง ขุนศึก
ผมตอบกันด้วยเหตุด้วยผลแบบนี้ ขอความกรุณาโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์ด้วยเหตุผลกันต่อ จะได้เกิดปัญญาตามมา หวังว่าคงไม่โกรธและผรุสวาทแบบที่เคย และหวังอีกว่าจะมาตอบประเด็นกฎหมาย ไม่ใช่มาสูตรเดิม คือ อ้างว่าคนมันชั่วจำเป็นต้องจัดการ
แต่ถ้าคำตอบครั้งนี้ของผม จะทำให้ Crazy cloud โกรธ ก็ขออภัย และผมก็ทำใจไว้แล้ว ถ้าหากบล็อกตอนนี้จะลุกเป็นไฟ และบานปลาย จนทำให้เกิดการฟาดงวงฟาดงาแบบที่เคยเป็นมา
ขอบคุณที่ร่วมสร้างสรรค์บรรยากาศวิชาการ
15 ความคิดเห็น:
อันนี้ มองประเด็นหมากเกมทางการเมืองมั่ง
ตอนนี้สุรยุทธและรัฐบาลก็กินรวบสื่อทีวีทุกช่อง
๓ ๕ ๗ ๙ ๑๑ เอเอส คงชัดเจน
เหลือไอทีวีที่เมื่อก่อนแหย่รัฐบาลอยู่บ่อยๆ
มางานนี้สุรยุทธได้ใจพนักงานไอทีวีไปหมดแล้ว
จากกลยุทธ อ่อยเหยื่อให้ปลากิน เริ่มแรกก็บอกว่าจะช่วยให้เปิดสถานีต่อ ต่อมากลับลำอ้างเรื่องกฎหมาย เพื่อให้เกิดกระแสประชาชนไม่ยอม แล้วมากลับลำอีกรอบ ได้คะแนนไปจมหู โดยเฉพาะพนักงานไอทีวี
ที่น่าจับตามองต่อไปคือ ทีมข่าวไอทีวีจะกล้าแตะต้องรัฐบาลเหมือนเดิมหรือไม่?
สรุปการต่อสู้เรื่องสื่อเสรี คุกคามสื่อ ก็โดนฆ่าตัดตอนไปเรียบร้อย เพราะ งานนี้ วิน วิน กันไปหมด
ส่วนไอทีวี ผมอยากให้สู้ประเด็นกฎหมายต่อไป ไม่ผิดสัญญาก็ต้องยืนยันว่าไม่ผิด
แต่คิดว่าคงยาก เพราะ ขึ้นชื่อว่าธุรกิจ คงไม่อยากแตกหัก แต่นิยมประนีประนอมให้วินวินทั้งคู่ ไอทีวีคงรอมชอมกับ สปน สำเร็จ แล้วก็อาจเบามือกับการอัดรัฐบาลลงไป
ก็เข้าใจธรรมชาติของนักธุรกิจที่ไม่อยากสู้เกมยาวในศาล อยากรอมชอมให้จบๆ แถมกรณีนี้ดีลกะคณะรัฐประหาร มีปืน ด้วย คงไม่ยากเสี่ยงมาก
ประเด็น ITV เห็นด้วยเต็ม ๆ ผมอยากเตือน สปน. และผู้อยู่เบื้องหลังด้วยว่า ... คุกไม่ได้มีไว้ขังหมาเท่านั้น ... ใช้อำนาจโดยไม่ชอบ โดยที่รู้อยู่แล้ว ว่า มาตรการบังคับทางปกครอง จะต้องคำนึงถึงหลักสัดส่วน ... อยู่ดี ๆ ยกเลิกแล้วยึด ของเขาหมด ทั้ง ๆ ที่มีวิธีทางอื่นที่เหมาะสมกว่าเยอะแยะ แต่เลือกไม่ทำ กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา หนีมาตรการทางอาญา มาตรา ๑๕๗ ไม่พ้นเลย
หลังจาก คณะขบถหมดอำนาจ คงได้เห็นคนติดคุกกันระนาว
อืมม..
กินปลากรอบ แล้ว เสพงานวิชาการไป
รู้เพิ่มนิดๆ เพราะ สติ ไม่ค่อยเต็ม
อยากขอร้องให้เข้าของบล๊อค หลังจากถกภาษาวิชาการแล้วช่วย อิงตัวอย่างภาษาแบบบ้านๆ ให้ด้วย เพราะ ไม่มีความรู้ ตามไม่ทันจริงๆ
คิดว่าเป็นวิทยาทานแล้วกัน
อนุญาโตตุลาการ ไรเนี้ยคือไร
กฤษฎีกา ไรเนี้ย
แต่ไม่เป็นไรละ 2 คำนี้ มีเพื่อนใจดีทางฝรั่งเศสกำลังนั่งอธิบายอยู่
กินปลากระป๋องกรอบไหม....อาหารในยามเก็บตังส์ทัวย์อเมริกา ฝั่ง WEST ในเดือนหน้า
อืม...พอดีผมตามอ่านหลายๆ ที่แล้วชักเง็ง ๆ ประเด็นข้อเท็จจริง แต่ต้องขอบคุณเจ้าของบล็อก ก่อนที่อธิบายกฎหมายเสียชัดเจนแจ่มแจ๋ว
ที่งงเพราะ เหมือนบางแห่งว่า จุดชี้เป็น ชี้ตาย (ยุบ หรือ ฮุบ) ไม่ได้อยู่ที่ "ค่าปรับเพราะผิดสัญญา" ที่เรียกกันมโหฬาร บานตะไท แต่ไปอยู่ที่ "เงินค้างจ่าย สองพันกว่าล้าน" ที่ยังไง ๆ ผู้บริหารไอทีวี ก็จะไม่ยอมจ่ายอยู่วันยันค่ำ (แม้จะมีปัญญาจ่ายก็ตาม...ตรงนี้ ผู้บริหารไอทีวี ออกมาให้สัมภาษณ์เอง) ก็เลยมีประเด็นเงื่อนงำ "ชั้นเชิงของผู้บริหารไอทีวี" อ่อยเหยื่อจนรัฐบาลทหารฮุบ...เรื่องร้าย ๆ ทั้งหมดเลยตกอยู่กับรัฐบาลชุดนี้
กับบางแห่งบอกว่า... จุดตาย เกิดจากการ เชื่อมจุด ระหว่าง เงินสองส่วนเข้าด้วยกันของ สปน. แล้วยืนยันว่าต้องจ่ายทั้งสองรวมกัน ไม่งั้นตาย.. จนผู้บริหารไม่มีปัญญาจ่าย...ต่างหาก ก็เลยเกือบตายจริง ๆ (จริง ๆ ตายทั้งเป็นแล้วล่ะ เพราะโดนยัดเข้ากรมประชาสัมพันธ์หมด)
อืม...ที่ถามเพราะ ข้อเท็จจริงสองอย่าง ค่อนข้างต่างกันน่ะครับ..ถ้าว่าเป็นไปตามแบบแรก...การวิเคราะห์ในบล็อกนี้ อาจคลาดเคลื่อนไปหลายส่วนทีเดียว โดยตกประเด็น "คิดฆ่าตัวตายของไอทีวี" ไป.. แต่ถ้าเป็นแบบที่สอง ก็คงมีประเด็นโดนล้างบางจริง
พอมีผู้รู้ จริง ๆๆ ในข้อเท็จจริง ท่านใด อธิบายได้มั่งครับ ?
อืม...ช่วงนี้ชักรู้สึกว่า บริโภคข้อมูลมากไปจนปวดกะบาล (ฮา ฮา)
ถ้างานนี้เป็นการฮั้วกันของทั้งสองฝ่ายจริง
คือ เจ้าของไอทีวี ไม่อยากเก็บเผือกร้อนไว้ ก็เลยกะชักดาบค่าสัมปทาน ๒ พันล้าน ดื้อๆ (ทั้งๆที่มีปัญญาผ่อนจ่ายได้)
ส่วนรัฐบาลก็มาหาเหตุยึดเสียเลย เพราะไอทีวีเบี้ยวสัญญาไม่จ่ายสัมปทานอีกสองพันล้าน รัฐบาลได้ทีวีไปอีกช่อง จะเอาไปทำเองหรือประมูลใหม่ก็ว่าไป
ถ้าออกรูปนี้ ก็เซ็งกันล่ะครับพี่น้อง
เสียแรงใช้สมองวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายแทบตาย
ช้ำๆ
นายทุนสบาย รัฐบาลทหารสบาย ชาวบ้านช้ำ
ผมก็ค่อนข้างสงสัยเช่นกันเรื่องไอทีวียอมให้ยึดกันง่ายๆอย่างนี้ ทั้งที่ช่องทางต่อสู้ทางกฎหมายก็มีอยู่ไม่น้อย ไม่ใช่ไม่มี
จำได้ว่าข่าวล่าสุดก่อนข่าวจะปิดไอทีวีคือข่าวว่าไอทีวีเตรียมยื่นให้อนุญาโตฯวินิจฉัยเรื่องค่าปรับ แต่ทำไปทำมากลับกลายเป็นอย่างนี้ ประเด็นเรื่องสมยอมก็น่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน
ไอทีวี มีไว้เป็นทีวีเสรี
เสรี ไม่ได้แปลว่า ทำอะไรก็ได้
เสรี มีไว้เพื่อนำเสนอข้อมูลให้ครบ
สมัยพฤษภา เขาเลือดนองพื้นกัน ท่านผู้รู้ยังกดเกมส์แฟมิลี่อยู่เลย นั่นแหละจุดกำเนิด ไอทีวี
แล้วท่าน ลองดูบนหน้าจอสถานีนี้สิ
ปรับผังจนเละ มีแต่บันเทิง ช่วงไพร์ไทม์ มีแต่เกมส์โชว์
อย่างนี้ เอาตาชั่ง มาชั่งแล้ว ประโยชน์สาธารณะกับ เสรีภาพเอกชนอะไรสำคัญกว่า
ขายหุ้นให้เทมาเส็ก ข้ามกฎหมายหลายฉบับ ทั้งกฎหมายต่างด้าว กฎหมายประกอบกิจการโทรคม กฎหมายวิทยุโทรทัศน์ เข้ากุมสภาพโทรทัศน์ไทย แบบนี้ประโยชน์สาธารณะกับเสรีภาพเอกชน อะไรสำคัญกว่า
หลักคุ้มครองความสุจริต ความมั่นคงของนิติฐานะ ผมกพอรู้ครับท่าน แต่กรณีนี้ ไอ้พวกนายทุนมันสุจริตหรือท่าน แล้วเราจะไปประกันความมั่นคงของนิติฐานะมันทำไม
ฝากชั่งน้ำหนักด้วยนะท่านผู้รู้
สำหรับผมตอนนี้ รบมาเยอะแล้ว
ตอนนั้น ยอมรับว่า รั่ว ครับ
ห่ามครับ เพราะมีท่านพ่อครัวใหญ่ มาแซว เลยรั่วครับท่าน
แต่ผมรู้สึกว่า นิติรัฐ จะเริ่มรั่วนะ
ด้วยความหวังดี จากผู้มีประสบการณ์รั่วมาก่อน
ชัดเจนดี แม่นยำทั้งเนื้อหาและตรรกะ
ผมอาศัยนี่แหละ ส่งไปให้คนที่สงสัยเรื่องนี้ได้อ่าน
เพราะขี้เกียจค้นคว้าเอง 555
สำหรับผม การจะทำอะไรกับไอทีวี ผมไม่ไมด์อะไร
และไม่เคยเชื่อว่าไอทีวีจะเสรี
และรู้สึกมานานแล้วว่า ไอทีวีเป็นทีวีพาณิชย์ช่องหนึ่ง
พาณิชย์เหมือนช่อง 3,7,9 ยังไงอย่างนั้น
สัดส่วนของรายการดีๆ ห่วยๆ ก็พอๆกับสามช่องที่ผ่านมา
สำหรับผม ไอทีวี กับทีวีเหล่านั้น หรือแม้แต่ เอเอสเอสทีวี มีค่าเท่ากันทุกอย่าง
คือกิจการของเอกชนเหมือนกัน
ดังนั้น จะจอดับ จะเปลี่ยนโลโก้ จะอะไรๆ ผมก็ไม่เท่าไร
ส่วนเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลนี้ ผมเลิกหาไปนานแล้ว
เพียงแต่ทำอะไรก็ขอให้มันเด็ดขาดหน่อย
ไม่ใช่วันนี้อย่าง พรุ่งนี้อย่าง
พอสนธิ ลิ้ม กระทุ้ง ก็ปอดลอย ปิดๆมันไปก่อน
พอเห็นคนชักไม่เอาด้วยหนาหู ก็กลับลำ
ทำเป็นนิทานอิสปเรื่องพ่อลุกกับลา* ไปได้
ผมรู้สึกว่าประเทศขาดเสถียรภาพก็เรื่องนี้แหละ
คือรัฐบาลที่ไม่น่าจะกลัวใคร กลายเป็นรัฐบาลที่ไม่มีใครกลัว ซะอย่างนั้นเอง
* นิทานอีสปเรื่อง พ่อลูกกับลา
กาลครั้งหนึ่งมีพ่อลูกคู่นึ่ง จูงลาไปขายที่ตลาด
พ่อขี่ลา ลูกจูง ผ่านชายแก่คนหนึ่ง
ชายแก่คนน้นก็เปรยว่า "แหม แก่จะตายอยู่ไม่กี่วันแล้ว ยังรักสบายอีกนะเอ็ง ลูกยังเด็กยังเล็ก ปล่อยให้เดิน"
พ่อเลยสลับให้ลูกไปขี่ลา และพ่อเดินแทน
ผ่านไปที่ป้าแม่บ้านกลุ่มหนึ่งจับกลุ่มนินทาผัว พอเห็นพ่อลุกกับาผ่านมา ก็บอกว่า
"แหม ดูอีลูกเนรคุณนั่นสิ ปล่อยพ่อแก่ๆ เดิน ตัวเองขี่ลาสบายใจเฉิบ"
ลุกก็เลยบอกพ่อว่า เดี๋ยวคนนินทา พ่อมาขี่ด้วยกันแล้วกันถ้างั้น
ลาก็หลังแอ่นไปสิครับ
เดินผ่านมาจนเกือบถึงตลาด ไปเจอคนเล่นหมากรุก คนเล่นหมากรุกก็ตตะโกนด่าว่า
"ไอ้เลว ลาตัวนิดเดียว มึงขี่กันไปได้สองคน ไอ้ทารุณสัตว์ กูจะฟ้องเฮียพรั่ง"
พ่อลูกเลยต้องเอาลาทูนหัว เดินไปจนถึงตลาด
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
จะทำอะไรก็ทำไปเหอะ คนมันจะด่า มันหาเรื่องด่าได้ทั้งนั้น
ทำกับข้าวบ้านเราอยู่ดีๆ มันก็ขอดค่อนเอาได้ !
ผมมานั่งนึกๆดูแล้ว ความเห็นต่างระหว่างผมกับเมฆบ้าที่ผ่านมานับแต่มีขบวนการ "ทักษิณ ออกไป" ไม่มีอะไรมากไปกว่าเรื่องเห็นต่างในวิธีการ
ผมคิดว่าตัวผมกับเมฆบ้า ต่างมีเป้าตรงกันหรืออาจไปในทางที่สอดคล้องกัน
แต่ในวิธีปฏิบัติ ลงรายละเอียดนี่แหละ ที่ต่างกันมากพอควร
เช่น อยากเอาทักษิณออก ผมอยากเอาออกตามกระบวน แต่เมฆบ้าว่ากระบวนมันตันแล้ว ต้องใช้วิธีพิเศษ ส่วนผม ผมทนได้ รอได้ ฯลฯ เป็นต้น
เมฆบ้าว่าจริงมั้ย?
เห็นด้วยกับเจ้าของบล็อก ในประเด็นความต่างในวิธีการ แต่เป้าหมายเดียวกัน
มุมมองเพิ่มเติม
"โลกยุคปัจจุบัน มันจะบรรลัยก็เพราะระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมสุดขั้ว การเปลี่ยนผ่านในทุกยุคยังพอทน แต่การปลี่ยนผ่านครั้งนี้ ทำให้มีขั้วโลกจมน้ำตาย มหมายถึงฐานทรัพยากรโลก"
ในโลกยุค Galalisation กะลาไลท์เซชั่น ผลของทุนนิยมทำให้ คน กลายเป็น
นักวัตถุนิยม
นักเสพความสุขแบบสุดขั้ว
ซึ่งทั้งหมดเร่งเร้า กระบวนการผลิต และขุดคุ้ยทรัพยากร โลกจนเกิดวิกฤตทางสิ่งแวดล้อม
การเบียดเบียนกัน ผ่านระบบเศรษฐกิจ โดยมีกฎหมายเป็นเครื่องมือ หนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ผมพบความจริงดังกล่าวผ่านทั้งการอ่านหนังสือ ดูข่าวเศรษฐกิจ และลงพื้นที่ในหลายจังหวัด ผมพบว่าสิงเลวร้ายที่เคยอยู่ในหนังสือ ทักษิณ คืผู้นำมาปฏิติตามสูตร
การต่อสู้ในโลกปัจจุบัน ผมคิดว่ามันได้ยกระดับจากการต่อสู้ในเชิงอุดมการณ์แบบเดิม เช่น เผด็จการกับประชาธิปไตย เสรีนิยมกับมาร์กไปแล้ว
แต่โลกยุคปัจจุบัน คือการต่อสู้และปะทะกันทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ เทคโนโลยี ใครกุมสภาพได้คนนั้นชนะ คนนั้นตักตวงทรัพยกรเอาไปกินหมด
อาจารย์อมร เคยพูดว่า วิชาการกฎหมายเมืองไทยล้าหลัง ผมขอยืนยันว่าจริง
แต่จริงของผม อาจจะจริงเพียงครึ่งของอาจารย์อมร เพราะ ความล้าหลังดังกล่าวหมายถึง ความล้าหลังต่อปัญหา ต่อระบบโลก ต่อการปกป้องชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชาติ มิใช่ความล้าหลังต่อความิดความรู้ขงตะวันตกแต่ประการใด
และแม้นิติรัฐ จะมีข้อดีมากมายในการตอบคำถามต่อธรรมชาติแห่งความงามของมนุษย์
แต่นิติรัฐ และประดากฎหมายมากมาย ได้กลายสภาพเป้นเพียง เครื่องมือของระบบทุนที่กำลังกัดกินโลก
ด้วยเหตุนี้ หากพิเคราะห์ จะพบว่า อุดมการณ์ของนักวิชาการกระแสเกลียดทักษิณ จึงไม่ใช่อุดมการ์ประชาธิปไตยแบบเพียว หรือ นิติรัฐแบบเพียว
อ้อ เพิ่งนึกออก เวลาไปกินเหล้า กับ เดอะปึ๋ง หรือ นิติรัฐ เดอปึ๋ง จะกินเหล้าเพียว เบนมอร์เพียว แบลคเพียว แต่ผมจะชอบผสม โซดากับกระทิงแดง มากกว่า
อุมดมการณ์ของนกวิชาการกลุ่มนี้ ซึ่งอาจรวมทั้งตัวผม คือ ความพยายามในการผสมผสานอัตตาลักษณ์ ความเป็นไทย ทุกชนิด เข้าด้วยกัน เพื่อดิ้นรนให้พ้นจากตาข่ายของโลกระบมในปัจจุบัน
ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไร ที่อุดมการณ์ เทิดกษัตริย์ ขุดคุ้ยภุมิปัญญไทยสารพัด การปลุกระดมโดยใช้สัญญลักษณ์ การทำพิธีพ่อมดหมอผี และบรรดาสารพัด ถูกหยิบมาผสมผสาน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน
สงครามอัตลักษณ์ สงครามวัฒนธรรม สงครามกฎหมาย มีผลชี้ขาด คือ การแย่งชิงทรัพยากรโลก จากมือของคนจน ไปสู่มือของคนรวย
โดยกฎหมายเป็นใบเบิกทางที่สำคัญประการหนึ่ง
นิติรัฐ กฎเกณฑ์บริสุทธิ์
สาวน้อยที่น่ารัก ผุดผาดงดงาม เมื่อเธอตกอยู่ในมือ ชายโฉดทุนนิยม มันจะช่วงใช้เธอ เป่าหูเธอ แล้วนำเธอเป็นเครืองมือ
นั่น คือ ชะตากรรม
ความเห็นของผมต่อ คมช. และรัฐบาล
ฟันธง คมช รัฐบาล มะงุมมะงาหรา มาก
รถถังไปรบกับเวียดนามก็แพ้
ผมชอบแอบไปฟังปราศรัยที่สนามหลวง สุนกดี แต่ผมว่า คมช.กับรัฐบาลไม่ทำอะไรหรอก
ส่วนรัฐธรรมนูญ จากการสัมผัสบรรยากาศายใน มีลางอะไรบางอย่างทำให้ผมคิดว่า ไม่น่าจะไปรอด
หากเป็นจริง ผมคงทำนายไม่ถูกเหมือนกันว่า รูปแบบ เคออส ที่จะเกิดขึ้นจะหน้าตาอย่างไร
บ้านเมืองต้องมีผู้ปกครอง แม้ว่าจะห่วยแตก เชื่องช้า เซื่องซึม แต่ไม่เลวร้ายเท่ายุคแม้วหรอก
เมืองไทยมันได้เท่านี้ ระบบมันห่วยแตก
ดีที่สุด อย่าให้เลวที่สุดก็พอ
เอาแค่พออยู่กันได้
ปล.ในบรรดานักกฎหมายมหาชนไทย เห็นจะมีแต่ อ.วรเจตน์ ที่เริ่มโปรยเรื่อง นิติรัฐกับแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมไว้หน้าครึ่งหน้า ผมว่านั่น เป็น นิมิตหมายที่ดี
เราเห็นด้วยกับนิติรัฐ สำหรับเราตั้งแต่สงครามอิรักเป็นต้นมา ดูเหมือนประเทศไทยหรือคนไทยจำนวนหนึ่งจะเลือกเอาแบบอย่าง(ที่ไม่ดีและผิด)ของอเมริกามา นั่นคือการกระทำสิ่งที่ผิดกฎกติกา ระเบียบแบบแผน การตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ (ไม่ผิดกับคนที่ตนเองโจมตี)โดยไม่มีไต่ตรองให้ดีเสียก่อน(หรือคิดไม่ออกทำอะไรก็ทำไปก่อนแล้วกัน) เท่าที่เห็นการแก้ปัญหาต่างๆ ยังคิดพิเคราะห์และไตร่ตรองไม่เพียงพอ รัฐ ประชาชน ระบบระเบียบที่วางและดำเนินมาไม่ใช่ธุรกิจที่ขึ้นกับแผนการตลาด ที่จะปรับเปลี่ยนโดยฉับพลันได้ โดยไม่มีผลกระทบร้ายแรง เราคิดว่าการแก้ไขปัญหาใดๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นเพิ่มขึ้น(จะโดยเล็งเห็นได้หรือไม่ก็ตาม)แสดงว่าผู้คิดแก้ปัญหานั้นยังคิดไม่จบ เราถือว่าไม่ใช่การแก้ไขปัญหา และใช้ไม่ได้
เราเห็นด้วยและเห็นมาตลอดว่าสุดท้าย ผู้ที่ต้องรับเคราะห์กรรมคือประชาชนตาดำๆ ที่เสียภาษีอยู่ทุกวันนี่แหละ แต่ ก็มองไม่เห็นหนทางอื่นใดนอกจากการดำเนินไปตามกรอบ กฎ ระเบียบ ที่วางไว้ไม่ใช่เล่นนอกกติกา มิเช่นนั้น ก็ไม่แตกต่างกันและสภาพก็จะยิ่งเลวร้ายลงเมื่อจำนวนคนที่คิดและทำการตามอำเภอใจมากขึ้นทุกวัน
สังคมเสื่อมโทรม ไม่น่าอยู่ ขาดบรรทัดฐานที่ดีและไม่มีหลักการใดๆ อยู่ไปวันๆ ไม่ต้องคิดหวังอะไรทั้งนั้นเพราะหวังไม่ได้
www0815
giuseppe zanotti
coach outlet
michael kors outlet online
longchamp outlet
salomom shoes
converse trainers
ralph lauren uk
basketball shoes
ray ban sunglasses
canada goose jackets
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก