วันพฤหัสบดี, กันยายน 20, 2550

ความมั่งคั่งของกษัตริย์

นิตยสารฟอร์บส์สำรวจความร่ำรวยของบรรดากษัตริย์ทั้งหลาย ผลปรากฏ ดังนี้

1. Sultan Haji Hassanal Bolkiah. Sultan/Brunei ($22 billion)

2. Sheikh Khalifa Bin Zayed Al Nahyan. President/United Arab Emirates ($21 billion)

3. King Abdullah Bin Abdulaziz. King/Saudi Arabia ($19 billion)

4. Sheikh Mohammed Bin Rashid Al Maktoum. Ruler/Dubai ($16 billion)

5. King Bhumibol Adulyadej. King/Thailand ($5 billion)

6. Prince Hans-Adam II von und zu Liechtenstein. Prince/Liechtenstein ($4.5 billion)

7. King Mohammed IV. King/Morocco ($2 billion)

8. Prince Albert II. Prince/Monaco ($1.2 billion)

9. Sheikh Hamad Bin Khalifa Al Thani. Emir/Qatar ($1 billion)

10. Prince Karim Al Husseini. Aga Khan ($1 billion)

11. Queen Elizabeth II. Queen/U.K. ($600 million)

12. Sheikh Sabah Al Sabah. Emir/Kuwait ($500 million)

13. Sultan Qaboos Bin Said. Sultan/Oman ($500 million)

14. Queen Beatrix Wilhelmina Armgard. Queen/Netherlands ($300 million)

15. King Mswati II. King/Swaziland ($200 million)

.........

มีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้

๑. สี่อันดับแรก เป็นกษัตริย์ในประเทศแหล่งน้ำมัน และใช้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิ์
๒. หากนับเฉพาะประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย กษัตริย์ไทยมาอันดับ ๑
๓. ทั้ง ๑๕ อันดับ มีจากยุโรป ๔ ประเทศ คือ ลิคเตนสไตน์ โมนาโก สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ โดยสองประเทศแรก ไม่อาจนับได้ว่าเป็นประชาธิปไตยโดยแท้ เพราะกษัตริย์ยังมีอำนาจทางการเมืองในบางกรณี
๔. กษัตริย์ที่ติดอันดับส่วนใหญ่มาจากดินแดนเศรษฐีน้ำมัน ได้แก่ บรูไน สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ซาอุดิอาระเบีย นครดูไบ กาตาร์ คูเวต โอมาน
.........

อ่านรายละเอียดรายงานของฟอร์บส์ได้ที่

http://www.forbes.com/2007/08/30/worlds-richest-royals-biz-royals07-cx_lk_0830royalintro.html

ในส่วนของกษัตริย์ไทย

http://www.forbes.com/2007/08/30/worlds-richest-royals-biz-royals07-cx_lk_0830royalintro_slide_6.html?thisSpeed=15000

วันอังคาร, กันยายน 11, 2550

กระทู้น่าสนใจในพันทิป

นานๆทีจะมีกระทู้ในโต๊ะห้องสมุด ที่ถกเถียงกันด้วยเหตุผล ไม่ใช่สักแต่ข้อความประเภทที่ว่า "ทรงพระเจริญเพคะ" "ทรงงดงามมากเพคะ" เอ้า กราบบบบบบ

เชิญชมได้ที่

http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5764337/K5764337.html

วันเสาร์, กันยายน 08, 2550

เชยจัง พึ่งเคยฟังลีเดีย


พักหลังๆ ผมไม่ค่อยได้ฟังเพลงไทยใหม่ๆ เพราะ ออกกันมาเยอะมาก หน้าใหม่ๆก็เยอะ ตามไม่ทัน

จำได้ว่าตอนกลับไปเมืองไทยปีที่แล้ว คุ้นๆว่าเคยฟังเพลงของลีเดียอยู่บ้าง แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพลงใคร หรือไม่ก็แยกไม่ออกอีกว่าเพลงไหนเพลงลีเดีย เพราะ เพลงและนักร้องใหม่ๆเยอะมาก น้ำเสียง เนื้อเพลง ลีลาการร้องก็คล้ายกันหมด

จนเมื่อมีกระแสข่าว “ลีเดีย” ขึ้น ผมจึงเริ่มสนใจ อยากรู้ว่าเธอคือใคร ลองไปหาเพลงของเธอฟังดู จากยูทู้บบ้าง ลองค้นดูเอ็มพีสามที่ขนกลับมาบ้าง

เออ... ชอบๆ (ไม่น่าเชื่อว่าอยู่อาร์เอส)

เพลงอะไรอ่า เกี่ยวกับโทรศัพท์ เพราะดีเหมือนกัน ว่าแต่ว่าทำไมเพลงไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโทรศัพท์เยอะจัง ตอนนู้น จำได้ว่ามีซินญอริต้า มิสคอล ใช่มะ ลีเดียมีหลายเพลง เพลงก่อน ที่ไม่รับสาย มาล่าสุดนี่ เป็นไม่โทรกลับ (โอ้... ระหว่างพิมพ์อยู่นี่ ได้ยินอีกเพลงแล้วครับที่เกี่ยวกับโทรศัพท์ กฎของแฟนเก่า...)

เพลงเร็วของเธอ ผมก็ชอบนะ (แต่จำชื่อเพลงไม่ได้)

จากการที่ดูเธอสัมภาษณ์ ผมสงสัยว่า ทำไมเสียงพูดกับเสียงร้องของเธอ ต่างกันราวฟ้ากะดินแบบนี้
แล้วมีใครเป็นเหมือนผมมั่ง แยกไม่ออกเลยว่าเพลงของลีเดียชื่อเพลงอะไร ฟังแล้วมันคล้ายๆกันหมด

เท่าที่ผมดูจากมิวสิคย้อนหลังไป ผมชอบตอนปัจจุบันมากกว่า น่ารักดี

นี่ถ้าไม่มีข่าว แวร์ อาร์ ยู – เฮีย ไอ แอม ผมคงไม่หาเพลงลีเดียมาฟังแบบจริงๆจังๆนะนี่

วันเสาร์, กันยายน 01, 2550

๔ เดือน ๓ สัปดาห์ ๒ วัน

ปี ๑๙๘๗ ในโรมาเนีย ก่อนระบอบเชาเชสคูจะล่มสลายสองปี

นักศึกษาสาวสองคนต้องเผชิญหน้าวิกฤตครั้งยิ่งใหญ่ของพวกเธอ คนหนึ่งท้อง ๔ เดือน ๓ สัปดาห์ ๒ วัน และต้องการทำแท้ง (Gabita) อีกคนหนึ่งต้องช่วยเพื่อนทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ทำแท้ง (Otilia)

Otilia ต้องวิ่งเต้นหาห้องพักในโรงแรมเพื่อใช้เป็นสถานที่ทำแท้ง รวบรวมเงิน ติดต่อผู้รับหน้าที่ทำแท้งเถื่อน ตลอดจน ... (อันนี้ชมในภาพยนตร์เอาเอง)

ในขณะที่ Gabita เป็นคนอ่อนแแอ ไร้เดียงสา ขี้กลัว และการโกหกของเธอ ทำให้ Otilia ต้องรับความเดือดร้อน

Bébé คนรับหน้าที่ทำแท้ง เป็นตัวละครที่แสดงถึงความเป็นเผด็จการ เขาสามารถกำหนดเกมได้ เพราะชะตากรรมของสองสาวอยู่ในมือของเขา

หนังฉายให้เราเห็นบรรยากาศช่วงท้ายๆของระบอบเชาเชสคูว่า แม้ระบอบนี้จะล่มสลายอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ๑๙๘๙ แต่ในความเป็นจริงคอมมิวนิสต์ในโรมาเนียได้ทยอยตายไปก่อนหน้านั้นแล้ว และกำลังจะถูกแทนที่โดยธุรกิจ ผู้มีอิทธิพล และมาเฟีย

เช่น สาวๆวัยรุ่นหันมาสนใจใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามนำเข้าจากต่างประเทศ ชมภาพยนตร์จากต่างประเทศ สูบบุหรี่เคนท์ การลักลอบขายบุหรี่เถื่อน การติดสินบนในทุกระดับแม้กระทั่งพนักงานโรงแรม

ผมชอบอยู่สี่ฉาก

หนึ่ง ช่วงเปิดเรื่อง ที่ฉายถึงนักศึกษาสาวๆสนใจสินค้าใหม่ๆ มีการยกชื่อยี่ห้อของสินค้าเหล่านั้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ของระบอบเก่า (คล้ายๆเรื่องกู๊ดบาย เลนิน)

สอง การต่อรองกันระหว่าง Bébé Otilia และ Gabita ในโรงแรม ผมเดาเอาเองว่าหนังคงต้องการถ่ายทอดความเป็นเผด็จการของเชาเชสคูลงบนตัวของ Bébé และให้ Otilia เป็นตัวแทนของความเป็นกบฏและการท้าทายต่ออำนาจเผด็จการ

สาม ฉากบนโต๊ะอาหาร ในงานเลี้ยงวันเกิดของแม่แฟนของ Otilia) เจตนาทำให้คนดูอึดอัดอย่างยิ่ง ราวกับว่าเราเข้าไปเป็น Otilia และ แฟนของ Otilia เสียเอง

สี่ ฉาก Otilia วิ่งกลับมาโรงแรมเพื่อมาดูอาการของ Gabita และฉากนำซากเด็กไปทิ้ง ด้วยกล้องที่สั่นไหวตลอดและความมืด ทำให้ผู้ชมอึดอัดได้ไม่แพ้กัน

โรมาเนียออกกฎหมายให้การทำแท้งผิดกฎหมายในปี ๑๙๖๖ แต่การทำแท้งเถื่อนก็ยังปรากฏอยู่มาก จากการสำรวจพบว่าตลอดระยะเวลาที่ใช้บังคับกฎหมายปี ๑๙๖๖ นั้น มีผู้หญิงเสียชีวิตจากการทำแท้งเถื่อนถึง ๕ แสนคน

ภายหลังการล่มสลายของระบอบเผด็จการ-คอมมิวนิสต์ โรมาเนียได้ออกกฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้ทันที ปัจจุบัน โรมาเนียเป็นประเทศเดียวในยุโรปที่อัตราการทำแท้งสูงกว่าการเกิด (ปี ๒๐๐๓ มีการทำแท้งรวม ๒๓๐,๐๐๐ รายในขณะที่มีการเกิด ๒๑๒,๔๕๙ คน)

4 Luni, 3 Saptamini Si 2 Zile กำกับโดย Cristian Mungiu ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลกานส์ ๒๐๐๗

................

โดยส่วนตัว ผมสนับสนุนให้มีการแก้ไขกฎหมายเสียใหม่ เปิดโอกาสให้หญิงสามารถทำแท้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่จริงเสมอไปที่บอกกันว่าหากอนุญาตให้ทำแท้งได้ อัตราการทำแท้งจะมากขึ้น เพราะ คงไม่มีใครอยากไปขึ้นขาหยั่ง นั่งแหกขาให้หมอทำแท้ง นอกจากว่าเกิดเหตุสุดวิสัยจริงๆ การทำแท้งเถื่อนยังทำให้ผู้หญิงต้องเสี่ยงกับมาตราฐานความปลอดภัยของผู้ทำแท้งอีกด้วย

ผมเคยเขียนเล่าเรื่องกฎหมายการทำแท้งในยุโรปไว้คร่าวๆในบล็อกเมื่อสามปีก่อน
http://etatdedroit.blogspot.com/2005/05/un-enfant-si-je-veux-quand-je-veux.html

มีหลายความเห็นน่าสนใจเหมือนกัน